ผลการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2552 ปรากฏว่านางอนุรักษ์ บุญศล ผู้สมัครพรรคเพื่อไทย ได้ 83,312 คะแนน ขณะที่นางพิทักษ์ จันทรศรี ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทยได้ 47,198 คะแนน
เป็นการพ่ายแพ้อย่างขาดลอย!
การพ่ายแพ้ในจังหวัดสกลนครฝ่ายรัฐบาลอาจจะพยายามกลบเกลื่อนว่าเป็นพื้นที่ฐานเสียงเดิมของพรรคไทยรักไทยก็มีส่วนอยู่จริง เพราะถ้าทบทวนความจำในการปราศรัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในตอนที่ยังเรืองอำนาจอยู่เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548 ความตอนหนึ่งว่า:
“อ๋อ สกลนครหรือ ต้องดูแลกันหน่อย สกลนคร ไทยรักไทยยกจังหวัดนี่ จังหวัดไหนไทยรักไทย...ต้องดูแลเป็นพิเศษ”
การโฟนอินและการต่อสายตรงไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและหัวคะแนนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีผลโดยตรงต่อการได้รับชัยชนะครั้งนี้ แต่ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะ “เกินคาด” เพราะความอหังการของนักการเมืองบางกลุ่มที่คิดจะโกงเลือกตั้งกันอย่างเอิกเกริกและไร้ยางอาย จนประชาชนที่อยู่กลางๆ และทนไม่ได้ยังต้องลงคะแนนสั่งสอนนักการเมืองครั้งนี้จนเป็นผลดังที่ปรากฏ
บทเรียนครั้งนี้คงต้องทำให้รัฐบาลทำงานหนักขึ้น และแสดงให้เห็นว่าการดำเนินนโยบายเรื่องสื่อของรัฐภายใต้ การบริหารของ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีล้มเหลวในการทำความจริงให้ปรากฏกับประชาชนได้อย่างเพียงพอ จึงยังทำให้สังคมไทยพิกลพิการปล่อยให้นักโทษหนีอาญาแผ่นดินที่ถูกเพิกถอนสิทธิในการเลือกตั้งยังคงเป็นผู้บัญชาการในการหาเสียงต่อไปได้
บทเรียนครั้งนี้ยังต้องทำให้รัฐบาลได้ทบทวนดูว่า ความคิดที่จะให้อภิมหาโครงการทั้งหลายกับพรรคร่วมรัฐบาลไปทำมาหากินทุจริตคอร์รัปชัน เพียงหวังแค่ว่าจะเป็นการระดมสรรพทรัพย์สินเงินทองเพื่อให้พรรคร่วมรัฐบาลเป็นทัพหน้าในการบุกไปยึดคะแนนที่ภาคอีสานแทนพรรคประชาธิปัตย์นั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่!? และเป็นที่แน่นอนว่าพรรคภูมิใจไทยย่อมมีอำนาจต่อรองในรัฐบาลลดลง
แม้ว่าจะเป็นความจริงที่ว่าก่อนหน้านี้การเลือกตั้งซ่อมในหลายพื้นที่ ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลได้ชัยชนะในหลายเขต จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีแพ้บ้างและชนะบ้างกันในพื้นที่ต่างๆ
แต่ทว่าสัญญาณครั้งนี้ช่างบังเอิญสอดคล้องกับผลสำรวจของคนกรุงเทพมหานครที่เริ่มเห็นความนิยมต่อผลงานรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ลดลงเป็นครั้งแรก” นับตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศ
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,337 คนระหว่างวันที่ 16-18 มิ.ย. ที่ผ่านมา สรุปผลว่า
คะแนนความพึงพอใจผลงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยภาพรวม ได้คะแนนเฉลี่ย 4.06 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 1 เดือน (ได้คะแนน 5.42 คะแนน) พบว่า คะแนนลดลง 1.36 คะแนน หรือลดลงร้อยละ 13.6
สำหรับเรื่องที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เรื่องแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และราคาสินค้าเกษตร ร้อยละ 37.3, เรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน สร้างความชัดเจนและโปร่งใสในการทำงาน ร้อยละ 10.5, เรื่องการทำงานล่าช้า ไม่เด็ดขาด ไม่มีผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ร้อยละ 9.6
และสำหรับกระทรวงที่ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด (3 อันดับแรก) ได้แก่ อันดับ 1 กระทรวงคมนาคม ร้อยละ 34.6 อันดับ 2 กระทรวงการคลัง ร้อยละ 24.2 อันดับ 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 7.7
ตามมาด้วยเหตุการณ์วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2552 ที่วุฒิสภาเสียงส่วนใหญ่คว่ำร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552 ที่จะขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยที่ประชุมวุฒิสภาจึงมีมติไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าวด้วยคะแนน 58 ต่อ 33 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง เนื่องจากเห็นว่าไม่ควรทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปมากกว่านี้ และบริษัทน้ำมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปตท. ได้กำไรเกินควรไปอย่างมหาศาล
เป็นการคว่ำพระราชกำหนดของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เป็นครั้งแรกโดยวุฒิสภา!
นั่นเป็นผลทำให้คนในรัฐบาลต้องลงมือล็อบบี้สมาชิกวุฒิสภาตลอดทั้งวันจนถึงกลางคืน เพื่อให้ผ่านความเห็นชอบพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาท แม้แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรียังต้องกลับประเทศไทยก่อนกำหนดเวลาเพื่อปิดท้ายชี้แจงและขอให้ผ่านพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาทครั้งนี้
นายกรัฐมนตรีอธิบายว่าจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพราะไม่มีทางเลือก จะช่วยดูแลมิให้มีการคอร์รัปชัน จะใช้จ่ายอย่างรวดเร็ว จะใช้วิธีการให้รัดกุมโดยอ้างอิงวิธีและรูปแบบงบประมาณรายจ่ายปกติ จะใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและอาจไม่กู้เงินตามที่ขอเอาไว้ทั้งหมด
เวลาประมาณ 23.30 น. ที่ประชุมวุฒิสภาจึงลงมติเห็นชอบ พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาทด้วยคะแนนเสียง 69:48 มีสมาชิกงดออกเสียง 11 คน แม้ว่าเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภาจะยอมผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาทเพราะเชื่อและเห็นแก่หน้านายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่านับจากนี้การจะให้กฎหมายผ่านวุฒิสภานั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดอีกต่อไป
รัฐบาลก็ควรจะเก็บประเด็นข้อสงสัยและห่วงใยทั้งหลายไปปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการอภิปรายของ ส.ว. คำนูณ สิทธิสมาน ที่ได้ตั้งประเด็นที่ยังไม่มีคนในรัฐบาลคนไหนให้คำตอบได้เลยจนถึงเวลานี้
รัฐบาลอ้างว่าจะต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงต้องมีงบลงทุนที่รัฐบาลได้เตรียมเอาไว้ใช้จ่ายในช่วงเวลา 3 ปีนี้ถึงประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 5 แสนล้านบาทนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการกู้มโหฬารครั้งนี้
แต่ทว่า ตามเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ซึ่งมียอดเงินงบลงทุนรวมอยู่แล้วประมาณ 2.14 แสนล้านบาท พอถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2552 รัฐบาลกลับใช้จ่ายไปเพียงแค่ 6.5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ทั้งๆ ที่อ้างมาตลอดว่าต้องเร่งรีบกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยงบลงทุน
คิดเป็นการเบิกจ่ายงบลงทุนไปเพียงร้อยละ 30.79% จากงบลงทุนทั้งหมด ทั้งๆ ที่ได้ผ่านปีงบประมาณไปแล้วถึงเกือบ 9 เดือน!
