ASTVผู้จัดการรายวัน - สหภาพฯ ร.ฟ.ท.ฮือไล่ ”ยุทธนา” พ้นเก้าอี้ผู้ว่าฯ ชี้หมดสภาพบริหารผิดพลาดสร้างความแตกแยกในองค์กร ถูก สตง.สอบทุจริตตลาดซันเดย์ ขณะที่บอร์ดปฎิเสธไม่มีอำนาจปลด ขณะที่การเจรจาเหลว สหภาพฯ ยันคนรถไฟเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์เองได้ แต่ฝ่ายบริหารไม่เตรียมพร้อม ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ขนม็อบชาวบ้านชนสหภาพฯ เกือบวางมวย
วานนี้ (29 มิ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.ร.ฟ.ท.) ได้หารือร่วมกับคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.ที่มีนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานตามข้อตกลงของคณะทำงานชุดที่มีนายสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้บอร์ดร.ฟ.ท.เจรจาเรื่องแผนปรับโครงสร้างเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินของร.ฟ.ท. โดยกลุ่มสหภาพฯร.ฟ.ท.ประมาณ 100 คนได้รวมตัวกันหน้าตึกบัญชาการรถไฟ สำนักงานใหญ่ เวลาประมาณ 13.30 น. และกล่าวปราศรัย คัดค้านการจัดตั้ง 2 บริษัทลูกในแผนฟื้นฟู คือบริษัทเดินรถ และบริษัทบริหารทรัพย์สิน โดยระบุว่าเป็นการแปรรูป พร้อมกันนี้ได้ขับไล่นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการร.ฟ.ท.ออกจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ เนื่องจากถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)สอบสวนและชี้ว่ามีความผิดกรณีทุจริตต่อสัญญาตลาดซันเดย์
ทั้งนี้ ได้มีกลุ่มชาวบ้านจำนวนหนึ่ง มาชุมนุมที่สำนักงานใหญ่ ร.ฟ.ท. เช่นกันเพื่อให้กำลังใจและสนับสนุนนายยุทธนา ซึ่งตลอดเวลาที่มีการชุมนุมของทั้งกลุ่มสหภาพฯ และฝ่ายสนับสนุนผู้ว่าฯร.ฟ.ท.เกือบจะมีการประทะกัน ส่วนในการประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.นั้นมีกรรมการบอร์ดมาเพียง 4 คนเท่านั้นประกอบด้วยนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะปรานบอร์ด,และกรรมการอีก 3 คน ประกอบด้วย นายสราวุธ เบญจกุล,นายสมชาย ชาญณรงค์กุลและพล.ต.ท.บริหาร เสี่ยงอารมณ์ โดยบอร์ดได้หารือกับสหภาพฯร.ฟ.ท.กว่า 3 ชั่วโมง
โดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ ร.ฟ.ท.เปิดเผยภายหลังเข้าหารือกับบอร์ด ร.ฟ.ท. ว่า ได้ยื่นหนังสือต่อบอร์ด ร.ฟ.ท.ให้พิจารณาการทำงานของนายยุทธนา เพราะถือว่านายยุทธนาหมดสภาพการเป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.เพราะถูกสตง.ชี้มูลความผิดทุจริต ต่อสัญญาตลาดซันเดย์ ทำให้ ร.ฟ.ท.เสียหาย และมีพฤติกรรมสร้างความแตกแยกในองค์กร โดยกรณีทุจริตตลาดซันเดย์นั้นนายยุทธนาเป็นผู้ถูกชี้มูลว่ามีความผิดการอยู่ในตำแหน่งในระหว่างการดำเนินการทางคดีจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินการกับผู้ทำผิดตามที่ สตง.ชี้มูล
นายสาวิทย์กล่าวว่า สหภาพฯ มีจุดยืนชัดเจนและได้แจ้งกับบอรด ร.ฟ.ท.ยืนยันคัดค้านการจัดตั้ง 2 บริษัทลูก เนื่องจากตามแผนหลังครม.เห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2552 ภายใน 30 วัน ร.ฟ.ท.จะต้องจัดตั้งบริษัทลูกให้เสร็จ และภายใน 150 วัน จะต้องแยกภารกิจ ทรัพย์สินและหนี้สินระหว่าง ร.ฟ.ท.ออกจากกันและให้ กนร.พิจารณาและภายใน 180 วัน จะต้องดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ ทรัพย์สินและหนี้สินไปให้บริษัทลูก
สำหรับการโอนทรัพย์สินขอยกเว้นภาษีทุกชนิด และบริษัทเดินรถได้รับข้อยกเว้นปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และมติครม.ที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามมติครม. วันที่ 4 ธ.ค. 2550 เรื่องหลักเกณฑ์การจัดตั้งและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดค่าโดยสารใหม่ ตั้งแต่ปี 2553 ก่อน 10% และปรับเพิ่มได้อีกทุกๆ 3 ปี ในขณะที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มีหน้าที่บริการเชิงสังคม (PSO) รัฐต้องให้การอุดหนุน ทำให้รายได้ไม่สอดคล้องกับต้นทุนทำให้ขาดทุน เพราะปรับขึ้นค่าโดยสารไม่ได้ แต่ทำไมบริษัทเดินรถที่ตั้งใหม่กลับให้ปรับค่าโดยสารได้
***คนรถไฟเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์เองได้
นายสาวิทย์กล่าวว่า การทำงานกว่า 112 ปี ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าพนักงานร.ฟ.ท.ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานและพร้อมที่จะเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ และร.ฟ.ท.รู้มานานแล้วว่าจะมีโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์แต่ที่ผ่านมา ไม่ยอมเตรียมความพร้อมพนักงาน เพราะตั้งใจจะจ้างเอกชนเข้ามา อย่างไรก็ตามในส่วนของการเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ ยังเจรจากันได้ แต่ในเรื่องการตั้งบริษัทลูกเดินรถสินค้า และโดยสารและบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินนั้น ไม่สามารถยอมรับได้แน่นอน
“ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.พูดมาตลอด 1-2 สัปดาห์นี้ว่า การบริหารจัดการรถไฟล้มเหลว และโทษพนักงาน แต่ไม่เคยมองตัวเองว่าเป็นผู้บริหารร.ฟ.ท.และความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการบริหารของตัวเอง ไม่ใช่เกิดปัญหาการโยนความผิดให้พนักงาน วันนี้บอกว่าการตั้งบริษัทดี แต่คนทำวันนี้พุดวันนี้ ไม่นานก็ไม่ได้อยู่รถไฟแล้ว แล้วเกิดต่อไป
การตั้งบริษัทลูกแก้ปัญหารถไฟไม่ได้ใครจะรับผิดชอบ ตัวอย่างก็มีให้เห็นโครงการโฮปเวลล์เหลือแต่ตอม่อ แต่ก็ไม่มีใครรับผิดชอบ”นายสาวิทย์กล่าว
ส่วนกรณีบริษัทบริหารทรัพย์สินนั้น นายสาวิทย์กล่าวว่า หากบริหารจัดการดีๆ ไม่มีการรั่วไหล รายได้จากที่ดินสามารถเอามาเลี้ยงรถไฟและวิ่งฟรีได้เลย โดยปัจจุบัน ที่ดินร.ฟ.ท.ทั่วประเทศกว่า 234,000 ไร่ เป็นทำเลทอง 36,000 ไร่ มีรายได้เพียง 1,000 ล้านบาท คิดเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี 28,000 บาท คิดต่อไร่ต่อเดือน 2,333 บาท คิดต่อตารางวาต่อเดือนเพียง 5.80 บาท หากปรับเป็น 100บาทต่อตารางวาต่อเดือนรายได้จะเพิ่มขึ้นเป็น 17,000 ล้านบาทต่อปี
***บอร์ดยันไม่มีอำนาจปลดผู้ว่าฯ
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานบอร์ดร.ฟ.ท.กล่าวว่า สหภาพฯ ยื่นข้อเสนอไม่เห็นด้วยกับการตั้ง บริษัทเดินรถและบริษัทบริหารทรัพย์สิน และให้ยกเลิกมติครม. วันที่ 28 ก.ค. 2551 ที่ให้รับพนักงานใหม่ แทนพนักงานทีเกษียณอายุในปีนั้นๆ ได้ไม่เกิน 5 % และให้ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.พิจารณาตัวเอง ซึ่งกรณีการพ้นตำแหน่งของผู้ว่าฯร.ฟ.ท.นั้น มี 3 กรณีคือ ประเมินไม่ผ่าน ตาย ลาออก ในส่วนของประธานหรือบอร์ดไม่มีอำนาจปลดผู้ว่า ฯ อย่างไรก็ตามได้ส่งเรื่องให้กับคณะอนุกรรมการที่มีนายสราวุธ เบญจกุล กรรมการบอร์ดในฐานะประธานไปพิจารณาว่าดำเนินการได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังให้ไปพิจารณาดูว่าการที่มีคนกลางจากครม.มาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยกรณีที่สหภาพฯหยุดเดินรถในช่วงวันที่ 22-23 มิ.ย. 52 นั้นไม่มีความผิด ทางประธานบอร์ด, บอร์ดและผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.จะผิดมาตรา 157 หรือไม่
สำหรับการเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์นั้น บอร์ดขอเวลา 7 วันในการหารือกับฝ่ายบริหารก่อน อย่างไรได้บอกกับสหภาพฯให้มีเหตุผลและเปิดใจให้กว้างเพราะเรื่องแผนปรับโครงสร้างนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคมอย่างเดียวแต่มีหน่วยงานภายนอกให้ความเห็นชอบด้วยทั้ง สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.)สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
***ส่งหน่วยงานนอก-ครม.หาข้อยุติ
นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า หากสุดท้ายการเจรจากับสหภาพฯ เรื่องตั้ง 2 บริษัทไม่ได้ข้อยุติก็จำเป็นต้องส่งไปให้หน่วยงานนอก และ ครม.หาข้อยุติให้ ทั้งนี้ยืนยันว่าแผนปรับโครงสร้างร.ฟ.ท.ไม่ใช่การแปรรูป และการตั้ง 2 บริษัทลูก จะมีการแยกบัญชีเพื่อความคล่องตัวเพราะตั้งโดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ได้ทำให้ ร.ฟ.ท.เล็กลงหรือกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของพนักงาน
ส่วนการขอให้ ครม.ทบทวนมติการจำกัดการรับพนักงานใหม่นั้นนายถวัลย์รัฐกล่าวว่า เคยพยายามมาแล้วแต่ มติดังกล่าว ได้ให้ ร.ฟ.ท.จัดทำโครงสร้างอัตราพนักงานใหม่ ในแต่ละส่วนงาน เช่น งานโครงสร้างพื้นฐาน งานเดินรถ ช่างเครื่อง และทรัพย์สิน ว่าต้องการเท่าไร และนำเสนอครม. กำหนดเป็นกรอบการเพิ่มจำนวนพนักงานในขณะที่การเดินรถแอร์พอร์ตลิงค์เดิมมีความจำเป็นต้องรับพนักงานใหม่ แม้ว่าจะตั้งบริษัทใหม่หรือ ร.ฟ.ท.เดินเองเพราะคนของ ร.ฟ.ท.ที่มีอยู่ตอนนี้ไม่พออยู่แล้ว
ส่วนข้อเสนอให้แยกเป็นหน่วยธุรกิจเดินรถและบริหารทรัพย์สินแทนนั้น นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า จากประสบการณ์ที่หลายหน่วยงานทำ ไม่ประสบความสำเร็จเพราะสภาพ ร.ฟ.ท.ยังไม่เปลี่ยนไปจากเดิม แก้ปัญหาไม่ได้
***”โสภณ” เมิน สตง.ชี้ ”ยุทธนา” ผิด
นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคมกล่าวว่า กรณีที่สหภาพ ร.ฟ.ท. กังวลเรื่องการปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท. จะกลายเป็นการแปรรูปในอนาคตนั้นสามารถบัญญัติไว้ในมติคณะรัฐมนตรีได้ เพราะมติครม.ถือเป็นกฎหมายที่ต้องปฎิบัติตาม อย่างไรก็ตามในวันที่ 1 ก.ค.นี้ตนจะคุยกับสหภาพฯ ร.ฟ.ท.ในเรื่องการทำงานร่วมกันในอนาคตไม่เกี่ยวกับแผนการฟื้นฟูปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท.
ส่วนกรณีที่ สหภาพฯ ร.ฟ.ท.ระบุถึงกรณีที่นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สอบสวนเรื่องการทุจริตตลาดซันเดย์นั้นนายโสภณกล่าวว่า เรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องของกระบวนการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ซึ่งไม่อยากให้แตกประเด็น หรือนำมาโยงให้เกี่ยวข้องกัน เพราะสุดท้ายจะทำให้เกิดภาพพจน์ไม่ดีต่อร.ฟ.ท.เอง
***ทุจริตซันเดย์ผิดอาญาหล่นเก้าอี้ผู้ว่าฯ
ทั้งนี้ สตง.ได้สรุปผลสอบโครงการให้เช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารและให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อดำเนินการจัดหาประโยชน์ (ตลาดซันเดย์) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และชี้มูลความผิดที่เกิดขึ้นโดยได้แจ้งผลไปยังหัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับความเสียหาย คือร.ฟ.ท. ทั้ง ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.และประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. เพื่อให้ดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางแพ่ง เพื่อเรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่ทำให้ร.ฟ.ท.เสียหาย ส่วนทางวินัยจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและลงโทษ และทางอาญา และแจ้งให้สตง.ทราบใน 90 วัน หลังจากได้รับหนังสือจากสตง.
โดยกรณีการทำสัญญาตลาดซันเดย์ของร.ฟ.ท.ไม่ถูกต้องและผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดคือนายยุทธนา ทัพเจริญ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. แต่ปัจจุบันเป็นผู้ว่าฯร.ฟ.ท. แล้วนั้น การดำเนินคดีทางอาญา บอร์ดร.ฟ.ท.จึงต้องดำเนินการแจ้งความแทน เพราะผู้บริหารสูงสุดมีส่วนได้ส่วนเสียกับคดี
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของนายยุทธนา ซึ่งถูกชี้มูลความผิด และเป็นผู้ว่าฯร.ฟ.ท.อยู่นั้น นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ความเห็นว่า นายยุทธนาขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้บริหารสูงสุดร.ฟ.ท.เพราะเป็นบุคคลที่ทำให้ร.ฟ.ท.เสียหาย และหากมีการชี้มูลความผิดก่อนที่จะมีการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯก็เท่ากับไม่สามารถสมัครเป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ได้ แต่การจะหยุดปฎิบัติหน้าที่ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.หรือไม่ ขึ้นกับการพิจารณาในหลักธรรมาภิบาล แต่ในแง่กฎหมายก็สามารถโต้แย้งได้
นายพิศิษฐ์กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะต้องไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในฐานะผู้เสียหายยืนยันความเสียหาย เพื่อดำเนินคดี ทางอาญากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกรณีเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ทุจริต พ.ศ. 2546 กรณีสตง.ตรวจพบความผิด และกรณีที่ สตง.ได้ส่งผลการสอบดังกล่าวไปให้ทางตำรวจถือว่าเป็นการส่งผลในฐานะที่สตง.เป็นผู้กล่าวโทษแต่ร.ฟ.ท.ต้องแจ้งความในฐานะผู้เสียหาย จะอ้างว่า สตง.ส่งเรื่องให้ตำรวจแล้วไม่ได้
ทั้งนี้ สตง.ได้ชี้มูลความผิดนายจิตต์สันติ ธนะโสภณ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในขณะนั้นและคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดประโยชน์พื้นที่ตลาดซันเดย์ มีนายยุทธนา ทัพเจริญ รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในขณะนั้นเป็นประธาน กรณีที่ร.ฟ.ท.นำพื้นที่บริเวณตลาดซันเดย์ให้บริษัท ธนสารสมบัติ จำกัด เช่าเพื่อก่อสร้างอาคารและดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ โดยมิได้ดำเนินการประมูลตามระเบียบรถไฟและมีการเสนอบอร์ดร.ฟ.ท.ในขณะนั้นให้อนุมัติสิทธิ์ในการเช่าที่ดินโดยมิได้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัทธนสารสมบัติ และมีการรายงานข้อมูลเท็จต่อบอร์ดร.ฟ.ท. และพบว่าร.ฟ.ท.เสียหายจากที่ไม่ดำเนินการบังคับค่าปรับและหนี้ค้างชำระจากบริษัท โดยให้ดำเนินดดี กับ นายจิตต์สันติและคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดประโยชน์ในบริเวณตลาดซันเดย์ ที่มีนายยุทธนา ทัพเจริญเป็นประธาน ทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา.
วานนี้ (29 มิ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.ร.ฟ.ท.) ได้หารือร่วมกับคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.ที่มีนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานตามข้อตกลงของคณะทำงานชุดที่มีนายสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้บอร์ดร.ฟ.ท.เจรจาเรื่องแผนปรับโครงสร้างเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินของร.ฟ.ท. โดยกลุ่มสหภาพฯร.ฟ.ท.ประมาณ 100 คนได้รวมตัวกันหน้าตึกบัญชาการรถไฟ สำนักงานใหญ่ เวลาประมาณ 13.30 น. และกล่าวปราศรัย คัดค้านการจัดตั้ง 2 บริษัทลูกในแผนฟื้นฟู คือบริษัทเดินรถ และบริษัทบริหารทรัพย์สิน โดยระบุว่าเป็นการแปรรูป พร้อมกันนี้ได้ขับไล่นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการร.ฟ.ท.ออกจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ เนื่องจากถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)สอบสวนและชี้ว่ามีความผิดกรณีทุจริตต่อสัญญาตลาดซันเดย์
ทั้งนี้ ได้มีกลุ่มชาวบ้านจำนวนหนึ่ง มาชุมนุมที่สำนักงานใหญ่ ร.ฟ.ท. เช่นกันเพื่อให้กำลังใจและสนับสนุนนายยุทธนา ซึ่งตลอดเวลาที่มีการชุมนุมของทั้งกลุ่มสหภาพฯ และฝ่ายสนับสนุนผู้ว่าฯร.ฟ.ท.เกือบจะมีการประทะกัน ส่วนในการประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.นั้นมีกรรมการบอร์ดมาเพียง 4 คนเท่านั้นประกอบด้วยนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะปรานบอร์ด,และกรรมการอีก 3 คน ประกอบด้วย นายสราวุธ เบญจกุล,นายสมชาย ชาญณรงค์กุลและพล.ต.ท.บริหาร เสี่ยงอารมณ์ โดยบอร์ดได้หารือกับสหภาพฯร.ฟ.ท.กว่า 3 ชั่วโมง
โดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ ร.ฟ.ท.เปิดเผยภายหลังเข้าหารือกับบอร์ด ร.ฟ.ท. ว่า ได้ยื่นหนังสือต่อบอร์ด ร.ฟ.ท.ให้พิจารณาการทำงานของนายยุทธนา เพราะถือว่านายยุทธนาหมดสภาพการเป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.เพราะถูกสตง.ชี้มูลความผิดทุจริต ต่อสัญญาตลาดซันเดย์ ทำให้ ร.ฟ.ท.เสียหาย และมีพฤติกรรมสร้างความแตกแยกในองค์กร โดยกรณีทุจริตตลาดซันเดย์นั้นนายยุทธนาเป็นผู้ถูกชี้มูลว่ามีความผิดการอยู่ในตำแหน่งในระหว่างการดำเนินการทางคดีจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินการกับผู้ทำผิดตามที่ สตง.ชี้มูล
นายสาวิทย์กล่าวว่า สหภาพฯ มีจุดยืนชัดเจนและได้แจ้งกับบอรด ร.ฟ.ท.ยืนยันคัดค้านการจัดตั้ง 2 บริษัทลูก เนื่องจากตามแผนหลังครม.เห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2552 ภายใน 30 วัน ร.ฟ.ท.จะต้องจัดตั้งบริษัทลูกให้เสร็จ และภายใน 150 วัน จะต้องแยกภารกิจ ทรัพย์สินและหนี้สินระหว่าง ร.ฟ.ท.ออกจากกันและให้ กนร.พิจารณาและภายใน 180 วัน จะต้องดำเนินการถ่ายโอนภารกิจ ทรัพย์สินและหนี้สินไปให้บริษัทลูก
สำหรับการโอนทรัพย์สินขอยกเว้นภาษีทุกชนิด และบริษัทเดินรถได้รับข้อยกเว้นปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และมติครม.ที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามมติครม. วันที่ 4 ธ.ค. 2550 เรื่องหลักเกณฑ์การจัดตั้งและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดค่าโดยสารใหม่ ตั้งแต่ปี 2553 ก่อน 10% และปรับเพิ่มได้อีกทุกๆ 3 ปี ในขณะที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มีหน้าที่บริการเชิงสังคม (PSO) รัฐต้องให้การอุดหนุน ทำให้รายได้ไม่สอดคล้องกับต้นทุนทำให้ขาดทุน เพราะปรับขึ้นค่าโดยสารไม่ได้ แต่ทำไมบริษัทเดินรถที่ตั้งใหม่กลับให้ปรับค่าโดยสารได้
***คนรถไฟเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์เองได้
นายสาวิทย์กล่าวว่า การทำงานกว่า 112 ปี ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าพนักงานร.ฟ.ท.ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานและพร้อมที่จะเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ และร.ฟ.ท.รู้มานานแล้วว่าจะมีโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์แต่ที่ผ่านมา ไม่ยอมเตรียมความพร้อมพนักงาน เพราะตั้งใจจะจ้างเอกชนเข้ามา อย่างไรก็ตามในส่วนของการเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ ยังเจรจากันได้ แต่ในเรื่องการตั้งบริษัทลูกเดินรถสินค้า และโดยสารและบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินนั้น ไม่สามารถยอมรับได้แน่นอน
“ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.พูดมาตลอด 1-2 สัปดาห์นี้ว่า การบริหารจัดการรถไฟล้มเหลว และโทษพนักงาน แต่ไม่เคยมองตัวเองว่าเป็นผู้บริหารร.ฟ.ท.และความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการบริหารของตัวเอง ไม่ใช่เกิดปัญหาการโยนความผิดให้พนักงาน วันนี้บอกว่าการตั้งบริษัทดี แต่คนทำวันนี้พุดวันนี้ ไม่นานก็ไม่ได้อยู่รถไฟแล้ว แล้วเกิดต่อไป
การตั้งบริษัทลูกแก้ปัญหารถไฟไม่ได้ใครจะรับผิดชอบ ตัวอย่างก็มีให้เห็นโครงการโฮปเวลล์เหลือแต่ตอม่อ แต่ก็ไม่มีใครรับผิดชอบ”นายสาวิทย์กล่าว
ส่วนกรณีบริษัทบริหารทรัพย์สินนั้น นายสาวิทย์กล่าวว่า หากบริหารจัดการดีๆ ไม่มีการรั่วไหล รายได้จากที่ดินสามารถเอามาเลี้ยงรถไฟและวิ่งฟรีได้เลย โดยปัจจุบัน ที่ดินร.ฟ.ท.ทั่วประเทศกว่า 234,000 ไร่ เป็นทำเลทอง 36,000 ไร่ มีรายได้เพียง 1,000 ล้านบาท คิดเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี 28,000 บาท คิดต่อไร่ต่อเดือน 2,333 บาท คิดต่อตารางวาต่อเดือนเพียง 5.80 บาท หากปรับเป็น 100บาทต่อตารางวาต่อเดือนรายได้จะเพิ่มขึ้นเป็น 17,000 ล้านบาทต่อปี
***บอร์ดยันไม่มีอำนาจปลดผู้ว่าฯ
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานบอร์ดร.ฟ.ท.กล่าวว่า สหภาพฯ ยื่นข้อเสนอไม่เห็นด้วยกับการตั้ง บริษัทเดินรถและบริษัทบริหารทรัพย์สิน และให้ยกเลิกมติครม. วันที่ 28 ก.ค. 2551 ที่ให้รับพนักงานใหม่ แทนพนักงานทีเกษียณอายุในปีนั้นๆ ได้ไม่เกิน 5 % และให้ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.พิจารณาตัวเอง ซึ่งกรณีการพ้นตำแหน่งของผู้ว่าฯร.ฟ.ท.นั้น มี 3 กรณีคือ ประเมินไม่ผ่าน ตาย ลาออก ในส่วนของประธานหรือบอร์ดไม่มีอำนาจปลดผู้ว่า ฯ อย่างไรก็ตามได้ส่งเรื่องให้กับคณะอนุกรรมการที่มีนายสราวุธ เบญจกุล กรรมการบอร์ดในฐานะประธานไปพิจารณาว่าดำเนินการได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังให้ไปพิจารณาดูว่าการที่มีคนกลางจากครม.มาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยกรณีที่สหภาพฯหยุดเดินรถในช่วงวันที่ 22-23 มิ.ย. 52 นั้นไม่มีความผิด ทางประธานบอร์ด, บอร์ดและผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.จะผิดมาตรา 157 หรือไม่
สำหรับการเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์นั้น บอร์ดขอเวลา 7 วันในการหารือกับฝ่ายบริหารก่อน อย่างไรได้บอกกับสหภาพฯให้มีเหตุผลและเปิดใจให้กว้างเพราะเรื่องแผนปรับโครงสร้างนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคมอย่างเดียวแต่มีหน่วยงานภายนอกให้ความเห็นชอบด้วยทั้ง สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.)สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
***ส่งหน่วยงานนอก-ครม.หาข้อยุติ
นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า หากสุดท้ายการเจรจากับสหภาพฯ เรื่องตั้ง 2 บริษัทไม่ได้ข้อยุติก็จำเป็นต้องส่งไปให้หน่วยงานนอก และ ครม.หาข้อยุติให้ ทั้งนี้ยืนยันว่าแผนปรับโครงสร้างร.ฟ.ท.ไม่ใช่การแปรรูป และการตั้ง 2 บริษัทลูก จะมีการแยกบัญชีเพื่อความคล่องตัวเพราะตั้งโดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ได้ทำให้ ร.ฟ.ท.เล็กลงหรือกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของพนักงาน
ส่วนการขอให้ ครม.ทบทวนมติการจำกัดการรับพนักงานใหม่นั้นนายถวัลย์รัฐกล่าวว่า เคยพยายามมาแล้วแต่ มติดังกล่าว ได้ให้ ร.ฟ.ท.จัดทำโครงสร้างอัตราพนักงานใหม่ ในแต่ละส่วนงาน เช่น งานโครงสร้างพื้นฐาน งานเดินรถ ช่างเครื่อง และทรัพย์สิน ว่าต้องการเท่าไร และนำเสนอครม. กำหนดเป็นกรอบการเพิ่มจำนวนพนักงานในขณะที่การเดินรถแอร์พอร์ตลิงค์เดิมมีความจำเป็นต้องรับพนักงานใหม่ แม้ว่าจะตั้งบริษัทใหม่หรือ ร.ฟ.ท.เดินเองเพราะคนของ ร.ฟ.ท.ที่มีอยู่ตอนนี้ไม่พออยู่แล้ว
ส่วนข้อเสนอให้แยกเป็นหน่วยธุรกิจเดินรถและบริหารทรัพย์สินแทนนั้น นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า จากประสบการณ์ที่หลายหน่วยงานทำ ไม่ประสบความสำเร็จเพราะสภาพ ร.ฟ.ท.ยังไม่เปลี่ยนไปจากเดิม แก้ปัญหาไม่ได้
***”โสภณ” เมิน สตง.ชี้ ”ยุทธนา” ผิด
นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคมกล่าวว่า กรณีที่สหภาพ ร.ฟ.ท. กังวลเรื่องการปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท. จะกลายเป็นการแปรรูปในอนาคตนั้นสามารถบัญญัติไว้ในมติคณะรัฐมนตรีได้ เพราะมติครม.ถือเป็นกฎหมายที่ต้องปฎิบัติตาม อย่างไรก็ตามในวันที่ 1 ก.ค.นี้ตนจะคุยกับสหภาพฯ ร.ฟ.ท.ในเรื่องการทำงานร่วมกันในอนาคตไม่เกี่ยวกับแผนการฟื้นฟูปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท.
ส่วนกรณีที่ สหภาพฯ ร.ฟ.ท.ระบุถึงกรณีที่นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สอบสวนเรื่องการทุจริตตลาดซันเดย์นั้นนายโสภณกล่าวว่า เรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องของกระบวนการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ซึ่งไม่อยากให้แตกประเด็น หรือนำมาโยงให้เกี่ยวข้องกัน เพราะสุดท้ายจะทำให้เกิดภาพพจน์ไม่ดีต่อร.ฟ.ท.เอง
***ทุจริตซันเดย์ผิดอาญาหล่นเก้าอี้ผู้ว่าฯ
ทั้งนี้ สตง.ได้สรุปผลสอบโครงการให้เช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารและให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อดำเนินการจัดหาประโยชน์ (ตลาดซันเดย์) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และชี้มูลความผิดที่เกิดขึ้นโดยได้แจ้งผลไปยังหัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับความเสียหาย คือร.ฟ.ท. ทั้ง ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.และประธานคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. เพื่อให้ดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางแพ่ง เพื่อเรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่ทำให้ร.ฟ.ท.เสียหาย ส่วนทางวินัยจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและลงโทษ และทางอาญา และแจ้งให้สตง.ทราบใน 90 วัน หลังจากได้รับหนังสือจากสตง.
โดยกรณีการทำสัญญาตลาดซันเดย์ของร.ฟ.ท.ไม่ถูกต้องและผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดคือนายยุทธนา ทัพเจริญ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. แต่ปัจจุบันเป็นผู้ว่าฯร.ฟ.ท. แล้วนั้น การดำเนินคดีทางอาญา บอร์ดร.ฟ.ท.จึงต้องดำเนินการแจ้งความแทน เพราะผู้บริหารสูงสุดมีส่วนได้ส่วนเสียกับคดี
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของนายยุทธนา ซึ่งถูกชี้มูลความผิด และเป็นผู้ว่าฯร.ฟ.ท.อยู่นั้น นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ความเห็นว่า นายยุทธนาขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้บริหารสูงสุดร.ฟ.ท.เพราะเป็นบุคคลที่ทำให้ร.ฟ.ท.เสียหาย และหากมีการชี้มูลความผิดก่อนที่จะมีการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯก็เท่ากับไม่สามารถสมัครเป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ได้ แต่การจะหยุดปฎิบัติหน้าที่ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.หรือไม่ ขึ้นกับการพิจารณาในหลักธรรมาภิบาล แต่ในแง่กฎหมายก็สามารถโต้แย้งได้
นายพิศิษฐ์กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะต้องไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในฐานะผู้เสียหายยืนยันความเสียหาย เพื่อดำเนินคดี ทางอาญากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกรณีเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ทุจริต พ.ศ. 2546 กรณีสตง.ตรวจพบความผิด และกรณีที่ สตง.ได้ส่งผลการสอบดังกล่าวไปให้ทางตำรวจถือว่าเป็นการส่งผลในฐานะที่สตง.เป็นผู้กล่าวโทษแต่ร.ฟ.ท.ต้องแจ้งความในฐานะผู้เสียหาย จะอ้างว่า สตง.ส่งเรื่องให้ตำรวจแล้วไม่ได้
ทั้งนี้ สตง.ได้ชี้มูลความผิดนายจิตต์สันติ ธนะโสภณ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในขณะนั้นและคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดประโยชน์พื้นที่ตลาดซันเดย์ มีนายยุทธนา ทัพเจริญ รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในขณะนั้นเป็นประธาน กรณีที่ร.ฟ.ท.นำพื้นที่บริเวณตลาดซันเดย์ให้บริษัท ธนสารสมบัติ จำกัด เช่าเพื่อก่อสร้างอาคารและดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ โดยมิได้ดำเนินการประมูลตามระเบียบรถไฟและมีการเสนอบอร์ดร.ฟ.ท.ในขณะนั้นให้อนุมัติสิทธิ์ในการเช่าที่ดินโดยมิได้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัทธนสารสมบัติ และมีการรายงานข้อมูลเท็จต่อบอร์ดร.ฟ.ท. และพบว่าร.ฟ.ท.เสียหายจากที่ไม่ดำเนินการบังคับค่าปรับและหนี้ค้างชำระจากบริษัท โดยให้ดำเนินดดี กับ นายจิตต์สันติและคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดประโยชน์ในบริเวณตลาดซันเดย์ ที่มีนายยุทธนา ทัพเจริญเป็นประธาน ทั้งทางแพ่ง ทางวินัยและทางอาญา.