กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่อนหนังสือถึงปลัด สธ. ดิ้นดันไทยหลุดจากบัญชีพีดับบลิวแอล แลกไม่ทำซีแอล นักวิชาการ-เอ็นจีโอ ไม่เห็นด้วย ลั่นอย่ากลัวเกินเหตุ ชี้ ไม่ควรยื่นข้อเสนอทั้งๆ ที่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยกับไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และในตำแหน่งกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทำหนังสือเลขที่ พณ 0703/ว.413 ลงวันที่ 24 ก.พ. 2552 เรื่องความเห็นเอกชนสหรัฐฯต่อสถานการณ์คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ หนังสือฉบับดังกล่าว ระบุว่า เอกชน 5 กลุ่มของสหรัฐอเมริกาได้สรุปความเห็นเรื่องสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้แก่ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โดยเฉพาะความเห็นของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์สหรัฐฯ หรือ ฟาร์มา (PhRMA) ระบุว่า ไทยควรจัดเป็นประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูงที่สุด (พีเอฟซี) เนื่องจากไทยมีปัญหาการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ปัญหายาปลอม รวมถึงการไม่ให้ผูกขาดข้อมูลการทดสอบทางยา และไม่เชื่อมโยงการขึ้นทะเบียนตำรับยากับการจดทะเบียนสิทธิบัตร
หนังสือดังกล่าวยังได้ชี้แจงถึงการดำเนินการของกระทรวงพาณิชย์ ว่า จะผลักดันให้สหรัฐฯ ถอดไทยจากพีดับบลิวแอลอาจจำเป็นต้องดำเนินการ ดังนี้ 1.ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง ให้เห็นผลและมีการลงโทษอย่าเป็นรูปธรรม 2.ไม่มีการทำซีแอลเพิ่มเติมในขณะนี้ รวมทั้งเร่งรัดจัดประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งสัญญาณว่าไทยมีเวทีหารือรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยา และ 3.เร่งรัดปรับปรุงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
หนังสือระบุอีกว่า ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญด้านการคุ้มครองลิขสิทธิ์(ไอไอพีเอ) เช่น เคเบิลทีวี ซอฟต์แวร์ หนังสือ ภาพยนตร์ เห็นว่า ควรคงพีดับบลิวแอลไว้ เพราะในปี 2551 มีความเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในไทยถึง 31.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังพบการละเมิดอยู่ทั่วไป เช่นเดียวกับกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์และเครือข่ายเคเบิลทีวีและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม หรือ แคสบา นอกจากนี้ มีเพียง ลีวายส์ สเตราสส์ แอนด์ โค ที่ไม่ได้แสนอแนะว่าไทยควรจัดอันดับอย่างไรกับทางยูเอสทีอาร์
โดยส่วนท้ายหนังสือ ระบุว่า หากมีหน่วยงานใดที่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำข้อโต้แย้งของไทยต่อข้อกล่าวหาสหรัฐฯ รวมทั้งข้อมูลที่จะให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ จะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อพบกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เพื่อหารือเรื่องปรับสถานะของไทยจากประเทศที่จับตามองพิเศษด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (พีดับบลิวแอล) เป็นประเทศที่จับตามองด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ดับบลิวแอล) ในระหว่างวันที่ 9-17 มี.ค.นี้ โปรดแจ้ง
อนึ่ง สำหรับข้อเสนอของฟาร์มาที่นำมากล่าวอ้างนั้นเป็นรายละเอียดในเงื่อนไขในข้อตกลงการค้าระหว่างไทยและสหรัฐเพิ่มเติม (ทริปส์พลัส) ที่สหรัฐฯพยายามยื่นข้อเสนอให้ประเทศไทยตอบตกลงในทริปส์พลัสเช่นนี้มาโดยตลอด
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ตัวแทนของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ของไทย (พรีม่า) ได้เข้าพบนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข โดยต้องการให้ไทยคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มากไปกว่าความตกลงที่ไทยผูกพันอยู่
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรดำเนินการอะไรที่เป็นการดำเนินการมากไปกว่าข้อตกลงที่ทริปส์ที่ทำอยู่ โดยหวังให้ไทยหลุดออกจากพีดับบลิวแอล เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องปีต่อปีที่จะถูกจัดอันดับ แต่หากทำทริปส์พลัส เป็นเรื่องส่งผลกระทบยาวนานชั่วลูกชั่วหลาน จึงไม่ควรเอาอะไรไปแลก
“ส่วนการที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ชอบดำเนินการตามข้อเสนอของต่างประเทศจนบางครั้งทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์นั้น รวมถึงเรื่องนี้ที่เสนอให้ดำเนินการที่ตรงกับข้อเสนอทริปส์พลัสนั้น เห็นว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญาควรเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทรัพย์สินอเมริกาจะดีกว่า”น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีควรจะต้องทราบว่า มาตรการในการจัดอันดับประเทศไทยในด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ เป็นเพียงกลไกที่สหรัฐฯใช้ในการแทรกแซงทางการค้าอยู่เป็นปกติ ซึ่งหวังว่า รัฐบาลนี้จะมีวุฒิภาวะรู้เท่าทันในเรื่องนี้ อีกทั้งควรทบทวนการผูกติดเศรษฐกิจของประเทศแต่เพียงการส่งออกเพียงอย่างเดียว เพราะแม้แต่รัฐบาลสหรัฐฯในขณะนี้ยังเน้นการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศเลย ซึ่งไทยควรมีนโยบายเช่นเดียวกันบ้าง
ขณะที่ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้ยังๆ ไม่เห็นเอกสารการจัดทำแผนปฏิบัติการ หรือ แอ็คชั่นแพลน ที่กระทรวงพาณิชย์จะเสนอต่อสหรัฐอเมริกาเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยว่าเป็นอย่างไร แต่รู้สึกประหลาดใจมากที่จะมีการนำเรื่องการจัดอันดับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยเพื่อขอเลื่อนสถานะจากพีดับบลิวแอลเป็นพีแอล มาเชื่อมโยงกับมาตรการซีแอล ซึ่งไม่ได้ทำผิดกติกา หรือ ผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องไปยื่นต่อสหรัฐแต่อย่างใด
“ในการจัดอันดับสถานะของไทย ก็ไม่มีข้อห้าม ว่าทำซีแอลไม่ได้ ซึ่งตอนที่มีปัญหาครั้งที่แล้ว มีการระบุว่า การทำซีแอลไม่โปร่งใส ไทยก็มีการชี้แจงไปหมดแล้ว การที่จะเอาเรื่องนี้ไปยื่นให้กับอเมริกาอีกจึงดูเป็นเรื่องประหลาด เท่ากับเป็นการยอมรับว่าเราทำผิด ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ แต่เป็นการกลัวกันไปเองมากกว่า”รศ.ดร.จิราพร กล่าว
รศ.ดร.จิราพร กล่าวด้วยว่า ส่วนบทบาทของ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ก็ควรจะยืนกรานว่าการทำซีแอลถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่ประเด็นที่สหรัฐจะนำมาจัดอันดับพีดับบลิวแอล หรือ พีแอล ทั้งนี้ชัดเจนอยู่แล้วการจัดดันดับสถานะของไทยเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญหาเป็นเพราะปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เทป ผี ซีดีเถื่อน แต่ก็ยอมรับว่า เรื่องนี้บริษัทยามีอิทธิพลต่อการเมืองในสหรัฐแต่ไม่ใช่สาระที่ไทยจะต้องออกมามีท่าทีอะไร
“คงขึ้นอยู่กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลด้วยว่ามีความเห็นอย่างไร จะรักษาผลประโยชน์ของประชาชนหรือไม่ ซึ่งหากเป็นห่วงเรื่องอของเศรษฐกิจ รัฐบาลคงต้องคิดดูให้ดีว่า ตอนนี้นโยบายด้านเศรษฐกิจของสหรัฐก็เพื่อประโยชน์ของสหรัฐที่จะต้องปกป้องตลาดของเขาอยู่แล้ว ไทยจะไปหวังขยายตลาดในภาวะที่เศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ ถือว่าเป็นไปไม่ได้ ในช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้ทำไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะขยายตลาดในสหรัฐ หรือเป็นโอกาสทอง ไม่ใช่เลย นโยบายของรัฐบาลควรเป็นไปเพื่อการสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจในประเทศ ให้สามารถพึงพาตนเองได้ อย่าไปหวังพึ่งตลาดส่งออก”รศ.ดร.จิราพร กล่าว
นายจอน อึ๊งภากรณ์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้เรื่องการทำซีแอล กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง หาก รมว.สาธารณสุข ยอมทำตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ เท่ากับทำให้ไทยเสียผลประโยชน์ โดยการปิดช่องในการทำซีแอลในอนาคต ทั้งๆ ที่สามารถทำได้หากมีความจำเป็น การรับปากว่าจะไม่ทำซีแอล จึงเป็นการเสียโอกาสที่จะต่อรองราคายา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เห็นชัดเจนแล้วว่า ไทยได้รับประโยชน์จากการทำซีแอลต่อระบบสุขภาพและการบริการสาธารณสุขมากมายมหาศาล
“รมว.สธ.ควรจะคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนในการเข้าถึงยาเป็นสิ่งสำคัญเหนือกว่าผลประโยชน์ทางด้านการค้า ซึ่งมีข้อมูลจำนวนมากยืนยันว่า การทำซีแอลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้า หรือการจัดสถานะของไทย และหากมีการแลกเปลี่ยนกันจริง ก็ไม่ได้ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการค้ามากเท่าใดนัก เพราะแทบไม่มีความต่าง ในการได้เปรียบเรื่องของสิทธิพิเศษทางการค้าและภาษีศุลกากร (จีเอสพี) เลย”นายจอน กล่าว
อนึ่ง ที่ผ่านมา กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติราชการและออกนโยบายที่สอดคล้องกับความเห็นของบริษัทต่างชาติมาโดยตลอด อาทิ การพยายามออกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อปูทางให้กับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าข้อตกลงทริปส์ ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยื่นข้อเสนอไทยมาตลอด ซึ่งจะกระทบถึงการเข้าถึงยาของประชาชนทั้งประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และในตำแหน่งกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทำหนังสือเลขที่ พณ 0703/ว.413 ลงวันที่ 24 ก.พ. 2552 เรื่องความเห็นเอกชนสหรัฐฯต่อสถานการณ์คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ หนังสือฉบับดังกล่าว ระบุว่า เอกชน 5 กลุ่มของสหรัฐอเมริกาได้สรุปความเห็นเรื่องสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้แก่ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โดยเฉพาะความเห็นของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์สหรัฐฯ หรือ ฟาร์มา (PhRMA) ระบุว่า ไทยควรจัดเป็นประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูงที่สุด (พีเอฟซี) เนื่องจากไทยมีปัญหาการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ปัญหายาปลอม รวมถึงการไม่ให้ผูกขาดข้อมูลการทดสอบทางยา และไม่เชื่อมโยงการขึ้นทะเบียนตำรับยากับการจดทะเบียนสิทธิบัตร
หนังสือดังกล่าวยังได้ชี้แจงถึงการดำเนินการของกระทรวงพาณิชย์ ว่า จะผลักดันให้สหรัฐฯ ถอดไทยจากพีดับบลิวแอลอาจจำเป็นต้องดำเนินการ ดังนี้ 1.ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง ให้เห็นผลและมีการลงโทษอย่าเป็นรูปธรรม 2.ไม่มีการทำซีแอลเพิ่มเติมในขณะนี้ รวมทั้งเร่งรัดจัดประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งสัญญาณว่าไทยมีเวทีหารือรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยา และ 3.เร่งรัดปรับปรุงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
หนังสือระบุอีกว่า ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญด้านการคุ้มครองลิขสิทธิ์(ไอไอพีเอ) เช่น เคเบิลทีวี ซอฟต์แวร์ หนังสือ ภาพยนตร์ เห็นว่า ควรคงพีดับบลิวแอลไว้ เพราะในปี 2551 มีความเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในไทยถึง 31.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังพบการละเมิดอยู่ทั่วไป เช่นเดียวกับกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์และเครือข่ายเคเบิลทีวีและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม หรือ แคสบา นอกจากนี้ มีเพียง ลีวายส์ สเตราสส์ แอนด์ โค ที่ไม่ได้แสนอแนะว่าไทยควรจัดอันดับอย่างไรกับทางยูเอสทีอาร์
โดยส่วนท้ายหนังสือ ระบุว่า หากมีหน่วยงานใดที่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำข้อโต้แย้งของไทยต่อข้อกล่าวหาสหรัฐฯ รวมทั้งข้อมูลที่จะให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ จะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อพบกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เพื่อหารือเรื่องปรับสถานะของไทยจากประเทศที่จับตามองพิเศษด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (พีดับบลิวแอล) เป็นประเทศที่จับตามองด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ดับบลิวแอล) ในระหว่างวันที่ 9-17 มี.ค.นี้ โปรดแจ้ง
อนึ่ง สำหรับข้อเสนอของฟาร์มาที่นำมากล่าวอ้างนั้นเป็นรายละเอียดในเงื่อนไขในข้อตกลงการค้าระหว่างไทยและสหรัฐเพิ่มเติม (ทริปส์พลัส) ที่สหรัฐฯพยายามยื่นข้อเสนอให้ประเทศไทยตอบตกลงในทริปส์พลัสเช่นนี้มาโดยตลอด
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ตัวแทนของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ของไทย (พรีม่า) ได้เข้าพบนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข โดยต้องการให้ไทยคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มากไปกว่าความตกลงที่ไทยผูกพันอยู่
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรดำเนินการอะไรที่เป็นการดำเนินการมากไปกว่าข้อตกลงที่ทริปส์ที่ทำอยู่ โดยหวังให้ไทยหลุดออกจากพีดับบลิวแอล เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องปีต่อปีที่จะถูกจัดอันดับ แต่หากทำทริปส์พลัส เป็นเรื่องส่งผลกระทบยาวนานชั่วลูกชั่วหลาน จึงไม่ควรเอาอะไรไปแลก
“ส่วนการที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ชอบดำเนินการตามข้อเสนอของต่างประเทศจนบางครั้งทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์นั้น รวมถึงเรื่องนี้ที่เสนอให้ดำเนินการที่ตรงกับข้อเสนอทริปส์พลัสนั้น เห็นว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญาควรเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทรัพย์สินอเมริกาจะดีกว่า”น.ส.สารี กล่าว
น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีควรจะต้องทราบว่า มาตรการในการจัดอันดับประเทศไทยในด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ เป็นเพียงกลไกที่สหรัฐฯใช้ในการแทรกแซงทางการค้าอยู่เป็นปกติ ซึ่งหวังว่า รัฐบาลนี้จะมีวุฒิภาวะรู้เท่าทันในเรื่องนี้ อีกทั้งควรทบทวนการผูกติดเศรษฐกิจของประเทศแต่เพียงการส่งออกเพียงอย่างเดียว เพราะแม้แต่รัฐบาลสหรัฐฯในขณะนี้ยังเน้นการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศเลย ซึ่งไทยควรมีนโยบายเช่นเดียวกันบ้าง
ขณะที่ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้ยังๆ ไม่เห็นเอกสารการจัดทำแผนปฏิบัติการ หรือ แอ็คชั่นแพลน ที่กระทรวงพาณิชย์จะเสนอต่อสหรัฐอเมริกาเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยว่าเป็นอย่างไร แต่รู้สึกประหลาดใจมากที่จะมีการนำเรื่องการจัดอันดับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยเพื่อขอเลื่อนสถานะจากพีดับบลิวแอลเป็นพีแอล มาเชื่อมโยงกับมาตรการซีแอล ซึ่งไม่ได้ทำผิดกติกา หรือ ผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องไปยื่นต่อสหรัฐแต่อย่างใด
“ในการจัดอันดับสถานะของไทย ก็ไม่มีข้อห้าม ว่าทำซีแอลไม่ได้ ซึ่งตอนที่มีปัญหาครั้งที่แล้ว มีการระบุว่า การทำซีแอลไม่โปร่งใส ไทยก็มีการชี้แจงไปหมดแล้ว การที่จะเอาเรื่องนี้ไปยื่นให้กับอเมริกาอีกจึงดูเป็นเรื่องประหลาด เท่ากับเป็นการยอมรับว่าเราทำผิด ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ แต่เป็นการกลัวกันไปเองมากกว่า”รศ.ดร.จิราพร กล่าว
รศ.ดร.จิราพร กล่าวด้วยว่า ส่วนบทบาทของ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ก็ควรจะยืนกรานว่าการทำซีแอลถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่ประเด็นที่สหรัฐจะนำมาจัดอันดับพีดับบลิวแอล หรือ พีแอล ทั้งนี้ชัดเจนอยู่แล้วการจัดดันดับสถานะของไทยเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญหาเป็นเพราะปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เทป ผี ซีดีเถื่อน แต่ก็ยอมรับว่า เรื่องนี้บริษัทยามีอิทธิพลต่อการเมืองในสหรัฐแต่ไม่ใช่สาระที่ไทยจะต้องออกมามีท่าทีอะไร
“คงขึ้นอยู่กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลด้วยว่ามีความเห็นอย่างไร จะรักษาผลประโยชน์ของประชาชนหรือไม่ ซึ่งหากเป็นห่วงเรื่องอของเศรษฐกิจ รัฐบาลคงต้องคิดดูให้ดีว่า ตอนนี้นโยบายด้านเศรษฐกิจของสหรัฐก็เพื่อประโยชน์ของสหรัฐที่จะต้องปกป้องตลาดของเขาอยู่แล้ว ไทยจะไปหวังขยายตลาดในภาวะที่เศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ ถือว่าเป็นไปไม่ได้ ในช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้ทำไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะขยายตลาดในสหรัฐ หรือเป็นโอกาสทอง ไม่ใช่เลย นโยบายของรัฐบาลควรเป็นไปเพื่อการสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจในประเทศ ให้สามารถพึงพาตนเองได้ อย่าไปหวังพึ่งตลาดส่งออก”รศ.ดร.จิราพร กล่าว
นายจอน อึ๊งภากรณ์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้เรื่องการทำซีแอล กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง หาก รมว.สาธารณสุข ยอมทำตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ เท่ากับทำให้ไทยเสียผลประโยชน์ โดยการปิดช่องในการทำซีแอลในอนาคต ทั้งๆ ที่สามารถทำได้หากมีความจำเป็น การรับปากว่าจะไม่ทำซีแอล จึงเป็นการเสียโอกาสที่จะต่อรองราคายา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เห็นชัดเจนแล้วว่า ไทยได้รับประโยชน์จากการทำซีแอลต่อระบบสุขภาพและการบริการสาธารณสุขมากมายมหาศาล
“รมว.สธ.ควรจะคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนในการเข้าถึงยาเป็นสิ่งสำคัญเหนือกว่าผลประโยชน์ทางด้านการค้า ซึ่งมีข้อมูลจำนวนมากยืนยันว่า การทำซีแอลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้า หรือการจัดสถานะของไทย และหากมีการแลกเปลี่ยนกันจริง ก็ไม่ได้ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการค้ามากเท่าใดนัก เพราะแทบไม่มีความต่าง ในการได้เปรียบเรื่องของสิทธิพิเศษทางการค้าและภาษีศุลกากร (จีเอสพี) เลย”นายจอน กล่าว
อนึ่ง ที่ผ่านมา กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติราชการและออกนโยบายที่สอดคล้องกับความเห็นของบริษัทต่างชาติมาโดยตลอด อาทิ การพยายามออกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อปูทางให้กับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าข้อตกลงทริปส์ ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยื่นข้อเสนอไทยมาตลอด ซึ่งจะกระทบถึงการเข้าถึงยาของประชาชนทั้งประเทศ