"มาร์ค"สั่งโสภณ ซารัมย์ทบทวนแผนแม่บทระบบรางใหม่ ขีดเส้นให้เสร็จก่อนส.ค.แล้วนำเสนอต่อครม.อีกครั้ง เพื่อจัดทำระบบขนส่งให้ครบวงจร ลั่น!! “แอร์พอร์ตลิ้งค์” ต้องตั้งบริษัทลูก ยังฝันเปิดใช้สิ้นปีนี้ ด้าน“โสภณ”เตรียมถกกทม.ยุติปัญหาเจ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ(ครม.)วานนี้ (1 ก.ค.) ได้พิจารณาการพัฒนาระบบขนส่งระบบราง ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการดำเนินงานตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยพบว่า โครงการต่างๆ ที่ครม.ได้มีมติให้ดำเนินการก่อสร้างมีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง
โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่ง (สนข.) และกระทรวงคมนาคม ไปศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งระบบมาใหม่ให้แล้วเสร็จก่อนเดือน ส.ค. และนำเสนอครม.เศรษฐกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เนื่องจากในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้จัดทำ แต่ยังไม่มีการเห็นชอบแผนแม่บทฯ อีกทั้ง ยังมีโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่เข้ามาเพิ่มเติม เช่น สายสีชมพู แคราย(ศูนย์ราชการใหม่)- มีนบุรี – ปากเกร็ด ระยะทาง 34.5 กม. จึงควรที่จะไปรวบรวมรายละเอียดมาให้ชัดเจน ซึ่งกระทรวงคมนาคมเร่งรัดนำเสนอโครงการพัฒนาทางรถไฟที่อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพื่อให้ ครม.พิจารณาต่อไป
ส่วนประเด็นของโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับสถานีรับส่งผู้โดยสารภายในเมือง (แอร์พอร์ตลิ้งค์)นั้น นายกฯยังยืนยันให้ทำตามมติครม.เดิม คือ การจัดตั้งบริษัทลูกและอยากให้โครงการนี้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2552 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นใจให้แก่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศ และควรหาเจ้าภาพหรือคนกลางเข้ามาเจรจากับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท.เพื่อทำความเข้าใจโดยเร็ว
เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง
นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการพัฒนาระบบราง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่โครงการก่อสร้างทางรถไฟระบบรางมาตรฐานเชื่อมโยงกับต่างประเทศและการพัฒนาระบบรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลัก 4 แห่งได้แก่ นครราชสีมา พิษณุโลก ชลบุรี และเพชรบุรี นั้นคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เห็นว่า กระทรวงคมนาคมควรพิจารณาความเหมาะสมด้านการลงทุนและผลประโยชน์ในการดำเนินการโดยละเอียด โดยรถไฟความเร็วสูงเส้นทางจิระ-แก่งคอย-บ้านภาชี ยังคงมีแผนตามเดิม ที่ประชุมยังให้ไปดูเส้นทางที่เป็นประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อ
"โสภณ"ถกกทม.ยุติปัญหาสายสีเขียว
ด้านนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวที่ประชุมครม.เศรษฐกิจต้องการให้เปิดเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ตามกำหนด พร้อมกันนี้ยังต้องการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ศึกษาตัวเลขลงทุนในการปรับเปลี่ยนรางจากขนาด 1 เมตร ( METER GAUGE ) เป็นขนาด 1.435 เมตร (STANDARD GAUGE) และเร่งทำแผนการปรับปรุงทางรถไฟ (Track Rehabilitation) เพราะจะใช้งบตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สองหรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (SP2)
ส่วนโครงการรถไฟฟ้านั้น กระทรวงการคลังยืนยันที่จะจัดหาแหล่งเงินกู้อื่น แทนเงินกู้จากองค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) สำหรับก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ) 27 กม.มูลค่า 79,904 ล้านบาท โดยจะสามารถดำเนินการประกวดราคาได้ภายในปี 2552
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ให้กระทรวงคมนาคมหารือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อหาข้อยุติ เนื่องจ ากกทม.แสดงความจำนงค์เป็นผู้ดำเนินโครงการ โดยมติครม.ก่อนหน้านี้ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบงานก่อสร้างแล้ว ซึ่งในสัปดาห์หน้าตนจะหารือกับกทม.เพื่อหาข้อสรุปเรื่องการเป็นบริหารการเดินรถ ทั้งนี้ สายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กม. มีมูลค่า 25,248 ล้านบาท และสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กม. มูลค่า 32,052 ล้านบาท
นอกจากนี้ จะทำการโยกงบประมาณ 400 ล้านบาทจากโครงการรถไฟฟ้าสายวงแหวนรอบในตามแนวถนนรัชดาภิเษก มาใช้ในการศึกษารถไฟฟ้สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)ระยะทาง 34.5 กม. รองรับการเปิดใช้ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางบำหรุ-บางกะปิ) ระยะทาง 23.8 กม. เพราะมีความเร่งด่วนมากกว่า โดยจะสรุปแผนระบะรางทั้งหมด เข้าครม.อีกครั้งในเดือนส.ค.
นายโสภณกล่าวว่า ช่วงปลายเดือนก.ค.นี้ ตนจะเดินไปประเทศจีนเพื่อหารือถึงความชัดเจนของจีน ในการต่อเชื่อมทางรถไฟจากจีนผ่านลาวมาไทย เพื่อประเมินแผนของไทยที่จะทำทางรถไฟจากเด่นชัย –เชียงรายขึ้นไปเชื่อมเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า เนื่องจากขณะนี้จีนมีเส้นทางรถไฟลงใต้ผ่านทางเวียดนามและกัมพูชาด้วย
ด้านนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังครม.มีมติให้หยุดการดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้างฟื้นฟู ร.ฟ.ท.และให้เจรจากับสหภาพฯ ร.ฟ.ท.ก่อนนั้น ทำให้ไม่มั่นใจว่า จะสามารถเปิดเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ได้ตามกำหนดเดือนธ.ค. 2552 นี้หรือไม่
ส่วนการลงทุนปรับรางเป็นขนาด 1.435 เมตรนั้น ยังไม่มีการศึกษาตัวเลขไว้ โดยแนวคิดเบื้องต้น เห็นว่าควรใช้ราง1.435 เมตรกับโครงการเฉพาะเช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาค เช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ ส่วนการปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มความเร็วรถไฟนั้น ขณะนี้มีแผนการปรับปรุงรางระยะ 5 และ 6 งานเร่งด่วนเปลี่ยนหมอนไม้เป็นคอนกรีตและราง 60 ปอนด์เป็น 100 ปอนด์ ซึ่งจะเพิ่มความเร็วรถจาก 60-70 กม./ชม.เป็น100 กม./ชม. พร้อมกันนี้จะเร่งโครงการรถไฟทางคู่ส่วนที่เหลือ (Long Loop) แก้ปัญหาการรอหลีก และจัดทำระบบอาณัติสัญญาณแก้ปัญหาทางตัดผ่าน.
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ(ครม.)วานนี้ (1 ก.ค.) ได้พิจารณาการพัฒนาระบบขนส่งระบบราง ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการดำเนินงานตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยพบว่า โครงการต่างๆ ที่ครม.ได้มีมติให้ดำเนินการก่อสร้างมีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง
โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่ง (สนข.) และกระทรวงคมนาคม ไปศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งระบบมาใหม่ให้แล้วเสร็จก่อนเดือน ส.ค. และนำเสนอครม.เศรษฐกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เนื่องจากในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้จัดทำ แต่ยังไม่มีการเห็นชอบแผนแม่บทฯ อีกทั้ง ยังมีโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่เข้ามาเพิ่มเติม เช่น สายสีชมพู แคราย(ศูนย์ราชการใหม่)- มีนบุรี – ปากเกร็ด ระยะทาง 34.5 กม. จึงควรที่จะไปรวบรวมรายละเอียดมาให้ชัดเจน ซึ่งกระทรวงคมนาคมเร่งรัดนำเสนอโครงการพัฒนาทางรถไฟที่อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพื่อให้ ครม.พิจารณาต่อไป
ส่วนประเด็นของโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับสถานีรับส่งผู้โดยสารภายในเมือง (แอร์พอร์ตลิ้งค์)นั้น นายกฯยังยืนยันให้ทำตามมติครม.เดิม คือ การจัดตั้งบริษัทลูกและอยากให้โครงการนี้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2552 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นใจให้แก่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศ และควรหาเจ้าภาพหรือคนกลางเข้ามาเจรจากับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท.เพื่อทำความเข้าใจโดยเร็ว
เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง
นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการพัฒนาระบบราง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่โครงการก่อสร้างทางรถไฟระบบรางมาตรฐานเชื่อมโยงกับต่างประเทศและการพัฒนาระบบรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลัก 4 แห่งได้แก่ นครราชสีมา พิษณุโลก ชลบุรี และเพชรบุรี นั้นคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เห็นว่า กระทรวงคมนาคมควรพิจารณาความเหมาะสมด้านการลงทุนและผลประโยชน์ในการดำเนินการโดยละเอียด โดยรถไฟความเร็วสูงเส้นทางจิระ-แก่งคอย-บ้านภาชี ยังคงมีแผนตามเดิม ที่ประชุมยังให้ไปดูเส้นทางที่เป็นประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อ
"โสภณ"ถกกทม.ยุติปัญหาสายสีเขียว
ด้านนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวที่ประชุมครม.เศรษฐกิจต้องการให้เปิดเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ตามกำหนด พร้อมกันนี้ยังต้องการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ศึกษาตัวเลขลงทุนในการปรับเปลี่ยนรางจากขนาด 1 เมตร ( METER GAUGE ) เป็นขนาด 1.435 เมตร (STANDARD GAUGE) และเร่งทำแผนการปรับปรุงทางรถไฟ (Track Rehabilitation) เพราะจะใช้งบตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สองหรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (SP2)
ส่วนโครงการรถไฟฟ้านั้น กระทรวงการคลังยืนยันที่จะจัดหาแหล่งเงินกู้อื่น แทนเงินกู้จากองค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) สำหรับก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ) 27 กม.มูลค่า 79,904 ล้านบาท โดยจะสามารถดำเนินการประกวดราคาได้ภายในปี 2552
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ให้กระทรวงคมนาคมหารือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อหาข้อยุติ เนื่องจ ากกทม.แสดงความจำนงค์เป็นผู้ดำเนินโครงการ โดยมติครม.ก่อนหน้านี้ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบงานก่อสร้างแล้ว ซึ่งในสัปดาห์หน้าตนจะหารือกับกทม.เพื่อหาข้อสรุปเรื่องการเป็นบริหารการเดินรถ ทั้งนี้ สายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กม. มีมูลค่า 25,248 ล้านบาท และสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กม. มูลค่า 32,052 ล้านบาท
นอกจากนี้ จะทำการโยกงบประมาณ 400 ล้านบาทจากโครงการรถไฟฟ้าสายวงแหวนรอบในตามแนวถนนรัชดาภิเษก มาใช้ในการศึกษารถไฟฟ้สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)ระยะทาง 34.5 กม. รองรับการเปิดใช้ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางบำหรุ-บางกะปิ) ระยะทาง 23.8 กม. เพราะมีความเร่งด่วนมากกว่า โดยจะสรุปแผนระบะรางทั้งหมด เข้าครม.อีกครั้งในเดือนส.ค.
นายโสภณกล่าวว่า ช่วงปลายเดือนก.ค.นี้ ตนจะเดินไปประเทศจีนเพื่อหารือถึงความชัดเจนของจีน ในการต่อเชื่อมทางรถไฟจากจีนผ่านลาวมาไทย เพื่อประเมินแผนของไทยที่จะทำทางรถไฟจากเด่นชัย –เชียงรายขึ้นไปเชื่อมเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า เนื่องจากขณะนี้จีนมีเส้นทางรถไฟลงใต้ผ่านทางเวียดนามและกัมพูชาด้วย
ด้านนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังครม.มีมติให้หยุดการดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้างฟื้นฟู ร.ฟ.ท.และให้เจรจากับสหภาพฯ ร.ฟ.ท.ก่อนนั้น ทำให้ไม่มั่นใจว่า จะสามารถเปิดเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ได้ตามกำหนดเดือนธ.ค. 2552 นี้หรือไม่
ส่วนการลงทุนปรับรางเป็นขนาด 1.435 เมตรนั้น ยังไม่มีการศึกษาตัวเลขไว้ โดยแนวคิดเบื้องต้น เห็นว่าควรใช้ราง1.435 เมตรกับโครงการเฉพาะเช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาค เช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ ส่วนการปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มความเร็วรถไฟนั้น ขณะนี้มีแผนการปรับปรุงรางระยะ 5 และ 6 งานเร่งด่วนเปลี่ยนหมอนไม้เป็นคอนกรีตและราง 60 ปอนด์เป็น 100 ปอนด์ ซึ่งจะเพิ่มความเร็วรถจาก 60-70 กม./ชม.เป็น100 กม./ชม. พร้อมกันนี้จะเร่งโครงการรถไฟทางคู่ส่วนที่เหลือ (Long Loop) แก้ปัญหาการรอหลีก และจัดทำระบบอาณัติสัญญาณแก้ปัญหาทางตัดผ่าน.