ASTVผู้จัดการรายวัน- "อภิสิทธิ์" ชี้การเมืองสับสน ทำให้ประชาชนผิดหวัง และไม่ไว้วางใจนักการเมือง เพราะที่ผ่านมานักการเมืองทุจริต คอร์รัปชัน ใช้อำนาจเกินของเขต เพื่อประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง แทรกแซงองค์กรตรวจสอบที่มาคานอำนาจ แล้วก็ถูกปฏิวัติ รัฐประหาร หากอยากให้การเมืองเดินไปในทิศทางที่ดี ที่ถูกต้อง จะต้องขจัดปัญหาเหล่านี้ให้ได้ พร้อมประกาศจะขับเคลื่อนประเทศชาติให้พ้นไปจากปัญหาเหล่านี้ให้ได้
เมื่อเวลา19.00 น.วานนี้ (2ก.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปยังหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธานในพิธีเปิดสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษเรื่อง"การเมืองไทย ไปทางไหนดี?"
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นร่วมกับนายคิม แสงทองสุข อธิบการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะนายอภิสิทธิ์ เป็นศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ ปี 2526 ด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง รหัส 26103922 ซึ่งเป็นช่วงเดียวที่ตนศึกษาปริญญาตรี ที่อังกฤษ แต่ช่วงปิดเทอมและเปิดเทอมไม่พร้อมกัน จึงใช้เวลามาสอบที่นี่ได้ โดยใช้เวลาเรียน 4-5 ปี และก็เคยมาสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ที่นี่ด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตามหัวข้อ"การเมืองไทย ไปทางไหนดี" นั้นบ่งบอกว่า มีความสับสนและความผิดหวัง ที่ประชาชนมีกับการเมืองนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนน้อยคน จะมองนักการเมืองในทางที่ดี เพราะขึ้นชื่อว่านักการเมือง ก็มีแต่เรื่องไม่ค่อยดี หาผลประโยชน์ และใช้อำนาจโดยไม่แก้ปัญหาให้ประชาชน นักการเมืองจึงเป็นจำเลยมาตลอด
ใน 2-3 อาชีพ ที่สำรวจแล้วว่าประชาชนไม่ไว้วางใจ นักการเมือง จะติดอันดับต้นๆ ตลอด มันคือความเจ็บปวดของนักการเมืองอาชีพ และนักการเมืองประชาธิปไตย จะโทษสังคมไม่ได้ ต้องย้อนดูว่า ปัญหามันมาจากอะไร ตนอยากเห็นการเมืองไปสู่การเมืองอุดมคติ คือ แก้ปัญหาให้ประชาชนได้ อยู่ในวิถีประชาธิปไตย เป็นการเมืองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน และแก้ไขปัญหาของปผระเทศได้ มีความโปร่งใส เคารพสิทธิ เสมอภาค อยู่ในกระบวนการหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่ง ตนมั่นใจว่าการเมืองแบบนี้ เกิดขึ้นได้
ปัญหาอยู่เพียงว่าอะไร คืออุปสรรค ไม่ให้เราเดินไปถึงการเมืองในอุดมคติได้ ตนคิดว่าเราผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายครั้ง แม้บางช่วงมีเหตุอื่นที่ทำให้ประชาธิปไตยถดถอย แต่ ผลพวงของการต่อสู้ มันทำให้ค่านิยมประชาธิปไตยหยั่งรากลึกมากขึ้นในสังคม
ฉะนั้นการที่ปัจจุบัน เรายึดมั่นเส้นทางประชาธิปไตย เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรที่จะก้าวไปอีกขั้น ความหมายคือ ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจ สภามาจาการเลือกตั้งของ ประชาชนและ เลือกผู้บริหารสูงสุด รัฐบาลรับผิดชอบกับสภา และประชาชน ทิศทางนี้จะเดินต่อไปและเข้มแข้งขึ้น ตนเห็นว่าความเข้มแข็งเกิดอย่างต่อเนื่อง พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญ ที่รวบรวมนักการเมืองที่มีความคิดใกล้กันมาอยู่ด้วยกัน นโยบายระดับชาติ ของพรรคการเมืองเป็นปัจจัยในการเลือกตั้งมากขึ้น มันคือการเติบโตประชาธิปไตยแบบต่อเนื่อง
แต่การเมืองที่ไม่ดี และไม่เป็นที่ต้องการนั้น ปัญหาคือ แม้สิ่งในข้างต้นที่ตนกล่าวไว้จะเติบโตแต่ต้องเผชิญของความไม่แน่นอน และการถดถอยทางการเมืองคือ การใช้อำนาจของผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่เป็นประชาธิปไตย การรัฐประหารนั้น ต้องยอมรับว่าการรัฐประหารแต่ละครั้งในประเทศ ส่วนใหญ่ไม่มีความรุนแรง เพราะประชาชนเส่วนใหญ่ เพิกเฉย ตนไม่คิดว่าประชาชนฝักใฝ่รัฐประหาร แต่การเพิกเฉย เพราะบ้านเมืองเดินเข้าสู่ทางตัน ไม่มีทางออก ตนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร เต่นักการเมืองต้องทบทวนว่า อะไร คือเงื่อนไขที่นำไปสู่การรัฐประหาร
หากอ่านประกาศคณะปฏิวัติฉบับแรกจนถึงฉบับนี้ มักใช้คำว่า ทุจริต ใช้อำนาจเกินขอบเขตในระบบราชการ หรือมีการกระทำกระทบสถาบันหลักของชาติ เป็นปัญหาความมั่นคง ตรงนี้ต้องมาทบทวน ทิศทางการเมืองตอนนี้ ต้องแก้ปัญหาที่เป็นจุดอ่อนของการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง การใช้อำนาจในทางทุจริต เริ่มแต่เบียดบังงบประมาณที่ซับซ้อนขึ้น การจัดซื้อจัดจ้าง และเสนอราคา จนถึงขั้นทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งเรื่องนี้ต้องแก้ไขให้ได้
โพลล์บอกว่า สังคมเชื่อว่าการทุจริต คือเรื่องปกติ และยอมรับได้ ยืนยันว่า ตราบใดที่ค่านิยมแบบนี้ยังอยู่ การเมืองจะอยู่ในภาวะอันตราย และเสี่ยง ตนไม่คิดว่าสังคมจะยอมรับให้คนใช้อำนาจของประชาชนเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เราพยายามสกัดกั้นการทุจริตมาตลอด เรามีองค์กรตรวจสอบเรื่องนี้ซับซ้อนที่สุดประเทศหนึ่ง แต่ความล้มเหลวของรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้ง ไม่หยุดการใช้อำนาจในขอบเขต แต่กลับแทรกแซงองค์กรอิสระ และกลไกต่างๆ ของสังคม ระบบการคานอำนาจมันใช้ไม่ได้ จึงเกิดความขัดแย้งออกสู่ถนน และนำไปสู่ความโกลาหลการเมือง จนเกิดการรัฐประหาร ที่ต้องแก้ปัญหานี้ให้ได้
ยืนยันต้องมีเลือกตั้ง และเสียงข้างมาก รวมทั้งการคานอำนาจเพื่อเดินหน้า และไม่ให้ใช้อำนาจเกินขอบเขต แต่ต้องไม่หลงว่า การคานอำนาจต้องไม่ให้เกินเลย อย่าคิดว่าการสรรหา และแต่งตั้ง ไม่มีซิ้อเสียง และซื้อตำแหน่ง เพราะมันง่ายกว่าการซื้อประชาชนจำนวนมาก การซื้อเสียงเป็นปัญหาหนักหน่วง แต่เชื่อว่า ประชาชนเรียนรู้และฉลากขึ้น ดีไม่ดีนักการเมืองต่างหาก ที่ตามประชาชนไม่ทัน
การเมืองที่ต้องทำต่อคือ ยืนยันระบบเลือกตั้ง และเสียงข้างมาก และปกป้องระบบการคานอำนาจ ต้องคงอยู่ มาตราใดในรัฐธรรมนูญ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการนี้ ต้องแก้ไข แต่ต้องแก้ไขเชิงระบบพร้อมกันด้วย วัฒนธรรมการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะชี้ทิศทางการเมืองไทย คือ เคารพหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย การเคารพเสียงข้างมากที่มีเหตุผล การใช้สิทธิเสรีภาพนั้นกำลังมีปัญหาคือ ด้านหนึ่งคิดว่า การละเมิดสิทธิเสรีภาพนั้นไม่เป็นไร ขอเพียงบรรลุเป้าหมาย การฆ่าตัดตอนการใช้ความรนุแรงกับยาเสพติด และภาคใต้นั้นพิสูจน์แล้วว่าวิธีเหนือกฎหมายที่หวังผลรวดเร็วนั้น สุดท้ายมันทำไม่ได้
การใช้สิทธิเสรีภาพนั้น วันนี้ตื่นตัวเยอะ มันคือเรื่องที่ดี ประชาชนต้องเติบโตในเรื่องนี้แต่ต้องตั้งคำถามว่า ขอบเขตการใช้สิทธิ การประท้วงนโยบายและผู้มีอำนาจเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย แต่การข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ปิดถนน ใช้อำนาจมาต่อรออง มันไม่ใช่ประชาธิปไตย ใครที่มีปัญหาสามารถร้องเรียนและแสดงออกได้ แต่อย่าปิดถนน และสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง มิเช่นนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ยืนยันว่า วันนี้ทิศทางการเมิองไทยไปทางไหนดีนั้น ไม่ต้องถามว่า ไปทางไหน แต่การเป็นนักประชาธิปไตย ต้องยึดหลักสิทธิเสรีภาพ ยอมรับการแสดงความเห็นที่หลากหลายผ่านกระบวนการรัฐธรรมนูญ และรัฐสภา
มั่นใจว่า ตนอยู่มหาวิทยาลัย ที่มีพื้นฐานประชาธิปไตย ฉะนั้นไม่ต้องถามเลย แต่ตนจะขับเคลื่อนประเทศให้รอดพ้นไปได้ ตนตั้งเป้าว่าประเทศต้องออกจากวิกฤตการเมือง และเศรษฐกิจ สังคมเข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก
เมื่อเวลา19.00 น.วานนี้ (2ก.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปยังหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธานในพิธีเปิดสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษเรื่อง"การเมืองไทย ไปทางไหนดี?"
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นร่วมกับนายคิม แสงทองสุข อธิบการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะนายอภิสิทธิ์ เป็นศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ ปี 2526 ด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง รหัส 26103922 ซึ่งเป็นช่วงเดียวที่ตนศึกษาปริญญาตรี ที่อังกฤษ แต่ช่วงปิดเทอมและเปิดเทอมไม่พร้อมกัน จึงใช้เวลามาสอบที่นี่ได้ โดยใช้เวลาเรียน 4-5 ปี และก็เคยมาสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ที่นี่ด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตามหัวข้อ"การเมืองไทย ไปทางไหนดี" นั้นบ่งบอกว่า มีความสับสนและความผิดหวัง ที่ประชาชนมีกับการเมืองนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนน้อยคน จะมองนักการเมืองในทางที่ดี เพราะขึ้นชื่อว่านักการเมือง ก็มีแต่เรื่องไม่ค่อยดี หาผลประโยชน์ และใช้อำนาจโดยไม่แก้ปัญหาให้ประชาชน นักการเมืองจึงเป็นจำเลยมาตลอด
ใน 2-3 อาชีพ ที่สำรวจแล้วว่าประชาชนไม่ไว้วางใจ นักการเมือง จะติดอันดับต้นๆ ตลอด มันคือความเจ็บปวดของนักการเมืองอาชีพ และนักการเมืองประชาธิปไตย จะโทษสังคมไม่ได้ ต้องย้อนดูว่า ปัญหามันมาจากอะไร ตนอยากเห็นการเมืองไปสู่การเมืองอุดมคติ คือ แก้ปัญหาให้ประชาชนได้ อยู่ในวิถีประชาธิปไตย เป็นการเมืองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน และแก้ไขปัญหาของปผระเทศได้ มีความโปร่งใส เคารพสิทธิ เสมอภาค อยู่ในกระบวนการหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่ง ตนมั่นใจว่าการเมืองแบบนี้ เกิดขึ้นได้
ปัญหาอยู่เพียงว่าอะไร คืออุปสรรค ไม่ให้เราเดินไปถึงการเมืองในอุดมคติได้ ตนคิดว่าเราผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายครั้ง แม้บางช่วงมีเหตุอื่นที่ทำให้ประชาธิปไตยถดถอย แต่ ผลพวงของการต่อสู้ มันทำให้ค่านิยมประชาธิปไตยหยั่งรากลึกมากขึ้นในสังคม
ฉะนั้นการที่ปัจจุบัน เรายึดมั่นเส้นทางประชาธิปไตย เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรที่จะก้าวไปอีกขั้น ความหมายคือ ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจ สภามาจาการเลือกตั้งของ ประชาชนและ เลือกผู้บริหารสูงสุด รัฐบาลรับผิดชอบกับสภา และประชาชน ทิศทางนี้จะเดินต่อไปและเข้มแข้งขึ้น ตนเห็นว่าความเข้มแข็งเกิดอย่างต่อเนื่อง พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญ ที่รวบรวมนักการเมืองที่มีความคิดใกล้กันมาอยู่ด้วยกัน นโยบายระดับชาติ ของพรรคการเมืองเป็นปัจจัยในการเลือกตั้งมากขึ้น มันคือการเติบโตประชาธิปไตยแบบต่อเนื่อง
แต่การเมืองที่ไม่ดี และไม่เป็นที่ต้องการนั้น ปัญหาคือ แม้สิ่งในข้างต้นที่ตนกล่าวไว้จะเติบโตแต่ต้องเผชิญของความไม่แน่นอน และการถดถอยทางการเมืองคือ การใช้อำนาจของผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่เป็นประชาธิปไตย การรัฐประหารนั้น ต้องยอมรับว่าการรัฐประหารแต่ละครั้งในประเทศ ส่วนใหญ่ไม่มีความรุนแรง เพราะประชาชนเส่วนใหญ่ เพิกเฉย ตนไม่คิดว่าประชาชนฝักใฝ่รัฐประหาร แต่การเพิกเฉย เพราะบ้านเมืองเดินเข้าสู่ทางตัน ไม่มีทางออก ตนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร เต่นักการเมืองต้องทบทวนว่า อะไร คือเงื่อนไขที่นำไปสู่การรัฐประหาร
หากอ่านประกาศคณะปฏิวัติฉบับแรกจนถึงฉบับนี้ มักใช้คำว่า ทุจริต ใช้อำนาจเกินขอบเขตในระบบราชการ หรือมีการกระทำกระทบสถาบันหลักของชาติ เป็นปัญหาความมั่นคง ตรงนี้ต้องมาทบทวน ทิศทางการเมืองตอนนี้ ต้องแก้ปัญหาที่เป็นจุดอ่อนของการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง การใช้อำนาจในทางทุจริต เริ่มแต่เบียดบังงบประมาณที่ซับซ้อนขึ้น การจัดซื้อจัดจ้าง และเสนอราคา จนถึงขั้นทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งเรื่องนี้ต้องแก้ไขให้ได้
โพลล์บอกว่า สังคมเชื่อว่าการทุจริต คือเรื่องปกติ และยอมรับได้ ยืนยันว่า ตราบใดที่ค่านิยมแบบนี้ยังอยู่ การเมืองจะอยู่ในภาวะอันตราย และเสี่ยง ตนไม่คิดว่าสังคมจะยอมรับให้คนใช้อำนาจของประชาชนเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เราพยายามสกัดกั้นการทุจริตมาตลอด เรามีองค์กรตรวจสอบเรื่องนี้ซับซ้อนที่สุดประเทศหนึ่ง แต่ความล้มเหลวของรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้ง ไม่หยุดการใช้อำนาจในขอบเขต แต่กลับแทรกแซงองค์กรอิสระ และกลไกต่างๆ ของสังคม ระบบการคานอำนาจมันใช้ไม่ได้ จึงเกิดความขัดแย้งออกสู่ถนน และนำไปสู่ความโกลาหลการเมือง จนเกิดการรัฐประหาร ที่ต้องแก้ปัญหานี้ให้ได้
ยืนยันต้องมีเลือกตั้ง และเสียงข้างมาก รวมทั้งการคานอำนาจเพื่อเดินหน้า และไม่ให้ใช้อำนาจเกินขอบเขต แต่ต้องไม่หลงว่า การคานอำนาจต้องไม่ให้เกินเลย อย่าคิดว่าการสรรหา และแต่งตั้ง ไม่มีซิ้อเสียง และซื้อตำแหน่ง เพราะมันง่ายกว่าการซื้อประชาชนจำนวนมาก การซื้อเสียงเป็นปัญหาหนักหน่วง แต่เชื่อว่า ประชาชนเรียนรู้และฉลากขึ้น ดีไม่ดีนักการเมืองต่างหาก ที่ตามประชาชนไม่ทัน
การเมืองที่ต้องทำต่อคือ ยืนยันระบบเลือกตั้ง และเสียงข้างมาก และปกป้องระบบการคานอำนาจ ต้องคงอยู่ มาตราใดในรัฐธรรมนูญ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการนี้ ต้องแก้ไข แต่ต้องแก้ไขเชิงระบบพร้อมกันด้วย วัฒนธรรมการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะชี้ทิศทางการเมืองไทย คือ เคารพหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย การเคารพเสียงข้างมากที่มีเหตุผล การใช้สิทธิเสรีภาพนั้นกำลังมีปัญหาคือ ด้านหนึ่งคิดว่า การละเมิดสิทธิเสรีภาพนั้นไม่เป็นไร ขอเพียงบรรลุเป้าหมาย การฆ่าตัดตอนการใช้ความรนุแรงกับยาเสพติด และภาคใต้นั้นพิสูจน์แล้วว่าวิธีเหนือกฎหมายที่หวังผลรวดเร็วนั้น สุดท้ายมันทำไม่ได้
การใช้สิทธิเสรีภาพนั้น วันนี้ตื่นตัวเยอะ มันคือเรื่องที่ดี ประชาชนต้องเติบโตในเรื่องนี้แต่ต้องตั้งคำถามว่า ขอบเขตการใช้สิทธิ การประท้วงนโยบายและผู้มีอำนาจเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย แต่การข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ปิดถนน ใช้อำนาจมาต่อรออง มันไม่ใช่ประชาธิปไตย ใครที่มีปัญหาสามารถร้องเรียนและแสดงออกได้ แต่อย่าปิดถนน และสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง มิเช่นนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ยืนยันว่า วันนี้ทิศทางการเมิองไทยไปทางไหนดีนั้น ไม่ต้องถามว่า ไปทางไหน แต่การเป็นนักประชาธิปไตย ต้องยึดหลักสิทธิเสรีภาพ ยอมรับการแสดงความเห็นที่หลากหลายผ่านกระบวนการรัฐธรรมนูญ และรัฐสภา
มั่นใจว่า ตนอยู่มหาวิทยาลัย ที่มีพื้นฐานประชาธิปไตย ฉะนั้นไม่ต้องถามเลย แต่ตนจะขับเคลื่อนประเทศให้รอดพ้นไปได้ ตนตั้งเป้าว่าประเทศต้องออกจากวิกฤตการเมือง และเศรษฐกิจ สังคมเข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก