แก๊งเสื้อแดงหมดสิทธิ์ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้"แม้ว" กรมราชทัณฑ์ระบุชัด ผู้ถวายเรื่องต้องถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำเท่านั้น ชี้ไม่เคยมีกรณีอย่างที่กำลังจะทำกัน "คำนูณ"วอนสำนักราชเลขาฯ แจงกฎถวายฎีกาให้ประชาชนใช้วิจารณญาณว่าจะร่วมลงชื่อ หรือไม่
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในฐานะโฆษกกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงการเข้าพบนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า ได้หารือเกี่ยวกับการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน เรื่องความพยายามในการดำเนินการล่ารายชื่อประชาชน 1 ล้านรายชื่อของกลุ่มนปช. เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยได้มีการประสานขอข้อมูลระเบียบการขอพระราชทานอภัยโทษไปยังกรมราชทัณฑ์แล้ว ส่วนการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน จะต้องรอดูการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงก่อนที่จะมีพิจารณาว่า จะใช้วิธีการและช่องทางทำความเข้าใจระเบียบดังกล่าวกับประชาชนอย่างไรต่อไป
ด้านนายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่าได้นำระเบียบการขอพระราชทานอภัยโทษ ส่งให้กระทรวงยุติธรรมตามที่มีการร้องขอแล้ว ซึ่งเป็นระเบียบการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 ที่ระบุว่า ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใดๆ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้ และมาตรา 260 ที่ระบุว่า ผู้ถวายเรื่องราวซึ่งต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำ จะยื่นเรื่องราวต่อพัศดี หรือผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้ เมื่อได้รับเรื่องราวนั้นแล้ว ให้พัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำ ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว แล้วให้รีบส่งเรื่องราวนั้นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีกรณีตัวอย่างเช่นที่กำลังมีการเรียกร้องกันอยู่ วอนสำนักราชเลขาฯ แจงกฎถวายฎีกา
นายคำนูณ สิทธิสมาน นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ได้ร่วมกันแถลงข่าวที่รัฐสภา เมื่อวานนี้ (10ก.ค.) เรียกร้องให้สำนักราชเลขาธิการ ออกมาแถลงถึงกฎเกณฑ์ในการยื่นถวายฎีกา หรือการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยนายคำนูณ กล่าวว่าได้มี ส.ว.ส่วนหนึ่งเห็นตรงกันว่า กรณีที่กลุ่มเสื้อแดงดำเนินการล่ารายชื่อประชาชน เพื่อยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรนั้น เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนในการยื่นถวายฎีกา หรือถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ในฐานะผู้น้อยจึงขอความกรุณาให้สำนักราชเลขาธิการได้ออกมาแถลงถึงขั้นตอน หลักเกณฑ์ ทั้งทางกฎหมาย และประเพณีปฏิบัติว่ามีหลักเกณฑ์ที่เหมาะควรอย่างไร ซึ่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานราชเลขาธิการ พ.ศ.2538 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ชัดเจน ถึงบทบาทสำนักราชเลขาธิการ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับรัฐบาล ภาครัฐ และเอกชน รวมถึงงานราชการแผ่นดินและราชการส่วนพระองค์
นายคำนูณ กล่าวว่าขณะนี้คนที่ออกมาพูดล้วนเป็นฝ่ายการเมือง ที่ตั้งข้อสงสัยว่า จะต้องได้รับโทษก่อนหรือไม่ ดังนั้นฝ่ายที่จะออกมาให้ข้อมูลได้เป็นกลางที่สุดคือสำนักราชเลขาธิการ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้วิจารณญาณว่าจะร่วมลงชื่อหรือไม่ จะได้เป็นข้อยุติเสียที
เมื่อถามว่าจะเป็นการสมควรหรือไม่ เพราะประเพณีปฏิบัติไม่เคยมีมาก่อนที่จะเรียกร้องให้สำนักราชเลขาธิการ ออกมาแถลงในเรื่องใดๆ นายคำนูณกล่าวว่า ด้วยความเคารพเราในฐานะผู้น้อย ทราบดีว่า ประเพณีปฏิบัติปกติจะไม่มีการแถลง แต่ประเด็นนี้ถือว่าใหญ่หลวงต่อสังคม ที่อยากให้เกิดความชัดเจน จึงต้องกราบขอความกรุณาให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว เพราะการชี้แจงของฝ่ายรัฐบาลยังไม่ชัดเจนเพียงพอ เมื่อพิจารณาดูต้นร่างของคำร้องของกลุ่มดังกล่าวแล้ว มีเนื้อหาที่ล่อแหลม หมิ่นเหม่ต่อสถาบันศาล การตั้งเป้าล่าชื่อ 1 ล้านคนไม่ว่าจะเกิดผลในพระบรมราชวินิจฉัยอย่างไร ล้วนแต่จะมีผลกระทบทั้งสิ้น
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) กล่าวถึงกรณีที่นปช. เปลี่ยนรูปแบบการถวายฎีกา เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษมาเป็นถวายเรื่องราวขออภัยโทษนั้น เป็นการหลบหลีกแรงต้าน เพราะเท่าที่ทราบหนังสือฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษที่แจกจ่ายไปทั่วประเทศก่อนหน้านี้ ไม่ได้รับการตอบรับจากชาวบ้าน มีผู้ร่วมลงชื่อน้อยกว่าที่คิดตั้งเป้าไว้ 3 ล้านภายใน 1 เดือน ยังได้ไม่ถึงหมื่นชื่อด้วยซ้ำ คงเป็นเพราะชาวบ้านเริ่มเข้าใจ และรู้เท่าทันว่ากลุ่มนปช. จะนำชื่อพวกเขาไปทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม และเป็นการจาบจ้วงสถาบันฯ แกนนำ นปช.ก็เลยต้องปรับยุทธวิธีเป็นการถวายเรื่องราวขออภัยโทษแทน ซึ่งเป็นการเลี่ยงบาลี หนีแรงต้าน ทั้งๆที่เนื้อหาหนังสือยังเป็นอันเดิม และขั้นตอนตามกฎหมายก็ทำไม่ได้เช่นกัน เพราะคนผิดยังไม่ยอมรับโทษ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในฐานะโฆษกกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงการเข้าพบนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า ได้หารือเกี่ยวกับการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน เรื่องความพยายามในการดำเนินการล่ารายชื่อประชาชน 1 ล้านรายชื่อของกลุ่มนปช. เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยได้มีการประสานขอข้อมูลระเบียบการขอพระราชทานอภัยโทษไปยังกรมราชทัณฑ์แล้ว ส่วนการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน จะต้องรอดูการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงก่อนที่จะมีพิจารณาว่า จะใช้วิธีการและช่องทางทำความเข้าใจระเบียบดังกล่าวกับประชาชนอย่างไรต่อไป
ด้านนายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่าได้นำระเบียบการขอพระราชทานอภัยโทษ ส่งให้กระทรวงยุติธรรมตามที่มีการร้องขอแล้ว ซึ่งเป็นระเบียบการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 ที่ระบุว่า ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใดๆ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้ และมาตรา 260 ที่ระบุว่า ผู้ถวายเรื่องราวซึ่งต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำ จะยื่นเรื่องราวต่อพัศดี หรือผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้ เมื่อได้รับเรื่องราวนั้นแล้ว ให้พัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำ ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว แล้วให้รีบส่งเรื่องราวนั้นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีกรณีตัวอย่างเช่นที่กำลังมีการเรียกร้องกันอยู่ วอนสำนักราชเลขาฯ แจงกฎถวายฎีกา
นายคำนูณ สิทธิสมาน นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ได้ร่วมกันแถลงข่าวที่รัฐสภา เมื่อวานนี้ (10ก.ค.) เรียกร้องให้สำนักราชเลขาธิการ ออกมาแถลงถึงกฎเกณฑ์ในการยื่นถวายฎีกา หรือการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยนายคำนูณ กล่าวว่าได้มี ส.ว.ส่วนหนึ่งเห็นตรงกันว่า กรณีที่กลุ่มเสื้อแดงดำเนินการล่ารายชื่อประชาชน เพื่อยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรนั้น เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนในการยื่นถวายฎีกา หรือถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ในฐานะผู้น้อยจึงขอความกรุณาให้สำนักราชเลขาธิการได้ออกมาแถลงถึงขั้นตอน หลักเกณฑ์ ทั้งทางกฎหมาย และประเพณีปฏิบัติว่ามีหลักเกณฑ์ที่เหมาะควรอย่างไร ซึ่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานราชเลขาธิการ พ.ศ.2538 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ชัดเจน ถึงบทบาทสำนักราชเลขาธิการ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับรัฐบาล ภาครัฐ และเอกชน รวมถึงงานราชการแผ่นดินและราชการส่วนพระองค์
นายคำนูณ กล่าวว่าขณะนี้คนที่ออกมาพูดล้วนเป็นฝ่ายการเมือง ที่ตั้งข้อสงสัยว่า จะต้องได้รับโทษก่อนหรือไม่ ดังนั้นฝ่ายที่จะออกมาให้ข้อมูลได้เป็นกลางที่สุดคือสำนักราชเลขาธิการ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้วิจารณญาณว่าจะร่วมลงชื่อหรือไม่ จะได้เป็นข้อยุติเสียที
เมื่อถามว่าจะเป็นการสมควรหรือไม่ เพราะประเพณีปฏิบัติไม่เคยมีมาก่อนที่จะเรียกร้องให้สำนักราชเลขาธิการ ออกมาแถลงในเรื่องใดๆ นายคำนูณกล่าวว่า ด้วยความเคารพเราในฐานะผู้น้อย ทราบดีว่า ประเพณีปฏิบัติปกติจะไม่มีการแถลง แต่ประเด็นนี้ถือว่าใหญ่หลวงต่อสังคม ที่อยากให้เกิดความชัดเจน จึงต้องกราบขอความกรุณาให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว เพราะการชี้แจงของฝ่ายรัฐบาลยังไม่ชัดเจนเพียงพอ เมื่อพิจารณาดูต้นร่างของคำร้องของกลุ่มดังกล่าวแล้ว มีเนื้อหาที่ล่อแหลม หมิ่นเหม่ต่อสถาบันศาล การตั้งเป้าล่าชื่อ 1 ล้านคนไม่ว่าจะเกิดผลในพระบรมราชวินิจฉัยอย่างไร ล้วนแต่จะมีผลกระทบทั้งสิ้น
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) กล่าวถึงกรณีที่นปช. เปลี่ยนรูปแบบการถวายฎีกา เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษมาเป็นถวายเรื่องราวขออภัยโทษนั้น เป็นการหลบหลีกแรงต้าน เพราะเท่าที่ทราบหนังสือฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษที่แจกจ่ายไปทั่วประเทศก่อนหน้านี้ ไม่ได้รับการตอบรับจากชาวบ้าน มีผู้ร่วมลงชื่อน้อยกว่าที่คิดตั้งเป้าไว้ 3 ล้านภายใน 1 เดือน ยังได้ไม่ถึงหมื่นชื่อด้วยซ้ำ คงเป็นเพราะชาวบ้านเริ่มเข้าใจ และรู้เท่าทันว่ากลุ่มนปช. จะนำชื่อพวกเขาไปทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม และเป็นการจาบจ้วงสถาบันฯ แกนนำ นปช.ก็เลยต้องปรับยุทธวิธีเป็นการถวายเรื่องราวขออภัยโทษแทน ซึ่งเป็นการเลี่ยงบาลี หนีแรงต้าน ทั้งๆที่เนื้อหาหนังสือยังเป็นอันเดิม และขั้นตอนตามกฎหมายก็ทำไม่ได้เช่นกัน เพราะคนผิดยังไม่ยอมรับโทษ