เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 6)
ขณะที่สัญญาสัมปทานบริหารช่อง 3 ต่ออีก 10 ปี (2553-2563) ของ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯที่แต่งตั้งโดย บอร์ดบมจ.อสมท “ASTVผู้จัดการรายวัน” ขอนำเสนอ ผลสอบสัญญาเดิมที่ไม่เป็นธรรม ให้สาธารณชนได้รับรู้
จำนวนผลกระทบที่เป็นตัวเงินของการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3
จากที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 ที่กำหนดให้เปลี่ยนวิธีคิดค่าตอบแทนจากอัตราร้อยละของรายได้ไปเป็นจำนวนตายตัว อาจทำให้ อสมท สูญเสียประโยชน์ที่ควรได้รับ เพื่อให้ทราบจำนวนค่าตอบแทนที่ อสมท สูญเสียจากการแก้ไขสัญญา จึงได้ทำการคำนวณหาค่าตอบแทน (ร้อยละ 6.5 จากรายได้ของบีอีซี ) สำหรับปี 2533 – 2548 ประหนึ่งว่า การแก้ไขวิธีคำนวณค่าตอบแทนไม่ได้เกิดขึ้น แล้วนำค่าตอบแทนที่คำนวณได้ไปเปรียบกับค่าตอบแทนที่ อสมท ได้รับจริง
ทั้งนี้การศึกษาได้ทำการแยกแยะออกเป็นรายปี ตั้งแต่ปี 2533 – 2548 แต่จะขอยกตัวอย่างมาอ้างอิงเพียงบางปี เช่น
ปี 2533 รายได้ค่าโฆษณา 445,841,160 บาท รายได้อื่น 5,392,594 บาท รวมรายได้ 451,233,753 บาท ส่วน 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 29,330,194 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำเท่ากับ 17,685,131 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 5,149,350 บาท
ปี 2538 รายได้ค่าโฆษณา 1,391,067,040 บาท รายได้อื่น 1,012,341,050 บาท รวมรายได้ 2,403,408,090 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 156,221,526 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 23,580,000 เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 1,554,000,000 บาท
ปี 2545 รายได้ค่าโฆษณา 2,017,060,292 บาท รายได้อื่น 55,579,147 บาท รวมรายได้ 2,072,639,439 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 134,721,564 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 54,467,500 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 400,000,000 บาท
ปี 2547 รายได้ค่าโฆษณา 2,400,656,682 บาท รายได้อื่น 30,398,011 บาท รวมรายได้ 2,431,054,693 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 158,018,555 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 65,385,500 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 1,000,000,000 บาท
ปี 2548 รายได้ค่าโฆษณา 2,236,828,995 บาท รายได้อื่น 24,189,474 บาท รวมรายได้ 2,261,018,469 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 146,966,200 บาท ค่าตอบแทนขันต่ำ 110,255,000 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 800,000,000 บาท
อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมทั้ง 16 ปีที่ผ่านมาแล้ว ( ปี 2533-2548 ) ผลการศึกษาพบว่า บีอีซี มีรายได้ค่าโฆษณาประมาณ 23,265,023,512 บาท มีรายได้อื่นประมาณ 2,037,854,940 บาท รวมรายได้ประมาณ 25,302,878,451 บาท
โดยที่ ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมปี 2533-2548 เท่ากับ 1,644,687,099 บาท ขณะที่ค่าตอบแทนขั้นต่ำเท่ากับ 609,395,500 บาท และเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับเท่ากับ 5,741,987,950 บาท
นั่นหมายความว่า ในระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมา อสมท ควรจะได้รับค่าตอบแทนทั้งสิ้นจำนวน 1,645 ล้านบาท (หากการแก้ไขสัญญาไม่เกิดขึ้น ) แต่ในความเป็นจริง อสมท ได้รับค่าตอบแทนเพียง 609 ล้านบาท ทำให้สรุปได้ว่า การเปลี่ยนวิธีคิดค่าตอบแทนทำให้ อสมท สูญเสียผลประโยชน์จำนวน 1,035 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การคำนวณหาค่าตอบแทนที่ อสมท สูญเสียถือเป็นการคำนวณในเบื้องต้น เนื่องจากรายได้ที่ใช้ในการคำนวณเป็นรายได้ของบีอีซีเพียงบริษัทเดียว แต่หลังจากที่สัญญาได้แก้ไขให้บีอีซีสามารถเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นโดยไม่ต้องขอความยินยอมจาก อสมท กลุ่มมาลีนนท์ได้จัดโครงสร้างกลุ่มบริษัทใหม่โดยให้บีอีซีเวิลด์ทำหน้าที่ควบคุมบริษัทที่เกี่ยวข้องต่างๆ การจัดโครงสร้างใหม่นี้ทำให้บีอีซีเวิลด์สามารถกำกับให้บริษัทที่เกี่ยวข้องโอนถ่ายรายได้ให้แก่กัน จึงเป็นไปได้ที่รายได้ของบีอีซีจะกระจายไปแสดงในงบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้องอื่น
ทั้งนี้การเก็บข้อมูลรายได้จากงบการเงินของบริษัทในกลุ่มบีอีซีเวิลด์ โดยอาศัยคำจำกัดความของรายได้ตามการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 2 ที่กำหนดให้รายได้หมายถึง “รายได้ที่ได้รับจากการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีและที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการสร้างโทรทัศน์สี” แต่เนื่องจากบริษัทในกลุ่มบีอีซีเวิลด์ ประกอบธุรกิจหลายประเภท และธุรกิจบางประเภทอาจไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี การคิดครั้งนี้จึงได้ทำการเก็บข้อมูลเฉพาะ “รายได้ค่าโฆษณา” ที่ปรากฎในงบการเงินของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านโทรทัศน์ คือ บริษัท รังสิโรตม์ จำกัด (“รังสิโรตม์”) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทวันที่ 22 กรกฎาคม 2531 เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในปี 2534 และบริษัท นิวเวิลด์ โปรดักชั่น จำกัด (“นิวเวิลด์”) จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทวันที่ 26 สิงหาคม 2535
เมื่อได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของรายได้ทั้งสิ้นตามสัญญา การคำนวณจึงได้ทำการคำนวณค่าตอบแทนที่ อสมท ควรได้รับจากอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ทั้งสิ้น และนำค่าตอบแทนที่คำนวณได้มาเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่ อสมท ได้รับจริง
ทั้งนี้จะนำเสนอเฉพาะยอดรวมในแต่ละรายการตั้งแต่ปี 2533- 2548 ดังนี้
รายได้รวมของบีอีซี เท่ากับ 25,302,878,451 บาท รายได้ค่าโฆษณาของรังสิโรตม์เท่ากับ 11,022,193,318 บาท รายได้ค่าโฆษณาของนิวเวิลด์เท่ากับ 5,832,857,886 บาท รวมทั้งหมด 42,157,929,655 บาท
โดยที่ 6.5% ของรายได้รวมจะเท่ากับ 2,740,265,428 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำเท่ากับ 609,395,500 บาท ส่วนเงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นบีอีซีเท่ากับ 5,741,987,950 บาท เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นรังสิโรตม์เท่ากับ 3,235,500,000 บาท เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นนิวเวิลด์เท่ากับ 2,514,500,000 บาท รวมเงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นทั้งสามบริษัทเท่ากับ 11,491,987,950 บาท
ผลจากการคำนวณพบว่า เมื่อนำรายได้จากการดำเนินกิจการโทรทัศน์สีที่กระจายอยู่ในงบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง (บีอีซี รังสิโรตม์ และนิวเวิลด์ ) มารวมกัน ในระหว่างปี 2533 – 2548 อสมท ควรได้รับค่าตอบแทนทั้งสิ้นจำนวน 2,740 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่ได้รับจริงจำนวน 609 ล้านบาท อสมท จึงน่าที่จะสูญเสียค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,131 ล้านบาท ( เทียบกับ 1,035 ล้านบาท หากคำนวณจากรายได้ของบีอีซีเพียงบริษัทเดียว ) โดยที่ยังไม่ได้คำนวณรวมกับบริษัทอื่นๆในเครือที่ยังมีอีกด้วย ( อ่านต่อวันพรุ่งนี้ )
ขณะที่สัญญาสัมปทานบริหารช่อง 3 ต่ออีก 10 ปี (2553-2563) ของ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯที่แต่งตั้งโดย บอร์ดบมจ.อสมท “ASTVผู้จัดการรายวัน” ขอนำเสนอ ผลสอบสัญญาเดิมที่ไม่เป็นธรรม ให้สาธารณชนได้รับรู้
จำนวนผลกระทบที่เป็นตัวเงินของการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3
จากที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 ที่กำหนดให้เปลี่ยนวิธีคิดค่าตอบแทนจากอัตราร้อยละของรายได้ไปเป็นจำนวนตายตัว อาจทำให้ อสมท สูญเสียประโยชน์ที่ควรได้รับ เพื่อให้ทราบจำนวนค่าตอบแทนที่ อสมท สูญเสียจากการแก้ไขสัญญา จึงได้ทำการคำนวณหาค่าตอบแทน (ร้อยละ 6.5 จากรายได้ของบีอีซี ) สำหรับปี 2533 – 2548 ประหนึ่งว่า การแก้ไขวิธีคำนวณค่าตอบแทนไม่ได้เกิดขึ้น แล้วนำค่าตอบแทนที่คำนวณได้ไปเปรียบกับค่าตอบแทนที่ อสมท ได้รับจริง
ทั้งนี้การศึกษาได้ทำการแยกแยะออกเป็นรายปี ตั้งแต่ปี 2533 – 2548 แต่จะขอยกตัวอย่างมาอ้างอิงเพียงบางปี เช่น
ปี 2533 รายได้ค่าโฆษณา 445,841,160 บาท รายได้อื่น 5,392,594 บาท รวมรายได้ 451,233,753 บาท ส่วน 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 29,330,194 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำเท่ากับ 17,685,131 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 5,149,350 บาท
ปี 2538 รายได้ค่าโฆษณา 1,391,067,040 บาท รายได้อื่น 1,012,341,050 บาท รวมรายได้ 2,403,408,090 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 156,221,526 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 23,580,000 เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 1,554,000,000 บาท
ปี 2545 รายได้ค่าโฆษณา 2,017,060,292 บาท รายได้อื่น 55,579,147 บาท รวมรายได้ 2,072,639,439 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 134,721,564 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 54,467,500 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 400,000,000 บาท
ปี 2547 รายได้ค่าโฆษณา 2,400,656,682 บาท รายได้อื่น 30,398,011 บาท รวมรายได้ 2,431,054,693 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 158,018,555 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 65,385,500 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 1,000,000,000 บาท
ปี 2548 รายได้ค่าโฆษณา 2,236,828,995 บาท รายได้อื่น 24,189,474 บาท รวมรายได้ 2,261,018,469 บาท ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมเท่ากับ 146,966,200 บาท ค่าตอบแทนขันต่ำ 110,255,000 บาท เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับ 800,000,000 บาท
อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมทั้ง 16 ปีที่ผ่านมาแล้ว ( ปี 2533-2548 ) ผลการศึกษาพบว่า บีอีซี มีรายได้ค่าโฆษณาประมาณ 23,265,023,512 บาท มีรายได้อื่นประมาณ 2,037,854,940 บาท รวมรายได้ประมาณ 25,302,878,451 บาท
โดยที่ ส่วนแบ่ง 6.5% ของรายได้รวมปี 2533-2548 เท่ากับ 1,644,687,099 บาท ขณะที่ค่าตอบแทนขั้นต่ำเท่ากับ 609,395,500 บาท และเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับเท่ากับ 5,741,987,950 บาท
นั่นหมายความว่า ในระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมา อสมท ควรจะได้รับค่าตอบแทนทั้งสิ้นจำนวน 1,645 ล้านบาท (หากการแก้ไขสัญญาไม่เกิดขึ้น ) แต่ในความเป็นจริง อสมท ได้รับค่าตอบแทนเพียง 609 ล้านบาท ทำให้สรุปได้ว่า การเปลี่ยนวิธีคิดค่าตอบแทนทำให้ อสมท สูญเสียผลประโยชน์จำนวน 1,035 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การคำนวณหาค่าตอบแทนที่ อสมท สูญเสียถือเป็นการคำนวณในเบื้องต้น เนื่องจากรายได้ที่ใช้ในการคำนวณเป็นรายได้ของบีอีซีเพียงบริษัทเดียว แต่หลังจากที่สัญญาได้แก้ไขให้บีอีซีสามารถเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นโดยไม่ต้องขอความยินยอมจาก อสมท กลุ่มมาลีนนท์ได้จัดโครงสร้างกลุ่มบริษัทใหม่โดยให้บีอีซีเวิลด์ทำหน้าที่ควบคุมบริษัทที่เกี่ยวข้องต่างๆ การจัดโครงสร้างใหม่นี้ทำให้บีอีซีเวิลด์สามารถกำกับให้บริษัทที่เกี่ยวข้องโอนถ่ายรายได้ให้แก่กัน จึงเป็นไปได้ที่รายได้ของบีอีซีจะกระจายไปแสดงในงบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้องอื่น
ทั้งนี้การเก็บข้อมูลรายได้จากงบการเงินของบริษัทในกลุ่มบีอีซีเวิลด์ โดยอาศัยคำจำกัดความของรายได้ตามการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 2 ที่กำหนดให้รายได้หมายถึง “รายได้ที่ได้รับจากการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีและที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการสร้างโทรทัศน์สี” แต่เนื่องจากบริษัทในกลุ่มบีอีซีเวิลด์ ประกอบธุรกิจหลายประเภท และธุรกิจบางประเภทอาจไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี การคิดครั้งนี้จึงได้ทำการเก็บข้อมูลเฉพาะ “รายได้ค่าโฆษณา” ที่ปรากฎในงบการเงินของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านโทรทัศน์ คือ บริษัท รังสิโรตม์ จำกัด (“รังสิโรตม์”) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทวันที่ 22 กรกฎาคม 2531 เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในปี 2534 และบริษัท นิวเวิลด์ โปรดักชั่น จำกัด (“นิวเวิลด์”) จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทวันที่ 26 สิงหาคม 2535
เมื่อได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของรายได้ทั้งสิ้นตามสัญญา การคำนวณจึงได้ทำการคำนวณค่าตอบแทนที่ อสมท ควรได้รับจากอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ทั้งสิ้น และนำค่าตอบแทนที่คำนวณได้มาเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่ อสมท ได้รับจริง
ทั้งนี้จะนำเสนอเฉพาะยอดรวมในแต่ละรายการตั้งแต่ปี 2533- 2548 ดังนี้
รายได้รวมของบีอีซี เท่ากับ 25,302,878,451 บาท รายได้ค่าโฆษณาของรังสิโรตม์เท่ากับ 11,022,193,318 บาท รายได้ค่าโฆษณาของนิวเวิลด์เท่ากับ 5,832,857,886 บาท รวมทั้งหมด 42,157,929,655 บาท
โดยที่ 6.5% ของรายได้รวมจะเท่ากับ 2,740,265,428 บาท ค่าตอบแทนขั้นต่ำเท่ากับ 609,395,500 บาท ส่วนเงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นบีอีซีเท่ากับ 5,741,987,950 บาท เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นรังสิโรตม์เท่ากับ 3,235,500,000 บาท เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นนิวเวิลด์เท่ากับ 2,514,500,000 บาท รวมเงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นทั้งสามบริษัทเท่ากับ 11,491,987,950 บาท
ผลจากการคำนวณพบว่า เมื่อนำรายได้จากการดำเนินกิจการโทรทัศน์สีที่กระจายอยู่ในงบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง (บีอีซี รังสิโรตม์ และนิวเวิลด์ ) มารวมกัน ในระหว่างปี 2533 – 2548 อสมท ควรได้รับค่าตอบแทนทั้งสิ้นจำนวน 2,740 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่ได้รับจริงจำนวน 609 ล้านบาท อสมท จึงน่าที่จะสูญเสียค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,131 ล้านบาท ( เทียบกับ 1,035 ล้านบาท หากคำนวณจากรายได้ของบีอีซีเพียงบริษัทเดียว ) โดยที่ยังไม่ได้คำนวณรวมกับบริษัทอื่นๆในเครือที่ยังมีอีกด้วย ( อ่านต่อวันพรุ่งนี้ )