ไทยผิดหวังสหรัฐ ประกาศคงอันดับไทยอยู่ PWL ตามเดิม แม้เดินสายแจงข้อมูล ยันรัฐบาลชุดปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงอยากให้สหรัฐน่าจะนำไทยเข้าสู่กระบวนการทบทวนในช่วงครึ่งปีนี้ได้
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สหรัฐได้ประกาศผลการจัดอันดับไทยตามกฎหมายการค้ามาตรา 301 พิเศษ ประจำปี 2552 แล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาโดยยังคงจัดไทยเป็นประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List – PWL) เนื่องจากการคุ้มครองและบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของไทยยังคงสร้างความห่วงกังวลให้กับสหรัฐ แม้สหรัฐจะตระหนักถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยภายใต้การบริหารงานของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันที่ได้ให้ความสำคัญกับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ แต่ระยะเวลายังสั้นเกินไปที่จะประเมินไทยใหม่ในอันดับที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ สหรัฐหวังว่าไทยจะสานต่อการทำงานนี้ต่อไปเพื่อให้การละเมิดลิขสิทธิ์ ซีดี ซอฟต์แวร์ สัญญาณเคเบิล และหนังสือลดน้อยลง ตลอดจนมีการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการจดทะเบียนสิทธิบัตร สหรัฐ ยังได้เรียกร้องให้ไทยคำนึงถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิบัตรที่จะช่วยให้มีการพัฒนาคิดค้นยาจำเป็นชนิดใหม่ และแจ้งว่าเคารพสิทธิของไทยในการดำเนินนโยบายสาธารณสุขของประเทศเพื่อการเข้าถึงยาและการใช้ CL ที่สอดคล้องกับความตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลกและหวังว่าไทยจะพิจารณาแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในเชิงที่ส่งเสริมการลงทุนพัฒนาวิจัยและเสถียรภาพของระบบสิทธิบัตร
“ไทยรู้สึกผิดหวังที่สหรัฐคงอันดับไทยไว้ตามเดิม แต่ก็ยอมรับว่าการพิจารณาของสหรัฐได้ใช้ข้อมูลเดิมของปี 2551 ในการทบทวนการจัดอันดับดังกล่าวของไทย ยังเห็นว่าการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ที่ผ่านมายังมีอยู่ต่อเนื่อง แต่ตนก็ได้ส่งสัญญาณให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของสหรัฐไปแล้วว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาไทยสามารถเร่งปราบปรามปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จึงอยากให้สหรัฐน่าจะนำไทยเข้าสู่กระบวนการทบทวนในช่วงครึ่งปีนี้ได้ ซึ่งหลังจากนี้ไปไทยจะส่งหนังสือชี้แจงให้สหรัฐได้พิจารณาเรื่องนี้ต่อไป” นายอลงกรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผลการจัดอันดับของสหรัฐ เป็นไปตามคาด เนื่องจากสหรัฐใช้ข้อมูลในปี 2551 เป็นหลักในการประเมินและไม่ได้นำคำชี้แจงและผลการปราบปรามของไทยในเดือนมกราคม - เมษายน 2552 มาพิจารณาอย่างจริงจัง โดยในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ไทยได้ส่งข้อมูลการปราบปราม และโต้แย้งข้อกล่าวหาของภาคเอกชนไปที่สหรัฐหลายครั้ง และตนยังใช้โอกาสในช่วงการเดินทางเยือนสหรัฐฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบหารือกับผู้แทนสำนักงานผู้แทนการค้า ภาคเอกชนและรัฐสภาของสหรัฐ ชี้แจงนโยบายการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลไทยที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ อัยการ กรมศุลกากรและกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นคณะกรรมการดำเนินการปราบปรามการละเมิดอย่างจริงจังจนตัวเลขการจับกุมและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2552 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยดำเนินคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญารวม 1,345 คดี ยึดของกลางได้กว่า 1,126,474 ชิ้น ยึดได้เฉลี่ย 865.69 ชิ้นต่อคดี เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ ตนยังได้มีหนังสือไปถึงนาย Ron Krik ผู้แทนการค้าสหรัฐ ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งในเดือนเมษายน แจ้งให้ทราบถึงการดำเนินงานของไทยด้วย และไม่ว่าไทยจะถูกประเมินจากต่างชาติอย่างไร แต่รัฐบาลไทยจะยังคงเดินหน้าสร้างศักยภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศต่อไป และขณะนี้ได้มีการพิจารณาแก้ไขร่างกฎหมายเพิ่มเติมกฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายเครื่องหมายการค้า โดยต่อไปผู้ซื้อและผู้ขายจะมีความผิดตามกฎหมายทางแพ่ง ส่วนผู้ให้เช่าและผู้กระทำความผิดในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาก็จะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายทั้งอาญาและกฎหมายแพ่ง ซึ่งในเดือน พ.ค.นี้จะนำร่างแก้ไขกฎหมายเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฏรได้ในช่วง 2-3 เดือนต่อไป
ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐ มาตรา 301 พิเศษ สหรัฐจัดอันดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าเป็น 3 ประเภท คือ ประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูงที่สุด (PFC) ประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) และประเทศที่ต้องจับตามอง (WL) โดยในปี 2552 มีประเทศที่ถูกจัดเป็น PWL จำนวน 12 ประเทศ คือ จีน รัสเซีย แอลจีเรีย อาร์เจนตินา แคนาดา ชิลี อินเดีย อินโดนีเซีย อิสราเอล ปากีสถาน เวเนซุเอลา และไทย เพิ่มขึ้นจาก 9 ประเทศในปีที่แล้ว โดยได้ปรับให้แอลจีเรีย อินโดนีเซีย และแคนาดา จากเดิมที่อยู่ใน WL เป็น PWL สำหรับประเทศที่อยู่ในบัญชี WL ในปีนี้ มี 33 ประเทศ ลดลงจากปี 2551 ที่มี 36 ประเทศ เช่น เบลารุส โบลิเวีย บราซิล บรูไน โคลอมเบีย คอสตาริกา อียิปต์ อิตาลี มาเลเซีย เม็กซิโก คูเวต ฟินแลนด์ โปแลนด์ ซาอุดิอาระเบีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นต้น ทั้งนี้ สหรัฐจะจัดให้มีการพิจารณาทบทวนนอกรอบ (out-of cycle review) แก่ 5 ประเทศ ได้แก่ ฟิจิ อิสราเอล ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ และซาอุดีอาระเบีย เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ เกาหลี และไต้หวัน ได้ถูกถอดออกจากบัญชี WL และไม่ถูกจัดในบัญชีใดเลย เนื่องจากมีความคืบหน้าในการปรับปรุงระบบการคุ้มครองและบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเห็นเด่นชัดตลอดปีที่ผ่านมา แต่สหรัฐก็จะยังคงติดตามผลการแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทางสื่ออินเทอร์เน็ตในเกาหลีอย่างใกล้ชิด และอาจจัดไว้ในบัญชี WL ใหม่ หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไข ในขณะที่ฟินแลนด์ และบรูไน เป็นประเทศใหม่ที่สหรัฐ ใส่ไว้ในบัญชี WL ในปีนี้ โดยสหรัฐเคยจัดไทยไว้ในบัญชี PWL ในปี 2535 – 2536 ก่อนจะปรับเป็น WL ในปี 2537 – 2549 และปรับลดเป็น PWL ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน สหรัฐ เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 5 ของไทย รองจากอาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน ในปีที่แล้วมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 31,665.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นประเทศที่ใช้สิทธิ GSP ในการส่งสินค้าไปยังสหรัฐ มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากอินเดีย คือ 3,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2551 และในปีนี้ไทยได้ขอให้สหรัฐผ่อนผันไม่ระงับสิทธิ GSP สินค้า 11 รายการ เช่น ทุเรียนสด กล้วยไม้สด มะขาม มะละกอตากแห้ง เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง กุ้งปรุงแต่ง เป็นต้น และขอคืนสิทธิ GSP สินค้า 3 รายการ คือ แป้ง ธัญพืช เม็ดพลาสติก และกระเบื้อง ปูพื้นและผนัง ซึ่งจะประกาศผลในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 และหากพิจารณาจากปีที่แล้วผล 301 ก็ไม่น่ากระทบกับเรื่อง GSP
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สหรัฐได้ประกาศผลการจัดอันดับไทยตามกฎหมายการค้ามาตรา 301 พิเศษ ประจำปี 2552 แล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาโดยยังคงจัดไทยเป็นประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List – PWL) เนื่องจากการคุ้มครองและบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของไทยยังคงสร้างความห่วงกังวลให้กับสหรัฐ แม้สหรัฐจะตระหนักถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยภายใต้การบริหารงานของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันที่ได้ให้ความสำคัญกับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ แต่ระยะเวลายังสั้นเกินไปที่จะประเมินไทยใหม่ในอันดับที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ สหรัฐหวังว่าไทยจะสานต่อการทำงานนี้ต่อไปเพื่อให้การละเมิดลิขสิทธิ์ ซีดี ซอฟต์แวร์ สัญญาณเคเบิล และหนังสือลดน้อยลง ตลอดจนมีการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการจดทะเบียนสิทธิบัตร สหรัฐ ยังได้เรียกร้องให้ไทยคำนึงถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิบัตรที่จะช่วยให้มีการพัฒนาคิดค้นยาจำเป็นชนิดใหม่ และแจ้งว่าเคารพสิทธิของไทยในการดำเนินนโยบายสาธารณสุขของประเทศเพื่อการเข้าถึงยาและการใช้ CL ที่สอดคล้องกับความตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลกและหวังว่าไทยจะพิจารณาแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในเชิงที่ส่งเสริมการลงทุนพัฒนาวิจัยและเสถียรภาพของระบบสิทธิบัตร
“ไทยรู้สึกผิดหวังที่สหรัฐคงอันดับไทยไว้ตามเดิม แต่ก็ยอมรับว่าการพิจารณาของสหรัฐได้ใช้ข้อมูลเดิมของปี 2551 ในการทบทวนการจัดอันดับดังกล่าวของไทย ยังเห็นว่าการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ที่ผ่านมายังมีอยู่ต่อเนื่อง แต่ตนก็ได้ส่งสัญญาณให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของสหรัฐไปแล้วว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาไทยสามารถเร่งปราบปรามปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จึงอยากให้สหรัฐน่าจะนำไทยเข้าสู่กระบวนการทบทวนในช่วงครึ่งปีนี้ได้ ซึ่งหลังจากนี้ไปไทยจะส่งหนังสือชี้แจงให้สหรัฐได้พิจารณาเรื่องนี้ต่อไป” นายอลงกรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผลการจัดอันดับของสหรัฐ เป็นไปตามคาด เนื่องจากสหรัฐใช้ข้อมูลในปี 2551 เป็นหลักในการประเมินและไม่ได้นำคำชี้แจงและผลการปราบปรามของไทยในเดือนมกราคม - เมษายน 2552 มาพิจารณาอย่างจริงจัง โดยในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ไทยได้ส่งข้อมูลการปราบปราม และโต้แย้งข้อกล่าวหาของภาคเอกชนไปที่สหรัฐหลายครั้ง และตนยังใช้โอกาสในช่วงการเดินทางเยือนสหรัฐฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบหารือกับผู้แทนสำนักงานผู้แทนการค้า ภาคเอกชนและรัฐสภาของสหรัฐ ชี้แจงนโยบายการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลไทยที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ อัยการ กรมศุลกากรและกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นคณะกรรมการดำเนินการปราบปรามการละเมิดอย่างจริงจังจนตัวเลขการจับกุมและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2552 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยดำเนินคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญารวม 1,345 คดี ยึดของกลางได้กว่า 1,126,474 ชิ้น ยึดได้เฉลี่ย 865.69 ชิ้นต่อคดี เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ ตนยังได้มีหนังสือไปถึงนาย Ron Krik ผู้แทนการค้าสหรัฐ ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งในเดือนเมษายน แจ้งให้ทราบถึงการดำเนินงานของไทยด้วย และไม่ว่าไทยจะถูกประเมินจากต่างชาติอย่างไร แต่รัฐบาลไทยจะยังคงเดินหน้าสร้างศักยภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศต่อไป และขณะนี้ได้มีการพิจารณาแก้ไขร่างกฎหมายเพิ่มเติมกฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายเครื่องหมายการค้า โดยต่อไปผู้ซื้อและผู้ขายจะมีความผิดตามกฎหมายทางแพ่ง ส่วนผู้ให้เช่าและผู้กระทำความผิดในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาก็จะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายทั้งอาญาและกฎหมายแพ่ง ซึ่งในเดือน พ.ค.นี้จะนำร่างแก้ไขกฎหมายเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฏรได้ในช่วง 2-3 เดือนต่อไป
ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐ มาตรา 301 พิเศษ สหรัฐจัดอันดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้าเป็น 3 ประเภท คือ ประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูงที่สุด (PFC) ประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) และประเทศที่ต้องจับตามอง (WL) โดยในปี 2552 มีประเทศที่ถูกจัดเป็น PWL จำนวน 12 ประเทศ คือ จีน รัสเซีย แอลจีเรีย อาร์เจนตินา แคนาดา ชิลี อินเดีย อินโดนีเซีย อิสราเอล ปากีสถาน เวเนซุเอลา และไทย เพิ่มขึ้นจาก 9 ประเทศในปีที่แล้ว โดยได้ปรับให้แอลจีเรีย อินโดนีเซีย และแคนาดา จากเดิมที่อยู่ใน WL เป็น PWL สำหรับประเทศที่อยู่ในบัญชี WL ในปีนี้ มี 33 ประเทศ ลดลงจากปี 2551 ที่มี 36 ประเทศ เช่น เบลารุส โบลิเวีย บราซิล บรูไน โคลอมเบีย คอสตาริกา อียิปต์ อิตาลี มาเลเซีย เม็กซิโก คูเวต ฟินแลนด์ โปแลนด์ ซาอุดิอาระเบีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นต้น ทั้งนี้ สหรัฐจะจัดให้มีการพิจารณาทบทวนนอกรอบ (out-of cycle review) แก่ 5 ประเทศ ได้แก่ ฟิจิ อิสราเอล ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ และซาอุดีอาระเบีย เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ เกาหลี และไต้หวัน ได้ถูกถอดออกจากบัญชี WL และไม่ถูกจัดในบัญชีใดเลย เนื่องจากมีความคืบหน้าในการปรับปรุงระบบการคุ้มครองและบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเห็นเด่นชัดตลอดปีที่ผ่านมา แต่สหรัฐก็จะยังคงติดตามผลการแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทางสื่ออินเทอร์เน็ตในเกาหลีอย่างใกล้ชิด และอาจจัดไว้ในบัญชี WL ใหม่ หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไข ในขณะที่ฟินแลนด์ และบรูไน เป็นประเทศใหม่ที่สหรัฐ ใส่ไว้ในบัญชี WL ในปีนี้ โดยสหรัฐเคยจัดไทยไว้ในบัญชี PWL ในปี 2535 – 2536 ก่อนจะปรับเป็น WL ในปี 2537 – 2549 และปรับลดเป็น PWL ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน สหรัฐ เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 5 ของไทย รองจากอาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน ในปีที่แล้วมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 31,665.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นประเทศที่ใช้สิทธิ GSP ในการส่งสินค้าไปยังสหรัฐ มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากอินเดีย คือ 3,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2551 และในปีนี้ไทยได้ขอให้สหรัฐผ่อนผันไม่ระงับสิทธิ GSP สินค้า 11 รายการ เช่น ทุเรียนสด กล้วยไม้สด มะขาม มะละกอตากแห้ง เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง กุ้งปรุงแต่ง เป็นต้น และขอคืนสิทธิ GSP สินค้า 3 รายการ คือ แป้ง ธัญพืช เม็ดพลาสติก และกระเบื้อง ปูพื้นและผนัง ซึ่งจะประกาศผลในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 และหากพิจารณาจากปีที่แล้วผล 301 ก็ไม่น่ากระทบกับเรื่อง GSP