ตลาดกองทุนรวมเดือน มิ.ย. หดตัว เงินลงทุนวูบกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ชี้ 2 ปัจจัยหลัก บอนด์เกาหลีใต้ครบอายุ และดัชนีหุ้นพุ่ง ดึงเงินออกจากมันนี่มาร์เก็ต พบ "กสิกรไทย" ขยับลงกว่าหมื่นล้าน ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง บลจ.ไทยพาณิชย์ ไล่หวดก้น ลดระยะห่างเหลือเพียง 2 พันล้านบาทเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถึงแม้ว่าบรรยากาศการลงทุนในกองทุนรวมจะค่อนข้างคึกคัก โดยเฉพาะการแข่งขันดึงเงินฝากกันอย่างดุเดือด ด้วยการออกกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ออกมาเป็นจำนวนมาก และถึงแม้ว่ากองทุนใหม่ๆ ที่ออกมาเหล่านี้ จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างล้นหลาม จนหลายกองสามารถเปิดยอดจองได้ก่อนครบกำหนดไอพีโอ แต่กองทุนที่เสนอขายในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งทยอยครบอายุ ก็ทำให้กองทุนใหม่หลายๆ ไม่สามารถชดเชยเงินลงทุนที่ครบอายุได้ทั้งหมด ประกอบกับ บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่ปรับขึ้นแรงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินลงทุนส่วนหนึ่ง ถูกโยกไปหากำไรจากตลาดหุ้นมากขึ้น เห็นได้จากเงินลงทุนในกองทุนมันนี่มาร์เกตต่างปรับลดลงอย่างด้วยหน้า
ทั้งนี้ ภาพรวมดังกล่าว ส่งผลให้เงินลงทุนทั้งระบบของกองทุนรวมในช่วงเดือนมิถุนายนลดลง โดยในช่วง 3 สัปดาห์แรก เงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนที่แล้วกว่า 16,165.15 ล้านบาท หรือลดลงจาก 1.722 ล้านล้านบาท มาอยู่ที่ 1.706 ล้านล้านบาท
นายนคร ตามไท ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ มีกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศเกาหลีใต้ภายใต้พอร์ตของบริษัทครบอายุทุกๆ เดือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกองทุนอายุประมาณ 1 ปีที่เปิดขายในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การครบอายุดังกล่าว เป็นไปทั้งอุตสาหกรรม เพราะบริษัทจัดการรายอื่น ก็มีการเสนอขายหน่วยลงทุนในช่วงเวลาเดียวกัน
โดยในส่วนของบลจ.กสิกรไทย มีกองทุนที่ครบอายุประมาณ 3-4 กองทุน มูลค่ารวมประมาณ 7,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนที่ครบอายุเหล่านี้ บริษัทก็ได้เปิดขายกองทุนใหม่รองรับเงินลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนส่วนใหญ่มีการลงทุนต่อ ถึงแม้ว่าผลตอบแทนของกองทุน จะต่ำกว่าผลตอบแทนที่ได้ในปีที่แล้ว แต่หากเทียบกับการลงทุนอื่นๆ ในประเทศแล้ว พันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ยังให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่า
ทั้งนี้ นอกจากกองทุนเกาหลีจะทยอยครบอายุแล้ว ในช่วงที่ผ่านมา บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแรงและเร็ว ส่งผลให้นักลงทุนมีการโยกเงินลงทุนจากกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) ไปลงทุนในหุ้นมากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้ ก็ถือว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ที่ต้องการให้กองทุนมันนี่มาร์เก็ต เป็นแหล่งพักเงิน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในช่วงระยะสั้น เงินลงทุนโดยรวมจะลดลง แต่ก็เป็นการลดลงในระยะสั้นๆ เท่านั้น เพราะหากเทียบเงินลงทุนตั้งแต่ต้นปีแล้ว ถือว่าบริษัทยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจเงินลงทุน ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2552 พบว่า บลจ.กสิกรไทย มีเงินลงทุนลดลงประมาณ 14,462.84 ล้านบาท บลจ.บัวหลวง ลดลงประมาณ 3,581.86 ล้านบาท บลจ.ยูโอบี (ไทย) ลดลงเป็นอันดับ 3 ประมาณ 2,009.91 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบลจ.ที่มีเงินลงทุนขยับขึ้นก็มีเช่นกัน โดย บลจ.แอสเซท พลัส มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 2,207.65 ล้านบาท บลจ.ไทยพาณิชย์ เพิ่มขึ้นประมาณ 1,425.61 ล้านบาท และบลจ.นครหลวงไทย เพิ่มขึ้นกว่า 1,260 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการสำรวจเงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบ พบว่า บลจ.กสิกรไทย ยังรั้งตำแหน่งผู้นำ โดยสินทรัพย์สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งด้วยจำนวนเงินลงทุนรวม 338,666.50 ล้านบาท ในขณะที่อดีตแชมป์เก่าอย่าง บลจ.ไทยพาณิชย์ ไล่บี้มาติดๆ ด้วยสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 336,531.16 ล้านบาท ซึ่งแตกต่างกันประมาณ 2,135.34 ล้านบาทเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า มูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท จากในช่วงต้นปีที่มีอยู่ประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับลดลงมาประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ การที่เม็ดเงินลงทุนไหลไปยังที่อื่น เนื่องจากไม่ได้ออกกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศออกมารองรับนักลงทุน แต่คาดว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิในปีนี้จะกลับไปอยู่ที่ระดับเดิมได้ เมื่อมีการออกกองทุนหุ้นออกมาเสนอขายให้แก่นักลงทุนมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับที่เม็ดเงินลงทุนใหม่ และดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นไป ซึ่งทำให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิโดยรวมปรับขึ้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถึงแม้ว่าบรรยากาศการลงทุนในกองทุนรวมจะค่อนข้างคึกคัก โดยเฉพาะการแข่งขันดึงเงินฝากกันอย่างดุเดือด ด้วยการออกกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ออกมาเป็นจำนวนมาก และถึงแม้ว่ากองทุนใหม่ๆ ที่ออกมาเหล่านี้ จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างล้นหลาม จนหลายกองสามารถเปิดยอดจองได้ก่อนครบกำหนดไอพีโอ แต่กองทุนที่เสนอขายในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งทยอยครบอายุ ก็ทำให้กองทุนใหม่หลายๆ ไม่สามารถชดเชยเงินลงทุนที่ครบอายุได้ทั้งหมด ประกอบกับ บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่ปรับขึ้นแรงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินลงทุนส่วนหนึ่ง ถูกโยกไปหากำไรจากตลาดหุ้นมากขึ้น เห็นได้จากเงินลงทุนในกองทุนมันนี่มาร์เกตต่างปรับลดลงอย่างด้วยหน้า
ทั้งนี้ ภาพรวมดังกล่าว ส่งผลให้เงินลงทุนทั้งระบบของกองทุนรวมในช่วงเดือนมิถุนายนลดลง โดยในช่วง 3 สัปดาห์แรก เงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนที่แล้วกว่า 16,165.15 ล้านบาท หรือลดลงจาก 1.722 ล้านล้านบาท มาอยู่ที่ 1.706 ล้านล้านบาท
นายนคร ตามไท ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ มีกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศเกาหลีใต้ภายใต้พอร์ตของบริษัทครบอายุทุกๆ เดือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกองทุนอายุประมาณ 1 ปีที่เปิดขายในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การครบอายุดังกล่าว เป็นไปทั้งอุตสาหกรรม เพราะบริษัทจัดการรายอื่น ก็มีการเสนอขายหน่วยลงทุนในช่วงเวลาเดียวกัน
โดยในส่วนของบลจ.กสิกรไทย มีกองทุนที่ครบอายุประมาณ 3-4 กองทุน มูลค่ารวมประมาณ 7,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนที่ครบอายุเหล่านี้ บริษัทก็ได้เปิดขายกองทุนใหม่รองรับเงินลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนส่วนใหญ่มีการลงทุนต่อ ถึงแม้ว่าผลตอบแทนของกองทุน จะต่ำกว่าผลตอบแทนที่ได้ในปีที่แล้ว แต่หากเทียบกับการลงทุนอื่นๆ ในประเทศแล้ว พันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ยังให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่า
ทั้งนี้ นอกจากกองทุนเกาหลีจะทยอยครบอายุแล้ว ในช่วงที่ผ่านมา บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแรงและเร็ว ส่งผลให้นักลงทุนมีการโยกเงินลงทุนจากกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) ไปลงทุนในหุ้นมากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้ ก็ถือว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ที่ต้องการให้กองทุนมันนี่มาร์เก็ต เป็นแหล่งพักเงิน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในช่วงระยะสั้น เงินลงทุนโดยรวมจะลดลง แต่ก็เป็นการลดลงในระยะสั้นๆ เท่านั้น เพราะหากเทียบเงินลงทุนตั้งแต่ต้นปีแล้ว ถือว่าบริษัทยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจเงินลงทุน ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2552 พบว่า บลจ.กสิกรไทย มีเงินลงทุนลดลงประมาณ 14,462.84 ล้านบาท บลจ.บัวหลวง ลดลงประมาณ 3,581.86 ล้านบาท บลจ.ยูโอบี (ไทย) ลดลงเป็นอันดับ 3 ประมาณ 2,009.91 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบลจ.ที่มีเงินลงทุนขยับขึ้นก็มีเช่นกัน โดย บลจ.แอสเซท พลัส มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 2,207.65 ล้านบาท บลจ.ไทยพาณิชย์ เพิ่มขึ้นประมาณ 1,425.61 ล้านบาท และบลจ.นครหลวงไทย เพิ่มขึ้นกว่า 1,260 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการสำรวจเงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบ พบว่า บลจ.กสิกรไทย ยังรั้งตำแหน่งผู้นำ โดยสินทรัพย์สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งด้วยจำนวนเงินลงทุนรวม 338,666.50 ล้านบาท ในขณะที่อดีตแชมป์เก่าอย่าง บลจ.ไทยพาณิชย์ ไล่บี้มาติดๆ ด้วยสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 336,531.16 ล้านบาท ซึ่งแตกต่างกันประมาณ 2,135.34 ล้านบาทเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า มูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท จากในช่วงต้นปีที่มีอยู่ประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับลดลงมาประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ การที่เม็ดเงินลงทุนไหลไปยังที่อื่น เนื่องจากไม่ได้ออกกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศออกมารองรับนักลงทุน แต่คาดว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิในปีนี้จะกลับไปอยู่ที่ระดับเดิมได้ เมื่อมีการออกกองทุนหุ้นออกมาเสนอขายให้แก่นักลงทุนมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับที่เม็ดเงินลงทุนใหม่ และดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นไป ซึ่งทำให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิโดยรวมปรับขึ้นไป