ASTVผู้จัดการรายวัน - สนพ.อาศัยช่วงจังหวะน้ำมันโลกร่วง ดูดเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯทุกผลิตภัณฑ์อีก 40-60 สตางค์/ลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันไม่ขยับ ด้านกรมธุรกิจพลังงานศึกษาแผนให้ผู้ค้ามาตรา7 สำรองก๊าซแอลพีจีเพิ่มเป็น 1% หวังแก้ปัญหาขาดแคลนหลังไทยเป็นผู้นำเข้าแทนการส่งออก รอพิจารณารายละเอียดทุกด้านก่อนเสนอพลังงานไฟเขียว และจะมีผลบังคับใช้ในอีก 2 ปีเพื่อให้เอกชนเตรียมตัวในการสร้างคลังและระบบสาธารณูปโภครองรับ
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ.ได้ปรับอัตราเก็บเงินข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มในอัตราตั้งแต่ 40-60 สตางค์/ลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. ประกอบ ไปด้วย กลุ่มเบนซิน 60 สตางค์/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 40 สตางค์/ลิตร และกลุ่มดีเซล 50 สตางค์/ลิตร เพื่อเป็นการบรรเทาภาระกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้ชดเชยอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ที่ได้ปรับขึ้นไป
ทั้งนี้ ภาระการชดเชยภาษีของกองทุนน้ำมันฯเริ่มลดลงจากการที่ทยอยเก็บเงินคืน ในช่วงราคาน้ำมันโลกลด โดยขณะนี้ในกลุ่มของน้ำมันเบนซินยังเหลือภาระการชดเชยภาษีอยู่ 30 สตางค์/ลิตร แก๊สโซฮอล์ เหลืออีก 80 สตางค์/ลิตร และดีเซล เหลืออีก 70 สตางค์/ลิตร ซึ่งการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯในช่วงที่ผ่านมาทำให้สถานะกองทุนน้ำมันฯเริ่มเป็นบวกมากขึ้น ล่าสุดมีเงินไหลเข้าเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 3.5 แสนบาท เป็นวันละ 30 ล้านบาท หรือจากเดือน 10.5 ล้านบาท เป็นเดือนละ 900 ล้านบาท
ด้านนายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงต่อเนื่อง จนสามารถปรับลดราคาขายปลีกในประเทศได้ แต่เมื่อสนพ.เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯเพิ่มทำให้ราคาขายปลีกในประเทศยังไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้ค้าน้ำมันคงต้องขอดูแนวโน้มตลาดโลกอีก 2-3 วัน หากมีทิศทางปรับลดลงก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะปรับราคาขายปลีกลงอย่างน้อย 40-50 สตางค์/ลิตร ในช่วงปลายสัปดาห์นี้
จ่อเพิ่มเพดานสำรองแอลพีจี
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมธุรกิจพลังงานมีแนวคิดที่จะให้ผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 เก็บสำรองแอลพีจี(ก๊าซหุงต้ม)เพิ่มเป็น 1% หรือประมาณ 4 วัน จากปัจจุบันที่มีการเก็บสำรองก๊าซหุงต้มเพียง 0.5% เพื่อแก้ปัญหาก๊าซหุงต้มขาดแคลนเหมือนช่วงที่ผ่านมา เพราะขณะนี้ไทยมีการผลิตต่ำกว่าการใช้ ส่งผล ให้ต้องมีการนำเข้าแอลพีจี จากอดีตที่เป็นผู้ส่งออกจึงทำให้ไม่จำเป็นต้องมีสำรองมาก โดยหลักการดังกล่าวอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดทั้งหมดก่อนเสนอกระทรวงพลังงานเห็นชอบเพื่อประกาศให้ผู้ค้าเตรียมพร้อมก่อนบังคับใช้ในอีก 2 ปี
'เราคงจะต้องให้เวลากับผู้ค้าปรับตัวในการเตรียมพร้อมการลงทุนระบบสาธารณูปโภค และการสร้างคลังเก็บสำรองแอลพีจีโดยหลักการนี้ผู้ค้าแต่ละรายจะต้องลงทุนเองส่วนการสำรองจะขึ้นอยู่กับยอดขายก๊าซ โดยจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีจึงจะบังคับ ซึ่งปัจจุบันคลังเก็บสำรองก๊าซหุงต้มที่เขาบ่อยาสามารถรองรับปริมาณก๊าซหุงต้มได้เพียง 6-8 หมื่นตัน เท่านั้นและไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการนี้ ตั้งแต่แรก' นายศิริศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2550 ได้กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ต้องสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ไว้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีการกำหนดให้มีการสำรองน้ำมันดิบ 5% น้ำมันสำเร็จรูป 5% และก๊าซปิโตรเลียมเหลว(ก๊าซหุงต้ม) 0.5%
นายศิริศักดิ์กล่าวว่า กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ยังเสนอให้มีการผ่อนผันประกาศปรับปรุงระบบควบคุมไอระเหยน้ำมันในสถานีบริการน้ำมัน รถขนส่งน้ำมัน และคลังน้ำมันในพื้นที่ 23 เขตทั่วกรุงเทพฯ เพื่อเป็นทางเลือก ให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนในการลงทุนการดัดแปลงรถขนส่งน้ำมัน โดยคาดว่าการปรับปรุงประกาศดังกล่าวจะแล้วเสร็จปลายปีนี้ และจะมีผลบังคับใช้เดือนพ.ค.53 นี้
'การปรับปรุงประกาศดังกล่าวจะมีผล ยืดหยุ่นให้กับรถขนส่งน้ำมันรุ่นเก่าก่อนที่ประกาศเดิมมีผลบังคับใช้ ให้สามารถใช้ระบบเติมข้างบน (ท็อป โมดิฟายด์) แทนได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งระบบนี้ใช้ต้นทุนในการดัดแปลงเพียง 7 หมื่นบาทต่อคันเท่านั้น ซึ่งถูกกว่าระบบเดิมที่ให้เติมข้างล่างที่จะต้องลงทุนในการปรับปรุงรถขนส่งสูงถึง 3-5 แสนบาทต่อคันหลายเท่าตัว แต่สำหรับรถขนส่งน้ำมันใหม่ที่ออกมาหลังมีประกาศควบคุม ไอระเหยน้ำมันในสถานีบริการน้ำมัน รถขนส่ง และคลังน้ำมัน จะต้องเป็นระบบเติมข้างล่างทั้งหมด' นายศิริศักดิ์กล่าว
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ.ได้ปรับอัตราเก็บเงินข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มในอัตราตั้งแต่ 40-60 สตางค์/ลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. ประกอบ ไปด้วย กลุ่มเบนซิน 60 สตางค์/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 40 สตางค์/ลิตร และกลุ่มดีเซล 50 สตางค์/ลิตร เพื่อเป็นการบรรเทาภาระกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้ชดเชยอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ที่ได้ปรับขึ้นไป
ทั้งนี้ ภาระการชดเชยภาษีของกองทุนน้ำมันฯเริ่มลดลงจากการที่ทยอยเก็บเงินคืน ในช่วงราคาน้ำมันโลกลด โดยขณะนี้ในกลุ่มของน้ำมันเบนซินยังเหลือภาระการชดเชยภาษีอยู่ 30 สตางค์/ลิตร แก๊สโซฮอล์ เหลืออีก 80 สตางค์/ลิตร และดีเซล เหลืออีก 70 สตางค์/ลิตร ซึ่งการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯในช่วงที่ผ่านมาทำให้สถานะกองทุนน้ำมันฯเริ่มเป็นบวกมากขึ้น ล่าสุดมีเงินไหลเข้าเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 3.5 แสนบาท เป็นวันละ 30 ล้านบาท หรือจากเดือน 10.5 ล้านบาท เป็นเดือนละ 900 ล้านบาท
ด้านนายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงต่อเนื่อง จนสามารถปรับลดราคาขายปลีกในประเทศได้ แต่เมื่อสนพ.เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯเพิ่มทำให้ราคาขายปลีกในประเทศยังไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้ค้าน้ำมันคงต้องขอดูแนวโน้มตลาดโลกอีก 2-3 วัน หากมีทิศทางปรับลดลงก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะปรับราคาขายปลีกลงอย่างน้อย 40-50 สตางค์/ลิตร ในช่วงปลายสัปดาห์นี้
จ่อเพิ่มเพดานสำรองแอลพีจี
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมธุรกิจพลังงานมีแนวคิดที่จะให้ผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 เก็บสำรองแอลพีจี(ก๊าซหุงต้ม)เพิ่มเป็น 1% หรือประมาณ 4 วัน จากปัจจุบันที่มีการเก็บสำรองก๊าซหุงต้มเพียง 0.5% เพื่อแก้ปัญหาก๊าซหุงต้มขาดแคลนเหมือนช่วงที่ผ่านมา เพราะขณะนี้ไทยมีการผลิตต่ำกว่าการใช้ ส่งผล ให้ต้องมีการนำเข้าแอลพีจี จากอดีตที่เป็นผู้ส่งออกจึงทำให้ไม่จำเป็นต้องมีสำรองมาก โดยหลักการดังกล่าวอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดทั้งหมดก่อนเสนอกระทรวงพลังงานเห็นชอบเพื่อประกาศให้ผู้ค้าเตรียมพร้อมก่อนบังคับใช้ในอีก 2 ปี
'เราคงจะต้องให้เวลากับผู้ค้าปรับตัวในการเตรียมพร้อมการลงทุนระบบสาธารณูปโภค และการสร้างคลังเก็บสำรองแอลพีจีโดยหลักการนี้ผู้ค้าแต่ละรายจะต้องลงทุนเองส่วนการสำรองจะขึ้นอยู่กับยอดขายก๊าซ โดยจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีจึงจะบังคับ ซึ่งปัจจุบันคลังเก็บสำรองก๊าซหุงต้มที่เขาบ่อยาสามารถรองรับปริมาณก๊าซหุงต้มได้เพียง 6-8 หมื่นตัน เท่านั้นและไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการนี้ ตั้งแต่แรก' นายศิริศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2550 ได้กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ต้องสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ไว้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีการกำหนดให้มีการสำรองน้ำมันดิบ 5% น้ำมันสำเร็จรูป 5% และก๊าซปิโตรเลียมเหลว(ก๊าซหุงต้ม) 0.5%
นายศิริศักดิ์กล่าวว่า กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ยังเสนอให้มีการผ่อนผันประกาศปรับปรุงระบบควบคุมไอระเหยน้ำมันในสถานีบริการน้ำมัน รถขนส่งน้ำมัน และคลังน้ำมันในพื้นที่ 23 เขตทั่วกรุงเทพฯ เพื่อเป็นทางเลือก ให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนในการลงทุนการดัดแปลงรถขนส่งน้ำมัน โดยคาดว่าการปรับปรุงประกาศดังกล่าวจะแล้วเสร็จปลายปีนี้ และจะมีผลบังคับใช้เดือนพ.ค.53 นี้
'การปรับปรุงประกาศดังกล่าวจะมีผล ยืดหยุ่นให้กับรถขนส่งน้ำมันรุ่นเก่าก่อนที่ประกาศเดิมมีผลบังคับใช้ ให้สามารถใช้ระบบเติมข้างบน (ท็อป โมดิฟายด์) แทนได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งระบบนี้ใช้ต้นทุนในการดัดแปลงเพียง 7 หมื่นบาทต่อคันเท่านั้น ซึ่งถูกกว่าระบบเดิมที่ให้เติมข้างล่างที่จะต้องลงทุนในการปรับปรุงรถขนส่งสูงถึง 3-5 แสนบาทต่อคันหลายเท่าตัว แต่สำหรับรถขนส่งน้ำมันใหม่ที่ออกมาหลังมีประกาศควบคุม ไอระเหยน้ำมันในสถานีบริการน้ำมัน รถขนส่ง และคลังน้ำมัน จะต้องเป็นระบบเติมข้างล่างทั้งหมด' นายศิริศักดิ์กล่าว