ASTVผู้จัดการรายวัน – ส.ศัลยกรรมฯเล็งเสนอ สศช.บรรจุแผนดันไทยขึ้นเป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชียภายในปี 2559 ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หวังประกาศเป็นนโยบายระดับประเทศแล้วไปให้ถึง หลังถูกน้องใหม่อย่างเกาหลีแซงหน้า แถมอินเดียยังตามมาติดๆ ทั้งที่ความสามารถของประเทศไทยดีกว่าเกือบ 30 ปี พร้อมแนะโรงพยาบาลรัฐทำช่องฟาสต์แทรกรับชาวต่างชาติดูดเงินมาช่วยผู้ป่วยคนไทย
นายแพทย์ชลธิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้เสนอต่อที่ประชุมสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย(TMA) ให้เป็นตัวแทนยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เสนอให้บรรจุเรื่องเป้าหมายการนำประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลาง(ฮับ) ด้านการแพทย์ สปา และลองสเตย์ ในภูมิภาคเอเชียภายในปีพ.ศ.2559 ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนท่องเที่ยวที่เป็นวาระแห่งชาติด้วย
ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลเข้ามาวางนโยบายในการกำกับดูแล และโปรโมตอย่างจริงจัง ทำให้ภาคเอกชนที่มีความสามารถอยู่แล้วได้เพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ
“บุคลากร นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์ของไทย ไม่ได้น้อยหน้าประเทศอื่นๆในเอเชีย การเติบโตของธุรกิจการแพทย์และพยาบาลของเราจึงเติบโตจากคุณภาพ เช่น กลุ่มศัลยกรนรมเสริมความงาม ที่ล้ำหน้ากว่าเกาหลีถึง เกือบ 30 ปี “
แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งการทำตลาดที่ผ่านมาภาคเอกชนเป็นผู้บุกเบิกทั้งสิ้น ซึ่งผิดกับประเทสสิงคโปร์ เกาหลี และ ล่าสุด คือประเทสอินเดีย ที่รัฐบาลเขาเห็นความสำคัญ ว่าธุรกิจนี้สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้เป็นกอบเป็นกำ จึงออกมาเป็นนโยบายของภาครัฐ โปรโมตและการันตีโดยรัฐบาล ทำให้เกิดความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ซึ่งแม้ลูกค้าจะจ่ายแพงกว่าเขาก็ยินดี หากเขาเกิดความมั่นใจ”
นอกจากนั้น สมาคมฯยังต้องการให้รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอให้มีการจัดตั้งองค์กรร่วมภาครัฐและเอกชน ทำงานด้านการวางแผนการตลาดร่วมกัน โดยแนวคิดนี้ได้เสนอไปยังฝ่ายวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรด้วย เพื่อจัดทำเป็นข้อมูล พร้อมแนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทย สู่การเป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชียอย่างแท้จริง
“ต้องการให้โรงพยาบาลรัฐมีช่องฟาสต์แทรก ไว้คอยให้บริการแก่ชาวต่างชาติ เพื่อโรงพยาบาลจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้วนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นคนไทยได้ทั่วถึงขึ้น ซึ่ง ในประเทศเกหลี และอีกหลายๆประเทสเขาก็ทำเช่นนี้ แต่ประเทศไทยกลับมีแต่โรงพยาบาลเอกชนเท่านั้นที่มีบริการรูปแบบนี้”
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่ม เมดิคัลทัวริสซึมนี้ จะสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป 2-3 เท่าตัว โดยมีค่าใช้จ่ายต่อวันเฉลี่ยกว่าคนละ 10,000 บาท วันพักเฉลี่ย 7-15 วัน ส่วนนักท่องเที่ยวทั่วไปจะใช้จ่ายประมาณ 3,000-4,000 บาทต่อคนต่อวัน วันพักเฉลี่ย 5-7 วัน
นายแพทย์ชลธิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้เสนอต่อที่ประชุมสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย(TMA) ให้เป็นตัวแทนยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เสนอให้บรรจุเรื่องเป้าหมายการนำประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลาง(ฮับ) ด้านการแพทย์ สปา และลองสเตย์ ในภูมิภาคเอเชียภายในปีพ.ศ.2559 ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนท่องเที่ยวที่เป็นวาระแห่งชาติด้วย
ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลเข้ามาวางนโยบายในการกำกับดูแล และโปรโมตอย่างจริงจัง ทำให้ภาคเอกชนที่มีความสามารถอยู่แล้วได้เพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ
“บุคลากร นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์ของไทย ไม่ได้น้อยหน้าประเทศอื่นๆในเอเชีย การเติบโตของธุรกิจการแพทย์และพยาบาลของเราจึงเติบโตจากคุณภาพ เช่น กลุ่มศัลยกรนรมเสริมความงาม ที่ล้ำหน้ากว่าเกาหลีถึง เกือบ 30 ปี “
แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งการทำตลาดที่ผ่านมาภาคเอกชนเป็นผู้บุกเบิกทั้งสิ้น ซึ่งผิดกับประเทสสิงคโปร์ เกาหลี และ ล่าสุด คือประเทสอินเดีย ที่รัฐบาลเขาเห็นความสำคัญ ว่าธุรกิจนี้สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้เป็นกอบเป็นกำ จึงออกมาเป็นนโยบายของภาครัฐ โปรโมตและการันตีโดยรัฐบาล ทำให้เกิดความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ซึ่งแม้ลูกค้าจะจ่ายแพงกว่าเขาก็ยินดี หากเขาเกิดความมั่นใจ”
นอกจากนั้น สมาคมฯยังต้องการให้รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอให้มีการจัดตั้งองค์กรร่วมภาครัฐและเอกชน ทำงานด้านการวางแผนการตลาดร่วมกัน โดยแนวคิดนี้ได้เสนอไปยังฝ่ายวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรด้วย เพื่อจัดทำเป็นข้อมูล พร้อมแนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทย สู่การเป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชียอย่างแท้จริง
“ต้องการให้โรงพยาบาลรัฐมีช่องฟาสต์แทรก ไว้คอยให้บริการแก่ชาวต่างชาติ เพื่อโรงพยาบาลจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้วนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นคนไทยได้ทั่วถึงขึ้น ซึ่ง ในประเทศเกหลี และอีกหลายๆประเทสเขาก็ทำเช่นนี้ แต่ประเทศไทยกลับมีแต่โรงพยาบาลเอกชนเท่านั้นที่มีบริการรูปแบบนี้”
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่ม เมดิคัลทัวริสซึมนี้ จะสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป 2-3 เท่าตัว โดยมีค่าใช้จ่ายต่อวันเฉลี่ยกว่าคนละ 10,000 บาท วันพักเฉลี่ย 7-15 วัน ส่วนนักท่องเที่ยวทั่วไปจะใช้จ่ายประมาณ 3,000-4,000 บาทต่อคนต่อวัน วันพักเฉลี่ย 5-7 วัน