ที่รัฐสภา วานนี้ (14 ก.ค.) คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา ที่มี พล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ร่วมแถลงข่าวกับ พล.ท. กมล ประจวบเหมาะ ที่ปรึกษากรรมาธิการฯและนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เลขานุการกรรมาธิการฯ กรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงล่ารายชื่อยื่นถวายฎีกา เพื่อขออภัยโทษให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
พล.อ.อ.ณพฤษภ์ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การล่าชื่อ เพื่อถวายฎีกาดังกล่าวมีโทษมากกว่าเป็นคุณ ซึ่งจะทำให้ไม่มีความสมานฉันท์ในชาติ ทั้งนี้ตนอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดูร่างถวายฎีกาว่าหมิ่นเหม่กฎหมายหรือไม่ รวมทั้งให้ประชาชนติดตามการกระทำเหล่านี้
ด้านพล.ท. กมล ประจวบเหมาะ กล่าวว่ามีผู้ใหญ่หลายฝ่ายมาคัดค้านในเรื่องนี้ แต่ก็มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ก็ยังทำเรื่องที่ไม่บังควร ซึ่งทำแบบนี้เป็นการนำม๊อบมากดดันซึ่งไม่ถูกต้อง อยากให้รัฐบาลมาดำเนินการกับการกระทำเช่นนี้เพราะถือว่าเป็นการเสี้ยมกัน
นายคำนูณ สิทธิสมาน กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ ชี้แจงกฎเกณฑ์การถวายฎีกา รวมทั้งเอกสารที่เผยแพร่ซึ่งมีเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ ผิดกฎหมายและละเมิดอำนาจศาล จึงอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ทั้งนี้ประชาชนสามารถแจ้งความดำเนินคดีใดๆ กับผู้ที่ยื่นถวายฎีกาได้ นอกจากนี้ทาง คณะกรรมาธิการฯได้ทำหนังสือเชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มาร่วมประชุมและหารือในเรื่องการล่าชื่อถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมถึงคดีที่จาบจ้วงล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์
ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมาธิการจะดำเนินคดีเองหรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า กรรมาธิการฯเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เราจะไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ส่วน ส.ว.ท่านใดจะไปแจ้งความดำเนินคดีนั้นสามารถทำได้
วันเดียวกัน มีการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการพระราชทานอภัยโทษ โดยนายสัก กอแสงเรือง อดีตคณะกรรมการ ตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) กล่าวว่า การทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษนั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายมีไว้เพื่อลดหย่อนและยกเว้นโทษ แต่ทั้งนี้ก็ต้องสำนึกในการกระทำเสียก่อนจึงจะยื่นทูลเกล้าฯฎีกาได้ แต่ในส่วนของคำร้องที่เสนอขึ้นไปนั้น ต้องไม่มีการกล่าวถึงคำตัดสินของศาลเพราะคดีได้ถึงที่สุดแล้วและเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไม่ได้ ถ้ามีการนำคำตัดสินของศาลไปเขียนในคำร้องอาจจะเป็นการ สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดอำนาจศาลได้
ส่วนระเบียบในการยื่นถวายฎีกาช่องทางตามปกตินั้นถ้าต้องโทษอยู่ในเรือนจำ สามารถที่จะยื่นเรื่องต่อเรือนจำหรือกับทาง รมว.ยุติธรรม ที่มีอำนาจหน้าที่นี้ โดยตรงได้ จากนั้นรมว.ยุติธรรมจะเสนอเรื่องถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามการที่จะถวายความเห็นนั้นต้องมีข้อมูลชัดเจนที่จะสรุปชัดเจนถึง ความผิดที่ได้กระทำ ความประพฤติ ซึ่งต้องนำมาประกอบกันว่าจะลดหย่อนโทษ ได้มากน้อยแค่ไหน โดยส่วนใหญ่แล้วต้องเป็นนักโทษชั้นดีถึงจะเข้าข่ายได้รับการพระราชทานอภัยโทษ
นายสัก กล่าวว่า การล่าชื่อ 1 ล้านชื่อเพื่อถวายฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เขียนคำร้องส่วนท้ายที่ระบุว่า เพื่อขออภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ต้องโทษคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา งผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองตัดสินจำคุก 2 ปี ในคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ ซึ่งที่ให้ยกโทษดังกล่าว กรณีนี้จะสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้หรือไม่เพราะยังไม่ได้รับโทษและหลบหนีคดีอยู่ รวมไปถึงยังไม่เข้าสู่ระบบของกรมราชทัณฑ์ รมว.ยุติธรรม ต้องสรุปความเห็นและข้อมูลต่อคณะองคมนตรีซึ่งถ้าไม่เป็นไปตามขั้นตอนทางข้อกฎหมายก็อาจเกิดการสะดุดได้ เพราะไม่เป็นข้อยุติว่าจะถวายความเห็นได้อย่างไร
และถึงแม้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ คดีที่ดินรัชดาฯแล้ว แต่ก็ยังมีคดีอีกหลายคดี อาทิ หมายจับในคดีหวยบนดิน คดีปล่อยกู้เอ็กซิมแบงค์ คดีแปลงค่าสัมปทานเป็นค่าสรรพสามิต ที่คดีอยู่กับทาง ป.ป.ช. และอัยการอีกหลายเรื่อง ซึ่งคดีอื่นๆ ก็ต้องดำเนินต่อไปตามขั้นตอนของ กฎหมาย จึงต้องดูกันต่อไปว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะกลับมาต่อสู้คดีในชั้นศาลหรือไม่
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในมาตรา 259 ของประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ระบุว่า ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใดๆ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้า ฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อ รมว.ยุติธรรมก็ได้ สิ่งที่ต้องพิจารณาว่าจะเข้าข่ายหรือไม่ในส่วนของผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องนั้น สามารถที่จะนับใคร เป็นผู้เกี่ยวข้องบ้างซึ่งในทางปฏิบัติจะเป็น ภรรยา บุตร ญาติ จะเป็นไปตาม ข้อกฎหมายที่ระบุหรือไม่เพราะต้องมีประโยชน์เกี่ยวข้องในความผิด อีกทั้งคดีถึง ที่สุดแล้วหรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติแล้วถ้าจะให้เป็นไปตามข้อกฎหมายที่ขอพระราชทานอภัยโทษได้นั้นคดีต้องถึงที่สุดหรือรับโทษแล้วเสียก่อนจึงจะขออภัยโทษได้
ส่วนใน มาตรา 261ทวิ ในกรณีที่ ครม.เห็นเป็นการสมควรจะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษก็สามารถทำได้ ซึ่ง รมว.ยุติธรรมจะเป็นผู้ที่จะถวายความเห็น
ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการยื่นขอถวายฎีกาทางช่องทางไหนสุดท้ายก็ต้องผ่านมาที่กระทรวงยุติธรรมเสียก่อน ประเด็นคือรมว.ยุติธรรมจะต้องถวายความเห็นทุกเรื่องหรือไม่ ซึ่งสามารถตีความได้หลายอย่าง โดยรัฐมนตรีอาจเลือกที่จะไม่ถวายก็มีสิทธิ์ทำได้ เพราะว่าคดีนี้เป็นเรื่องการเมือง ส่วนข้อที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจ แบบเด็ดขาด ซึ่งตามหลักพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือความขแย้งทางการเมือง ประชาชนจึงไม่ควรดึงมายุ่งเรื่องการเมือง ถึงแม้ว่าจะมีประชาชนเข้าชื่อถวาย เกินล้านชื่อหรือมากกว่านั้น ตรงจุดนี้ผู้ที่ยื่นถวายฎีกาจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและศึกษาข้อกฏหมายดังกล่าวด้วย แต่ถึงที่สุดแล้วก็อยู่ที่ รมว.ยุติธรรมว่าจะพิจารณาว่า เข้าเกณฑ์ที่จะถวายเรื่องหรือไม่
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพือไทย ในฐานะแกนนำกลุ่ม คนเสื้อแดง กล่าวว่า อ้างว่าขณะนี้การล่ารายชื่อประชาชนเกิน 1 ล้านชื่อครบแล้ว และวางเป้าหมายไว้ว่าน่าจะได้รายชื่อ 3-5 ล้านคน ส่วนกรณีที่มีส.ว.บางกลุ่มออกมาระบุว่าการถวายฎีกาเป็นการบีบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ความจริงแล้วทั้งหมดขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัย เพราะหากบีบได้จริง เมื่อครั้งที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถวายฎีกาเพื่อขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานตามมาตรา 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบอกว่าทำไม่ได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ คนเสื้อแดงเห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความผิด เพราะหากมีความผิดก็จะไม่ถวายฎีกาอย่างเด็ดขาด
นายจตุพร อ้างด้วยว่าได้รับทราบจากข้าราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เล่าให้ฟังว่า มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาจากประเทศจีน สามารถทำให้ฝนตกในพื้นที่ต้องการได้ โดยใช้งบประมาณถึงครั้งละ 5 ล้านบาท โดยล่าสุดการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทราบว่ามีการใช้วิธียิงสารเคมีผ่านปืนใหญ่จากสนามเป้ามายังก้อนเมฆบริเวณสถานที่ชุมนุม ซึ่งคงไม่ต้องบอกก็รู้ว่าใครที่เป็นคนยิงมาจากสนามเป้า
พล.อ.อ.ณพฤษภ์ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การล่าชื่อ เพื่อถวายฎีกาดังกล่าวมีโทษมากกว่าเป็นคุณ ซึ่งจะทำให้ไม่มีความสมานฉันท์ในชาติ ทั้งนี้ตนอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดูร่างถวายฎีกาว่าหมิ่นเหม่กฎหมายหรือไม่ รวมทั้งให้ประชาชนติดตามการกระทำเหล่านี้
ด้านพล.ท. กมล ประจวบเหมาะ กล่าวว่ามีผู้ใหญ่หลายฝ่ายมาคัดค้านในเรื่องนี้ แต่ก็มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ก็ยังทำเรื่องที่ไม่บังควร ซึ่งทำแบบนี้เป็นการนำม๊อบมากดดันซึ่งไม่ถูกต้อง อยากให้รัฐบาลมาดำเนินการกับการกระทำเช่นนี้เพราะถือว่าเป็นการเสี้ยมกัน
นายคำนูณ สิทธิสมาน กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ ชี้แจงกฎเกณฑ์การถวายฎีกา รวมทั้งเอกสารที่เผยแพร่ซึ่งมีเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ ผิดกฎหมายและละเมิดอำนาจศาล จึงอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ทั้งนี้ประชาชนสามารถแจ้งความดำเนินคดีใดๆ กับผู้ที่ยื่นถวายฎีกาได้ นอกจากนี้ทาง คณะกรรมาธิการฯได้ทำหนังสือเชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มาร่วมประชุมและหารือในเรื่องการล่าชื่อถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมถึงคดีที่จาบจ้วงล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์
ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมาธิการจะดำเนินคดีเองหรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า กรรมาธิการฯเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เราจะไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ส่วน ส.ว.ท่านใดจะไปแจ้งความดำเนินคดีนั้นสามารถทำได้
วันเดียวกัน มีการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการพระราชทานอภัยโทษ โดยนายสัก กอแสงเรือง อดีตคณะกรรมการ ตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) กล่าวว่า การทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษนั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายมีไว้เพื่อลดหย่อนและยกเว้นโทษ แต่ทั้งนี้ก็ต้องสำนึกในการกระทำเสียก่อนจึงจะยื่นทูลเกล้าฯฎีกาได้ แต่ในส่วนของคำร้องที่เสนอขึ้นไปนั้น ต้องไม่มีการกล่าวถึงคำตัดสินของศาลเพราะคดีได้ถึงที่สุดแล้วและเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไม่ได้ ถ้ามีการนำคำตัดสินของศาลไปเขียนในคำร้องอาจจะเป็นการ สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดอำนาจศาลได้
ส่วนระเบียบในการยื่นถวายฎีกาช่องทางตามปกตินั้นถ้าต้องโทษอยู่ในเรือนจำ สามารถที่จะยื่นเรื่องต่อเรือนจำหรือกับทาง รมว.ยุติธรรม ที่มีอำนาจหน้าที่นี้ โดยตรงได้ จากนั้นรมว.ยุติธรรมจะเสนอเรื่องถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามการที่จะถวายความเห็นนั้นต้องมีข้อมูลชัดเจนที่จะสรุปชัดเจนถึง ความผิดที่ได้กระทำ ความประพฤติ ซึ่งต้องนำมาประกอบกันว่าจะลดหย่อนโทษ ได้มากน้อยแค่ไหน โดยส่วนใหญ่แล้วต้องเป็นนักโทษชั้นดีถึงจะเข้าข่ายได้รับการพระราชทานอภัยโทษ
นายสัก กล่าวว่า การล่าชื่อ 1 ล้านชื่อเพื่อถวายฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เขียนคำร้องส่วนท้ายที่ระบุว่า เพื่อขออภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ต้องโทษคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา งผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองตัดสินจำคุก 2 ปี ในคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ ซึ่งที่ให้ยกโทษดังกล่าว กรณีนี้จะสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้หรือไม่เพราะยังไม่ได้รับโทษและหลบหนีคดีอยู่ รวมไปถึงยังไม่เข้าสู่ระบบของกรมราชทัณฑ์ รมว.ยุติธรรม ต้องสรุปความเห็นและข้อมูลต่อคณะองคมนตรีซึ่งถ้าไม่เป็นไปตามขั้นตอนทางข้อกฎหมายก็อาจเกิดการสะดุดได้ เพราะไม่เป็นข้อยุติว่าจะถวายความเห็นได้อย่างไร
และถึงแม้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ คดีที่ดินรัชดาฯแล้ว แต่ก็ยังมีคดีอีกหลายคดี อาทิ หมายจับในคดีหวยบนดิน คดีปล่อยกู้เอ็กซิมแบงค์ คดีแปลงค่าสัมปทานเป็นค่าสรรพสามิต ที่คดีอยู่กับทาง ป.ป.ช. และอัยการอีกหลายเรื่อง ซึ่งคดีอื่นๆ ก็ต้องดำเนินต่อไปตามขั้นตอนของ กฎหมาย จึงต้องดูกันต่อไปว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะกลับมาต่อสู้คดีในชั้นศาลหรือไม่
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในมาตรา 259 ของประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ระบุว่า ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใดๆ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้า ฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อ รมว.ยุติธรรมก็ได้ สิ่งที่ต้องพิจารณาว่าจะเข้าข่ายหรือไม่ในส่วนของผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องนั้น สามารถที่จะนับใคร เป็นผู้เกี่ยวข้องบ้างซึ่งในทางปฏิบัติจะเป็น ภรรยา บุตร ญาติ จะเป็นไปตาม ข้อกฎหมายที่ระบุหรือไม่เพราะต้องมีประโยชน์เกี่ยวข้องในความผิด อีกทั้งคดีถึง ที่สุดแล้วหรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติแล้วถ้าจะให้เป็นไปตามข้อกฎหมายที่ขอพระราชทานอภัยโทษได้นั้นคดีต้องถึงที่สุดหรือรับโทษแล้วเสียก่อนจึงจะขออภัยโทษได้
ส่วนใน มาตรา 261ทวิ ในกรณีที่ ครม.เห็นเป็นการสมควรจะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษก็สามารถทำได้ ซึ่ง รมว.ยุติธรรมจะเป็นผู้ที่จะถวายความเห็น
ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการยื่นขอถวายฎีกาทางช่องทางไหนสุดท้ายก็ต้องผ่านมาที่กระทรวงยุติธรรมเสียก่อน ประเด็นคือรมว.ยุติธรรมจะต้องถวายความเห็นทุกเรื่องหรือไม่ ซึ่งสามารถตีความได้หลายอย่าง โดยรัฐมนตรีอาจเลือกที่จะไม่ถวายก็มีสิทธิ์ทำได้ เพราะว่าคดีนี้เป็นเรื่องการเมือง ส่วนข้อที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจ แบบเด็ดขาด ซึ่งตามหลักพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือความขแย้งทางการเมือง ประชาชนจึงไม่ควรดึงมายุ่งเรื่องการเมือง ถึงแม้ว่าจะมีประชาชนเข้าชื่อถวาย เกินล้านชื่อหรือมากกว่านั้น ตรงจุดนี้ผู้ที่ยื่นถวายฎีกาจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและศึกษาข้อกฏหมายดังกล่าวด้วย แต่ถึงที่สุดแล้วก็อยู่ที่ รมว.ยุติธรรมว่าจะพิจารณาว่า เข้าเกณฑ์ที่จะถวายเรื่องหรือไม่
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพือไทย ในฐานะแกนนำกลุ่ม คนเสื้อแดง กล่าวว่า อ้างว่าขณะนี้การล่ารายชื่อประชาชนเกิน 1 ล้านชื่อครบแล้ว และวางเป้าหมายไว้ว่าน่าจะได้รายชื่อ 3-5 ล้านคน ส่วนกรณีที่มีส.ว.บางกลุ่มออกมาระบุว่าการถวายฎีกาเป็นการบีบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ความจริงแล้วทั้งหมดขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัย เพราะหากบีบได้จริง เมื่อครั้งที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถวายฎีกาเพื่อขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานตามมาตรา 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบอกว่าทำไม่ได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ คนเสื้อแดงเห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความผิด เพราะหากมีความผิดก็จะไม่ถวายฎีกาอย่างเด็ดขาด
นายจตุพร อ้างด้วยว่าได้รับทราบจากข้าราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เล่าให้ฟังว่า มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาจากประเทศจีน สามารถทำให้ฝนตกในพื้นที่ต้องการได้ โดยใช้งบประมาณถึงครั้งละ 5 ล้านบาท โดยล่าสุดการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทราบว่ามีการใช้วิธียิงสารเคมีผ่านปืนใหญ่จากสนามเป้ามายังก้อนเมฆบริเวณสถานที่ชุมนุม ซึ่งคงไม่ต้องบอกก็รู้ว่าใครที่เป็นคนยิงมาจากสนามเป้า