“พาณิชย์”แก้ปัญหาข้าวโพดเน่า เตรียมเสนอครม.สัปดาห์หน้า ขอเปิดขายข้าวโพดทันที เหตุรอเซอร์เวเยอร์ตรวจจนครบทุกโกดังไม่ได้ เพราะใช้เวลานาน และหากช้าไปกว่านี้ ข้าวโพดฤดูกาลใหม่จะเริ่มออกมาจะยิ่งมีปัญหามาก “ชุติมา”เผยจะเปิดขายหมด 1 ล้านตัน เน้นส่งออกเป็นหลัก คาดเริ่มเปิดประมูลปลายก.ค.นี้ หลังจากนั้นจะระบายมันสำปะหลัง และข้าว
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า วานนี้ (10 ก.ค.)ได้หารือถึงแนวทางการระบายข้าวโพดกับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แห่งชาติ หลังจากที่ได้มีการเดินทางไปสุ่มตรวจสอบโกดังเก็บข้าวโพดในช่วงวันหยุดที่ผ่านมาจำนวน 17 โกดัง จาก 291 โกดัง พบว่าข้าวโพดบางโกดังเริ่มมีปัญหาเสื่อมคุณภาพ หากไม่เร่งระบาย จะยิ่งทำให้ข้าวโพดยิ่งเสียหายมากขึ้น
“ได้เสนอรองนายกฯไปว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งระบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะตามยุทธศาสตร์ที่กรมฯได้เสนอให้ครม. พิจารณา ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า จะต้องระบายภายในเดือน ก.ค.-ส.ค. และมติครม. ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องระบายให้จบภายในเดือนก.ค.นี้ แต่ปัญหาก็คือ ครม.ได้ขอให้มีการตรวจสอบข้าวโพดในสต๊อกทั้งหมดก่อนที่จะทำการระบาย ซึ่งหากตรวจสอบทุกโกดัง คงต้องใช้เวลานาน และคงจะระบายไม่ทันแน่ จึงได้มีการหารือเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้"
ทั้งนี้ ในการหารือ นายกอร์ปศักดิ์ ได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์ทำเรื่องเสนอให้ครม. พิจารณาในสัปดาห์หน้า เพื่อขออนุมัติให้มีการเปิดประมูลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอผลการตรวจสอบของบริษัทตรวจสอบคุณภาพ (เซอร์เวเยอร์) เพราะหากไม่เร่งระบาย ก็จะทำไม่ทันตามมติครม. ที่กำหนดไว้ และยังมีเหตุผลที่ว่าหากระบายช้า จะกระทบต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะทยอยออกมาในเร็วๆ นี้
นางสาวชุติมา กล่าวว่าหาก ครม.อนุมัติในหลักการให้มีการระบายข้าวโพดแล้ว กรมฯก็จะออกประกาศเชิญชวนเอกชนให้เข้าร่วมการประมูล ซึ่งคงจะเปิดประมูลทั้งหมด 1 ล้านตัน โดยจะมีระยะเวลาให้ผู้เข้าร่วมประมูลไปตรวจสอบคุณภาพข้าวโพดในแต่ละโกดัง และหลังจากนั้นจะเปิดให้ยื่นซองประกวดราคา ทำการเปิดซอง และต่อรองราคา โดยจะมีการตั้งราคากลางเอาไว้ และหากใครให้ราคาสูงกว่าราคากลาง ก็คงจะอนุมัติขาย แต่หากให้ราคาต่ำกว่า ก็ต้องไปดูว่าทำไมถึงให้ราคาต่ำ เพราะการขายจะเป็นการขายเป็นรายโกดัง โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลได้ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.ค.
"การขายจะเปิดประมูลเป็นการทั่วไป ทั้งผู้ซื้อในประเทศ และต่างประเทศ แต่จะให้ความสำคัญกับการซื้อเพื่อนำไปส่งออกก่อน แต่ถ้าหากขายไม่ได้ ก็อาจจะพิจารณาขายให้กับผู้ซื้อภายในประเทศด้วย"
อย่างไรก็ตาม ในการขายข้าวโพด หากขายได้ราคาต่ำกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ ก็จะเสนอให้ครม.พิจารณาในขั้นสุดท้ายว่า จะอนุมัติขายหรือไม่ เพราะมติครม.ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ในการระบายสินค้าเกษตร หากขายได้ต่ำกว่าราคาที่รับจำนำไว้ และประสบปัญหาการขาดทุน จะต้องเสนอให้ครม.ร่วมรับผิดชอบ
นางสาวชุติมากล่าวว่า สำหรับการระบายมันสำปะหลัง ก็คงจะดำเนินการระบายหลังจากที่ได้ระบายข้าวโพดไปแล้ว เพราะตามยุทธศาสตร์ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า จะต้องระบายให้เสร็จสิ้นภายในเดือนส.ค.นี้ โดยจะเน้นการส่งออกเป็นหลัก และทยอยขาย ไม่ขายยกล๊อต ซึ่งการขายจะเปิดประมูลขายให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป รวมไปถึงการขายในรูปรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) โดยเฉพาะขายให้กับจีนที่ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ที่จะซื้อมันสำปะหลังไทยจำนวน 1 ล้านตันไปแล้ว
“การระบายมันไม่น่าจะมีปัญหาเหมือนข้าวโพด เพราะคุณภาพยังดีอยู่ และน่าจะขายได้ในราคาตลาด แต่จะให้ราคาดีเหมือนราคารับจำนำคงไม่ได้ เพราะรับจำนำมาแล้ว ก็ขาดทุน เพราะนโยบายต้องการช่วยเหลือเกษตรกร แต่กรมฯ จะพยายามขายให้ได้ราคาดีที่สุด”นางสาวชุติมา กล่าว
ส่วนข้าว จะเป็นสินค้าถัดไปที่จะทำการระบาย โดยขณะนี้ได้มีการเสนอยุทธศาสตร์การระบายข้าวให้นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พิจารณาแล้ว และอยู่ระหว่างการเสนอให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อพิจารณา ซึ่งหากกขช.อนุมัติในหลักการแล้ว ก็คงจะเร่งระบายต่อไป
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า วานนี้ (10 ก.ค.)ได้หารือถึงแนวทางการระบายข้าวโพดกับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แห่งชาติ หลังจากที่ได้มีการเดินทางไปสุ่มตรวจสอบโกดังเก็บข้าวโพดในช่วงวันหยุดที่ผ่านมาจำนวน 17 โกดัง จาก 291 โกดัง พบว่าข้าวโพดบางโกดังเริ่มมีปัญหาเสื่อมคุณภาพ หากไม่เร่งระบาย จะยิ่งทำให้ข้าวโพดยิ่งเสียหายมากขึ้น
“ได้เสนอรองนายกฯไปว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งระบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะตามยุทธศาสตร์ที่กรมฯได้เสนอให้ครม. พิจารณา ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า จะต้องระบายภายในเดือน ก.ค.-ส.ค. และมติครม. ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องระบายให้จบภายในเดือนก.ค.นี้ แต่ปัญหาก็คือ ครม.ได้ขอให้มีการตรวจสอบข้าวโพดในสต๊อกทั้งหมดก่อนที่จะทำการระบาย ซึ่งหากตรวจสอบทุกโกดัง คงต้องใช้เวลานาน และคงจะระบายไม่ทันแน่ จึงได้มีการหารือเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้"
ทั้งนี้ ในการหารือ นายกอร์ปศักดิ์ ได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์ทำเรื่องเสนอให้ครม. พิจารณาในสัปดาห์หน้า เพื่อขออนุมัติให้มีการเปิดประมูลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอผลการตรวจสอบของบริษัทตรวจสอบคุณภาพ (เซอร์เวเยอร์) เพราะหากไม่เร่งระบาย ก็จะทำไม่ทันตามมติครม. ที่กำหนดไว้ และยังมีเหตุผลที่ว่าหากระบายช้า จะกระทบต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะทยอยออกมาในเร็วๆ นี้
นางสาวชุติมา กล่าวว่าหาก ครม.อนุมัติในหลักการให้มีการระบายข้าวโพดแล้ว กรมฯก็จะออกประกาศเชิญชวนเอกชนให้เข้าร่วมการประมูล ซึ่งคงจะเปิดประมูลทั้งหมด 1 ล้านตัน โดยจะมีระยะเวลาให้ผู้เข้าร่วมประมูลไปตรวจสอบคุณภาพข้าวโพดในแต่ละโกดัง และหลังจากนั้นจะเปิดให้ยื่นซองประกวดราคา ทำการเปิดซอง และต่อรองราคา โดยจะมีการตั้งราคากลางเอาไว้ และหากใครให้ราคาสูงกว่าราคากลาง ก็คงจะอนุมัติขาย แต่หากให้ราคาต่ำกว่า ก็ต้องไปดูว่าทำไมถึงให้ราคาต่ำ เพราะการขายจะเป็นการขายเป็นรายโกดัง โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลได้ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.ค.
"การขายจะเปิดประมูลเป็นการทั่วไป ทั้งผู้ซื้อในประเทศ และต่างประเทศ แต่จะให้ความสำคัญกับการซื้อเพื่อนำไปส่งออกก่อน แต่ถ้าหากขายไม่ได้ ก็อาจจะพิจารณาขายให้กับผู้ซื้อภายในประเทศด้วย"
อย่างไรก็ตาม ในการขายข้าวโพด หากขายได้ราคาต่ำกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ ก็จะเสนอให้ครม.พิจารณาในขั้นสุดท้ายว่า จะอนุมัติขายหรือไม่ เพราะมติครม.ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ในการระบายสินค้าเกษตร หากขายได้ต่ำกว่าราคาที่รับจำนำไว้ และประสบปัญหาการขาดทุน จะต้องเสนอให้ครม.ร่วมรับผิดชอบ
นางสาวชุติมากล่าวว่า สำหรับการระบายมันสำปะหลัง ก็คงจะดำเนินการระบายหลังจากที่ได้ระบายข้าวโพดไปแล้ว เพราะตามยุทธศาสตร์ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า จะต้องระบายให้เสร็จสิ้นภายในเดือนส.ค.นี้ โดยจะเน้นการส่งออกเป็นหลัก และทยอยขาย ไม่ขายยกล๊อต ซึ่งการขายจะเปิดประมูลขายให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป รวมไปถึงการขายในรูปรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) โดยเฉพาะขายให้กับจีนที่ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ที่จะซื้อมันสำปะหลังไทยจำนวน 1 ล้านตันไปแล้ว
“การระบายมันไม่น่าจะมีปัญหาเหมือนข้าวโพด เพราะคุณภาพยังดีอยู่ และน่าจะขายได้ในราคาตลาด แต่จะให้ราคาดีเหมือนราคารับจำนำคงไม่ได้ เพราะรับจำนำมาแล้ว ก็ขาดทุน เพราะนโยบายต้องการช่วยเหลือเกษตรกร แต่กรมฯ จะพยายามขายให้ได้ราคาดีที่สุด”นางสาวชุติมา กล่าว
ส่วนข้าว จะเป็นสินค้าถัดไปที่จะทำการระบาย โดยขณะนี้ได้มีการเสนอยุทธศาสตร์การระบายข้าวให้นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พิจารณาแล้ว และอยู่ระหว่างการเสนอให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อพิจารณา ซึ่งหากกขช.อนุมัติในหลักการแล้ว ก็คงจะเร่งระบายต่อไป