เอเอฟพี/รอยเตอร์ –เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาคดีล้มละลายเมื่อคืนวันอาทิตย์(5) ให้ขายสินทรัพย์ที่ดีที่สุดแก่บริษัทรถยนต์ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีรัฐบาลสหรัฐฯเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
การตัดสินคราวนี้แผ้วถางทางให้จีเอ็มสามารถหลุดพ้นภาวะล้มละลายได้เร็วขึ้น หลังจากที่บริษัทยื่นขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลายมาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยที่ประกาศให้คำมั่นว่า จะปรับโครงสร้างตัวเองด้วยการขายสินทรัพย์ที่ยังดีๆ อยู่ ไปให้แก่บริษัท “จีเอ็มใหม่” ซึ่งจะมีขนาดกะทัดรัดลงแต่คล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งจะสามารถทำกำไรได้ดีกว่าเดิม เมื่อปลดภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลออกไปแล้ว
จีเอ็มครั้งหนึ่งเคยเป็นบริษัทใหญ่ที่สุดของโลก แต่สำหรับจีเอ็มใหม่จะปรากฏโฉมในสภาพที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มีขนาดเล็กลงมามาก โดยมีแบรนด์ในมือน้อยลง ซึ่งที่สำคัญคือ เชฟโรเล็ต และคาดิลแลค รวมทั้งจะมีพนักงานน้อยลงหลายหมื่นตำแหน่ง และมีกิจการต่างๆ ในทั่วโลกลดลงไปมหาศาล
ผู้พิพากษาโรเบิร์ต เกอร์เบอร์ ระบุในคำตัดสินของเขาว่า เขาได้ศึกษาคำคัดค้าน 850 ฉบับ ของพวกผู้ถือหุ้นกู้ของจีเอ็มตลอดจนเจ้าหนี้อื่นๆ แล้ว แต่ก็ไม่พบ “ข้อเสนอทางเลือกอื่นๆ อย่างแท้จริง” ที่สามารถแทนที่การขายสินทรัพย์ไปให้ “จีเอ็มใหม่”
“เป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถโต้แย้งได้อย่างจริงจังเลยว่า ทางเลือกอื่นอีกทางเดียวนอกเหนือจากการขายสินทรัพย์(ให้แก่ “จีเอ็มใหม่”)ในทันที ก็คือการชำระบัญชีและขายทอดตลาดสินทรัพย์ทุกอย่างเพื่อชดใช้หนี้สิน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเป็นความหายนะแก่ทั้งพวกเจ้าหนี้ของจีเอ็ม, ลูกจ้างพนักงานของบริษัท, พวกซัปพลายเออร์ที่ต้องพึ่งพิงจีเอ็มเพื่อความอยู่รอดของพวกเขาเอง, และชุมชนต่างๆ ที่จีเอ็มดำเนินงานอยู่” เกอร์เบอร์เขียนไว้ในบันทึกความเห็นเกี่ยวกับคำตัดสินความยาว 95 หน้าของเขา
“ศาลล้มละลายมีอำนาจที่จะอนุมัติให้มีการขายสินทรัพย์ในเวลาที่สินทรัพย์เหล่านั้นยังคงมีราคาอยู่ เป็นสภาพที่เปรียบเสมือนการป้องกันไม่ให้คนไข้ต้องเสียชีวิตคาเตียงผ่าตัด”
ทางเจ้าหนี้ของจีเอ็มยังสามารถที่จะอุทธรณ์คำตัดสินของผู้พิพากษาเกอร์เบอร์ได้ และดังนั้นกว่าที่กระบวนการขายสินทรัพย์ของจีเอ็มจะเสร็จสิ้นลง ก็อาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายวันหรือกระทั่งสองสามสัปดาห์
กระนั้นก็ตามมันก็ยังคงรวดเร็วกว่ากรอบเวลา 60 ถึง 90 วันที่คาดการณ์เอาไว้โดยคณะรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ซึ่งเป็นตัวเรี่ยวหัวแรงในการดำเนินกระบวนการนี้ รวมทั้งออกมาเตือนด้วยว่าจะถอนตัวจากการให้เงินทุนสนับสนุน “จีเอ็มใหม่” หากการขายสินทรัพย์ไม่ได้รับอนุมัติจากศาลก่อนวันที่ 10 กรกฎาคม
ทั้งนี้ไครสเลอร์ที่มีขนาดเพียงแค่ประมาณหนึ่งในสามของจีเอ็ม ใช้เวลาอยู่ในภาวะล้มละลาย 42 วัน และแม้กระทั่งพวกเจ้าหนี้อุทธรณ์ไปจนถึงขั้นศาลสูงสุด ก็ยังไม่สามารถขัดขวางการขายสินทรัพย์ดีที่สุดของไครสเลอร์ ไปให้แก่ “ไครสเลอร์ใหม่” ที่มีเฟียตแห่งอิตาลีเป็นผู้บริหาร
ทำนองเดียวกับกรณีของไครสเลอร์ พวกสินทรัพย์ที่แย่ๆ ของจีเอ็ม ซึ่งรวมถึงพวกแบรนด์รถยนต์ที่ไม่ได้รับความนิยม และโรงงานที่เหลือใช้ ตลอดจนภาระหนี้สินต่างๆ จะถูกชำระบัญชีและขายทอดตลาด โดยผ่านศาลล้มละลายนครนิวยอร์ก ทว่าจีเอ็มใหม่จะไม่ต้องมาแบกรับภาระยุ่งยากเกี่ยวกับกระบวนการนี้ที่คาดว่าจะใช้เวลายาวนานทีเดียว
สำหรับค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีและขายทอดตลาดสินทรัพย์ที่ยังเหลืออยู่ของจีเอ็ม อาจจะสูงถึง 1,200 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้จากการให้ปากคำของฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ซีอีโอของจีเอ็มต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่แล้ว(30มิ.ย.)
ในส่วนของ “จีเอ็มใหม่” รัฐบาลสหรัฐฯจะถือหุ้นเป็นจำนวน 60.8% หลังจากที่เข้าสนับสนุนการดำเนินงานของจีเอ็มเป็นจำนวนราว 50,000 ล้านดอลลาร์ในรูปของเงินทุนฉุกเฉิน
ขณะที่รัฐบาลแคนาดาซึ่งจัดหาเงินกู้ให้ 9,100 ล้านดอลลาร์ จะเข้าถือหุ้น 11.7% และกองทุนทรัสต์สำหรับดูแลสุขภาพของพนักงานเกษียณอายุที่ดำเนินการโดยสหภาพแรงงานยูไนเต็ด ออโต เวิร์กเกอร์ส จะถือหุ้นอีก 17.5%
ส่วน “จีเอ็มเก่า” จะถือหุ้น 10% เป็นการเปิดทางให้พวกเจ้าหนี้สามารถเรียกคืนหนี้ได้บางส่วน
โอบามากล่าวย้ำหลายครั้งว่าคณะรัฐบาลของเขาไม่มีเจตนารมณ์ที่จะทำให้จีเอ็มกลายเป็น “รัฐวิสาหกิจ” อย่างยาวนาน และจะไม่เข้ามีส่วนในการดำเนินกิจการรายวัน ขณะที่สมาชิกอาวุโสในคณะทำงานเฉพาะกิจด้านรถยนต์ของโอบามา ไปให้ปากคำต่อรัฐสภาในสัปดาห์ที่แล้วว่า รัฐบาลอาจเริ่มขายหุ้น “จีเอ็มใหม่” ที่ถือไว้ได้ตั้งแต่ปี 2010 ทันทีที่บริษัทใหม่สามารถจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง
การตัดสินคราวนี้แผ้วถางทางให้จีเอ็มสามารถหลุดพ้นภาวะล้มละลายได้เร็วขึ้น หลังจากที่บริษัทยื่นขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลายมาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยที่ประกาศให้คำมั่นว่า จะปรับโครงสร้างตัวเองด้วยการขายสินทรัพย์ที่ยังดีๆ อยู่ ไปให้แก่บริษัท “จีเอ็มใหม่” ซึ่งจะมีขนาดกะทัดรัดลงแต่คล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งจะสามารถทำกำไรได้ดีกว่าเดิม เมื่อปลดภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลออกไปแล้ว
จีเอ็มครั้งหนึ่งเคยเป็นบริษัทใหญ่ที่สุดของโลก แต่สำหรับจีเอ็มใหม่จะปรากฏโฉมในสภาพที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มีขนาดเล็กลงมามาก โดยมีแบรนด์ในมือน้อยลง ซึ่งที่สำคัญคือ เชฟโรเล็ต และคาดิลแลค รวมทั้งจะมีพนักงานน้อยลงหลายหมื่นตำแหน่ง และมีกิจการต่างๆ ในทั่วโลกลดลงไปมหาศาล
ผู้พิพากษาโรเบิร์ต เกอร์เบอร์ ระบุในคำตัดสินของเขาว่า เขาได้ศึกษาคำคัดค้าน 850 ฉบับ ของพวกผู้ถือหุ้นกู้ของจีเอ็มตลอดจนเจ้าหนี้อื่นๆ แล้ว แต่ก็ไม่พบ “ข้อเสนอทางเลือกอื่นๆ อย่างแท้จริง” ที่สามารถแทนที่การขายสินทรัพย์ไปให้ “จีเอ็มใหม่”
“เป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถโต้แย้งได้อย่างจริงจังเลยว่า ทางเลือกอื่นอีกทางเดียวนอกเหนือจากการขายสินทรัพย์(ให้แก่ “จีเอ็มใหม่”)ในทันที ก็คือการชำระบัญชีและขายทอดตลาดสินทรัพย์ทุกอย่างเพื่อชดใช้หนี้สิน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเป็นความหายนะแก่ทั้งพวกเจ้าหนี้ของจีเอ็ม, ลูกจ้างพนักงานของบริษัท, พวกซัปพลายเออร์ที่ต้องพึ่งพิงจีเอ็มเพื่อความอยู่รอดของพวกเขาเอง, และชุมชนต่างๆ ที่จีเอ็มดำเนินงานอยู่” เกอร์เบอร์เขียนไว้ในบันทึกความเห็นเกี่ยวกับคำตัดสินความยาว 95 หน้าของเขา
“ศาลล้มละลายมีอำนาจที่จะอนุมัติให้มีการขายสินทรัพย์ในเวลาที่สินทรัพย์เหล่านั้นยังคงมีราคาอยู่ เป็นสภาพที่เปรียบเสมือนการป้องกันไม่ให้คนไข้ต้องเสียชีวิตคาเตียงผ่าตัด”
ทางเจ้าหนี้ของจีเอ็มยังสามารถที่จะอุทธรณ์คำตัดสินของผู้พิพากษาเกอร์เบอร์ได้ และดังนั้นกว่าที่กระบวนการขายสินทรัพย์ของจีเอ็มจะเสร็จสิ้นลง ก็อาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายวันหรือกระทั่งสองสามสัปดาห์
กระนั้นก็ตามมันก็ยังคงรวดเร็วกว่ากรอบเวลา 60 ถึง 90 วันที่คาดการณ์เอาไว้โดยคณะรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ซึ่งเป็นตัวเรี่ยวหัวแรงในการดำเนินกระบวนการนี้ รวมทั้งออกมาเตือนด้วยว่าจะถอนตัวจากการให้เงินทุนสนับสนุน “จีเอ็มใหม่” หากการขายสินทรัพย์ไม่ได้รับอนุมัติจากศาลก่อนวันที่ 10 กรกฎาคม
ทั้งนี้ไครสเลอร์ที่มีขนาดเพียงแค่ประมาณหนึ่งในสามของจีเอ็ม ใช้เวลาอยู่ในภาวะล้มละลาย 42 วัน และแม้กระทั่งพวกเจ้าหนี้อุทธรณ์ไปจนถึงขั้นศาลสูงสุด ก็ยังไม่สามารถขัดขวางการขายสินทรัพย์ดีที่สุดของไครสเลอร์ ไปให้แก่ “ไครสเลอร์ใหม่” ที่มีเฟียตแห่งอิตาลีเป็นผู้บริหาร
ทำนองเดียวกับกรณีของไครสเลอร์ พวกสินทรัพย์ที่แย่ๆ ของจีเอ็ม ซึ่งรวมถึงพวกแบรนด์รถยนต์ที่ไม่ได้รับความนิยม และโรงงานที่เหลือใช้ ตลอดจนภาระหนี้สินต่างๆ จะถูกชำระบัญชีและขายทอดตลาด โดยผ่านศาลล้มละลายนครนิวยอร์ก ทว่าจีเอ็มใหม่จะไม่ต้องมาแบกรับภาระยุ่งยากเกี่ยวกับกระบวนการนี้ที่คาดว่าจะใช้เวลายาวนานทีเดียว
สำหรับค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีและขายทอดตลาดสินทรัพย์ที่ยังเหลืออยู่ของจีเอ็ม อาจจะสูงถึง 1,200 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้จากการให้ปากคำของฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ซีอีโอของจีเอ็มต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่แล้ว(30มิ.ย.)
ในส่วนของ “จีเอ็มใหม่” รัฐบาลสหรัฐฯจะถือหุ้นเป็นจำนวน 60.8% หลังจากที่เข้าสนับสนุนการดำเนินงานของจีเอ็มเป็นจำนวนราว 50,000 ล้านดอลลาร์ในรูปของเงินทุนฉุกเฉิน
ขณะที่รัฐบาลแคนาดาซึ่งจัดหาเงินกู้ให้ 9,100 ล้านดอลลาร์ จะเข้าถือหุ้น 11.7% และกองทุนทรัสต์สำหรับดูแลสุขภาพของพนักงานเกษียณอายุที่ดำเนินการโดยสหภาพแรงงานยูไนเต็ด ออโต เวิร์กเกอร์ส จะถือหุ้นอีก 17.5%
ส่วน “จีเอ็มเก่า” จะถือหุ้น 10% เป็นการเปิดทางให้พวกเจ้าหนี้สามารถเรียกคืนหนี้ได้บางส่วน
โอบามากล่าวย้ำหลายครั้งว่าคณะรัฐบาลของเขาไม่มีเจตนารมณ์ที่จะทำให้จีเอ็มกลายเป็น “รัฐวิสาหกิจ” อย่างยาวนาน และจะไม่เข้ามีส่วนในการดำเนินกิจการรายวัน ขณะที่สมาชิกอาวุโสในคณะทำงานเฉพาะกิจด้านรถยนต์ของโอบามา ไปให้ปากคำต่อรัฐสภาในสัปดาห์ที่แล้วว่า รัฐบาลอาจเริ่มขายหุ้น “จีเอ็มใหม่” ที่ถือไว้ได้ตั้งแต่ปี 2010 ทันทีที่บริษัทใหม่สามารถจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง