ผบก.จร.รณรงค์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเคารพกฎจราจร ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ฝ่าฝืนไม่หยุดรถให้คนเดินข้ามทางม้าลายปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนคนเดินเท้าไม่ข้ามทางตามที่กำหนด แต่ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
วานนี้(10 ก.ค.)พล.ต.ต.วีระพัฒน์ ตันศรีสกุล ผู้บังคับการตำรวจจราจร(ผบก.จร.)กล่าวถึงการจัดโครงการส่งเสริมวินัยจราจร โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคเอกชน ม.ศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร ที่ทางข้ามม้าลาย บริเวณถนนอโศก-มิตรไมตรี กทม. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ใช้ทางม้าลาย และตระหนักถึงว่ากฎจราจรคือกฎแห่งความปลอดภัย เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรที่ติดขัดและป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้กฎจราจรมีสภาพบังคับใช้ สร้างจิตสำนึกให้ปฏิบัติตามกฎและวินัยจราจร เพื่อเป็นการจัดระเบียบสังคมในภาพรวม และให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคกัน
พล.ต.ต.วีระพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า การจัดโครงการนี้เนื่องจากปัจจุบันสภาพปัญหาการจราจรใน กทม. มีการใช้รถใช้ถนนจำนวนมาก และมีโอกาสใช้เส้นทางสัญจรกันมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ขับรถจากช่องทางขวาแล้วเบียดเข้าช่องซ้ายหรือขับมาจากช่องทางซ้ายแล้วเบียดเข้าช่องทางขวา หรือบริเวณที่เป็นคอขวด อีกทั้งคนเดินเท้ามักจะข้ามถนนตามใจตนเอง รวมทั้งผู้ขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ไม่หยุดรถให้คนข้ามในบริเวณแนวทางข้าม ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยส่วนหนึ่ง
“การจัดการรณรงค์ครั้งนี้ยังมีการนำข้อกฎหมายมาบังคับใช้สำหรับการไม่หยุดรถให้คนข้ามในทางข้าม หรือการไม่ข้ามถนนในทางข้าม คือ ไม่หยุดรถให้คนเดินเท้าข้ามในทางข้ามหรือทางม้าลาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ข้ามถนนนอกทางข้ามในระยะไม่เกิน 100 เมตร มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท, ข้ามทางข้ามโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญาณควบคุมคนเดินเท้า มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท, คนเดินเท้าข้ามทางฝ่าฝืนสัญญาณจราจรในทางร่วมทางแยก มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และคนเดินเท้าข้ามทางโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญาณที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏ มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท”
นายภูริส ภูมิประเทศ อายุ 26 ปี อาชีพรับราชการ กล่าวถึงโครงการรณรงค์เสริมวินัยจราจร ในเรื่องการลดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุบนท้องถนน ว่าจะทำให้ผู้ใช้รถบนท้องถนนมีวินัยในการใช้ถนน เพื่อความปลอดภัยของตนเอง คนรอบข้าง และคนข้ามถนนมากขึ้น เพราะเท่าที่เจอกับตัวเองมาบางครั้งต้องระวังตัวเองมากขึ้น ในการข้ามถนนในจุดที่มีสัญญาณไฟสำหรับข้ามถนน ซึ่งทั้งที่เป็นสัญญาณไฟสำหรับคนข้าม และสัญญาณไฟให้รถหยุดในจุดดังกล่าว แต่ผู้ขับขี่บางคนก็ไม่ยอมหยุดให้ ซึ่งก็มีผู้ขับขี่บางคนยังมีนิสัยเห็นแก่ตัว ไม่เคารพกฎจราจร อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ รวมทั้ง คนข้ามถนนบางคนก็มักง่าย ข้ามถนนตามความสะดวกของตน ทั้งที่ทางม้าลาย หรือสะพานลอยก็อยู่ตรงจุดที่ตนเองจะข้าม
ขณะที่ น.ส.นิตติยา ศรีคง อายุ 27 ปี พนักงานบริษัท กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดีที่จะมีการรณรงค์ เพราะการกระทำเช่นนี้ก็เหมือนกับเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับคนที่ใช้รถใช้ถนน แต่การจะใช้มาตราการจับปรับทันทีก็อาจจะสร้างความรู้สึกที่ไม่ดี ควรจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนส่วนใหญ่ ทราบอย่างทั่วถึงก่อนที่จะมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้
ส่วน จ.ส.ต.ปรวรรษ ราบรื่น ผบ.หมู่ จร.สน.สามเสน กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็มีการนำกฎหมายนี้มาใช้ แต่บางครั้งเมื่อถึง ชั่วโมงเร่งด่วน ก็อาจจะมีการอนุโลมผ่อนผันบ้าง แต่การนำโครงการดังกล่าวมารณรงค์นั้นก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะเป็นการกวดขันวินัยจราจรด้วย และยังเป็นการเพิ่มความรู้สึกกลัวในการที่จะทำผิดกฎจราจร
ขณะที่ ด.ต.ประเสริฐ รอดพาล ผบ.หมู่ จร.สน.สามเสน กล่าวว่า เป็นการรณรงค์ที่ดี เนื่องจาก ปัจจุบันคนมักไม่ค่อยใช้ทางข้าม ทั้งสะพานลอย หรือทางม้าลาย เลือกที่จะเอาความสะดวกของตัวเอง ทั้งที่สะพานลอยหรือทางม้าลาย เป็นการสร้างมาเพื่อความปลอดภัย ของตัวผู้ใช้ถนนเอง ส่วนผู้ที่ใช้รถก็ยังเป็นการสร้างสำนึกสร้างวินัยจราจร แต่การที่จะนำการบังคับใช้การปรับเลยนั้น อาจจะสร้างความรู้สึกที่ไม่ดี เพราะส่วนใหญ่มักมอง ตำรวจจราจรไปในทางลบ ทั้ง ๆ ที่บางครั้งผุ้ที่ขับขี่รถมักจะทำผิดกฎจราจรอยู่เป็นประจำ ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้รู้กันอย่างแพร่หลายก่อน หรือใช้วิธีการตักเตือนก่อน แล้วใช้มาตราการจับปรับเป้นมาตราการสุดท้าย
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 15 กรกฎาคม เวลา 10.00 น. ถึงเวลา 11.00 น. ที่ทางข้ามม้าลาย ถนนอโศก - มิตรไมตรี กรุงเทพมหานคร โดยความร่วมมือระหว่าง บก.จร. กทม. องค์กรเอกชน มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร
วานนี้(10 ก.ค.)พล.ต.ต.วีระพัฒน์ ตันศรีสกุล ผู้บังคับการตำรวจจราจร(ผบก.จร.)กล่าวถึงการจัดโครงการส่งเสริมวินัยจราจร โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคเอกชน ม.ศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร ที่ทางข้ามม้าลาย บริเวณถนนอโศก-มิตรไมตรี กทม. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ใช้ทางม้าลาย และตระหนักถึงว่ากฎจราจรคือกฎแห่งความปลอดภัย เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรที่ติดขัดและป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้กฎจราจรมีสภาพบังคับใช้ สร้างจิตสำนึกให้ปฏิบัติตามกฎและวินัยจราจร เพื่อเป็นการจัดระเบียบสังคมในภาพรวม และให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคกัน
พล.ต.ต.วีระพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า การจัดโครงการนี้เนื่องจากปัจจุบันสภาพปัญหาการจราจรใน กทม. มีการใช้รถใช้ถนนจำนวนมาก และมีโอกาสใช้เส้นทางสัญจรกันมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ขับรถจากช่องทางขวาแล้วเบียดเข้าช่องซ้ายหรือขับมาจากช่องทางซ้ายแล้วเบียดเข้าช่องทางขวา หรือบริเวณที่เป็นคอขวด อีกทั้งคนเดินเท้ามักจะข้ามถนนตามใจตนเอง รวมทั้งผู้ขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ไม่หยุดรถให้คนข้ามในบริเวณแนวทางข้าม ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยส่วนหนึ่ง
“การจัดการรณรงค์ครั้งนี้ยังมีการนำข้อกฎหมายมาบังคับใช้สำหรับการไม่หยุดรถให้คนข้ามในทางข้าม หรือการไม่ข้ามถนนในทางข้าม คือ ไม่หยุดรถให้คนเดินเท้าข้ามในทางข้ามหรือทางม้าลาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ข้ามถนนนอกทางข้ามในระยะไม่เกิน 100 เมตร มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท, ข้ามทางข้ามโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญาณควบคุมคนเดินเท้า มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท, คนเดินเท้าข้ามทางฝ่าฝืนสัญญาณจราจรในทางร่วมทางแยก มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และคนเดินเท้าข้ามทางโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญาณที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏ มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท”
นายภูริส ภูมิประเทศ อายุ 26 ปี อาชีพรับราชการ กล่าวถึงโครงการรณรงค์เสริมวินัยจราจร ในเรื่องการลดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุบนท้องถนน ว่าจะทำให้ผู้ใช้รถบนท้องถนนมีวินัยในการใช้ถนน เพื่อความปลอดภัยของตนเอง คนรอบข้าง และคนข้ามถนนมากขึ้น เพราะเท่าที่เจอกับตัวเองมาบางครั้งต้องระวังตัวเองมากขึ้น ในการข้ามถนนในจุดที่มีสัญญาณไฟสำหรับข้ามถนน ซึ่งทั้งที่เป็นสัญญาณไฟสำหรับคนข้าม และสัญญาณไฟให้รถหยุดในจุดดังกล่าว แต่ผู้ขับขี่บางคนก็ไม่ยอมหยุดให้ ซึ่งก็มีผู้ขับขี่บางคนยังมีนิสัยเห็นแก่ตัว ไม่เคารพกฎจราจร อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ รวมทั้ง คนข้ามถนนบางคนก็มักง่าย ข้ามถนนตามความสะดวกของตน ทั้งที่ทางม้าลาย หรือสะพานลอยก็อยู่ตรงจุดที่ตนเองจะข้าม
ขณะที่ น.ส.นิตติยา ศรีคง อายุ 27 ปี พนักงานบริษัท กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดีที่จะมีการรณรงค์ เพราะการกระทำเช่นนี้ก็เหมือนกับเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับคนที่ใช้รถใช้ถนน แต่การจะใช้มาตราการจับปรับทันทีก็อาจจะสร้างความรู้สึกที่ไม่ดี ควรจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนส่วนใหญ่ ทราบอย่างทั่วถึงก่อนที่จะมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้
ส่วน จ.ส.ต.ปรวรรษ ราบรื่น ผบ.หมู่ จร.สน.สามเสน กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็มีการนำกฎหมายนี้มาใช้ แต่บางครั้งเมื่อถึง ชั่วโมงเร่งด่วน ก็อาจจะมีการอนุโลมผ่อนผันบ้าง แต่การนำโครงการดังกล่าวมารณรงค์นั้นก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะเป็นการกวดขันวินัยจราจรด้วย และยังเป็นการเพิ่มความรู้สึกกลัวในการที่จะทำผิดกฎจราจร
ขณะที่ ด.ต.ประเสริฐ รอดพาล ผบ.หมู่ จร.สน.สามเสน กล่าวว่า เป็นการรณรงค์ที่ดี เนื่องจาก ปัจจุบันคนมักไม่ค่อยใช้ทางข้าม ทั้งสะพานลอย หรือทางม้าลาย เลือกที่จะเอาความสะดวกของตัวเอง ทั้งที่สะพานลอยหรือทางม้าลาย เป็นการสร้างมาเพื่อความปลอดภัย ของตัวผู้ใช้ถนนเอง ส่วนผู้ที่ใช้รถก็ยังเป็นการสร้างสำนึกสร้างวินัยจราจร แต่การที่จะนำการบังคับใช้การปรับเลยนั้น อาจจะสร้างความรู้สึกที่ไม่ดี เพราะส่วนใหญ่มักมอง ตำรวจจราจรไปในทางลบ ทั้ง ๆ ที่บางครั้งผุ้ที่ขับขี่รถมักจะทำผิดกฎจราจรอยู่เป็นประจำ ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้รู้กันอย่างแพร่หลายก่อน หรือใช้วิธีการตักเตือนก่อน แล้วใช้มาตราการจับปรับเป้นมาตราการสุดท้าย
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 15 กรกฎาคม เวลา 10.00 น. ถึงเวลา 11.00 น. ที่ทางข้ามม้าลาย ถนนอโศก - มิตรไมตรี กรุงเทพมหานคร โดยความร่วมมือระหว่าง บก.จร. กทม. องค์กรเอกชน มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร