บรรดาผู้นำกลุ่ม 8 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี 8) กำหนดประชุมกันระหว่างวันที่ 8-10 นี้ที่อิตาลี ท่ามกลางเสียงเรียกร้องหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ให้ยกเลิกกลุ่มดังกล่าวไปเสีย หลังจากที่ไม่ได้สร้างผลงานใดๆ ในการแก้ไขวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเงินทั่วโลก โดยภารกิจดังกล่าวกลับไปตกหนักที่กลุ่ม "จี 20" แทน
กลุ่มจี 8 ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1975 โดยประกอบด้วยสมาชิกเพียง 7 ประเทศ คืออังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ แต่ภายหลังรัสเซียได้เข้าร่วมด้วยจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "จี 8"
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว กลุ่มจี 8 ก็ไม่ได้ผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาใดๆ มากไปกว่าการออกคำแถลงหลายฉบับ ในขณะที่กลุ่ม "จี 20" ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมากกว่า โดยนอกจาก จี8 แล้ว ยังรวมถึงพวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ชั้นนำอย่างอาร์เจนตินา บราซิล จีน อินเดีย และแอฟริกาใต้ กลายเป็นผู้ที่เข้าเผชิญหน้ารับมือวิกฤตการณ์ดังกล่าวโดยตรง โดยเฉพาะในการประชุมสุดยอดจี 20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
"เราสามารถพูดได้ว่าการประชุมจี 7 และจี 8 ในรอบหลายปีที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหาที่เป็นสาระสำคัญใดๆ เลย" ริชาร์ด พอร์เตส นักวิจัยแห่งลอนดอนสกูลออฟอีโคโนมิกส์ ให้ความเห็น และว่าขณะนี้ "จี 8" อยู่ในภาวะที่ "ไม่สามารถแก้ปัญหาสำคัญๆ ได้อีก จี 8 ไม่มีทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม การค้า การเงินระหว่างประเทศ โดยไม่ดึงเอาจีน อินเดีย บราซิล หรือแอฟริกาใต้เข้ามาร่วมมือด้วย"
แบร์รี เอเคนกรีน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า "เป็นเรื่องไร้สาระที่จะคิดหาหนทางการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศอย่างยั่งยืน โดยไม่ให้ผู้ที่มีเงินทุนสำรองในมือมากที่สุดเข้าร่วมด้วย" ซึ่งในที่นี้เขาหมายถึงจีน
กลุ่มจี 8 ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1975 โดยประกอบด้วยสมาชิกเพียง 7 ประเทศ คืออังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ แต่ภายหลังรัสเซียได้เข้าร่วมด้วยจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "จี 8"
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว กลุ่มจี 8 ก็ไม่ได้ผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาใดๆ มากไปกว่าการออกคำแถลงหลายฉบับ ในขณะที่กลุ่ม "จี 20" ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมากกว่า โดยนอกจาก จี8 แล้ว ยังรวมถึงพวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ชั้นนำอย่างอาร์เจนตินา บราซิล จีน อินเดีย และแอฟริกาใต้ กลายเป็นผู้ที่เข้าเผชิญหน้ารับมือวิกฤตการณ์ดังกล่าวโดยตรง โดยเฉพาะในการประชุมสุดยอดจี 20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
"เราสามารถพูดได้ว่าการประชุมจี 7 และจี 8 ในรอบหลายปีที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหาที่เป็นสาระสำคัญใดๆ เลย" ริชาร์ด พอร์เตส นักวิจัยแห่งลอนดอนสกูลออฟอีโคโนมิกส์ ให้ความเห็น และว่าขณะนี้ "จี 8" อยู่ในภาวะที่ "ไม่สามารถแก้ปัญหาสำคัญๆ ได้อีก จี 8 ไม่มีทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม การค้า การเงินระหว่างประเทศ โดยไม่ดึงเอาจีน อินเดีย บราซิล หรือแอฟริกาใต้เข้ามาร่วมมือด้วย"
แบร์รี เอเคนกรีน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า "เป็นเรื่องไร้สาระที่จะคิดหาหนทางการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศอย่างยั่งยืน โดยไม่ให้ผู้ที่มีเงินทุนสำรองในมือมากที่สุดเข้าร่วมด้วย" ซึ่งในที่นี้เขาหมายถึงจีน