เครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งของคุณทักษิณ ชินวัตรในการบริหารจัดการประเทศคืออะไรรู้ใช่มั้ยครับ
ตำรวจ !
คุณทักษิณเป็นตำรวจมาก่อน อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใกล้ชิดศูนย์อำนาจ พ่อตาเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่ไปไม่ถึงดวงดาวในบั้นปลายของชีวิตราชการ รู้อิทธิฤทธิ์อิทธิพลของตำรวจเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับคุณหญิงพจมานผู้ภริยาที่เจ็บปวดกับชะตากรรมของผู้บิดาที่จบชีวิตราชการแค่ยศพลตำรวจโทไม่ถึงพลตำรวจเอก มีพี่ชายเป็นนายตำรวจฝีมือดีชื่อชั้นมีโอกาสขึ้นไปครองตำแหน่งสูงสุดของกรมปทุมวันไม่ยากหากได้การเมืองหนุนเสียหน่อย เมื่อสามีภรรยาทั้งคู่มาถึงจุดสูงสุดของชีวิตทางการเมืองด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย จึงไม่ต้องเรียนรู้เรื่องงานตำรวจอีกว่าจะต้องทำอย่างไร ทั้งลักษณะงานและตัวบุคคลที่จะจัดวางล้วนทะลุปรุโปร่งอยู่ในสายตาหมด
คุณทักษิณจึงเป็นนายกรัฐมนตรีที่ “ใช้ตำรวจเป็น” มากที่สุดคนหนึ่ง
ไม่เพียงแต่จัดวางทั้งเพื่อน ทั้งพี่ ทั้งญาติ และผู้ที่สวามิภักดิ์ ลงในตำแหน่งสำคัญ ๆ แล้ว ยังมีเหลือเจือจานนำนายตำรวจฝีมือดีที่ไว้ใจได้ไปดำรงตำแหน่งสำคัญข้างนอกได้อีก
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทย ระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกยังลงหลักปักฐานได้ไม่มั่นคง เพราะสลับกับระบอบเผด็จการทหารอำนาจนิยมมาตลอด วัฒนธรรมในระบบอุปถัมภ์ยังหยั่งรากลึก แถมระบบการปกครองยังรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ตำรวจทั่วประเทศมากกว่า 2 แสนคนมีผู้บังคับบัญชาสูงสุดนั่งอยู่ที่ปทุมวันคนเดียว ไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุลคานอำนาจจากภาคประชาชนและท้องถิ่นที่หวังผลจริงจัง ไม่ว่านักการเมืองคนใดมาเป็นรัฐบาลมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องพยายามหาทางคุมตำรวจให้อยู่ในมือทั้งสิ้น
เพราะนี่คือ “อำนาจรัฐ” ที่จับต้องได้และเห็นผลทันตาที่สุด
ตำรวจทำงานอยู่ในช่วงต้นของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่สุด และมีผลกระทบต่อหลักนิติธรรมอันเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด อัยการต้องทำงานต่อจากตำรวจ โดยพิจารณาจากสำนวนของตำรวจ ระบบของบ้านเราไม่เปิดโอกาสให้อัยการลงมาร่วมสอบสวนสืบสวน ศาลยุติธรรมยิ่งต้องทำงานต่อจากชั้นตำรวจและอัยการ การพิจารณาคดีใน “ระบบกล่าวหา” ไม่เปิดโอกาสให้ศาลมากนักหากสำนวนอ่อนมาตั้งแต่ 2 ชั้นแรก
รัฐบาลไหน “คุมตำรวจไม่ได้” ก็ไม่ต่างอะไรกับ “คุมอำนาจรัฐไม่ได้” – พูดอย่างนี้ไม่เกินจริงไปหรอก !
รัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะช่วง “สงกรานต์เลือด” เป็นตัวอย่าง !!
การคุมตำรวจ คุมอำนาจรัฐ จะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและบริษัทบริวาร หรือจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ขึ้นอยู่กับนักการเมืองแต่ละคนแต่ละพรรคที่ขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งสุดท้ายประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน
การคุมตำรวจจึงไม่ใช่ “ข้อต้องห้าม” ของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยไทย
การคุมตำรวจให้ตั้งข้อหาประชาชนโดยคำนึงถึงหลักนิติธรรมและหลักคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลนอกจากจะไม่ใช่ “ข้อต้องห้าม” แล้วยังเป็น “ข้อต้องกระทำ” อีกต่างหาก
รัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสองบัญญัติไว้ชัดเจน มาตรา 81 ส่วนที่ 5 แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม บัญญัติรายละเอียดไว้ยิ่งกว่าชัดเจนแจ่มแจ้งเสียอีก
โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญมาตรา 81 (2) !
ไปหาอ่านกันให้ดี ๆ เถอะครับ การที่รัฐธรรมนูญไทยบัญญัติไว้อย่างนี้ มันสะท้อนให้เห็นว่าทั้ง “หลักนิติธรรม” และกระบวนการใน “ด้านกฎหมายและการยุติธรรม” มีปัญหา
ผมจึงไม่อาจยอมรับความเห็นของนายกฯอภิสิทธิ์ได้ ที่บอกว่าท่านจะไม่แทรกแซงคดีความที่ตำรวจทำ ถือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของนักการเมืองของรัฐบาล และยังย้อนว่าหากพันธมิตรฯต้องการการเมืองใหม่ก็ไม่ควรเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงงานของตำรวจ
ถ้าระบบและโครงสร้างของตำรวจไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากลของระบอบประชาธิปไตยในประเทศที่พัฒนาแล้ว พูดอย่างนี้พอรับฟังได้ เพราะคำว่า “แทรกแซง” น่าจะหมายถึงไปก้าวก่ายงานที่ตำรวจเขาทำถูกทำดีอยู่แล้วให้ผิดเพี้ยนไปจากหลักนิติธรรมและกระบวนการด้านกฎหมายและการยุติธรรม จึงต้อง “ไม่แทรกแซง” แต่นี่...ความเป็นจริงของโลกของชีวิตในประเทศไทยมันไม่ใช่ ในเมื่อทั้งระบบ โครงสร้าง และการทำงานของตำรวจ ยังคงมีปัญหา คำว่า “ไม่แทรกแซง” จึงมีค่าไม่ต่างจากไม่เอาธุระ ไม่กำกับดูแลให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายตำรวจ และทำเท่ทำหล่อพูดจาด้วยประโยคที่เป็นนามธรรมและดูดีลอยตัวอยู่เหนือปัญหาที่รังแต่จะทำให้สังคมเข่นฆ่ากันไม่รู้จบ
นายกฯมีหน้าที่ทั้งตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายตำรวจ และกฎหมายอื่น ๆ ที่จะต้องกำกับดูแลการทำงานของตำรวจให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม หลักคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลมิให้ถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หลักอำนวยความยุติธรรมให้เท่าเทียมกัน และหลักอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
นายกฯ ก็ไม่ใช่ไม่ทำครับ ทำมาพอสมควร โดยเฉพาะการสับเปลี่ยนบุคลากรตำแหน่งสำคัญ
หรือแม้แต่การเปลี่ยนตัว หรือกำหนดตัว หัวหน้าพนักงานสอบสวน ในบางคดีสำคัญ
รวมทั้งคดีรุมสังหารคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ผมยังเขียนยกย่องท่านเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนเลย ที่ท่านสั่งการ (หรือเสนอแนะ ?) ให้ ผบ.ตร.มอบหมายให้พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการสืบสวนสอบสวนคดีนี้
เหล่านี้ไม่ใช่ “แทรกแซง” แต่เป็น “กำกับดูแล” ตามหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด !
แต่มาวันสองวันนี้ กับข้อหา “ก่อการร้าย” ที่เกินจริงในคดีพันธมิตรฯชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ ท่านกลับบอกว่าท่านกำลังสร้างมาตรฐานใหม่ของการเมืองใหม่ (??!!) ด้วยการไม่ลงไปแทรกแซงการพิจารณาคดีในชั้นตำรวจ ท่านบอกอย่างเพี้ยน ๆ ว่าสังคมไทยถ้าฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับตำรวจอีกฝ่ายไม่ยอมรับศาลมันก็ยุ่ง ไม่มีวันจบ ทั้ง ๆ ที่ตำรวจกับศาลยุติธรรม โดยเฉพาะศาลฎีกา มีความแตกต่างกันอย่างมหาศาล ท่านนำมาเปรียบกันอย่างนี้ได้อย่างไร
คำพูดเท่ ๆ ที่ “ดูดี” ของนายกฯอภิสิทธิ์กำลังจะเป็น “ยาพิษขนานใหม่” ป้อนให้สังคมไทยเสพ !
ขอพูดแบบไม่เท่ และฟังดูไม่ดี (สำหรับแฟนานุแฟนท่านนายกฯอภิสิทธิ์ – คงจะดู “ร้าย” ด้วยซ้ำ) ว่าที่ท่านปล่อยให้ตำรวจทำเช่นนี้ได้น่ะ ไม่มีทางคิดเป็นอื่นได้เลยนอกจาก...
นายกฯ อภิสิทธิ์เห็นด้วยกับการให้ตำรวจตั้งข้อหาก่อการร้ายให้กับพันธมิตรฯและท่านกษิต ภิรมย์
เพราะต้องการลดแรงกดดันในข้อกล่าวหา “2 มาตรฐาน” และการถูกมองว่าเกรงใจพันธมิตรฯ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมตามมุมมองของนายกฯที่กำลังจะเริ่มก้าวที่ 2, 3, ... ต่อไปหลังกรรมการ 2 ชุดของรัฐสภาส่งมอบข้อสรุป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญตัดมาตรา 237 วรรคสอง ที่จะส่งผลให้มีการปลดปล่อยนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง 2 รุ่นออกมา
นายกฯเชื่อว่าในที่สุดแล้ว พันธมิตรฯและท่านกษิตจะได้รับความเป็นธรรมในชั้นศาล หรือถ้าโชคดีบางส่วนอาจจะได้ตั้งแต่ชั้นอัยการ
ถ้าท่านพูดตรงไปตรงมาตาม concept นี้ ซึ่งโดยความสามารถเฉพาะตัวแล้ว ปรับแต่งให้ดูดีกว่าที่ผมเขียนมาดิบ ๆ นี้ได้ ผมจะเคารพนับถือท่านมากกว่านี้เยอะ...
มากกว่าที่ท่านมาอ้างหลักการ “ไม่แทรกแซง”, “เป็นกลาง” เยอะเลย !
ตำรวจ !
คุณทักษิณเป็นตำรวจมาก่อน อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใกล้ชิดศูนย์อำนาจ พ่อตาเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่ไปไม่ถึงดวงดาวในบั้นปลายของชีวิตราชการ รู้อิทธิฤทธิ์อิทธิพลของตำรวจเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับคุณหญิงพจมานผู้ภริยาที่เจ็บปวดกับชะตากรรมของผู้บิดาที่จบชีวิตราชการแค่ยศพลตำรวจโทไม่ถึงพลตำรวจเอก มีพี่ชายเป็นนายตำรวจฝีมือดีชื่อชั้นมีโอกาสขึ้นไปครองตำแหน่งสูงสุดของกรมปทุมวันไม่ยากหากได้การเมืองหนุนเสียหน่อย เมื่อสามีภรรยาทั้งคู่มาถึงจุดสูงสุดของชีวิตทางการเมืองด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย จึงไม่ต้องเรียนรู้เรื่องงานตำรวจอีกว่าจะต้องทำอย่างไร ทั้งลักษณะงานและตัวบุคคลที่จะจัดวางล้วนทะลุปรุโปร่งอยู่ในสายตาหมด
คุณทักษิณจึงเป็นนายกรัฐมนตรีที่ “ใช้ตำรวจเป็น” มากที่สุดคนหนึ่ง
ไม่เพียงแต่จัดวางทั้งเพื่อน ทั้งพี่ ทั้งญาติ และผู้ที่สวามิภักดิ์ ลงในตำแหน่งสำคัญ ๆ แล้ว ยังมีเหลือเจือจานนำนายตำรวจฝีมือดีที่ไว้ใจได้ไปดำรงตำแหน่งสำคัญข้างนอกได้อีก
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทย ระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกยังลงหลักปักฐานได้ไม่มั่นคง เพราะสลับกับระบอบเผด็จการทหารอำนาจนิยมมาตลอด วัฒนธรรมในระบบอุปถัมภ์ยังหยั่งรากลึก แถมระบบการปกครองยังรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ตำรวจทั่วประเทศมากกว่า 2 แสนคนมีผู้บังคับบัญชาสูงสุดนั่งอยู่ที่ปทุมวันคนเดียว ไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุลคานอำนาจจากภาคประชาชนและท้องถิ่นที่หวังผลจริงจัง ไม่ว่านักการเมืองคนใดมาเป็นรัฐบาลมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องพยายามหาทางคุมตำรวจให้อยู่ในมือทั้งสิ้น
เพราะนี่คือ “อำนาจรัฐ” ที่จับต้องได้และเห็นผลทันตาที่สุด
ตำรวจทำงานอยู่ในช่วงต้นของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่สุด และมีผลกระทบต่อหลักนิติธรรมอันเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด อัยการต้องทำงานต่อจากตำรวจ โดยพิจารณาจากสำนวนของตำรวจ ระบบของบ้านเราไม่เปิดโอกาสให้อัยการลงมาร่วมสอบสวนสืบสวน ศาลยุติธรรมยิ่งต้องทำงานต่อจากชั้นตำรวจและอัยการ การพิจารณาคดีใน “ระบบกล่าวหา” ไม่เปิดโอกาสให้ศาลมากนักหากสำนวนอ่อนมาตั้งแต่ 2 ชั้นแรก
รัฐบาลไหน “คุมตำรวจไม่ได้” ก็ไม่ต่างอะไรกับ “คุมอำนาจรัฐไม่ได้” – พูดอย่างนี้ไม่เกินจริงไปหรอก !
รัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะช่วง “สงกรานต์เลือด” เป็นตัวอย่าง !!
การคุมตำรวจ คุมอำนาจรัฐ จะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและบริษัทบริวาร หรือจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ขึ้นอยู่กับนักการเมืองแต่ละคนแต่ละพรรคที่ขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งสุดท้ายประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน
การคุมตำรวจจึงไม่ใช่ “ข้อต้องห้าม” ของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยไทย
การคุมตำรวจให้ตั้งข้อหาประชาชนโดยคำนึงถึงหลักนิติธรรมและหลักคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลนอกจากจะไม่ใช่ “ข้อต้องห้าม” แล้วยังเป็น “ข้อต้องกระทำ” อีกต่างหาก
รัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสองบัญญัติไว้ชัดเจน มาตรา 81 ส่วนที่ 5 แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม บัญญัติรายละเอียดไว้ยิ่งกว่าชัดเจนแจ่มแจ้งเสียอีก
โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญมาตรา 81 (2) !
ไปหาอ่านกันให้ดี ๆ เถอะครับ การที่รัฐธรรมนูญไทยบัญญัติไว้อย่างนี้ มันสะท้อนให้เห็นว่าทั้ง “หลักนิติธรรม” และกระบวนการใน “ด้านกฎหมายและการยุติธรรม” มีปัญหา
ผมจึงไม่อาจยอมรับความเห็นของนายกฯอภิสิทธิ์ได้ ที่บอกว่าท่านจะไม่แทรกแซงคดีความที่ตำรวจทำ ถือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของนักการเมืองของรัฐบาล และยังย้อนว่าหากพันธมิตรฯต้องการการเมืองใหม่ก็ไม่ควรเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงงานของตำรวจ
ถ้าระบบและโครงสร้างของตำรวจไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากลของระบอบประชาธิปไตยในประเทศที่พัฒนาแล้ว พูดอย่างนี้พอรับฟังได้ เพราะคำว่า “แทรกแซง” น่าจะหมายถึงไปก้าวก่ายงานที่ตำรวจเขาทำถูกทำดีอยู่แล้วให้ผิดเพี้ยนไปจากหลักนิติธรรมและกระบวนการด้านกฎหมายและการยุติธรรม จึงต้อง “ไม่แทรกแซง” แต่นี่...ความเป็นจริงของโลกของชีวิตในประเทศไทยมันไม่ใช่ ในเมื่อทั้งระบบ โครงสร้าง และการทำงานของตำรวจ ยังคงมีปัญหา คำว่า “ไม่แทรกแซง” จึงมีค่าไม่ต่างจากไม่เอาธุระ ไม่กำกับดูแลให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายตำรวจ และทำเท่ทำหล่อพูดจาด้วยประโยคที่เป็นนามธรรมและดูดีลอยตัวอยู่เหนือปัญหาที่รังแต่จะทำให้สังคมเข่นฆ่ากันไม่รู้จบ
นายกฯมีหน้าที่ทั้งตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายตำรวจ และกฎหมายอื่น ๆ ที่จะต้องกำกับดูแลการทำงานของตำรวจให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม หลักคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลมิให้ถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หลักอำนวยความยุติธรรมให้เท่าเทียมกัน และหลักอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
นายกฯ ก็ไม่ใช่ไม่ทำครับ ทำมาพอสมควร โดยเฉพาะการสับเปลี่ยนบุคลากรตำแหน่งสำคัญ
หรือแม้แต่การเปลี่ยนตัว หรือกำหนดตัว หัวหน้าพนักงานสอบสวน ในบางคดีสำคัญ
รวมทั้งคดีรุมสังหารคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ผมยังเขียนยกย่องท่านเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนเลย ที่ท่านสั่งการ (หรือเสนอแนะ ?) ให้ ผบ.ตร.มอบหมายให้พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการสืบสวนสอบสวนคดีนี้
เหล่านี้ไม่ใช่ “แทรกแซง” แต่เป็น “กำกับดูแล” ตามหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด !
แต่มาวันสองวันนี้ กับข้อหา “ก่อการร้าย” ที่เกินจริงในคดีพันธมิตรฯชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ ท่านกลับบอกว่าท่านกำลังสร้างมาตรฐานใหม่ของการเมืองใหม่ (??!!) ด้วยการไม่ลงไปแทรกแซงการพิจารณาคดีในชั้นตำรวจ ท่านบอกอย่างเพี้ยน ๆ ว่าสังคมไทยถ้าฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับตำรวจอีกฝ่ายไม่ยอมรับศาลมันก็ยุ่ง ไม่มีวันจบ ทั้ง ๆ ที่ตำรวจกับศาลยุติธรรม โดยเฉพาะศาลฎีกา มีความแตกต่างกันอย่างมหาศาล ท่านนำมาเปรียบกันอย่างนี้ได้อย่างไร
คำพูดเท่ ๆ ที่ “ดูดี” ของนายกฯอภิสิทธิ์กำลังจะเป็น “ยาพิษขนานใหม่” ป้อนให้สังคมไทยเสพ !
ขอพูดแบบไม่เท่ และฟังดูไม่ดี (สำหรับแฟนานุแฟนท่านนายกฯอภิสิทธิ์ – คงจะดู “ร้าย” ด้วยซ้ำ) ว่าที่ท่านปล่อยให้ตำรวจทำเช่นนี้ได้น่ะ ไม่มีทางคิดเป็นอื่นได้เลยนอกจาก...
นายกฯ อภิสิทธิ์เห็นด้วยกับการให้ตำรวจตั้งข้อหาก่อการร้ายให้กับพันธมิตรฯและท่านกษิต ภิรมย์
เพราะต้องการลดแรงกดดันในข้อกล่าวหา “2 มาตรฐาน” และการถูกมองว่าเกรงใจพันธมิตรฯ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมตามมุมมองของนายกฯที่กำลังจะเริ่มก้าวที่ 2, 3, ... ต่อไปหลังกรรมการ 2 ชุดของรัฐสภาส่งมอบข้อสรุป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญตัดมาตรา 237 วรรคสอง ที่จะส่งผลให้มีการปลดปล่อยนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง 2 รุ่นออกมา
นายกฯเชื่อว่าในที่สุดแล้ว พันธมิตรฯและท่านกษิตจะได้รับความเป็นธรรมในชั้นศาล หรือถ้าโชคดีบางส่วนอาจจะได้ตั้งแต่ชั้นอัยการ
ถ้าท่านพูดตรงไปตรงมาตาม concept นี้ ซึ่งโดยความสามารถเฉพาะตัวแล้ว ปรับแต่งให้ดูดีกว่าที่ผมเขียนมาดิบ ๆ นี้ได้ ผมจะเคารพนับถือท่านมากกว่านี้เยอะ...
มากกว่าที่ท่านมาอ้างหลักการ “ไม่แทรกแซง”, “เป็นกลาง” เยอะเลย !