ในการทำสงครามการเมืองของทักษิณตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีหลายรูปแบบ ทั้งเย็นและร้อน ทั้งเชิงรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ รวมทั้งการประยุกต์สงครามการเมืองจิตวิทยาที่ทักษิณทำเองด้วยการโฟนอิน ทั้งเชิงรุกและเชิงรับเพื่อรักษาโมเมนตัมอิทธิพลการเมืองของตัวเองไว้ โดยเฉพาะพื้นที่ในหัวใจของผู้หลงใหล ขณะเดียวกันก็ทุ่มเงินเพื่อรักษาแกนนำสาวกที่ทำศึกสงครามการเมืองในเมืองไทยให้ทักษิณในห้วง 3 ปีที่ผ่านมา
สงครามการเมืองร้อนที่ทักษิณบัญชาการเองแบบควบคุมทางไกลเห็นได้ชัดจากกรณีสงกรานต์ 2552 ที่ดุเดือดเลือดพล่าน แต่เคราะห์ดีที่ฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะฝ่ายทหารมีความอดทน จัดรูปขบวนยุทธ์และสถาปนากลยุทธ์ยืดหยุ่น ใช้ทั้งจังหวะ เวลา และโอกาสสามารถขัดขวางแผนสงครามกลางเมืองย่อยโดยหวังให้ประชาชนโกรธแค้นทหาร และรัฐบาลในการใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนเหมือนกับกรณี 14 ตุลาคม 2516 ด้วยการส่งหน่วยไล่ล่าทำร้ายผู้นำรัฐบาลหรือแกนนำชุมชนที่ต่อต้านระบอบทักษิณและข่มขู่รัฐบาลด้วยการเอาประชาชนเป็นตัวประกัน เช่น ที่แฟลตดินแดง
เหตุการณ์เหล่านี้ชาวโลกสามารถเห็นได้จากภาพใน Clip ต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้ตั้งแต่วันที่ 12-14 เมษายน 2552 และจะเป็นเหตุการณ์อมตะที่คนกรุงเทพฯ ไม่มีวันลืม รวมทั้งมีผู้ถูกสังหารอย่างหฤโหดเลือดเย็นที่ชุมชนนางเลิ้งซึ่งต้องการเพียงปกป้องถิ่นฐานของตัวเองมิให้ถูกเป็นเครื่องมือในการข่มขู่ของกลุ่มเสื้อแดง แต่สาวกทักษิณหวังให้มีการตอบโต้จากประชาชนนางเลิ้งจนเกิดจลาจลแล้วทหารเข้าขัดขวาง ทำการห้ามปรามแต่ถูกทำร้าย ทหารก็จะตอบโต้ทำให้กลุ่มเสื้อแดงขยายผลลุกลามเรียกพลเพิ่มเติมได้จากภาคเหนือและอีสาน แต่แผนชั่วนี้ไม่บรรลุตามความปรารถนาของทักษิณที่ตกหลุมพรางตัวเอง เมื่อเพื่อนรุ่นเตรียมทหาร 10 อย่างน้อย 2 คนรู้ทันประกอบกับความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กล้าแสดงความรับผิดชอบต่อหน้าผู้บังคับบัญชาหน่วยทหาร เพื่อไม่ให้ทหารกังวลใจว่าจะตกเป็นจำเลยสังคมอีก
ตำราการดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองของทักษิณเริ่มงวดเข้าทุกที ถึงแม้ว่าพรรคเพื่อไทยของทักษิณ มีชัยในการเลือกตั้งซ่อมภาคอีสาน ก็ไม่เป็นที่แปลกประหลาดอะไร เพราะพื้นที่เหล่านี้ถูกควบคุมโดยอิทธิพลทักษิณตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมาแล้ว และมีการดำรงรักษาไว้ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับหลังจากรัฐประหาร 2549 กระแสเงินหลั่งไหลลงพื้นที่อีสานอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเรื่องสามัญสำนึกของนักยุทธศาสตร์สงครามประชาชนรอบตัวทักษิณ ต้องการดำเนินกลยุทธ์ยึดฐานที่มั่นหลักก็คือ พื้นที่ทางกายภาพมีผู้คนอยู่หนาแน่น เช่น ภาคอีสานซึ่งมีใจโน้มเอียงอยู่แล้วในเรื่องลัทธิประชานิยม หัวใจจึงถูกซื้อได้ง่าย
ความเข้าใจในลัทธิทุนนิยมสามานย์ยังมีน้อย คิดว่าการโกงชาติบ้านเมืองนั้นเป็นเรื่องปกติหรือเป็นเรื่องวัฒนธรรมการเมืองของไทย หรือแนวคิดว่า “ใครๆ เขาก็ทำกัน” และด้วยเหตุนี้เองทำให้ประชาชนผู้หวังความอยู่รอดในชีวิตเพียงวันหนึ่งๆ จึงไม่สนใจว่า ใครจะโกงบ้านโกงเมืองอย่างไร หรือจะมีการปกครองชาติบ้านเมืองอย่างไร ก็ไม่สนใจ ขอให้มีใครมาให้เงินให้ทองใช้ก็เพียงพอแล้วสำหรับชีวิตในวันหนึ่งๆ
เมื่อตำราพิชัยสงครามการเมืองหลายบทไม่ได้ผล ทำให้ต้องใช้แผนถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์และประชาชนต้องกล้าคิด กล้าวิจารณ์เพราะแผนนี้มีความละเอียดอ่อนมาก
การถวายฎีกาพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ตามประเพณีการปกครองของไทย เพราะการถวายฎีกาตรงต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนนั้นเป็นประเพณีปฏิบัติที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดถือมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยกว่า 800 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะตำนานการถวายฎีกาพ่อขุนรามคำแหง แม้ว่าไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญ แต่ก็ถือเป็นรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่ทรงรับฎีกา และทรงบำบัดทุกข์ให้ราษฎร
โดยปกติพระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการหรือหน่วยงานต่างๆ รับไปดำเนินการตามหน้าที่ก่อน แต่ถ้ายังไม่มีการดำเนินการใดๆ หรือดำเนินการไม่ดี ราษฎรถวายฎีกาใหม่ ก็ทรงมีพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่อาจมีพระราชวินิจฉัยสั่งการให้หน่วยราชการดำเนินการได้ ส่วนราชการต้องเคารพและปฏิบัติตาม
พระบรมราชวินิจฉัยนี้มีผลในทางกฎหมาย เพราะถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน พระบรมราชวินิจฉัยนี้จะสูงกว่าองค์กรใดๆ ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลสถิตยุติธรรม หรือองค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ
พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ หรือแบบของไทยในเชิงสากลที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร และถือว่าพระราชอำนาจเป็นเรื่องหลัก ความยืดหยุ่นที่เกิดประโยชน์มหาศาลในการปกครองประเทศ เมื่อเกิดสถานการณ์ทางตันในการเมืองและสังคม
พระราชอำนาจ 3 ประการคือ 1.พระราชอำนาจในการที่จะทรงรับคำปรึกษา และพระราชทานคำแนะนำแก่รัฐบาล 2. พระราชอำนาจที่จะทรงสนับสนุนหรือให้กำลังใจรัฐบาลในนโยบาย หรือการดำเนินนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และ 3.พระราชอำนาจที่พระมหากษัตริย์จะทรงตักเตือนรัฐบาลของพระองค์ให้ตระหนักถึงความเสียหายในการกระทำของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียหายแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดเชิงรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งสร้างสรรค์ให้เกิดความร่มเย็นผาสุกกับประชาชนที่วอลเตอร์ แบจฮอท (Walter Bagehot) ที่เขียนไว้ในหนังสือ เดอะอิงลิช คอนสติติวชัน ใน ค.ศ. 1867
หากจะพิจารณาถึงแผนการถวายฎีกาของนายวีระ มุสิกพงศ์ แม่ทัพหน้าของทักษิณเตรียมการล่าลายเซ็นประชาชนให้ได้ครบ 1 ล้านชื่อนั้น เป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่ว่า ทั้งทักษิณ วีระ มุสิกพงศ์ และสาวกคนอื่นๆ ของทักษิณกำลังคิดอะไรอยู่ เพราะหากพิจารณาในพระราชอำนาจที่ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงตักเตือนรัฐบาลของพระองค์ให้ตระหนักถึงความเสียหายในการกระทำของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียหายแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนนั้น หากได้พิจารณาถึงพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานให้คณะบุคคลที่มีทักษิณร่วมอยู่ด้วยที่ได้เข้าเฝ้าฯ ในวาระต่างๆ โดยเฉพาะในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่าพระองค์ทรงแฝงไว้ด้วยคำเตือนให้ผู้บริหารประเทศซื่อสัตย์สุจริต ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
คดีความของทักษิณเป็นคดีตัวอย่างของนักการเมืองที่มีความมุ่งมั่นที่จะแสวงประโยชน์เพื่อตัวเอง แม้ทว่าทุกวันนี้ภายใต้ภาวการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งความขัดแย้งทางการเมืองของคนสองกลุ่มที่มีแนวโน้มความรุนแรงสูง และภาวะทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ซึ่งนักการเมืองในอดีตหากเกิดภาวการณ์เช่นนี้ก็จะเลิกราไปแล้ว แล้วปล่อยให้เป็นไปตามกฎแห่งกรรมของตัวเองไม่ดื้อรั้นเพื่อส่วนร่วม แต่ทักษิณฝืนกฎแห่งกรรม
ดังนั้น กำลังมีการใช้กฎหมู่เพื่อสร้างแรงกดดันจากแผนการถวายฎีกาให้ทักษิณ แต่ขณะเดียวกันก็มีประชาชนอีกนับล้านๆ ที่ต้องการเห็นนักการเมืองทุจริตคดโกงประเทศชาติต้องรับโทษตามขบวนการยุติธรรมที่ได้สร้างความชัดเจนและเด่นชัดในพฤติกรรมชั่วของนักการเมืองเหล่านั้นและลงโทษไปแล้ว ก็อาจยื่นถวายฎีกาเช่นกัน แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ทำไมถึงต้องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงรับภาระจากความผิดของคนคนเดียวที่ผิดจริง เพราะขณะเดียวกันนี้ก็ยังมีบุคคลกระทำผิดอยู่มากมายที่เป็นความผิด คดโกง ขโมย ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือการใช้อำนาจหน้าที่โกงเงินผู้อื่น ก็ถูกพิพากษาลงโทษอยู่เป็นประจำวันไม่ต่างจากทักษิณ และหากบุคคลเหล่านี้ต่างถวายฎีกากันบ้าง อะไรจะเกิดขึ้น
หากให้ผู้เขียนวิเคราะห์แผนการนี้แล้ว ก็จะวิเคราะห์ว่ากลุ่มนิยมทักษิณหวังผล 2 ทางคือ 1. เมื่อถวายฎีกาและได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว ทักษิณก็จะได้ประโยชน์จากการนี้อย่างมหาศาลในการดำเนินกลยุทธ์ทางจิตวิทยาการเมืองว่า “ในหลวงยังทรงเมตตาเขาอยู่” เพียงแค่นี้กระแสของผู้หลงใหลทักษิณก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น 2. หากมิทรงรับฎีกา และมีพระราชวินิจฉัยไม่พระราชทานอภัยโทษ กลุ่มอนาธิปไตย ก็จะโจมตีว่า “ในหลวงไม่ทรงมีเมตตาต่อประชาชนซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีรับสนองพระราชโองการต่างๆ”
จึงสรุปได้ว่ากลุ่มทักษิณผนวกกับพวกอนาธิปไตยหวังที่จะจาบจ้วงและท้าทายพระราชอำนาจ ที่สำคัญใช้ปทัสถานประชาชนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นเครื่องมือสร้างตัวชี้วัดความนิยมในตัวเขาเพื่อกดดันสถาบันชาติ พร้อมทั้งจงใจที่จะยั่วยุฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณให้ตอบโต้โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวแปรในการวิพากษ์ทั้งสองกรณีทั้งได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ประชาชนทั้งปวงอย่าได้คิดคล้อยตามไปกับแนวกลยุทธ์นี้ เพราะคนทำเรื่องนี้เคยเป็นผู้ต้องโทษหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเป็นคนที่ธนาคารไม่เชื่อถือแล้ว
nidd.riddhagni@gmail.com
สงครามการเมืองร้อนที่ทักษิณบัญชาการเองแบบควบคุมทางไกลเห็นได้ชัดจากกรณีสงกรานต์ 2552 ที่ดุเดือดเลือดพล่าน แต่เคราะห์ดีที่ฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะฝ่ายทหารมีความอดทน จัดรูปขบวนยุทธ์และสถาปนากลยุทธ์ยืดหยุ่น ใช้ทั้งจังหวะ เวลา และโอกาสสามารถขัดขวางแผนสงครามกลางเมืองย่อยโดยหวังให้ประชาชนโกรธแค้นทหาร และรัฐบาลในการใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนเหมือนกับกรณี 14 ตุลาคม 2516 ด้วยการส่งหน่วยไล่ล่าทำร้ายผู้นำรัฐบาลหรือแกนนำชุมชนที่ต่อต้านระบอบทักษิณและข่มขู่รัฐบาลด้วยการเอาประชาชนเป็นตัวประกัน เช่น ที่แฟลตดินแดง
เหตุการณ์เหล่านี้ชาวโลกสามารถเห็นได้จากภาพใน Clip ต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้ตั้งแต่วันที่ 12-14 เมษายน 2552 และจะเป็นเหตุการณ์อมตะที่คนกรุงเทพฯ ไม่มีวันลืม รวมทั้งมีผู้ถูกสังหารอย่างหฤโหดเลือดเย็นที่ชุมชนนางเลิ้งซึ่งต้องการเพียงปกป้องถิ่นฐานของตัวเองมิให้ถูกเป็นเครื่องมือในการข่มขู่ของกลุ่มเสื้อแดง แต่สาวกทักษิณหวังให้มีการตอบโต้จากประชาชนนางเลิ้งจนเกิดจลาจลแล้วทหารเข้าขัดขวาง ทำการห้ามปรามแต่ถูกทำร้าย ทหารก็จะตอบโต้ทำให้กลุ่มเสื้อแดงขยายผลลุกลามเรียกพลเพิ่มเติมได้จากภาคเหนือและอีสาน แต่แผนชั่วนี้ไม่บรรลุตามความปรารถนาของทักษิณที่ตกหลุมพรางตัวเอง เมื่อเพื่อนรุ่นเตรียมทหาร 10 อย่างน้อย 2 คนรู้ทันประกอบกับความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กล้าแสดงความรับผิดชอบต่อหน้าผู้บังคับบัญชาหน่วยทหาร เพื่อไม่ให้ทหารกังวลใจว่าจะตกเป็นจำเลยสังคมอีก
ตำราการดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองของทักษิณเริ่มงวดเข้าทุกที ถึงแม้ว่าพรรคเพื่อไทยของทักษิณ มีชัยในการเลือกตั้งซ่อมภาคอีสาน ก็ไม่เป็นที่แปลกประหลาดอะไร เพราะพื้นที่เหล่านี้ถูกควบคุมโดยอิทธิพลทักษิณตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมาแล้ว และมีการดำรงรักษาไว้ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับหลังจากรัฐประหาร 2549 กระแสเงินหลั่งไหลลงพื้นที่อีสานอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเรื่องสามัญสำนึกของนักยุทธศาสตร์สงครามประชาชนรอบตัวทักษิณ ต้องการดำเนินกลยุทธ์ยึดฐานที่มั่นหลักก็คือ พื้นที่ทางกายภาพมีผู้คนอยู่หนาแน่น เช่น ภาคอีสานซึ่งมีใจโน้มเอียงอยู่แล้วในเรื่องลัทธิประชานิยม หัวใจจึงถูกซื้อได้ง่าย
ความเข้าใจในลัทธิทุนนิยมสามานย์ยังมีน้อย คิดว่าการโกงชาติบ้านเมืองนั้นเป็นเรื่องปกติหรือเป็นเรื่องวัฒนธรรมการเมืองของไทย หรือแนวคิดว่า “ใครๆ เขาก็ทำกัน” และด้วยเหตุนี้เองทำให้ประชาชนผู้หวังความอยู่รอดในชีวิตเพียงวันหนึ่งๆ จึงไม่สนใจว่า ใครจะโกงบ้านโกงเมืองอย่างไร หรือจะมีการปกครองชาติบ้านเมืองอย่างไร ก็ไม่สนใจ ขอให้มีใครมาให้เงินให้ทองใช้ก็เพียงพอแล้วสำหรับชีวิตในวันหนึ่งๆ
เมื่อตำราพิชัยสงครามการเมืองหลายบทไม่ได้ผล ทำให้ต้องใช้แผนถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์และประชาชนต้องกล้าคิด กล้าวิจารณ์เพราะแผนนี้มีความละเอียดอ่อนมาก
การถวายฎีกาพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ตามประเพณีการปกครองของไทย เพราะการถวายฎีกาตรงต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนนั้นเป็นประเพณีปฏิบัติที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดถือมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยกว่า 800 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะตำนานการถวายฎีกาพ่อขุนรามคำแหง แม้ว่าไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญ แต่ก็ถือเป็นรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่ทรงรับฎีกา และทรงบำบัดทุกข์ให้ราษฎร
โดยปกติพระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการหรือหน่วยงานต่างๆ รับไปดำเนินการตามหน้าที่ก่อน แต่ถ้ายังไม่มีการดำเนินการใดๆ หรือดำเนินการไม่ดี ราษฎรถวายฎีกาใหม่ ก็ทรงมีพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่อาจมีพระราชวินิจฉัยสั่งการให้หน่วยราชการดำเนินการได้ ส่วนราชการต้องเคารพและปฏิบัติตาม
พระบรมราชวินิจฉัยนี้มีผลในทางกฎหมาย เพราะถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน พระบรมราชวินิจฉัยนี้จะสูงกว่าองค์กรใดๆ ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลสถิตยุติธรรม หรือองค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ
พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ หรือแบบของไทยในเชิงสากลที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร และถือว่าพระราชอำนาจเป็นเรื่องหลัก ความยืดหยุ่นที่เกิดประโยชน์มหาศาลในการปกครองประเทศ เมื่อเกิดสถานการณ์ทางตันในการเมืองและสังคม
พระราชอำนาจ 3 ประการคือ 1.พระราชอำนาจในการที่จะทรงรับคำปรึกษา และพระราชทานคำแนะนำแก่รัฐบาล 2. พระราชอำนาจที่จะทรงสนับสนุนหรือให้กำลังใจรัฐบาลในนโยบาย หรือการดำเนินนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และ 3.พระราชอำนาจที่พระมหากษัตริย์จะทรงตักเตือนรัฐบาลของพระองค์ให้ตระหนักถึงความเสียหายในการกระทำของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียหายแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดเชิงรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งสร้างสรรค์ให้เกิดความร่มเย็นผาสุกกับประชาชนที่วอลเตอร์ แบจฮอท (Walter Bagehot) ที่เขียนไว้ในหนังสือ เดอะอิงลิช คอนสติติวชัน ใน ค.ศ. 1867
หากจะพิจารณาถึงแผนการถวายฎีกาของนายวีระ มุสิกพงศ์ แม่ทัพหน้าของทักษิณเตรียมการล่าลายเซ็นประชาชนให้ได้ครบ 1 ล้านชื่อนั้น เป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่ว่า ทั้งทักษิณ วีระ มุสิกพงศ์ และสาวกคนอื่นๆ ของทักษิณกำลังคิดอะไรอยู่ เพราะหากพิจารณาในพระราชอำนาจที่ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงตักเตือนรัฐบาลของพระองค์ให้ตระหนักถึงความเสียหายในการกระทำของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียหายแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนนั้น หากได้พิจารณาถึงพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานให้คณะบุคคลที่มีทักษิณร่วมอยู่ด้วยที่ได้เข้าเฝ้าฯ ในวาระต่างๆ โดยเฉพาะในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่าพระองค์ทรงแฝงไว้ด้วยคำเตือนให้ผู้บริหารประเทศซื่อสัตย์สุจริต ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
คดีความของทักษิณเป็นคดีตัวอย่างของนักการเมืองที่มีความมุ่งมั่นที่จะแสวงประโยชน์เพื่อตัวเอง แม้ทว่าทุกวันนี้ภายใต้ภาวการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งความขัดแย้งทางการเมืองของคนสองกลุ่มที่มีแนวโน้มความรุนแรงสูง และภาวะทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ซึ่งนักการเมืองในอดีตหากเกิดภาวการณ์เช่นนี้ก็จะเลิกราไปแล้ว แล้วปล่อยให้เป็นไปตามกฎแห่งกรรมของตัวเองไม่ดื้อรั้นเพื่อส่วนร่วม แต่ทักษิณฝืนกฎแห่งกรรม
ดังนั้น กำลังมีการใช้กฎหมู่เพื่อสร้างแรงกดดันจากแผนการถวายฎีกาให้ทักษิณ แต่ขณะเดียวกันก็มีประชาชนอีกนับล้านๆ ที่ต้องการเห็นนักการเมืองทุจริตคดโกงประเทศชาติต้องรับโทษตามขบวนการยุติธรรมที่ได้สร้างความชัดเจนและเด่นชัดในพฤติกรรมชั่วของนักการเมืองเหล่านั้นและลงโทษไปแล้ว ก็อาจยื่นถวายฎีกาเช่นกัน แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ทำไมถึงต้องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงรับภาระจากความผิดของคนคนเดียวที่ผิดจริง เพราะขณะเดียวกันนี้ก็ยังมีบุคคลกระทำผิดอยู่มากมายที่เป็นความผิด คดโกง ขโมย ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือการใช้อำนาจหน้าที่โกงเงินผู้อื่น ก็ถูกพิพากษาลงโทษอยู่เป็นประจำวันไม่ต่างจากทักษิณ และหากบุคคลเหล่านี้ต่างถวายฎีกากันบ้าง อะไรจะเกิดขึ้น
หากให้ผู้เขียนวิเคราะห์แผนการนี้แล้ว ก็จะวิเคราะห์ว่ากลุ่มนิยมทักษิณหวังผล 2 ทางคือ 1. เมื่อถวายฎีกาและได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว ทักษิณก็จะได้ประโยชน์จากการนี้อย่างมหาศาลในการดำเนินกลยุทธ์ทางจิตวิทยาการเมืองว่า “ในหลวงยังทรงเมตตาเขาอยู่” เพียงแค่นี้กระแสของผู้หลงใหลทักษิณก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น 2. หากมิทรงรับฎีกา และมีพระราชวินิจฉัยไม่พระราชทานอภัยโทษ กลุ่มอนาธิปไตย ก็จะโจมตีว่า “ในหลวงไม่ทรงมีเมตตาต่อประชาชนซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีรับสนองพระราชโองการต่างๆ”
จึงสรุปได้ว่ากลุ่มทักษิณผนวกกับพวกอนาธิปไตยหวังที่จะจาบจ้วงและท้าทายพระราชอำนาจ ที่สำคัญใช้ปทัสถานประชาชนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นเครื่องมือสร้างตัวชี้วัดความนิยมในตัวเขาเพื่อกดดันสถาบันชาติ พร้อมทั้งจงใจที่จะยั่วยุฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณให้ตอบโต้โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวแปรในการวิพากษ์ทั้งสองกรณีทั้งได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ประชาชนทั้งปวงอย่าได้คิดคล้อยตามไปกับแนวกลยุทธ์นี้ เพราะคนทำเรื่องนี้เคยเป็นผู้ต้องโทษหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเป็นคนที่ธนาคารไม่เชื่อถือแล้ว
nidd.riddhagni@gmail.com