ASTVผู้จัดการรายวัน - พันธบัตรไทยเข้มแข็งป่วน! หลังความต้องการล้นหลาม ขุนคลังเสียงแข็งห้าม 7 แบงก์ตัวแทนล็อกให้ลูกค้าขาใหญ่ หากฝ่าฝืนเจอแบล็กลิสต์ไม่ได้ขายล็อตหน้า ย้ำเปิดจองพร้อมกันทั่วประเทศ 13 ก.ค.มาก่อนได้ก่อน ส่วนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 6 พันโครงการ พร้อมเทงบ 1 ล้านล้าน เข้าสู่ระบบแล้ว ประเดิมโครงการขยาย รพ.สุราษฎร์ธานี 1.8 พันล้าน ลดความแออัดเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาประชาชนในพื้นที่
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้กำชับธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งทั้ง 7 แห่งไม่ให้จัดสรรโควต้าพิเศษสำหรับลูกค้าของธนาคารเป็นการเฉพาะ เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนรายย่อยที่มีความต้องการออมสามารถจองซื้อพันธบัตรที่มีผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์กันอย่างทั่วถึง โดยจะเปิดจองพร้อมกันในวันที่ 13 ก.ค.ให้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 7 แห่ง ใช้ระบบมาก่อนได้ก่อน ห้ามมีการจองล่วงหน้าแต่อย่างใด
“เราได้กำชับอย่างเข้มงวดว่าถ้าแบงก์ใดละเมิดกติกาที่กระทรวงการคลังกำหนดเมื่อกระทรวงการคลังเปิดจำหน่ายพันธบัตรครั้งต่อไปก็จะระงับสิทธิการจำหน่ายของแบงก์นั้นในอนาคต ซึ่งหากประชาชนทั่วไปพบว่ามีแบงก์ใดกันโควต้าสำหรับลูกค้าของตนไว้ก็ให้แจ้งมายังกระทรวงการคลังได้ทันทีจึงฝากไว้ว่าห้ามกระทำการดังกล่าวโดยเด็ดขาด” นายกรณ์กล่าวและว่า ประชาชนที่ไม่สามารถจองซื้อได้ในล็อตแรกก็ไม่ต้องกังวล เนื่องจากรัฐบาลยังมีแผนระดมทุนผ่านพันธบัตรออมทรัพย์อีกหลายโครงการ
ก่อนหน้านี้ รมว.คลังระบุว่าหากความต้องการเกิน 5 หมื่นล้านบาท กระทรวงการคลังพร้อมที่จะออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งรอบ 2 ได้ทันที
รายงานข่าวระบุว่า พันธบัตรไทยเข็มแข็งล็อตต่อไป สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กำลังพิจารณารายละเอียด อาจจะเปิดขายในโอกาสพิเศษ เช่น วันแม่แห่งชาติในเดือน ส.ค. หรือวันพ่อแห่งชาติในเดือน ธ.ค. วงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท อายุพันธบัตร 7 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 5.5-6.5%
การออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งวงเงิน 50,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 งวด งวดแรก 15,000 ล้านบาท เปิดขายวันที่ 13-14 ก.ค. โดยให้จองซื้อสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จองขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท งวดที่ 2 เปิดขายวันที่ 15-16 ก.ค. จำนวน 15,000 ล้านบาท สำหรับประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุที่พลาดรอบแรก เงื่อนไขเดียวกันคือ ขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท และงวดสุดท้าย 20,000 ล้านบาท เปิดขายวันที่ 17,21-22 ก.ค. เฉพาะประชาชนทั่วไป ขั้นต่ำ 10,000 บาท แต่ไม่จำกัดวงเงินสูงสุด อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได กำหนดสองปีแรกดอกเบี้ย 3% ปีที่สาม 4% ปีที่สีถึงห้า 5% ผลตอบแทนเฉลี่ย 4%
ธนาคารพาณิชย์ 7 แห่งที่ได้รับสิทธิจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ในครั้งนี้ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยและธนาคารนครหลวงไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ร้องเรียนปัญหาไปยังกระทรวงการคลังว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการขอซื้อพันธบัตร เนื่องจากได้โทรไปสอบถามรายละเอียดจากธนาคารพาณิชย์แล้วไม่ได้รับการต้อนรับ นอกจากนี้ยังมีการเปิดจองล่วงหน้าโดยมีระบบโควต้าให้ลูกค้าส่วนตัว
***งบไทยเข้มแข็งพร้อมเบิกจ่าย
รมว.คลังกล่าวว่า สำหรับงบประมาณในปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจำนวน 1.4 ล้านล้านบาท 6 พันโครงการนั้นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการที่มีความพร้อมดำเนินการได้ทันทีวงเงิน 1 ล้านล้านนอกจากนี้ยังเร่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองงบประมาณไทยเข้มแข็งจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการต่างๆอีก 6 แสนล้านบาทให้ได้ประมาณเดือนตุลาคมนี้
โดยโครงการแรกที่รัฐบาลพร้อมเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากปฏิบัติการไทยเข้มแข็งคือการปรับปรุงและขยายการให้บริการของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีจำนวน 1.8 พันล้านบาท เนื่องจากในการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี พบว่ามีความแออัดยัดเยียดอย่างมาก ทำให้โรงพยาบาลต้องใช้พื้นว่างบริเวณระเบียงด้านนอกมาปรับปรุงเป็นเตียงรักษาผู้ป่วย เนื่องจากมีเตียงรองรับผู้ป่วยนอกได้วันละ 1 พันคน แต่มีผู้ป่วยเข้ามารักษาถึง 2 พันคนต่อวัน โดยเตรียมจัดสรรงบประมาณได้อย่างรวดเร็วไม่เกินเดือนตุลาคมนี้ ไม่ต้องรองเงินจากงบประมาณประจำที่มีปัญหาล่าช้า
“เมื่อได้มาตรวจเยี่ยมด้วยตัวเองแล้วเห็นว่าเป็นภาพที่น่าสงสารมาก เพราะมีผู้ป่วยจากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามารักษา โรงพยาบาลก็มีสถานที่ไม่เพียงพอ จนต้องใช้ระเบียงปรับพื้นที่เป็นเตียงรักษาผู้ป่วย แม้โรงพยาบาลได้ของบประมาณประจำปีมาแล้ว 5 ปี ก็ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณการช่วยเหลือดังกล่าวจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งในการ ช่วยเหลือด้านสังคม” รมว.คลังกล่าว
นพ.ประวิง เอื้อนนทัช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี กล่าวว่า ศักยภาพของโรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยนอกได้เพียง 1,000 คน แต่กลับมีผู้ป่วยเข้ามารักษาถึง 2,000 คนต่อวัน จึงต้องทำการดัดแปลงหาพื้นที่ว่างเป็นเตียงรักษาพยาบาล ส่วนการรองรับผู้ป่วยในมีศักยภาพเพียง 500 เตียง แต่มีผู้ป่วยสูงถึง 800 คนต่อวัน จึงได้เสนอของบประมาณต่อกระทรวงการคลัง เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์บริการโรคหัวใจ มะเร็ง เป็นอาคาร 7 ชั้น การสร้างอาคารบริการและสนับสนุนทางการแพทย์ 16 ชั้น และการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งหมดประมาณ 1,300 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ
***คลัง-เวิลด์แบงก์ถกแผนไทยเข้มแข็ง
วันเดียวกันนายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันที่ 3-4 ก.ค.52 ที่ จ.สุราษฏร์ธานี กระทรวงการคลังและธนาคารโลก ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างหน่วยงานภาครัฐไทยกับธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ภายใต้หัวข้อเรื่อง "แผนไทยเข้มแข็ง" มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายความร่วมมือ และระดมความคิดเห็นร่วมกัน ระหว่างไทยกับธนาคารโลก ภายใต้แผนไทยเข้มแข็ง ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นของภาครัฐ เพื่อเพิ่มแรงกระตุ้นให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศก่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพิ่มการกระจายการลงทุนด้านการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานสู่ชนบทซึ่งเป็นการบรรเทาปัญหาว่างงานในปัจจุบัน
ประเด็นที่จะหารือร่วมกัน 4 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท มีความจำเป็นต้องสร้างระบบตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใสมากที่สุด ประเด็นที่ 2.ช่องว่างทางการคลัง ที่จะต้องดูว่ามีส่วนไหนมาสนับสนุนเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบทบาททางการคลัง ในการติดตามสนับสนุนการดำเนินโครงการด้านการเกษตรอย่างไรให้ถูกต้องและยั่งยืนในระยะยาว การหารือเรื่องความเสี่ยงทางการคลังจากการดำเนินนโยบายของรัฐ ทั้งโครงการลงทุน โครงการช่วยเหลือประชาชนจะสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้อย่างไร
ประเด็นที่ 3.การปฏิรูปโครงการประกันราคาพืชผลโดยสนับสนุนแนวทางการประกันราคาพืชผลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการนำโครงการประกันราคาพืชผลมาทดแทนโครงการรับจำนำพืชผลจะทำให้รัฐเกิดความเสียหายที่น้อยลง เนื่องจากการรับจำนำของรัฐบาลที่ผ่านมา มีการจำนำราคาสูงกว่าตลาดทำให้รัฐบาลขายข้าวขาดทุนและพืชผลในตลาดราคาผันผวน และประเด็นที่ 4.ความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่เกิดขึ้นจากการดำเนินตามนโยบายของรัฐ โดยจะหาแนวทางป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้กำชับธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งทั้ง 7 แห่งไม่ให้จัดสรรโควต้าพิเศษสำหรับลูกค้าของธนาคารเป็นการเฉพาะ เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนรายย่อยที่มีความต้องการออมสามารถจองซื้อพันธบัตรที่มีผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์กันอย่างทั่วถึง โดยจะเปิดจองพร้อมกันในวันที่ 13 ก.ค.ให้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 7 แห่ง ใช้ระบบมาก่อนได้ก่อน ห้ามมีการจองล่วงหน้าแต่อย่างใด
“เราได้กำชับอย่างเข้มงวดว่าถ้าแบงก์ใดละเมิดกติกาที่กระทรวงการคลังกำหนดเมื่อกระทรวงการคลังเปิดจำหน่ายพันธบัตรครั้งต่อไปก็จะระงับสิทธิการจำหน่ายของแบงก์นั้นในอนาคต ซึ่งหากประชาชนทั่วไปพบว่ามีแบงก์ใดกันโควต้าสำหรับลูกค้าของตนไว้ก็ให้แจ้งมายังกระทรวงการคลังได้ทันทีจึงฝากไว้ว่าห้ามกระทำการดังกล่าวโดยเด็ดขาด” นายกรณ์กล่าวและว่า ประชาชนที่ไม่สามารถจองซื้อได้ในล็อตแรกก็ไม่ต้องกังวล เนื่องจากรัฐบาลยังมีแผนระดมทุนผ่านพันธบัตรออมทรัพย์อีกหลายโครงการ
ก่อนหน้านี้ รมว.คลังระบุว่าหากความต้องการเกิน 5 หมื่นล้านบาท กระทรวงการคลังพร้อมที่จะออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งรอบ 2 ได้ทันที
รายงานข่าวระบุว่า พันธบัตรไทยเข็มแข็งล็อตต่อไป สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กำลังพิจารณารายละเอียด อาจจะเปิดขายในโอกาสพิเศษ เช่น วันแม่แห่งชาติในเดือน ส.ค. หรือวันพ่อแห่งชาติในเดือน ธ.ค. วงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท อายุพันธบัตร 7 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 5.5-6.5%
การออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งวงเงิน 50,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 งวด งวดแรก 15,000 ล้านบาท เปิดขายวันที่ 13-14 ก.ค. โดยให้จองซื้อสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จองขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท งวดที่ 2 เปิดขายวันที่ 15-16 ก.ค. จำนวน 15,000 ล้านบาท สำหรับประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุที่พลาดรอบแรก เงื่อนไขเดียวกันคือ ขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท และงวดสุดท้าย 20,000 ล้านบาท เปิดขายวันที่ 17,21-22 ก.ค. เฉพาะประชาชนทั่วไป ขั้นต่ำ 10,000 บาท แต่ไม่จำกัดวงเงินสูงสุด อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได กำหนดสองปีแรกดอกเบี้ย 3% ปีที่สาม 4% ปีที่สีถึงห้า 5% ผลตอบแทนเฉลี่ย 4%
ธนาคารพาณิชย์ 7 แห่งที่ได้รับสิทธิจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ในครั้งนี้ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยและธนาคารนครหลวงไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ร้องเรียนปัญหาไปยังกระทรวงการคลังว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการขอซื้อพันธบัตร เนื่องจากได้โทรไปสอบถามรายละเอียดจากธนาคารพาณิชย์แล้วไม่ได้รับการต้อนรับ นอกจากนี้ยังมีการเปิดจองล่วงหน้าโดยมีระบบโควต้าให้ลูกค้าส่วนตัว
***งบไทยเข้มแข็งพร้อมเบิกจ่าย
รมว.คลังกล่าวว่า สำหรับงบประมาณในปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจำนวน 1.4 ล้านล้านบาท 6 พันโครงการนั้นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการที่มีความพร้อมดำเนินการได้ทันทีวงเงิน 1 ล้านล้านนอกจากนี้ยังเร่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองงบประมาณไทยเข้มแข็งจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการต่างๆอีก 6 แสนล้านบาทให้ได้ประมาณเดือนตุลาคมนี้
โดยโครงการแรกที่รัฐบาลพร้อมเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากปฏิบัติการไทยเข้มแข็งคือการปรับปรุงและขยายการให้บริการของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีจำนวน 1.8 พันล้านบาท เนื่องจากในการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี พบว่ามีความแออัดยัดเยียดอย่างมาก ทำให้โรงพยาบาลต้องใช้พื้นว่างบริเวณระเบียงด้านนอกมาปรับปรุงเป็นเตียงรักษาผู้ป่วย เนื่องจากมีเตียงรองรับผู้ป่วยนอกได้วันละ 1 พันคน แต่มีผู้ป่วยเข้ามารักษาถึง 2 พันคนต่อวัน โดยเตรียมจัดสรรงบประมาณได้อย่างรวดเร็วไม่เกินเดือนตุลาคมนี้ ไม่ต้องรองเงินจากงบประมาณประจำที่มีปัญหาล่าช้า
“เมื่อได้มาตรวจเยี่ยมด้วยตัวเองแล้วเห็นว่าเป็นภาพที่น่าสงสารมาก เพราะมีผู้ป่วยจากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามารักษา โรงพยาบาลก็มีสถานที่ไม่เพียงพอ จนต้องใช้ระเบียงปรับพื้นที่เป็นเตียงรักษาผู้ป่วย แม้โรงพยาบาลได้ของบประมาณประจำปีมาแล้ว 5 ปี ก็ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณการช่วยเหลือดังกล่าวจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งในการ ช่วยเหลือด้านสังคม” รมว.คลังกล่าว
นพ.ประวิง เอื้อนนทัช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี กล่าวว่า ศักยภาพของโรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยนอกได้เพียง 1,000 คน แต่กลับมีผู้ป่วยเข้ามารักษาถึง 2,000 คนต่อวัน จึงต้องทำการดัดแปลงหาพื้นที่ว่างเป็นเตียงรักษาพยาบาล ส่วนการรองรับผู้ป่วยในมีศักยภาพเพียง 500 เตียง แต่มีผู้ป่วยสูงถึง 800 คนต่อวัน จึงได้เสนอของบประมาณต่อกระทรวงการคลัง เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์บริการโรคหัวใจ มะเร็ง เป็นอาคาร 7 ชั้น การสร้างอาคารบริการและสนับสนุนทางการแพทย์ 16 ชั้น และการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งหมดประมาณ 1,300 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ
***คลัง-เวิลด์แบงก์ถกแผนไทยเข้มแข็ง
วันเดียวกันนายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันที่ 3-4 ก.ค.52 ที่ จ.สุราษฏร์ธานี กระทรวงการคลังและธนาคารโลก ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างหน่วยงานภาครัฐไทยกับธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ภายใต้หัวข้อเรื่อง "แผนไทยเข้มแข็ง" มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายความร่วมมือ และระดมความคิดเห็นร่วมกัน ระหว่างไทยกับธนาคารโลก ภายใต้แผนไทยเข้มแข็ง ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นของภาครัฐ เพื่อเพิ่มแรงกระตุ้นให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศก่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพิ่มการกระจายการลงทุนด้านการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานสู่ชนบทซึ่งเป็นการบรรเทาปัญหาว่างงานในปัจจุบัน
ประเด็นที่จะหารือร่วมกัน 4 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท มีความจำเป็นต้องสร้างระบบตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใสมากที่สุด ประเด็นที่ 2.ช่องว่างทางการคลัง ที่จะต้องดูว่ามีส่วนไหนมาสนับสนุนเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบทบาททางการคลัง ในการติดตามสนับสนุนการดำเนินโครงการด้านการเกษตรอย่างไรให้ถูกต้องและยั่งยืนในระยะยาว การหารือเรื่องความเสี่ยงทางการคลังจากการดำเนินนโยบายของรัฐ ทั้งโครงการลงทุน โครงการช่วยเหลือประชาชนจะสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้อย่างไร
ประเด็นที่ 3.การปฏิรูปโครงการประกันราคาพืชผลโดยสนับสนุนแนวทางการประกันราคาพืชผลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการนำโครงการประกันราคาพืชผลมาทดแทนโครงการรับจำนำพืชผลจะทำให้รัฐเกิดความเสียหายที่น้อยลง เนื่องจากการรับจำนำของรัฐบาลที่ผ่านมา มีการจำนำราคาสูงกว่าตลาดทำให้รัฐบาลขายข้าวขาดทุนและพืชผลในตลาดราคาผันผวน และประเด็นที่ 4.ความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่เกิดขึ้นจากการดำเนินตามนโยบายของรัฐ โดยจะหาแนวทางป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด.