เอเอฟพี/เอเจนซี - บรรดาผู้นำกลุ่ม 8 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี 8) กำหนดประชุมกันระหว่างวันที่ 8-10 นี้ที่อิตาลี ท่ามกลางเสียงเรียกร้องหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ให้ยกเลิกกลุ่มดังกล่าวไปเสีย หลังจากที่ไม่ได้สร้างผลงานใดๆ ในการแก้ไขวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเงินทั่วโลก โดยภารกิจดังกล่าวกลับไปตกหนักที่กลุ่ม "จี 20" แทน
กลุ่มจี 8 ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1975 โดยประกอบด้วยสมาชิกเพียง 7 ประเทศ คืออังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ แต่ภายหลังรัสเซียได้เข้าร่วมด้วยจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "จี 8"
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว กลุ่มจี 8 ก็ไม่ได้ผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาใดๆ มากไปกว่าการออกคำแถลงหลายฉบับ ในขณะที่กลุ่ม "จี 20" ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมากกว่า โดยนอกจาก จี8 แล้ว ยังรวมถึงพวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ชั้นนำอย่างอาร์เจนตินา บราซิล จีน อินเดีย และแอฟริกาใต้ กลายเป็นผู้ที่เข้าเผชิญหน้ารับมือวิกฤตการณ์ดังกล่าวโดยตรง โดยเฉพาะในการประชุมสุดยอดจี 20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
"เราสามารถพูดได้ว่าการประชุมจี 7 และจี 8 ในรอบหลายปีที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหาที่เป็นสาระสำคัญใดๆ เลย" ริชาร์ด พอร์เตส นักวิจัยแห่งลอนดอนสกูลออฟอีโคโนมิกส์ ให้ความเห็น และว่าขณะนี้ "จี 8" อยู่ในภาวะที่ "ไม่สามารถแก้ปัญหาสำคัญๆ ได้อีก จี 8 ไม่มีทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม การค้า การเงินระหว่างประเทศ โดยไม่ดึงเอาจีน อินเดีย บราซิล หรือแอฟริกาใต้เข้ามาร่วมมือด้วย"
แบร์รี เอเคนกรีน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า "เป็นเรื่องไร้สาระที่จะคิดหาหนทางการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศอย่างยั่งยืน โดยไม่ให้ผู้ที่มีเงินทุนสำรองในมือมากที่สุดเข้าร่วมด้วย" ซึ่งในที่นี้เขาหมายถึงจีน
แม้กระทั่งอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ก็ตั้งคำถามเกี่ยวกับรูปแบบของกลุ่ม "จี 8" เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า "ปัญหาที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ไม่มีทางแก้ไขให้ลุล่วงได้โดยประเทศอุตสาหกรรมตามลำพัง"
นอกจากนั้นในวันจันทร์ (6) หลุยส์ อินาซิโอ "ลูลา" ดา ซิลวา ประธานาธิบดีของบราซิล ยังกล่าวว่า "จี 20 มีบทบาทสำคัญกว่า จี 8"
เขาบอกว่า "เวทีใหญ่สำหรับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจควรเป็น จี 20 ทั้งนี้ก็เพราะโดยความเป็นจริงแล้ว สถานการณ์ในขณะนี้ซับซ้อนมากและยากเกินกว่าที่ประเทศร่ำรวยจะรับผิดชอบ โดยไม่ให้กลุ่มประเทศบีอาร์ไอซี (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) เข้ามาร่วมแก้ปัญหาด้วย"
แม้ฝ่ายปกป้อง "จี 8" จะบอกว่ากลุ่มดังกล่าวยังมี "บทบาทสำคัญอยู่" ดังที่จอห์น เคอร์ตัน แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต แย้งว่า "โดยพื้นฐานแล้วกลุ่ม จี 20 เดินตามหลักการและแนวทางที่กลุ่ม จี 7 และ จี 8 ริเริ่มไว้แต่แรก" ทว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศส่วนใหญ่เชื่อว่า จี 8 กำลังนับถอยหลังมากกว่า
"หากต้องการให้จี 20 ไปรอดและทำหน้าที่ได้ กลุ่มทั้งสอง (จี 8 และ จี 20) ไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกันต่อไปได้" ราจีฟ กุมาร แห่งสภาเพื่อการวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของอินเดีย ให้ความเห็น
ส่วนชาร์ลส์ วีพลอซแห่ง สถาบันการระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูง (Institut de Hautes Etudes Internationales) ในนครเจนีวา เห็นว่า "ต้องเตรียมการสำหรับการยกเลิกกลุ่ม จึ 8 ได้แล้ว เพราะจะมีปัญหาขัดแย้งในขั้นพื้นฐานหากยังคงรักษากลุ่มขนาดเล็กนี้ไว้ โดยผลักภาระการแก้ปัญหาสำคัญๆ ไปให้กลุ่ม จี 20"
แต่นักวิเคราะห์บางคนเสนอว่ากลุ่ม จี 20 เองก็อาจเผชิญอุปสรรคจำนวนมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งใหญ่ๆ อยู่ภายในกลุ่ม โดยเฉพาะระหว่างประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่กับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น การที่จีนและซาอุดีอาระเบียมีแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยแตกต่างจากจี 8 ย่อมทำให้ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่ตรงกันกับมหาอำนาจตะวันตกในเรื่องการวางระเบียบด้านเศรษฐกิจ
ดังนั้นจึงมีข้อเสนออีกแนวหนึ่งที่เห็นว่าควรลดขนาดของกลุ่มให้เล็กลงมาเป็น "จี 4" คือญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป มากกว่า
กลุ่มจี 8 ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1975 โดยประกอบด้วยสมาชิกเพียง 7 ประเทศ คืออังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ แต่ภายหลังรัสเซียได้เข้าร่วมด้วยจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "จี 8"
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว กลุ่มจี 8 ก็ไม่ได้ผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาใดๆ มากไปกว่าการออกคำแถลงหลายฉบับ ในขณะที่กลุ่ม "จี 20" ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมากกว่า โดยนอกจาก จี8 แล้ว ยังรวมถึงพวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ชั้นนำอย่างอาร์เจนตินา บราซิล จีน อินเดีย และแอฟริกาใต้ กลายเป็นผู้ที่เข้าเผชิญหน้ารับมือวิกฤตการณ์ดังกล่าวโดยตรง โดยเฉพาะในการประชุมสุดยอดจี 20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
"เราสามารถพูดได้ว่าการประชุมจี 7 และจี 8 ในรอบหลายปีที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหาที่เป็นสาระสำคัญใดๆ เลย" ริชาร์ด พอร์เตส นักวิจัยแห่งลอนดอนสกูลออฟอีโคโนมิกส์ ให้ความเห็น และว่าขณะนี้ "จี 8" อยู่ในภาวะที่ "ไม่สามารถแก้ปัญหาสำคัญๆ ได้อีก จี 8 ไม่มีทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม การค้า การเงินระหว่างประเทศ โดยไม่ดึงเอาจีน อินเดีย บราซิล หรือแอฟริกาใต้เข้ามาร่วมมือด้วย"
แบร์รี เอเคนกรีน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า "เป็นเรื่องไร้สาระที่จะคิดหาหนทางการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศอย่างยั่งยืน โดยไม่ให้ผู้ที่มีเงินทุนสำรองในมือมากที่สุดเข้าร่วมด้วย" ซึ่งในที่นี้เขาหมายถึงจีน
แม้กระทั่งอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ก็ตั้งคำถามเกี่ยวกับรูปแบบของกลุ่ม "จี 8" เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า "ปัญหาที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ไม่มีทางแก้ไขให้ลุล่วงได้โดยประเทศอุตสาหกรรมตามลำพัง"
นอกจากนั้นในวันจันทร์ (6) หลุยส์ อินาซิโอ "ลูลา" ดา ซิลวา ประธานาธิบดีของบราซิล ยังกล่าวว่า "จี 20 มีบทบาทสำคัญกว่า จี 8"
เขาบอกว่า "เวทีใหญ่สำหรับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจควรเป็น จี 20 ทั้งนี้ก็เพราะโดยความเป็นจริงแล้ว สถานการณ์ในขณะนี้ซับซ้อนมากและยากเกินกว่าที่ประเทศร่ำรวยจะรับผิดชอบ โดยไม่ให้กลุ่มประเทศบีอาร์ไอซี (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) เข้ามาร่วมแก้ปัญหาด้วย"
แม้ฝ่ายปกป้อง "จี 8" จะบอกว่ากลุ่มดังกล่าวยังมี "บทบาทสำคัญอยู่" ดังที่จอห์น เคอร์ตัน แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต แย้งว่า "โดยพื้นฐานแล้วกลุ่ม จี 20 เดินตามหลักการและแนวทางที่กลุ่ม จี 7 และ จี 8 ริเริ่มไว้แต่แรก" ทว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศส่วนใหญ่เชื่อว่า จี 8 กำลังนับถอยหลังมากกว่า
"หากต้องการให้จี 20 ไปรอดและทำหน้าที่ได้ กลุ่มทั้งสอง (จี 8 และ จี 20) ไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกันต่อไปได้" ราจีฟ กุมาร แห่งสภาเพื่อการวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของอินเดีย ให้ความเห็น
ส่วนชาร์ลส์ วีพลอซแห่ง สถาบันการระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูง (Institut de Hautes Etudes Internationales) ในนครเจนีวา เห็นว่า "ต้องเตรียมการสำหรับการยกเลิกกลุ่ม จึ 8 ได้แล้ว เพราะจะมีปัญหาขัดแย้งในขั้นพื้นฐานหากยังคงรักษากลุ่มขนาดเล็กนี้ไว้ โดยผลักภาระการแก้ปัญหาสำคัญๆ ไปให้กลุ่ม จี 20"
แต่นักวิเคราะห์บางคนเสนอว่ากลุ่ม จี 20 เองก็อาจเผชิญอุปสรรคจำนวนมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งใหญ่ๆ อยู่ภายในกลุ่ม โดยเฉพาะระหว่างประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่กับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น การที่จีนและซาอุดีอาระเบียมีแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยแตกต่างจากจี 8 ย่อมทำให้ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่ตรงกันกับมหาอำนาจตะวันตกในเรื่องการวางระเบียบด้านเศรษฐกิจ
ดังนั้นจึงมีข้อเสนออีกแนวหนึ่งที่เห็นว่าควรลดขนาดของกลุ่มให้เล็กลงมาเป็น "จี 4" คือญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป มากกว่า