ASTVผู้จัดการรายวัน – “บีอีซีเวิลด์” เดินเกมต่อเนื่องหวังฮุบสัญญาช่อง 3 ต่ออีก 10 ปี ด้านบอร์ด อสมท เตรียมตั้งคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ด้านบีอีซีฯทำเป็นขู่ หากดึงเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนจะยื่นขอไลเซ่นส์จาก กทช. คนวงในระบุ บีอีซีฯกดหัว อสมท มานานแล้ว ชี้สัญญาใหม่บีอีซีฯควรจ่ายเป็นแบบเปอร์เซนต์และต้องมากกว่า 6.5% ของเดิมด้วย แนะหากบีอีซีเวิลด์แข็งข้อ ก็เปิดโอกาสหารายใหม่เข้ามาประมูลหมดเรื่อง
แหล่งข่าวจากวงการโทรทัศน์ กล่าวว่า ความพยายามดำเนินการของช่อง 3 ในนามบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ที่เสนอต่อ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อที่จะขอต่อสัญญา ในการบริหารสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกไปอีก 10 ปี จากเดิมที่จะหมดสัญญาในปี 2553 เพื่อต่อออกไปถึงปี 2563 ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าขณะนี้จะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาใหม่ของทางบอร์ดอสมทก็ตาม
อย่างไรก็ตามทางบีอีซีเวิลด์พยายามเล่นแง่เพื่อที่จะสร้างแต้มแต่และกดดันบอร์ดอสมท ตลอดเวลา เพื่อหวังที่จะได้ต่อสัญญาใหม่อีก เพราะช่อง 3 คือ แหล่งเงินที่สำคัญของตระกูลมาลีนนท์ที่เป็นเจ้าของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) นั่นเอง
**บอร์ดอสมทเตรียมตั้งกรรมการ
ขณะที่ทางบอร์ด อสมท เอง ก็ไม่ได้อยู่ในภาวะตั้งรับเท่านั้น แต่มีแนวความคิดที่จะแต่งตั้ง คณะกรรมการฯตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน ขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งจะประกอบไปด้วยบุคคลจากหลายฝ่ายทั้ง ข้าราชการผู้ใหญ่ นักวิชาการ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสื่อ เป็นต้น เพื่อให้เข้ามาทำการศึกษาในรายละเอียดทั้งแง่ของสัญญา กฎหมาย ความถูกต้อง และความเหมาะสมรวมทั้งเงื่อนไขต่างๆที่ทางบีอีซีเวิลด์เสนอเข้ามา เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับ อสมท มากที่สุด
รวมไปถึงการพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินต่างที่เมื่อเอกชนหรือบีอีซีเวิลด์ ทำจนครบสัญญาแล้ว จะต้องโอนหรือคืนให้กับอสมทอย่างไรบ้าง และสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ อสมท ควรจะได้รับทั้งหมด เพราะที่ผ่านมา อสมท ตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ บีอีซีเวิลด์ อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนของบีอีซีเวิลด์ ที่จ่ายเป็น อัตราตายตัวให้กับ อสมท ซึ่งได้รับปีละไม่กี่ร้อยล้านบาทเท่านั้น
ทางฝ่ายบีอีซีเวิลด์เองมักจะอ้างว่า การทำสัญญาต่ออายุอีก 10 ปี ไม่น่าจะเกี่ยวข้องหรือเข้าเกณฑ์ พระราชบัญญัติร่วมทุนแต่อย่างใด ดังนั้นบอร์ด อสมท จะนำเอากรณีของช่อง 3 ไปพิจารณาตามพระราชบัญญัติร่วมทุนไม่ได้
ว่ากันว่าที่ผ่านมาทาง บีอีซีเวิลด์ขู่บอร์ด อสมท ทำนองว่า หากนำสัญญาต่ออายุ ของช่อง 3 ไปเข้าเกณฑ์ พระราชบัญญัติร่วมทุน จะดำเนินการเสนอไปยัง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. โดยตรง เพื่อทำเรือ่งให้พิจารณาขอไลเซ่นส์หรือใบประกอบกิจการในการดำเนินการ
**สรุปไม่ได้แนะเปิดทางหารายใหม่
แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใน บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา อสมท ค่อนข้างจะเสียเปรียบบีอีซีเวิลด์ อย่างมากมาตลอด โดยเฉพาะเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายปีตายตัวให้ อสมท เช่น ปี 2553 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่จะครบสัญญาเดิม ก็จ่ายให้กับ อสมท เพียงแค่ จำนวน 37,907,000.00 บาทเท่านั้น ส่วนปีนี้คือปี 2552 ตามสัญญาก็จ่ายแค่ 149,825,000.00 บาท ขณะที่รายได้แต่ละปีของ บีอีซีเวิลด์ นั้นมามากกว่านี้หลายเท่าตัวนัก
“ช่อง 3 จ่ายให้ อสมท น้อยกว่าที่ควรจะเป็นมานานแล้ว แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ เรื่องนี้มันเหมือนช่วยกันไปช่วยกันมา บางคนในอสมทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นอาจจะได้ประโยชน์หรือเปล่าก็ไม่มีใครรู้ เพราะเป็นเรื่องที่ผ่านมานานแล้ว”
อย่างไรก็ตาม บอร์ด อสมท ชุดนี้น่าที่จะมีความเข้มแข็งและเป็นที่พึ่งของ อสมทได้ ซึ่งการที่มีแนวคิดที่จะพิจารณาสัญญาใหม่อย่างละเอียดนั้นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นการเริ่มต้นที่น่าจะสร้างความชอบธรรมและขจัดการเอาเปรียบจากภาคเอกชนได้ ซึ่งจริงๆแล้วต้องเรียกคู่สัญญาของอสมท คือ บีอีซีเวิลด์ มาเจรจาให้ชัดเจนว่า เอกชนจะให้ผลตอบแทนเท่าไรยังไง ซึ่งแน่นอนว่ามันต้องมากขึ้นกว่าเดิมในอดีตที่ผ่านมา แต่จะมากน้อยเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาเป็นหลัก โดยยึดถือผลประโยชน์ของอสมท เป็นหลัก
“หากเอกชนรายเดิมรับไม่ได้ เมื่อครบสัญญาก็ต้องออกไป เปิดทางหารายใหม่ที่สนใจเข้ามาประมูลแทนเลยก็ได้ ทำไมต้องไปจมอยู่แค่รายเดิมรายเดียว เพราะเมื่อเปิดโอกาสให้สิทธิ์กับรายเดิมก่อนแล้ว แต่ตกลงกันไม่ได้ อสมท ก็มีสิทธิ์ทีจะเรียกรายใหม่หรือเปิดประมูลหาเอกชนที่สนใจรายใหม่ก็ได้” แหล่งข่าวให้ความเห็น
**สัญญาใหม่ต้องมากกว่า 6.5%
อย่างไรก็ดีในส่วนยของประเด็น การจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายปีตายตัวกับการจ่ายค่าตอบแทนแบบแบ่งเปอร์เซ็นต์นั้น แน่นอนที่สุดว่าการจ่ายแบบเปอร์เซนต์จากรายได้ต้องมากกว่าและเป็นสิ่งที่ยุติธรรม แต่ก็คำนวณยากว่าจะทำอย่างไร ขณะที่การจ่ายแบบฟิกซ์เรท หรือจ่ายแบบตายตัวทุกปีมันได้น้อยในแง่ของเจ้าของสัมปทาน แต่เอกชนชอบแบจ่ายตายตัวรายปีอยู่แล้ว
ทั้งนี้การต่อสัญญาครั้งนี้ หากสรุปพิจารณาออกมาเป็นการจ่ายแบบเปอร์เซนต์แล้ว สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีก จากเดิมที่กำหนดจ่าย 6.5% จากรายได้ก่อนหักภาษีและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของใหม่จะต้องมีเกณฑ์ที่มากกว่า 6.5% ด้วยซ้ำไป ไม่ควรจะต่ำหรือเท่ากัลเกณฑ์เดิม
ที่ผ่านมาการที่ช่อง 3 ขึ้นค่าโฆษณาตลอดเวลา ตรงนี้ อสมท ก็ไม่เคยได้รับค่าส่วนแบ่งอยู่แล้ว เพราะสัญญาระบุจ่ายเป็นแบบตายตัวรายปี และช่อง 3 เองก็ตั้งค่าโฆษณาไว้สูงโดยเฉพาะรายการข่าวและรายการละครหลังข่าว
ก่อนหน้านี้ไม่นานนายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ในนามบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ก็ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ทางช่อง 3 อยู่ระหว่างการพิจารณาและเตรียมการที่จะปรับราคาค่าโฆษณาขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ โดยคาดว่าภายในเดือนสิงหาคมนี้น่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนว่าจะปรับราคาค่าโฆษณาขึ้นเท่าไรอย่างไรบ้าง และยังย้ำด้วยว่า ถ้าปรับขึ้นค่รโฆษณได้ ก็จะทำให้รายได้ของช่อง 3 เติบโตขึ้นอีกอย่างมากด้วย
ตั้งแต่ต้นปีนี้มา ช่อง 3 ก็มีการปรับราคาค่าโฆษณาขึ้นอยู่ตลอดเป็นช่วงๆ ล่าสุดก็คือ ช่วงไพรม์ไทม์ ราคาค่าโฆษณาอยู่ที่ 450,000 บาทต่อนาที กับรายการใหม่ “ทูไนท์โชว์” ของนายไตรภพ ลิมปพัทธ์ ที่กลับมาสู่อ้อมอกช่อง 3 อีกครั้ง หลังจากที่ไปอยู่กับหลายช่องมาแล้ว
แต่ อสมท ก็ไม่ได้รับส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ด้วยแต่อย่างใด
สำหรับรายได้ของ บีอีซี เวิลด์ รวมบริษัทย่อย ล่าสุด งวด 3 เดือนแรกปี 2552 ที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปรากฏว่ามีรายได้ 2,032,704,000 บาท มีกำไรสุทธิ 556,674,000 บาท
ขณะที่งวดปี 2552 นี้ที่ บีอีซีเวิลด์ จะจ่ายค่าสัมปทานให้กับ อสมท อยู่ที่ 149,825,000.00 บาท ตามสัญญา
พิจารณาแล้วเป็นยอดที่ต่างกันลิบลับ เพราะเพียงแค่ไตรมาสเดียวรายได้ของช่อง 3 ก็มากกว่าที่แบ่งให้กับ อสมท ทั้งปีแล้ว อย่างชนิดผิดกันแบบฟ้ากับดินเลยทีเดียว
“ต้องจับตาดูต่อไปว่า ทางบีอีซีเวิลด์จะทำอย่างไรต่อ ไป ขณะที่ทางบอร์ด อสมท ก็ต้องหาวิธีการในการรุกสู้กับเอกชนเต็มที่ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลประโยชน์จำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย” แหล่งข่าวกล่าว.
แหล่งข่าวจากวงการโทรทัศน์ กล่าวว่า ความพยายามดำเนินการของช่อง 3 ในนามบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ที่เสนอต่อ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อที่จะขอต่อสัญญา ในการบริหารสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกไปอีก 10 ปี จากเดิมที่จะหมดสัญญาในปี 2553 เพื่อต่อออกไปถึงปี 2563 ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าขณะนี้จะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาใหม่ของทางบอร์ดอสมทก็ตาม
อย่างไรก็ตามทางบีอีซีเวิลด์พยายามเล่นแง่เพื่อที่จะสร้างแต้มแต่และกดดันบอร์ดอสมท ตลอดเวลา เพื่อหวังที่จะได้ต่อสัญญาใหม่อีก เพราะช่อง 3 คือ แหล่งเงินที่สำคัญของตระกูลมาลีนนท์ที่เป็นเจ้าของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) นั่นเอง
**บอร์ดอสมทเตรียมตั้งกรรมการ
ขณะที่ทางบอร์ด อสมท เอง ก็ไม่ได้อยู่ในภาวะตั้งรับเท่านั้น แต่มีแนวความคิดที่จะแต่งตั้ง คณะกรรมการฯตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน ขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งจะประกอบไปด้วยบุคคลจากหลายฝ่ายทั้ง ข้าราชการผู้ใหญ่ นักวิชาการ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสื่อ เป็นต้น เพื่อให้เข้ามาทำการศึกษาในรายละเอียดทั้งแง่ของสัญญา กฎหมาย ความถูกต้อง และความเหมาะสมรวมทั้งเงื่อนไขต่างๆที่ทางบีอีซีเวิลด์เสนอเข้ามา เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับ อสมท มากที่สุด
รวมไปถึงการพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินต่างที่เมื่อเอกชนหรือบีอีซีเวิลด์ ทำจนครบสัญญาแล้ว จะต้องโอนหรือคืนให้กับอสมทอย่างไรบ้าง และสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ อสมท ควรจะได้รับทั้งหมด เพราะที่ผ่านมา อสมท ตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ บีอีซีเวิลด์ อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนของบีอีซีเวิลด์ ที่จ่ายเป็น อัตราตายตัวให้กับ อสมท ซึ่งได้รับปีละไม่กี่ร้อยล้านบาทเท่านั้น
ทางฝ่ายบีอีซีเวิลด์เองมักจะอ้างว่า การทำสัญญาต่ออายุอีก 10 ปี ไม่น่าจะเกี่ยวข้องหรือเข้าเกณฑ์ พระราชบัญญัติร่วมทุนแต่อย่างใด ดังนั้นบอร์ด อสมท จะนำเอากรณีของช่อง 3 ไปพิจารณาตามพระราชบัญญัติร่วมทุนไม่ได้
ว่ากันว่าที่ผ่านมาทาง บีอีซีเวิลด์ขู่บอร์ด อสมท ทำนองว่า หากนำสัญญาต่ออายุ ของช่อง 3 ไปเข้าเกณฑ์ พระราชบัญญัติร่วมทุน จะดำเนินการเสนอไปยัง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. โดยตรง เพื่อทำเรือ่งให้พิจารณาขอไลเซ่นส์หรือใบประกอบกิจการในการดำเนินการ
**สรุปไม่ได้แนะเปิดทางหารายใหม่
แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใน บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา อสมท ค่อนข้างจะเสียเปรียบบีอีซีเวิลด์ อย่างมากมาตลอด โดยเฉพาะเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายปีตายตัวให้ อสมท เช่น ปี 2553 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่จะครบสัญญาเดิม ก็จ่ายให้กับ อสมท เพียงแค่ จำนวน 37,907,000.00 บาทเท่านั้น ส่วนปีนี้คือปี 2552 ตามสัญญาก็จ่ายแค่ 149,825,000.00 บาท ขณะที่รายได้แต่ละปีของ บีอีซีเวิลด์ นั้นมามากกว่านี้หลายเท่าตัวนัก
“ช่อง 3 จ่ายให้ อสมท น้อยกว่าที่ควรจะเป็นมานานแล้ว แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ เรื่องนี้มันเหมือนช่วยกันไปช่วยกันมา บางคนในอสมทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นอาจจะได้ประโยชน์หรือเปล่าก็ไม่มีใครรู้ เพราะเป็นเรื่องที่ผ่านมานานแล้ว”
อย่างไรก็ตาม บอร์ด อสมท ชุดนี้น่าที่จะมีความเข้มแข็งและเป็นที่พึ่งของ อสมทได้ ซึ่งการที่มีแนวคิดที่จะพิจารณาสัญญาใหม่อย่างละเอียดนั้นก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นการเริ่มต้นที่น่าจะสร้างความชอบธรรมและขจัดการเอาเปรียบจากภาคเอกชนได้ ซึ่งจริงๆแล้วต้องเรียกคู่สัญญาของอสมท คือ บีอีซีเวิลด์ มาเจรจาให้ชัดเจนว่า เอกชนจะให้ผลตอบแทนเท่าไรยังไง ซึ่งแน่นอนว่ามันต้องมากขึ้นกว่าเดิมในอดีตที่ผ่านมา แต่จะมากน้อยเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาเป็นหลัก โดยยึดถือผลประโยชน์ของอสมท เป็นหลัก
“หากเอกชนรายเดิมรับไม่ได้ เมื่อครบสัญญาก็ต้องออกไป เปิดทางหารายใหม่ที่สนใจเข้ามาประมูลแทนเลยก็ได้ ทำไมต้องไปจมอยู่แค่รายเดิมรายเดียว เพราะเมื่อเปิดโอกาสให้สิทธิ์กับรายเดิมก่อนแล้ว แต่ตกลงกันไม่ได้ อสมท ก็มีสิทธิ์ทีจะเรียกรายใหม่หรือเปิดประมูลหาเอกชนที่สนใจรายใหม่ก็ได้” แหล่งข่าวให้ความเห็น
**สัญญาใหม่ต้องมากกว่า 6.5%
อย่างไรก็ดีในส่วนยของประเด็น การจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายปีตายตัวกับการจ่ายค่าตอบแทนแบบแบ่งเปอร์เซ็นต์นั้น แน่นอนที่สุดว่าการจ่ายแบบเปอร์เซนต์จากรายได้ต้องมากกว่าและเป็นสิ่งที่ยุติธรรม แต่ก็คำนวณยากว่าจะทำอย่างไร ขณะที่การจ่ายแบบฟิกซ์เรท หรือจ่ายแบบตายตัวทุกปีมันได้น้อยในแง่ของเจ้าของสัมปทาน แต่เอกชนชอบแบจ่ายตายตัวรายปีอยู่แล้ว
ทั้งนี้การต่อสัญญาครั้งนี้ หากสรุปพิจารณาออกมาเป็นการจ่ายแบบเปอร์เซนต์แล้ว สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีก จากเดิมที่กำหนดจ่าย 6.5% จากรายได้ก่อนหักภาษีและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของใหม่จะต้องมีเกณฑ์ที่มากกว่า 6.5% ด้วยซ้ำไป ไม่ควรจะต่ำหรือเท่ากัลเกณฑ์เดิม
ที่ผ่านมาการที่ช่อง 3 ขึ้นค่าโฆษณาตลอดเวลา ตรงนี้ อสมท ก็ไม่เคยได้รับค่าส่วนแบ่งอยู่แล้ว เพราะสัญญาระบุจ่ายเป็นแบบตายตัวรายปี และช่อง 3 เองก็ตั้งค่าโฆษณาไว้สูงโดยเฉพาะรายการข่าวและรายการละครหลังข่าว
ก่อนหน้านี้ไม่นานนายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ในนามบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ก็ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ทางช่อง 3 อยู่ระหว่างการพิจารณาและเตรียมการที่จะปรับราคาค่าโฆษณาขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ โดยคาดว่าภายในเดือนสิงหาคมนี้น่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนว่าจะปรับราคาค่าโฆษณาขึ้นเท่าไรอย่างไรบ้าง และยังย้ำด้วยว่า ถ้าปรับขึ้นค่รโฆษณได้ ก็จะทำให้รายได้ของช่อง 3 เติบโตขึ้นอีกอย่างมากด้วย
ตั้งแต่ต้นปีนี้มา ช่อง 3 ก็มีการปรับราคาค่าโฆษณาขึ้นอยู่ตลอดเป็นช่วงๆ ล่าสุดก็คือ ช่วงไพรม์ไทม์ ราคาค่าโฆษณาอยู่ที่ 450,000 บาทต่อนาที กับรายการใหม่ “ทูไนท์โชว์” ของนายไตรภพ ลิมปพัทธ์ ที่กลับมาสู่อ้อมอกช่อง 3 อีกครั้ง หลังจากที่ไปอยู่กับหลายช่องมาแล้ว
แต่ อสมท ก็ไม่ได้รับส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ด้วยแต่อย่างใด
สำหรับรายได้ของ บีอีซี เวิลด์ รวมบริษัทย่อย ล่าสุด งวด 3 เดือนแรกปี 2552 ที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปรากฏว่ามีรายได้ 2,032,704,000 บาท มีกำไรสุทธิ 556,674,000 บาท
ขณะที่งวดปี 2552 นี้ที่ บีอีซีเวิลด์ จะจ่ายค่าสัมปทานให้กับ อสมท อยู่ที่ 149,825,000.00 บาท ตามสัญญา
พิจารณาแล้วเป็นยอดที่ต่างกันลิบลับ เพราะเพียงแค่ไตรมาสเดียวรายได้ของช่อง 3 ก็มากกว่าที่แบ่งให้กับ อสมท ทั้งปีแล้ว อย่างชนิดผิดกันแบบฟ้ากับดินเลยทีเดียว
“ต้องจับตาดูต่อไปว่า ทางบีอีซีเวิลด์จะทำอย่างไรต่อ ไป ขณะที่ทางบอร์ด อสมท ก็ต้องหาวิธีการในการรุกสู้กับเอกชนเต็มที่ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลประโยชน์จำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย” แหล่งข่าวกล่าว.