ละครเวทีเรื่อง 70 ปีดอกไม้งามจากสยามเป็นไทย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สะท้อนภาพประวัติศาสตร์การเมืองไทยในยุคที่มีการรณรงค์คำขวัญว่า เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย ผ่านเรื่องราวของหญิงสาวผู้เข้าประกวดนางสาวสยาม ผู้ทำหน้าที่ตัวแทนการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจคำว่า ประชาธิปไตย และธรรมนูญ ขณะที่ผู้เข้าชมส่วนใหญ่เห็นว่า ประชาธิปไตยไทยยังไม่ทัดเทียมอารยประเทศ
สำหรับกิจกรรมวันครบรอบ 77 ปี ประชาธิปไตยไทย มีการจัดเสวนาในหัวข้อ การเมืองไทยเราจะไปทางไหนกัน ได้ข้อสรุปจากผู้เข้าร่วมเสวนาว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยยังย่ำอยู่กับที่ และตลอด 77 ปี ประชาธิปไตยไทยยังคงเดินควบคู่กับระบอบเผด็จการ เนื่องจากยังมีการรัฐประหารเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมือง แทนการใช้ระบอบรัฐสภา โดยเฉพาะเหตุการณ์ยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย หยิบยกกรณีการวินิจฉัยการถือหุ้นของ ส.ว. และ ส.ส. มาชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และตั้งข้อสังเกตถึงการหยุดเดินรถไฟทั่วประเทศ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงมติของคณะรัฐมนตรีในการปรับโครงสร้าง โดยกล่าวว่า อาจมีเบื้องหลังต่อเนื่องกับกระบวนการล้มรัฐบาล และไม่เห็นด้วยกับระบบตุลาการภิวัฒน์ ที่ให้อำนาจองค์กรอิสระล้มระบบพรรคการเมือง
ขณะที่ ดร.ผาสุข พงศ์ไพจิตร นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายคำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ เห็นตรงกันว่า ประชาธิปไตยไทยภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวินัย และสร้างจิตสำนึกนักการเมือง แต่การยึดอำนาจกลับทำลายระบบต่างๆ ให้ล้มเหลว และส่งผลให้ไทยต้องเริ่มต้นวิถีประชาธิปไตยในรูปแบบใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2550
ระหว่างการเสวนามีผู้ตะโกนแสดงความไม่พอใจที่มีการพูดถึงประชาธิปไตย เพราะเห็นว่า แม้จะพูดถึงสักกี่ครั้ง ประชาธิปไตยก็ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย
สำหรับกิจกรรมวันครบรอบ 77 ปี ประชาธิปไตยไทย มีการจัดเสวนาในหัวข้อ การเมืองไทยเราจะไปทางไหนกัน ได้ข้อสรุปจากผู้เข้าร่วมเสวนาว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยยังย่ำอยู่กับที่ และตลอด 77 ปี ประชาธิปไตยไทยยังคงเดินควบคู่กับระบอบเผด็จการ เนื่องจากยังมีการรัฐประหารเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมือง แทนการใช้ระบอบรัฐสภา โดยเฉพาะเหตุการณ์ยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย หยิบยกกรณีการวินิจฉัยการถือหุ้นของ ส.ว. และ ส.ส. มาชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และตั้งข้อสังเกตถึงการหยุดเดินรถไฟทั่วประเทศ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงมติของคณะรัฐมนตรีในการปรับโครงสร้าง โดยกล่าวว่า อาจมีเบื้องหลังต่อเนื่องกับกระบวนการล้มรัฐบาล และไม่เห็นด้วยกับระบบตุลาการภิวัฒน์ ที่ให้อำนาจองค์กรอิสระล้มระบบพรรคการเมือง
ขณะที่ ดร.ผาสุข พงศ์ไพจิตร นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายคำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ เห็นตรงกันว่า ประชาธิปไตยไทยภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวินัย และสร้างจิตสำนึกนักการเมือง แต่การยึดอำนาจกลับทำลายระบบต่างๆ ให้ล้มเหลว และส่งผลให้ไทยต้องเริ่มต้นวิถีประชาธิปไตยในรูปแบบใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2550
ระหว่างการเสวนามีผู้ตะโกนแสดงความไม่พอใจที่มีการพูดถึงประชาธิปไตย เพราะเห็นว่า แม้จะพูดถึงสักกี่ครั้ง ประชาธิปไตยก็ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย