ASTVผู้จัดการรายวัน - อุตฯ จัดการลงทุนครึ่งปีแรก ดูดเงินเข้าพอร์ตกว่า 2.5 แสนล้านบาท กองทุนรวมโตสุด ขยายตัวจากต้นปี 13.75% ได้ "มันนี่มาร์เก็ต-บอนด์เกาหลี" แท็กทีมดูดเงินฝาก พร้อมรับอานิสงส์หุ้นพุ่ง ช่วยหนุนอีกทาง ด้านบรรยากาศการแข่งขัน ยังดุเดือด ส่งกองทุนกิมจิ กวาดเงินลูกค้าเป็นว่าเล่น หนุน "กสิกรไทย" เบียดแชมป์เก่าขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งสำเร็จ ส่วน "ยูโอบี" ซึม สินทรัพย์วูบเฉียดหมื่นล้าน
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยถึงภาพรวมอุตสาหกรรมจัดการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรกว่า มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากสิ้นปีที่ผ่านมา โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมจัดการลงทุนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,410,441 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นประมาณ 250,057 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนการขยายตัว 11.57% จากสินทรัพย์รวม 2,160,384 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2551
ทั้งนี้ พบว่าเงินลงทุนในกลุ่มกองทุนรวมขยายตัวมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ที่ขยายตัว 9.23% ด้วยมูลค่าทรัพย์สินรวม 183,814 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่เติบโต 4.62% โดยสินทรัพย์รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 486,795 ล้านบาท
สำหรับบรรยากาศการแข่งขันในอุตสาหกรรมกองทุนรวมในช่วงครึ่งปีแรก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นไปอย่างคึกคัก นอกจากจะมีกองทุนใหม่ๆ ออกมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนแล้ว บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมได้เช่นกัน ซึ่งจากการรายงานตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีเงินลงทุนใหม่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 210,020.69 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวประมาณ 13.75% ส่งผลให้เงินลงทุนทั้งระบบ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,736,832.24 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 1,526,811.54 ล้านบาทในช่วงสิ้นปี 2551
ทั้งนี้ จากการสำรวจเงินลงทุนในกองทุนแต่ละประเภท หากแยกเป็นกองทุนหลัก จะเห็นว่า ทั้งกองทุนตราสารหนี้และกองทุนหุ้น ต่างมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน โดยกองทุนหุ้น มีสินทรัพย์รวมขยับขึ้นกว่า 40,145.28 ล้านบาท เป็น 297,125.75 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปีที่ 256,980.47 ล้านบาท ซึ่งเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นมาดังกล่าว ส่วนใหญ่ มาจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นไทยและตลาดหุ้นทั่วโลก ประกอบกับมีเงินลงทุนใหม่ไหลเข้ามาลงทุนเพิ่ม จากกองทุนใหม่ และนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสลงทุนในช่วงราคาถูก
ในขณะที่การขยายตัวของกองทุนตราสารหนี้ ยังคงได้อานิงสงส์จากกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เก็ต) และกองทุนรวมต่างประเทศที่ออกไปลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ในช่วงนี้ จะมีกองทุนที่เปิดขายในปีที่แล้วทยอยครบอายุ แต่จากกองทุนใหม่ที่ออกมาและขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ก็สามารถชดเชยกองทุนในส่วนที่ครบอายุได้ ซึ่งจากภาพรวมดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 168,790.49 ล้านบาท
สำหรับกองทุนพิเศษเอง ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ก็ขายตัวได้ระดับหนึ่ง โดยเงินลงทุนทั้งระบบเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 45,051.86 ล้านบาท กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) เพิ่มขึ้นจากดัชนีหุ้นในตลาดปรับตัวขึ้น โดยเงินลงทุนขยับขึ้นเป็น 60,315.33 ล้านบาท
สำหรับกองทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ซึ่งถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่ดึงเงินลงทุนเข้ามาในระบบเป็นอันดับต้น พบว่า มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 70,491.69 ล้านบาท ทำให้เงินลงทุนรวมทั้งระบบขยับขึ้นมาอยู่ที่ 366,047.17 ล้านบาท โดยได้อานิสงส์จากกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้ที่ยังมีออกมาต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก และกองทุนหุ้นที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนน้ำมัน และกองทุนทองคำ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับบรรยากาศการแข่งขัในอุตสาหกรรม พบว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เป็นการแข่งขันดึงเงินฝากเป็นหลัก โดยในช่วงแรก เงินลงทุนไหลเข้ามาในกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เก็ต) เพื่อพักเงินในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน หลังจากนั้น กองทุนเกาหลีใต้ ก็ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งกองทุนที่โกยเงินเข้ามาในพอร์ตส่วนใหญ่ เป็นกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้ ที่มีกองทุนใหม่ๆ ออกมาทุกสัปดาห์ และยังสามารถกวาดยอดขายได้เต็มมูลค่าโครงการเกือบทุกกองทุน
ทั้งนี้ หลังจากการแข่งขันผ่านไป 6 เดือน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้นำตลาดไปจากเดิม โดยบลจ.กสิกรไทย อดีตแชมป์เก่า สามารถทวงแชมป์กลับคืนมาได้อีกครั้ง หลังจากพอร์ตกองทุนมันนี่มาร์เก็ต ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้ ที่กวาดยอดเงินลงทุนเต็มมูลค่าโครงการทุกกอง โดยล่าสุด บลจ.กสิกรไทย มีสินทรัพย์ในส่วนของกองทุนรวมทั้งสิ้น 354,646.98 ล้านบาท คิดเป็นเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 96,781.76 ล้านบาทจากปีก่อนหน้านี้
ในขณะที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นแชมป์เก่า ตกลงไปอยู่อันดับ 2 ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดสูญญากาศ ในระหว่างการสรรหากรรมการผู้อำนวยการคนใหม่ โดยหลังจากสามารถดึงนางโชติกา สวนานนท์ เข้ามาบริหารงานต่อ ก็ทำให้สินทรัพย์รวมขยับเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 44,216.50 ล้านบาท มาอยู่ที่ 342,556.23 ล้านบาท
สำหรับอันดับ 3 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยบลจ.บัวหลวง ยังคงส่งกองทุนเกาหลี โกยเงินฝากเข้าพอร์ตได้พอสมควร ซึ่งสินทรัพย์ล่าสุดเพิ่มขึ้นประมาณ 19,586.66 ล้านบาทมาอยู่ที่ 161,358.69 ล้านบาท ต่อด้วยอันดับ 4 บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ที่ประสบความสำเร็จกับกองทุนหุ้นประเภททาร์เก็ตฟันด์ ซึ่งมีส่วนทำให้สินทรัพย์ขยับเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 11,481,57 ล้านบาทมาอยู่ที่ 145,282.71 ล้านบาทในปัจจุบัน ส่วนอันดับ 5 ยังเป็น บลจ.ทหารไทย ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีผู้บริหาคนใหม่ แต่ก็ยังคงได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ซึ่งได้อานิสงส์จากกองทุนตราสารหนี้เกาหลีเช่นกัน โดยเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 14,380.70 ล้านบาท ทำให้บลจ.ทหารไทย มีสินทรัพย์รวม ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 143,259.23 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการรวบรวมตัวเลขทั้งอุตสาหกรรม พบว่า มีบริษัทจัดการกองทุนบางส่วน มีสินทรัพย์ลดลงไปจากปลายปีที่แล้ว โดยเฉพาะ บลจ.ยูโอบี (ไทย) ซึ่งมีเงินลงทุนลดลงถึง 9,843.03 ล้านบาท ส่งผลให้สินทรัพย์รวมขยับลงมาอยู่ที่ 43,776.89 ล้านบาทจากสินทรัพย์รวมประมาณ 53,619.93 ล้านบาท เช่นเดียวกันกับ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ที่เงินลงทุนขยับลงไปประมาณ 2,170.56 ล้านบาท
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยถึงภาพรวมอุตสาหกรรมจัดการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรกว่า มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากสิ้นปีที่ผ่านมา โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมจัดการลงทุนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,410,441 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นประมาณ 250,057 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนการขยายตัว 11.57% จากสินทรัพย์รวม 2,160,384 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2551
ทั้งนี้ พบว่าเงินลงทุนในกลุ่มกองทุนรวมขยายตัวมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ที่ขยายตัว 9.23% ด้วยมูลค่าทรัพย์สินรวม 183,814 ล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่เติบโต 4.62% โดยสินทรัพย์รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 486,795 ล้านบาท
สำหรับบรรยากาศการแข่งขันในอุตสาหกรรมกองทุนรวมในช่วงครึ่งปีแรก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นไปอย่างคึกคัก นอกจากจะมีกองทุนใหม่ๆ ออกมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนแล้ว บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมได้เช่นกัน ซึ่งจากการรายงานตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีเงินลงทุนใหม่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 210,020.69 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวประมาณ 13.75% ส่งผลให้เงินลงทุนทั้งระบบ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,736,832.24 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 1,526,811.54 ล้านบาทในช่วงสิ้นปี 2551
ทั้งนี้ จากการสำรวจเงินลงทุนในกองทุนแต่ละประเภท หากแยกเป็นกองทุนหลัก จะเห็นว่า ทั้งกองทุนตราสารหนี้และกองทุนหุ้น ต่างมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน โดยกองทุนหุ้น มีสินทรัพย์รวมขยับขึ้นกว่า 40,145.28 ล้านบาท เป็น 297,125.75 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปีที่ 256,980.47 ล้านบาท ซึ่งเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นมาดังกล่าว ส่วนใหญ่ มาจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นไทยและตลาดหุ้นทั่วโลก ประกอบกับมีเงินลงทุนใหม่ไหลเข้ามาลงทุนเพิ่ม จากกองทุนใหม่ และนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสลงทุนในช่วงราคาถูก
ในขณะที่การขยายตัวของกองทุนตราสารหนี้ ยังคงได้อานิงสงส์จากกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เก็ต) และกองทุนรวมต่างประเทศที่ออกไปลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ในช่วงนี้ จะมีกองทุนที่เปิดขายในปีที่แล้วทยอยครบอายุ แต่จากกองทุนใหม่ที่ออกมาและขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ก็สามารถชดเชยกองทุนในส่วนที่ครบอายุได้ ซึ่งจากภาพรวมดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนตราสารหนี้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 168,790.49 ล้านบาท
สำหรับกองทุนพิเศษเอง ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ก็ขายตัวได้ระดับหนึ่ง โดยเงินลงทุนทั้งระบบเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 45,051.86 ล้านบาท กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) เพิ่มขึ้นจากดัชนีหุ้นในตลาดปรับตัวขึ้น โดยเงินลงทุนขยับขึ้นเป็น 60,315.33 ล้านบาท
สำหรับกองทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ซึ่งถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่ดึงเงินลงทุนเข้ามาในระบบเป็นอันดับต้น พบว่า มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 70,491.69 ล้านบาท ทำให้เงินลงทุนรวมทั้งระบบขยับขึ้นมาอยู่ที่ 366,047.17 ล้านบาท โดยได้อานิสงส์จากกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้ที่ยังมีออกมาต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก และกองทุนหุ้นที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนน้ำมัน และกองทุนทองคำ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับบรรยากาศการแข่งขัในอุตสาหกรรม พบว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เป็นการแข่งขันดึงเงินฝากเป็นหลัก โดยในช่วงแรก เงินลงทุนไหลเข้ามาในกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เก็ต) เพื่อพักเงินในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน หลังจากนั้น กองทุนเกาหลีใต้ ก็ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งกองทุนที่โกยเงินเข้ามาในพอร์ตส่วนใหญ่ เป็นกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้ ที่มีกองทุนใหม่ๆ ออกมาทุกสัปดาห์ และยังสามารถกวาดยอดขายได้เต็มมูลค่าโครงการเกือบทุกกองทุน
ทั้งนี้ หลังจากการแข่งขันผ่านไป 6 เดือน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้นำตลาดไปจากเดิม โดยบลจ.กสิกรไทย อดีตแชมป์เก่า สามารถทวงแชมป์กลับคืนมาได้อีกครั้ง หลังจากพอร์ตกองทุนมันนี่มาร์เก็ต ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้ ที่กวาดยอดเงินลงทุนเต็มมูลค่าโครงการทุกกอง โดยล่าสุด บลจ.กสิกรไทย มีสินทรัพย์ในส่วนของกองทุนรวมทั้งสิ้น 354,646.98 ล้านบาท คิดเป็นเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 96,781.76 ล้านบาทจากปีก่อนหน้านี้
ในขณะที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นแชมป์เก่า ตกลงไปอยู่อันดับ 2 ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดสูญญากาศ ในระหว่างการสรรหากรรมการผู้อำนวยการคนใหม่ โดยหลังจากสามารถดึงนางโชติกา สวนานนท์ เข้ามาบริหารงานต่อ ก็ทำให้สินทรัพย์รวมขยับเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 44,216.50 ล้านบาท มาอยู่ที่ 342,556.23 ล้านบาท
สำหรับอันดับ 3 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยบลจ.บัวหลวง ยังคงส่งกองทุนเกาหลี โกยเงินฝากเข้าพอร์ตได้พอสมควร ซึ่งสินทรัพย์ล่าสุดเพิ่มขึ้นประมาณ 19,586.66 ล้านบาทมาอยู่ที่ 161,358.69 ล้านบาท ต่อด้วยอันดับ 4 บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ที่ประสบความสำเร็จกับกองทุนหุ้นประเภททาร์เก็ตฟันด์ ซึ่งมีส่วนทำให้สินทรัพย์ขยับเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 11,481,57 ล้านบาทมาอยู่ที่ 145,282.71 ล้านบาทในปัจจุบัน ส่วนอันดับ 5 ยังเป็น บลจ.ทหารไทย ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีผู้บริหาคนใหม่ แต่ก็ยังคงได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ซึ่งได้อานิสงส์จากกองทุนตราสารหนี้เกาหลีเช่นกัน โดยเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 14,380.70 ล้านบาท ทำให้บลจ.ทหารไทย มีสินทรัพย์รวม ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 143,259.23 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการรวบรวมตัวเลขทั้งอุตสาหกรรม พบว่า มีบริษัทจัดการกองทุนบางส่วน มีสินทรัพย์ลดลงไปจากปลายปีที่แล้ว โดยเฉพาะ บลจ.ยูโอบี (ไทย) ซึ่งมีเงินลงทุนลดลงถึง 9,843.03 ล้านบาท ส่งผลให้สินทรัพย์รวมขยับลงมาอยู่ที่ 43,776.89 ล้านบาทจากสินทรัพย์รวมประมาณ 53,619.93 ล้านบาท เช่นเดียวกันกับ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ที่เงินลงทุนขยับลงไปประมาณ 2,170.56 ล้านบาท