“งบลงทุน” ค้างท่อเกือบ 1.5 แสนล้านบาท! แสดงให้เห็นว่าแม้แต่งบลงทุนในงบประมาณแท้ๆ ยังบริหารจัดการใช้จ่ายไม่มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นไปตามแผนงาน และห่างไกลจากเป้าหมายมาก ย่อมถูกครหาเอาได้ว่า เงินเก่ายังใช้จ่ายไม่หมด ก็ยังขอกู้ใหม่มาลงทุนอีกแล้ว
สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือต้องติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนในงบประมาณที่ค้างอยู่ 1.5 แสนล้านบาท เพื่อทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าได้เพิกเฉยทำงานอย่างอื่นจนปล่อยปละละเลยทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้อีก ในทางตรงกันข้ามก็ต้องตั้งกฎเกณฑ์อย่าปล่อยให้งบนอกประมาณเบิกจ่ายกันอย่างไร้กฎเกณฑ์รั่วไหลจนไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน
จะให้ดีควรไปเร่งตรวจสอบพิรุธกรณีการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นผิดปกติ สวนทางกับการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและการส่งออกที่ลดลงอย่างมาก
ยังไม่นับมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลควรจะต้องเร่งทำเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนด้วยการมิให้ ปตท. เอากำไรเกิดควรจากประชาชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการที่ต้องควบคู่กับมาตรการทางการคลัง ที่ควรจะต้องให้ธนาคารของรัฐเป็นตัวนำในการกระตุ้นสินเชื่อให้กับภาคเอกชนและประชาชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตลอดจนเร่งปรับโครงสร้างหนี้ที่ได้สำรองหนี้สูญมิให้จบลงโดยเร็วแทนการฟ้องล้มละลาย และเป็นผู้นำการลดส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง
และยังมีมาตรการอีกมากที่ยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องอาศัยมาตรการทางการคลังอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรัฐบาลใช้ความกล้าหาญในการลดการรั่วไหลของงบประมาณและการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการต่างๆ ก็จะมีงบประมาณที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น
หรือแม้กระทั่งรายได้จากรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ยังจะสามารถหาได้มากกว่านี้จากเอกชนที่มีความมั่งคั่งและมีสายสัมพันธ์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย การเช่าที่ดินการท่าเรือฯ หรือความพยายามต่อสัญญาสัมปทานช่อง 3 กับ อสมท.ในราคาที่ถูก ล้วนแล้วแต่เป็นรายได้ของรัฐที่ต่ำกว่าราคาตลาดและความเป็นจริงมาก
แต่แทนที่จะดำเนินการดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลกลับปล่อยแผนปฏิบัติการในเรื่องรัฐวิสาหกิจให้เป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยต่อประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
13 มิถุนายน 2552 คณะรัฐมนตรีได้ยอมให้ผ่านความเห็นชอบ “แผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงโครงการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย” เป็นเหตุทำให้เกิดการประท้วงหยุดการเดินรถโดยสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทยมาตั้งแต่วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2552
นี่คือสัญญาณเตือนด้วยการประท้วงหยุดงานครั้งแรก จากสหภาพแรงงานที่เข้าร่วมการต่อสู้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด
แผนปฏิบัติการที่ถูกต่อต้านนั้นเพราะจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งบริษัทลูกขึ้นมา 2 บริษัท ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัทเดินรถ และบริษัทบริหารทรัพย์สิน ซึ่งจะมีการโอนทรัพย์สินและพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยไปอยู่ในบริษัทลูกเหล่านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนดังกล่าวระบุว่าบริษัทบริหารทรัพย์สินจะมีการ “เพิ่มบทบาทของเอกชนในการบริหารจัดการทรัพย์สิน (การพัฒนาที่ดินและการบริหารจัดการสถานี) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
ข้อความดังกล่าวข้างต้นสามารถแปลความได้ด้วยว่า อาจจะมีการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนให้เข้ามา “ฮุบบริหารจัดการทรัพย์สิน” โดยเฉพาะที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น มีอยู่ทั้งสิ้น 234,976 ไร่ เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 36,302 ไร่ โดยเป็นที่ดินย่านพหลโยธิน 1,070 ไร่ และเป็นพื้นที่บริเวณมักกะสัน 745 ไร่
ที่ดินเชิงพาณิชย์ยังรวมถึง... “ที่ดินบริเวณเขากระโดง” ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เคยปรากฏเป็นข่าวว่ามีนักการเมืองถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกและครอบครองอยู่ในขณะนี้
ช่างบังเอิญอีกแล้วที่แผนปฏิบัติการดังกล่าวอยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคมของพรรคภูมิใจไทย!
ช่างบังเอิญอีกเช่นกัน เหตุเกิดที่ “กระทรวงคมนาคม” ซึ่งผลสำรวจของประชาชนในกรุงเทพมหานครให้ความเห็นว่ามีความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 1
จะให้ดี อยากได้ยินเสียงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใช้ความกล้าหาญหยุดยั้งเรื่องนี้แล้วเปลี่ยนเป็นการ “เพิ่มบทบาทภาคประชาชน” แทนการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน เพื่อทำให้รายได้จากที่ดินของการรถไฟเชิงพาณิชย์ 36,302 ไร่ ที่ให้ผลตอบแทนเพียงปีละ 1,000 ล้านบาท มาให้ผลตอบแทนให้เหมาะสมกับราคาในปัจจุบัน รวมนับหลายแสนล้านบาท ก็จะสามารถมีงบประมาณฟื้นฟูกิจการรถไฟให้รุ่งเรืองได้อย่างแน่นอน
สัญญาณเตือนรัฐบาลอภิสิทธิ์หลายระลอกในไม่กี่วันที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนอยากเห็นการยกระดับความกล้าหาญของรัฐบาลในการกระทำมากกว่าการพูด
เป็นการพ่ายแพ้อย่างขาดลอย!
การพ่ายแพ้ในจังหวัดสกลนครฝ่ายรัฐบาลอาจจะพยายามกลบเกลื่อนว่าเป็นพื้นที่ฐานเสียงเดิมของพรรคไทยรักไทยก็มีส่วนอยู่จริง เพราะถ้าทบทวนความจำในการปราศรัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในตอนที่ยังเรืองอำนาจอยู่เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548 ความตอนหนึ่งว่า:
“อ๋อ สกลนครหรือ ต้องดูแลกันหน่อย สกลนคร ไทยรักไทยยกจังหวัดนี่ จังหวัดไหนไทยรักไทย...ต้องดูแลเป็นพิเศษ”
การโฟนอินและการต่อสายตรงไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและหัวคะแนนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีผลโดยตรงต่อการได้รับชัยชนะครั้งนี้ แต่ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะ “เกินคาด” เพราะความอหังการของนักการเมืองบางกลุ่มที่คิดจะโกงเลือกตั้งกันอย่างเอิกเกริกและไร้ยางอาย จนประชาชนที่อยู่กลางๆ และทนไม่ได้ยังต้องลงคะแนนสั่งสอนนักการเมืองครั้งนี้จนเป็นผลดังที่ปรากฏ
บทเรียนครั้งนี้คงต้องทำให้รัฐบาลทำงานหนักขึ้น และแสดงให้เห็นว่าการดำเนินนโยบายเรื่องสื่อของรัฐภายใต้ การบริหารของ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีล้มเหลวในการทำความจริงให้ปรากฏกับประชาชนได้อย่างเพียงพอ จึงยังทำให้สังคมไทยพิกลพิการปล่อยให้นักโทษหนีอาญาแผ่นดินที่ถูกเพิกถอนสิทธิในการเลือกตั้งยังคงเป็นผู้บัญชาการในการหาเสียงต่อไปได้
บทเรียนครั้งนี้ยังต้องทำให้รัฐบาลได้ทบทวนดูว่า ความคิดที่จะให้อภิมหาโครงการทั้งหลายกับพรรคร่วมรัฐบาลไปทำมาหากินทุจริตคอร์รัปชัน เพียงหวังแค่ว่าจะเป็นการระดมสรรพทรัพย์สินเงินทองเพื่อให้พรรคร่วมรัฐบาลเป็นทัพหน้าในการบุกไปยึดคะแนนที่ภาคอีสานแทนพรรคประชาธิปัตย์นั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่!? และเป็นที่แน่นอนว่าพรรคภูมิใจไทยย่อมมีอำนาจต่อรองในรัฐบาลลดลง
แม้ว่าจะเป็นความจริงที่ว่าก่อนหน้านี้การเลือกตั้งซ่อมในหลายพื้นที่ ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลได้ชัยชนะในหลายเขต จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีแพ้บ้างและชนะบ้างกันในพื้นที่ต่างๆ
แต่ทว่าสัญญาณครั้งนี้ช่างบังเอิญสอดคล้องกับผลสำรวจของคนกรุงเทพมหานครที่เริ่มเห็นความนิยมต่อผลงานรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ลดลงเป็นครั้งแรก” นับตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศ
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,337 คนระหว่างวันที่ 16-18 มิ.ย. ที่ผ่านมา สรุปผลว่า
คะแนนความพึงพอใจผลงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยภาพรวม ได้คะแนนเฉลี่ย 4.06 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 1 เดือน (ได้คะแนน 5.42 คะแนน) พบว่า คะแนนลดลง 1.36 คะแนน หรือลดลงร้อยละ 13.6
สำหรับเรื่องที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เรื่องแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และราคาสินค้าเกษตร ร้อยละ 37.3, เรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน สร้างความชัดเจนและโปร่งใสในการทำงาน ร้อยละ 10.5, เรื่องการทำงานล่าช้า ไม่เด็ดขาด ไม่มีผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ร้อยละ 9.6
และสำหรับกระทรวงที่ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด (3 อันดับแรก) ได้แก่ อันดับ 1 กระทรวงคมนาคม ร้อยละ 34.6 อันดับ 2 กระทรวงการคลัง ร้อยละ 24.2 อันดับ 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 7.7
ตามมาด้วยเหตุการณ์วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2552 ที่วุฒิสภาเสียงส่วนใหญ่คว่ำร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552 ที่จะขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน โดยที่ประชุมวุฒิสภาจึงมีมติไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าวด้วยคะแนน 58 ต่อ 33 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง เนื่องจากเห็นว่าไม่ควรทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปมากกว่านี้ และบริษัทน้ำมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปตท. ได้กำไรเกินควรไปอย่างมหาศาล
เป็นการคว่ำพระราชกำหนดของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เป็นครั้งแรกโดยวุฒิสภา!
นั่นเป็นผลทำให้คนในรัฐบาลต้องลงมือล็อบบี้สมาชิกวุฒิสภาตลอดทั้งวันจนถึงกลางคืน เพื่อให้ผ่านความเห็นชอบพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาท แม้แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรียังต้องกลับประเทศไทยก่อนกำหนดเวลาเพื่อปิดท้ายชี้แจงและขอให้ผ่านพระราชกำหนดกู้เงิน 4 แสนล้านบาทครั้งนี้
นายกรัฐมนตรีอธิบายว่าจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพราะไม่มีทางเลือก จะช่วยดูแลมิให้มีการคอร์รัปชัน จะใช้จ่ายอย่างรวดเร็ว จะใช้วิธีการให้รัดกุมโดยอ้างอิงวิธีและรูปแบบงบประมาณรายจ่ายปกติ จะใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและอาจไม่กู้เงินตามที่ขอเอาไว้ทั้งหมด
เวลาประมาณ 23.30 น. ที่ประชุมวุฒิสภาจึงลงมติเห็นชอบ พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาทด้วยคะแนนเสียง 69:48 มีสมาชิกงดออกเสียง 11 คน แม้ว่าเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภาจะยอมผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาทเพราะเชื่อและเห็นแก่หน้านายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่านับจากนี้การจะให้กฎหมายผ่านวุฒิสภานั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดอีกต่อไป
รัฐบาลก็ควรจะเก็บประเด็นข้อสงสัยและห่วงใยทั้งหลายไปปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการอภิปรายของ ส.ว. คำนูณ สิทธิสมาน ที่ได้ตั้งประเด็นที่ยังไม่มีคนในรัฐบาลคนไหนให้คำตอบได้เลยจนถึงเวลานี้
รัฐบาลอ้างว่าจะต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงต้องมีงบลงทุนที่รัฐบาลได้เตรียมเอาไว้ใช้จ่ายในช่วงเวลา 3 ปีนี้ถึงประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 5 แสนล้านบาทนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการกู้มโหฬารครั้งนี้
แต่ทว่า ตามเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ซึ่งมียอดเงินงบลงทุนรวมอยู่แล้วประมาณ 2.14 แสนล้านบาท พอถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2552 รัฐบาลกลับใช้จ่ายไปเพียงแค่ 6.5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ทั้งๆ ที่อ้างมาตลอดว่าต้องเร่งรีบกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยงบลงทุน
คิดเป็นการเบิกจ่ายงบลงทุนไปเพียงร้อยละ 30.79% จากงบลงทุนทั้งหมด ทั้งๆ ที่ได้ผ่านปีงบประมาณไปแล้วถึงเกือบ 9 เดือน!
“งบลงทุน” ค้างท่อเกือบ 1.5 แสนล้านบาท! แสดงให้เห็นว่าแม้แต่งบลงทุนในงบประมาณแท้ๆ ยังบริหารจัดการใช้จ่ายไม่มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นไปตามแผนงาน และห่างไกลจากเป้าหมายมาก ย่อมถูกครหาเอาได้ว่า เงินเก่ายังใช้จ่ายไม่หมด ก็ยังขอกู้ใหม่มาลงทุนอีกแล้ว
สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือต้องติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนในงบประมาณที่ค้างอยู่ 1.5 แสนล้านบาท เพื่อทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าได้เพิกเฉยทำงานอย่างอื่นจนปล่อยปละละเลยทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้อีก ในทางตรงกันข้ามก็ต้องตั้งกฎเกณฑ์อย่าปล่อยให้งบนอกประมาณเบิกจ่ายกันอย่างไร้กฎเกณฑ์รั่วไหลจนไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน
จะให้ดีควรไปเร่งตรวจสอบพิรุธกรณีการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นผิดปกติ สวนทางกับการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและการส่งออกที่ลดลงอย่างมาก
ยังไม่นับมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลควรจะต้องเร่งทำเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนด้วยการมิให้ ปตท. เอากำไรเกิดควรจากประชาชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการที่ต้องควบคู่กับมาตรการทางการคลัง ที่ควรจะต้องให้ธนาคารของรัฐเป็นตัวนำในการกระตุ้นสินเชื่อให้กับภาคเอกชนและประชาชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตลอดจนเร่งปรับโครงสร้างหนี้ที่ได้สำรองหนี้สูญมิให้จบลงโดยเร็วแทนการฟ้องล้มละลาย และเป็นผู้นำการลดส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง
และยังมีมาตรการอีกมากที่ยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องอาศัยมาตรการทางการคลังอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรัฐบาลใช้ความกล้าหาญในการลดการรั่วไหลของงบประมาณและการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการต่างๆ ก็จะมีงบประมาณที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น
หรือแม้กระทั่งรายได้จากรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ยังจะสามารถหาได้มากกว่านี้จากเอกชนที่มีความมั่งคั่งและมีสายสัมพันธ์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย การเช่าที่ดินการท่าเรือฯ หรือความพยายามต่อสัญญาสัมปทานช่อง 3 กับ อสมท.ในราคาที่ถูก ล้วนแล้วแต่เป็นรายได้ของรัฐที่ต่ำกว่าราคาตลาดและความเป็นจริงมาก
แต่แทนที่จะดำเนินการดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลกลับปล่อยแผนปฏิบัติการในเรื่องรัฐวิสาหกิจให้เป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยต่อประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
13 มิถุนายน 2552 คณะรัฐมนตรีได้ยอมให้ผ่านความเห็นชอบ “แผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงโครงการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย” เป็นเหตุทำให้เกิดการประท้วงหยุดการเดินรถโดยสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทยมาตั้งแต่วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2552
นี่คือสัญญาณเตือนด้วยการประท้วงหยุดงานครั้งแรก จากสหภาพแรงงานที่เข้าร่วมการต่อสู้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด
แผนปฏิบัติการที่ถูกต่อต้านนั้นเพราะจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งบริษัทลูกขึ้นมา 2 บริษัท ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัทเดินรถ และบริษัทบริหารทรัพย์สิน ซึ่งจะมีการโอนทรัพย์สินและพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยไปอยู่ในบริษัทลูกเหล่านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนดังกล่าวระบุว่าบริษัทบริหารทรัพย์สินจะมีการ “เพิ่มบทบาทของเอกชนในการบริหารจัดการทรัพย์สิน (การพัฒนาที่ดินและการบริหารจัดการสถานี) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
ข้อความดังกล่าวข้างต้นสามารถแปลความได้ด้วยว่า อาจจะมีการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนให้เข้ามา “ฮุบบริหารจัดการทรัพย์สิน” โดยเฉพาะที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น มีอยู่ทั้งสิ้น 234,976 ไร่ เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 36,302 ไร่ โดยเป็นที่ดินย่านพหลโยธิน 1,070 ไร่ และเป็นพื้นที่บริเวณมักกะสัน 745 ไร่
ที่ดินเชิงพาณิชย์ยังรวมถึง... “ที่ดินบริเวณเขากระโดง” ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เคยปรากฏเป็นข่าวว่ามีนักการเมืองถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกและครอบครองอยู่ในขณะนี้
ช่างบังเอิญอีกแล้วที่แผนปฏิบัติการดังกล่าวอยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคมของพรรคภูมิใจไทย!
ช่างบังเอิญอีกเช่นกัน เหตุเกิดที่ “กระทรวงคมนาคม” ซึ่งผลสำรวจของประชาชนในกรุงเทพมหานครให้ความเห็นว่ามีความเคลือบแคลงสงสัยเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 1
จะให้ดี อยากได้ยินเสียงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใช้ความกล้าหาญหยุดยั้งเรื่องนี้แล้วเปลี่ยนเป็นการ “เพิ่มบทบาทภาคประชาชน” แทนการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน เพื่อทำให้รายได้จากที่ดินของการรถไฟเชิงพาณิชย์ 36,302 ไร่ ที่ให้ผลตอบแทนเพียงปีละ 1,000 ล้านบาท มาให้ผลตอบแทนให้เหมาะสมกับราคาในปัจจุบัน รวมนับหลายแสนล้านบาท ก็จะสามารถมีงบประมาณฟื้นฟูกิจการรถไฟให้รุ่งเรืองได้อย่างแน่นอน
สัญญาณเตือนรัฐบาลอภิสิทธิ์หลายระลอกในไม่กี่วันที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนอยากเห็นการยกระดับความกล้าหาญของรัฐบาลในการกระทำมากกว่าการพูด