ASTVผู้จัดการรายวัน-"อภิสิทธิ์" เดินหน้าปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ ทั้งการปรับปรุงการขนส่งระบบราง ทำรถไฟรางคู่ แผนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าในกทม. ทั้งทางด้านทิศเหนือ จากสะพานใหม่ถึงปทุมธานี และด้านตะวันออกไปถึงสมุทรปราการ ส่วนเรื่องรถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน มีข้อเสนอตั้งบริษัทลูกขึ้นมาจัดการ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ ถึงงานของรัฐบาลในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การเข้ามาทำงานของรัฐบาลนั้น เป็นการทำงานที่มองไปในระยะยาวด้วย ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในแง่ของเศรษฐกิจและสังคมไทย
ทั้งนี้ ภาพรวมของความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ องค์กรที่เขาจัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศปีนี้ได้ขยับให้ ประเทศไทยดีขึ้นมา 1 อันดับ จากอันดับที่ 27 เป็นอันดับที่ 26 แต่ว่าตนได้พูดคุยกับทางครม.แล้ว เห็นว่า ยังเป็นตัวเลขที่เราไม่ควรจะพึงพอใจ เพราะเชื่อว่าเราน่าจะมีศักยภาพสูงกว่านี้ เพราะฉะนั้นจึงได้มีการจัดการประชุมสัมมนา ระดมภาคเอกชน ภาควิชาการ ที่สำคัญคือได้ผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ในเรื่องของการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการจัดอันดับเข้ามาประชุมเป็นเวลา 2 วัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้คำแนะนำ เอาประสบการณ์จากประเทศต่างๆ มาเพื่อเป็นแนวทางในการนำทาง เพื่อเรียกความเชื่อมั่น และสร้างโอกาสทางด้านการค้า การลงทุน รวมไปถึงการท่องเที่ยวสำหรับประเทศต่อไป
นายกฯ กล่าวอีกว่า ได้มีโอกาสไปเปิดงาน และได้ติดตามจากทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เข้าไปร่วมในการสัมมนา ก็ได้ข้อคิดเห็น ได้แนวทางที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 นี้ ก็ได้เน้นย้ำไปว่าในแผนฉบับใหม่นี้ เราจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ หนึ่งเรื่องของภาคการเกษตรในการที่จะต้องเป็นผู้ผลิตอาหาร และพลังงานทดแทนที่สำคัญ โดยจะทำต่อเนื่องจากปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ซึ่งกำลังมีการลงทุนในเรื่องของแหล่งน้ำ ที่จะทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์ สามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้เพิ่มขึ้นต่อไร่ และสัปดาห์หน้า จะลงพื้นที่ภาคอีสาน ไปดูในเรื่องของแหล่งน้ำด้วย เพื่อที่จะให้การผลักดันไทยเข้มแข็งนั้นเป็นไปตามเป้าหมาย
**คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงเรื่องของภาคบริการการท่องเที่ยว ว่า เรายังมีความสามารถในการที่จะเติบโตอีกมาก เพียงแต่ว่าเราต้องปรับปรุง พูดง่ายๆ คือสินค้าของเรา ยี่ห้อของเรา และเพิ่มความหลากหลายในเรื่องของการท่องเที่ยวมากขึ้น พร้อมๆ กันไปก็มีในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเน้นในเรื่องของความคิดที่สร้างสรรค์ เราจะปรับปรุงในเรื่องของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เสริมในเรื่องของการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และขณะนี้คณะกรรมการซึ่งทำหน้าที่ในการดูแลเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ก็จะปรับบทบาทเข้ามาเสริมในเรื่องของเศรษฐกิจ ที่อิงกับความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ตรงนี้ต่อไปด้วย อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งซึ่งได้มีการดำเนินการในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
**เดินหน้าโครงการรถไฟรางคู่
นายกฯ กล่าวอีกว่า พร้อมๆ กันไปการลดต้นทุนของอุตสาหกรรม ให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ในเรื่องของโลจิสติกส์ ก็มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในการประชุม ครม.เศรษฐกิจ ที่สำคัญที่สุดประการแรก คือ การลงทุนในการขนส่งระบบราง โดยจะปรับปรุงสภาพของระบบรางรถไฟทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบัน ทรุดโทรมไปมาก ก็จะใช้เงินจากโครงการไทยเข้มแข็งนี้ ทำหน้าที่ในการฟื้นฟูและปรับปรุงรางตรงนี้ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประการ ที่ 2 ในเส้นทางหลักๆ จะเดินหน้าต่อในโครงการของรถไฟรางคู่ ซึ่งจะทำให้การเดินรถไฟ สามารถที่จะเพิ่มความรวดเร็ว เพิ่มเที่ยวที่จะบริการประชาชนทั้งในเรื่องของการเดินทาง ทั้งในเรื่องของการขนส่งสินค้า ได้พร้อมๆ กันไป
ประการที่ 3 จะมีการพิจารณาในเรื่องของเส้นทางบางเส้นทาง ในส่วนของบริเวณรอบๆ กรุงเทพฯว่ามีความเหมาะสมที่จะทำเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือไม่
ประการที่ 4 คือเรื่องของการเชื่อมโยงกับเครือข่ายของอาเซียน ซึ่งเชื่อมต่อไปจนถึงทางตอนใต้ของจีน และลงไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ กำลังจะมีการดูแลว่า เส้นทางไหนจะเป็นเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้า จะเดินทางไปเยือนประเทศเวียดนาม เพื่อที่จะเชื่อมโยงกับทางเวียดนามด้วย แล้วจะได้วางแผนในเรื่องของการกำหนดเครือข่ายที่จะทำให้ไม่เพียงแต่พี่น้อง ประชาชนคนไทยสามารถใช้รถไฟ หรือเดินทางด้วยระบบรางได้อย่างรวดเร็ว สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ว่าสามารถที่จะเปิดพื้นที่ อย่างเช่น ภาคอีสาน ก็สามารถที่จะออกทะเลผ่านทางท่าเรือ อาจจะเป็นทางเวียดนามหรือทางอื่นๆได้ และ ตามแนวตะวันตก ตะวันออก ที่จะมีการพัฒนา อันนี้ก็เป็นงานสำคัญที่ได้มีการดำเนินการไป
**ขยายระบบขนส่งมวลชนในกทม.
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงงานในส่วนของ กทม.ว่า ภายในเดือนส.ค.นี้จะมีการปรับปรุงแผนแม่บทในเรื่องระบบขนส่งมวลชน คือ เส้นทางต่อขยายของรถไฟฟ้าที่มีอยู่ โดยเฉพาะที่กทม.ดูแลอยู่ และกำลังจะมีการต่อไปทางทิศเหนือ จากสะพานใหม่ ขึ้นไปจนถึงปทุมธานี หรือ ทางทิศตะวันออก ที่ออกไปสู่ทางสมุทรปราการ ก็จะดูแลว่า ทำอย่างไรกทม. กระทรวงที่เกี่ยวข้อง และรวมถึงองค์กรท้องถิ่นในจังหวัด ในปริมณฑล สามารถมาทำงานร่วมกัน และระบบที่ต่อขยายไปไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้โดยสาร ในแง่ของระบบตั๋ว หรือระบบการเชื่อมโยง และมี 2 เส้นทาง ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะต้องมีการมาศึกษาดูเพิ่มเติมจากที่เคยกำหนดไว้ในอดีต เส้นทางหนึ่งคือการต่อออกจากบางกะปิ ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงเข้ามาตรงใจกลางเมืองอยู่แล้วไปถึงมีนบุรี และอีกเส้นทางหนึ่งคือ เชื่อมจากมีนบุรีไปตามแนวของรามอินทรา มาจนถึงศูนย์ราชการ ก็จะมีการศึกษาความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ในการที่จะเพิ่มเติมเส้นทางนี้เข้าไปในแผนแม่บทของระบบรางของขนส่งมวลชนใน กรุงเทพมหานคร ด้วย
ส่วนโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ครบกำหนดที่ทางคณะกรรมการของสภาพัฒน์ฯ จะรายงานเข้ามาในเรื่องของปัญหาโครงการของรถเมล์ ก็ปรากฏว่า ขณะนี้สิ่งที่ทางสภาพัฒน์ฯ เสนอมาคือว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนในเรื่องของตัวเอง เกี่ยวข้องกับสมมติฐานในเรื่องของเส้นทางการวิ่งรถ ความสัมพันธ์ระหว่างการเดินรถของ ขสมก. กับรถร่วมฯ และสมมติฐานในเรื่องของจำนวนผู้โดยสา เพราะเป้าหมายของเราคือ จะต้องทำบริการรถเมล์ให้ดีขึ้น พร้อมๆ ไปกับการทำให้ ขสมก. พ้นสภาพการขาดทุนเรื้อรัง ฉะนั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้ทางกระทรวงคมนาคมทำตัวเลขในเรื่องนี้ แล้วไปปรึกษาหารือ และประชุมร่วมกับทางคณะกรรมการของสภาพัฒน์ฯ เมื่อตัวเลขพร้อม ก็จะใช้เวลาอีก 30 วัน ก่อนที่จะได้ข้อสรุปว่าแนวทางของการปฏิรูปรถเมล์ รวมไปถึงการที่จะมีรถเมล์ใหม่เข้ามาวิ่งนั้น ควรจะดำเนินการในรูปแบบใด ซึ่งคงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ว่าจะเช่า หรือจะซื้อ หรือจะเช่าซื้อ เพราะตอนนี้ก็เริ่มมีข้อเสนอที่เพิ่มเติมเข้ามา เช่น จะมีการตั้งบริษัทลูก หรือว่าอาจจะเป็นแนวทางของการที่ ขสมก.ได้มีการแบ่งเส้นทาง ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารดูแลในเรื่องของเดินรถอย่างนี้เป็นต้น
"อยากจะย้ำครับว่า การตัดสินใจของรัฐบาลในเรื่องนี้ ยืนยันครับว่า จะเป็นไปอย่างโปร่งใส และมีเป้าหมายในการที่จะทำให้สถานะของ ขสมก. และที่สำคัญที่สุดคือบริการรถเมล์ดีขึ้น สำหรับพี่น้องประชาชนในกรุงเทพมหานคร" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ ถึงงานของรัฐบาลในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การเข้ามาทำงานของรัฐบาลนั้น เป็นการทำงานที่มองไปในระยะยาวด้วย ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในแง่ของเศรษฐกิจและสังคมไทย
ทั้งนี้ ภาพรวมของความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ องค์กรที่เขาจัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศปีนี้ได้ขยับให้ ประเทศไทยดีขึ้นมา 1 อันดับ จากอันดับที่ 27 เป็นอันดับที่ 26 แต่ว่าตนได้พูดคุยกับทางครม.แล้ว เห็นว่า ยังเป็นตัวเลขที่เราไม่ควรจะพึงพอใจ เพราะเชื่อว่าเราน่าจะมีศักยภาพสูงกว่านี้ เพราะฉะนั้นจึงได้มีการจัดการประชุมสัมมนา ระดมภาคเอกชน ภาควิชาการ ที่สำคัญคือได้ผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ในเรื่องของการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการจัดอันดับเข้ามาประชุมเป็นเวลา 2 วัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้คำแนะนำ เอาประสบการณ์จากประเทศต่างๆ มาเพื่อเป็นแนวทางในการนำทาง เพื่อเรียกความเชื่อมั่น และสร้างโอกาสทางด้านการค้า การลงทุน รวมไปถึงการท่องเที่ยวสำหรับประเทศต่อไป
นายกฯ กล่าวอีกว่า ได้มีโอกาสไปเปิดงาน และได้ติดตามจากทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เข้าไปร่วมในการสัมมนา ก็ได้ข้อคิดเห็น ได้แนวทางที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 นี้ ก็ได้เน้นย้ำไปว่าในแผนฉบับใหม่นี้ เราจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ หนึ่งเรื่องของภาคการเกษตรในการที่จะต้องเป็นผู้ผลิตอาหาร และพลังงานทดแทนที่สำคัญ โดยจะทำต่อเนื่องจากปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ซึ่งกำลังมีการลงทุนในเรื่องของแหล่งน้ำ ที่จะทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์ สามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้เพิ่มขึ้นต่อไร่ และสัปดาห์หน้า จะลงพื้นที่ภาคอีสาน ไปดูในเรื่องของแหล่งน้ำด้วย เพื่อที่จะให้การผลักดันไทยเข้มแข็งนั้นเป็นไปตามเป้าหมาย
**คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงเรื่องของภาคบริการการท่องเที่ยว ว่า เรายังมีความสามารถในการที่จะเติบโตอีกมาก เพียงแต่ว่าเราต้องปรับปรุง พูดง่ายๆ คือสินค้าของเรา ยี่ห้อของเรา และเพิ่มความหลากหลายในเรื่องของการท่องเที่ยวมากขึ้น พร้อมๆ กันไปก็มีในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเน้นในเรื่องของความคิดที่สร้างสรรค์ เราจะปรับปรุงในเรื่องของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เสริมในเรื่องของการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และขณะนี้คณะกรรมการซึ่งทำหน้าที่ในการดูแลเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ก็จะปรับบทบาทเข้ามาเสริมในเรื่องของเศรษฐกิจ ที่อิงกับความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ตรงนี้ต่อไปด้วย อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งซึ่งได้มีการดำเนินการในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
**เดินหน้าโครงการรถไฟรางคู่
นายกฯ กล่าวอีกว่า พร้อมๆ กันไปการลดต้นทุนของอุตสาหกรรม ให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ในเรื่องของโลจิสติกส์ ก็มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในการประชุม ครม.เศรษฐกิจ ที่สำคัญที่สุดประการแรก คือ การลงทุนในการขนส่งระบบราง โดยจะปรับปรุงสภาพของระบบรางรถไฟทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบัน ทรุดโทรมไปมาก ก็จะใช้เงินจากโครงการไทยเข้มแข็งนี้ ทำหน้าที่ในการฟื้นฟูและปรับปรุงรางตรงนี้ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประการ ที่ 2 ในเส้นทางหลักๆ จะเดินหน้าต่อในโครงการของรถไฟรางคู่ ซึ่งจะทำให้การเดินรถไฟ สามารถที่จะเพิ่มความรวดเร็ว เพิ่มเที่ยวที่จะบริการประชาชนทั้งในเรื่องของการเดินทาง ทั้งในเรื่องของการขนส่งสินค้า ได้พร้อมๆ กันไป
ประการที่ 3 จะมีการพิจารณาในเรื่องของเส้นทางบางเส้นทาง ในส่วนของบริเวณรอบๆ กรุงเทพฯว่ามีความเหมาะสมที่จะทำเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือไม่
ประการที่ 4 คือเรื่องของการเชื่อมโยงกับเครือข่ายของอาเซียน ซึ่งเชื่อมต่อไปจนถึงทางตอนใต้ของจีน และลงไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ กำลังจะมีการดูแลว่า เส้นทางไหนจะเป็นเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้า จะเดินทางไปเยือนประเทศเวียดนาม เพื่อที่จะเชื่อมโยงกับทางเวียดนามด้วย แล้วจะได้วางแผนในเรื่องของการกำหนดเครือข่ายที่จะทำให้ไม่เพียงแต่พี่น้อง ประชาชนคนไทยสามารถใช้รถไฟ หรือเดินทางด้วยระบบรางได้อย่างรวดเร็ว สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ว่าสามารถที่จะเปิดพื้นที่ อย่างเช่น ภาคอีสาน ก็สามารถที่จะออกทะเลผ่านทางท่าเรือ อาจจะเป็นทางเวียดนามหรือทางอื่นๆได้ และ ตามแนวตะวันตก ตะวันออก ที่จะมีการพัฒนา อันนี้ก็เป็นงานสำคัญที่ได้มีการดำเนินการไป
**ขยายระบบขนส่งมวลชนในกทม.
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงงานในส่วนของ กทม.ว่า ภายในเดือนส.ค.นี้จะมีการปรับปรุงแผนแม่บทในเรื่องระบบขนส่งมวลชน คือ เส้นทางต่อขยายของรถไฟฟ้าที่มีอยู่ โดยเฉพาะที่กทม.ดูแลอยู่ และกำลังจะมีการต่อไปทางทิศเหนือ จากสะพานใหม่ ขึ้นไปจนถึงปทุมธานี หรือ ทางทิศตะวันออก ที่ออกไปสู่ทางสมุทรปราการ ก็จะดูแลว่า ทำอย่างไรกทม. กระทรวงที่เกี่ยวข้อง และรวมถึงองค์กรท้องถิ่นในจังหวัด ในปริมณฑล สามารถมาทำงานร่วมกัน และระบบที่ต่อขยายไปไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้โดยสาร ในแง่ของระบบตั๋ว หรือระบบการเชื่อมโยง และมี 2 เส้นทาง ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะต้องมีการมาศึกษาดูเพิ่มเติมจากที่เคยกำหนดไว้ในอดีต เส้นทางหนึ่งคือการต่อออกจากบางกะปิ ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงเข้ามาตรงใจกลางเมืองอยู่แล้วไปถึงมีนบุรี และอีกเส้นทางหนึ่งคือ เชื่อมจากมีนบุรีไปตามแนวของรามอินทรา มาจนถึงศูนย์ราชการ ก็จะมีการศึกษาความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ในการที่จะเพิ่มเติมเส้นทางนี้เข้าไปในแผนแม่บทของระบบรางของขนส่งมวลชนใน กรุงเทพมหานคร ด้วย
ส่วนโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ครบกำหนดที่ทางคณะกรรมการของสภาพัฒน์ฯ จะรายงานเข้ามาในเรื่องของปัญหาโครงการของรถเมล์ ก็ปรากฏว่า ขณะนี้สิ่งที่ทางสภาพัฒน์ฯ เสนอมาคือว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนในเรื่องของตัวเอง เกี่ยวข้องกับสมมติฐานในเรื่องของเส้นทางการวิ่งรถ ความสัมพันธ์ระหว่างการเดินรถของ ขสมก. กับรถร่วมฯ และสมมติฐานในเรื่องของจำนวนผู้โดยสา เพราะเป้าหมายของเราคือ จะต้องทำบริการรถเมล์ให้ดีขึ้น พร้อมๆ ไปกับการทำให้ ขสมก. พ้นสภาพการขาดทุนเรื้อรัง ฉะนั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้ทางกระทรวงคมนาคมทำตัวเลขในเรื่องนี้ แล้วไปปรึกษาหารือ และประชุมร่วมกับทางคณะกรรมการของสภาพัฒน์ฯ เมื่อตัวเลขพร้อม ก็จะใช้เวลาอีก 30 วัน ก่อนที่จะได้ข้อสรุปว่าแนวทางของการปฏิรูปรถเมล์ รวมไปถึงการที่จะมีรถเมล์ใหม่เข้ามาวิ่งนั้น ควรจะดำเนินการในรูปแบบใด ซึ่งคงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ว่าจะเช่า หรือจะซื้อ หรือจะเช่าซื้อ เพราะตอนนี้ก็เริ่มมีข้อเสนอที่เพิ่มเติมเข้ามา เช่น จะมีการตั้งบริษัทลูก หรือว่าอาจจะเป็นแนวทางของการที่ ขสมก.ได้มีการแบ่งเส้นทาง ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารดูแลในเรื่องของเดินรถอย่างนี้เป็นต้น
"อยากจะย้ำครับว่า การตัดสินใจของรัฐบาลในเรื่องนี้ ยืนยันครับว่า จะเป็นไปอย่างโปร่งใส และมีเป้าหมายในการที่จะทำให้สถานะของ ขสมก. และที่สำคัญที่สุดคือบริการรถเมล์ดีขึ้น สำหรับพี่น้องประชาชนในกรุงเทพมหานคร" นายอภิสิทธิ์กล่าว