ASTV ผู้จัดการรายวัน – กูรูยังเห็นพ้องไตรมาส3 ไร้ปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้น คาดครึ่งปีหลังยังผันผวนไม่หยุด ให้สูงสุดสิ้นปีดัชนีไม่เกิน 700 จุด แนะนักลงทุนจับตาพ.ร.ก.เงินกู้ 8 แสนล้าน ชี้หากรัฐบาลบริหารผิดพลาด ประเทศอาจโดนลดอันดับความน่าเชื่อถือ จี้ต้องเร่งดำเนินงานโครงการต่างๆ และให้ความสำคัญกับสินค้าในประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ ลดการพึ่งพิงแต่ส่งออก ด้านดัชนีหุ้นวานนี้กลับมายืน601 จุดอีกรอบ หลังบวกเพิ่ม 5.80 จุด โดย CLSA ส่งเสียงเชียร์กลุ่มหุ้นแบงก์ไทยเจ๋ง! ยกBBL KBANK เด่น ส่วนวันนี้เชื่อยังทยอยปรับขึ้นต่อ
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย จำกัด กล่าวในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ “ไล่ล่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก เรียนรู้เพื่ออยู่รอด” ว่า ส่วนตัวคาดการณ์ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในครึ่งหลังปีนี้ จะมีการเคลื่อนไหวที่ผันผวน บนพื้นฐานดัชนีอยู่ที่ 600 จุด โดยประเมินดัชนีในครึ่งหลังนี้น่าจะมีระดับสูงสุดไม่เกิน 700 จุด และระดับต่ำสุด 500 จุด
ทั้งนี้ จากการที่ไม่มีปัจจัยมากระตุ้นบรรยากาศการลงทุน ทำให้เชื่อว่าน่าจะเห็นดัชนีหุ้นไทยเริ่มปรับตัวลงลงในช่วงไตรมาส 3/52 แต่อาจมีแรงไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในระยะสั้นหากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีการอ่อนตัวลงเพิ่มขึ้นอีก
**หวั่นเงินกู้รัฐทำไม่ดีฉุดเครดิตลด
“แม้ไตรมาส 3 ดัชนีอาจจะอ่อนตัวลง เพราะไม่มีประเด็นอะไรมาสนับสนุน แต่เราก็คาดหมายว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในไตรมาส 4 ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้นักลงทุนคงจำเป็นต้องจับตานโยบายการใช้เงินของรัฐบาลไทย หากพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติกู้เกินจำนวน 8 แสนล้านบาท สามารถได้เม็ดเงินดังกล่าวเข้ามาจริง ว่าจะเป็นในทิศทางใดและมีประสิทธิ์ภาพแค่ไหนในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เพราะการกู้เงินครั้งนี้ส่งผลให้อัตราหนี้สาธารณะปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 66% ซึ่งถือว่าเกินกว่าเพดานที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องมีตัวเลขหนี้สาธารณะไม่เกิน 50% และอาจมีผลเสียในระยะยาวทำให้สถาบันจัดอันดับเครดิตอาจมีการลดระดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนของไทยลงอีก”
นอกจากนี้ในระยะยาวอยากแนะนำให้รัฐบาลควรหันมาสร้างโครงการต่างๆ มากขึ้น เช่น ธุรกิจยานยนต์ของผู้ประกอบการภายใต้แบรนด์ “โปรตอน”ที่มีการสร้างฐานการผลิตในประเทศ เพราะหากรัฐบาลกระตุ้นการลงทุนลักษณะนี้ก็จะเป็นผลดีทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้มีตลาดแน่นอนมากกว่าที่ต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังต่างประเทศ และเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศได้อีกทาง รวมถึงควรสร้างจุดเด่นของสินค้าไทยเพื่อให้คนในประเทศหันมาสนใจและบริโภคสินค้าในประเทศมากขึ้น เพื่อไม่ให้เม็ดเงินรั่วไหลไปยังต่างประเทศและอาจเป็นการดึงดูดเงินจากต่างประเทศได้อีกทางเช่นกัน
ขณะที่ นายรวี ลงกานี อาจารย์ภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเตือนบรรดานักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในอนุพันธ์ต่างๆว่า ผู้ที่ต้องการลงทุนในอนุพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีความผันผวนค่อนข้างสูงนั้นควรศึกษาและทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดให้เป็นอย่างดี เพราะถ้าหากผู้ลงทุนไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนผลิตภันฑ์ประเภทนี้ เช่น สัญญาซื้อขายต่างๆ ก็จะกลายเป็นตัวทำให้เกิดความเสี่ยงแทนที่กระจายความเสี่ยงได้เช่นกัน
**ตลาดหุ้นกลับมายืน600จุด
ตลาดหุ้นไทย วานนี้(29มิ.ย.) ดัชนีหลักทรัพย์ปิดที่ระดับ 601.60 จุด เพิ่มขึ้น 5.80 จุด หรือ 0.97% ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 603.26 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 594.34 จุด มูลค่าการซื้อขาย 17,504 ล้านบาท โดยภาพรวมหุ้นไทยวานนี้เคลื่อนในกรอบแคบสลับบวกและลบตลอดวัน ส่วนหนึ่งเพราะนักลงทุนเริ่มคลายกังวลกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ทำให้เริ่มมีแรงซื้อก็กลับเข้ามาเหมือนเดิม
ทั้งนี้ พบว่า กลุ่มสถาบันเป็นผู้ซื้อสุทธิเพียงรายเดียวถึง 903.88 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 670.84 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งขายสุทธิ 233.05 ล้านบาท
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ SCIB มูลค่าการซื้อขาย 1,601.41 ล้านบาท ปิดที่ 16.90 บาท เพิ่มขึ้น 2.40 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,384.07 ล้านบาท ปิดที่ 237.00 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง PTTEP มูลค่าการซื้อขาย 1,245.39 ล้านบาท ปิดที่ 132.50 บาท ลดลง 0.50 บาท BAY มูลค่าการซื้อขาย 1,104.30 ล้านบาท ปิดที่ 15.20 บาท เพิ่มขึ้น 0.20 บาท และTOP มูลค่าการซื้อขาย 740.22 ล้านบาท ปิดที่ 35.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท
ด้านหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 162 หลักทรัพย์ ลดลง 133 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 134 หลักทรัพย์
สำหรับภาวะตลาดหุ้นในภูมิภาคเดียวกันวานนี้ พบว่า ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 4 วันทำการแล้ว หลังจากที่ได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และพลังงาน เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า ความต้องการสินค้าดังกล่าวกำลังฟื้นตัวขึ้น โดยปิดบวก 47.10 จุด หรือ 1.61% แตะ 2,975.31 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 1.36 แสนล้านหยวน หรือ 2.01 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนดัชนีหุ้นเสิ่นเจิ้น ปิดเพิ่มขึ้น 192.34 จุด หรือ 1.69% แตะ 11,605.51 จุด
ด้านตลาดหุ้นฮ่องกงปิดปรับตัวลดลง หลังปิดในแดนบวกตลอด 3 วันที่ผ่านมา หลังราคาพลังงานปรับตัวลงและฉุดให้หุ้นกลุ่มทรัพยากรปรับตัวลดลงตามไปด้วย เช่นเดียวกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียที่อ่อนตัวลง ซึ่งดัชนีฮั่งเส็งปิดลดลง 71.75 จุด หรือ 0.39% โดยปิดที่ 18,528.51 จุด มีมูลค่าการซื้อขายลดลงแตะ 5.004 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (6.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ขณะเดียวกัน ดัชนีสเตรทส์ไทม์ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดปรับตัวลดลงเล็กน้อย ตามกระแสตลาดหุ้นอื่นในเอเชีย โดยปิดลบ 0.78 จุด หรือ 0.03% ปิดที่ 2,317.17 จุด ปริมาณการซื้อขาย 1.06 พันล้านหุ้น มูลค่า 850 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
**CLSAเชื่อหุ้นแบงก์ไทยแนวโน้มสดใส
ขณะเดียวกัน วานนี้มีรายงานว่า CLSA Asia-Pacific Markets (CLSA) คาดการณ์ว่า หุ้นกลุ่มธนาคารของไทยซึ่งเป็นหุ้นที่โดดเด่นที่สุดในรอบปีนี้ อาจพุ่งขึ้นแข็งแกร่งต่อไปอีก เนื่องจากอัตราการปล่อยกู้ให้กับบุคคลและบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่มขึ้นได้ช่วยกระตุ้นผลประกอบการของธนาคาร
นอกจากนี้ CLSA ยังคงน้ำหนักความน่าลงทุนของห้นกลุ่มธนาคารของไทยไว้ที่ระดับ“overweight" เพราะเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำจะช่วยกระตุ้นดีมานด์เงินกู้ให้เพิ่มขึ้นได้
นายแอนดรูว์ สต็อทส์ นักวิเคราะห์ของ CLSA กล่าวว่า ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารของไทยไม่แพงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ธนาคารรายใหญ่ของไทยก็มีการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดซึ่งสามารถแข่งขันกับธนาคารต่างชาติได้ จึงแนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย
**หุ้นไทยวันนี้มีแนวโน้มขึ้นต่อ
ขณะที่ นายพงศ์ภัทร สิริพิพัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) (KGI) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยโดยรวมแกว่งตัวได้ในแดนบวกหลังคลายกังวลจากการเมือง เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 มิ.ย.) ซึ่งมีแรงเทขายมาท้ายตลาดส่วนหนึ่ง ทำให้การซื้อขายหุ้นวานนี้โดยรวมเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาเหมือนเดิม เป็นลักษณะแกว่งตัว แกว่งตัวขึ้น แนวต้านถัดไปอยู่แถวๆ 600-603 จุด
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้ (30มิ.ย.) คาดว่า จะแกว่งตัวออกด้านข้างถึงแกว่งตัวขึ้น โดยถ้ายังไม่หลุดแถวๆ 594 จุดไป ทิศทางระยะสั้นจะยังเป็นบวก แต่ถ้าหลุดก็ให้ขายตาม และรอทดสอบแถว 600 จุด
“ปัจจัยช่วงนี้อยู่ที่ภาวะสภาพคล่องยังเยอะ ถึงแม้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะเริ่มแกว่งตัวออกด้านข้างแล้ว แต่เชื่อว่าตลาดทุนก็ยังเป็นตลาดหลักๆที่เม็ดเงินจะเลือกเข้ามาลงทุน เมื่อเทียบกับพันธบัตรระยะยาวที่ดอกเบี้ยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว”
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย จำกัด กล่าวในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ “ไล่ล่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก เรียนรู้เพื่ออยู่รอด” ว่า ส่วนตัวคาดการณ์ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในครึ่งหลังปีนี้ จะมีการเคลื่อนไหวที่ผันผวน บนพื้นฐานดัชนีอยู่ที่ 600 จุด โดยประเมินดัชนีในครึ่งหลังนี้น่าจะมีระดับสูงสุดไม่เกิน 700 จุด และระดับต่ำสุด 500 จุด
ทั้งนี้ จากการที่ไม่มีปัจจัยมากระตุ้นบรรยากาศการลงทุน ทำให้เชื่อว่าน่าจะเห็นดัชนีหุ้นไทยเริ่มปรับตัวลงลงในช่วงไตรมาส 3/52 แต่อาจมีแรงไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในระยะสั้นหากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีการอ่อนตัวลงเพิ่มขึ้นอีก
**หวั่นเงินกู้รัฐทำไม่ดีฉุดเครดิตลด
“แม้ไตรมาส 3 ดัชนีอาจจะอ่อนตัวลง เพราะไม่มีประเด็นอะไรมาสนับสนุน แต่เราก็คาดหมายว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในไตรมาส 4 ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้นักลงทุนคงจำเป็นต้องจับตานโยบายการใช้เงินของรัฐบาลไทย หากพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติกู้เกินจำนวน 8 แสนล้านบาท สามารถได้เม็ดเงินดังกล่าวเข้ามาจริง ว่าจะเป็นในทิศทางใดและมีประสิทธิ์ภาพแค่ไหนในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เพราะการกู้เงินครั้งนี้ส่งผลให้อัตราหนี้สาธารณะปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 66% ซึ่งถือว่าเกินกว่าเพดานที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องมีตัวเลขหนี้สาธารณะไม่เกิน 50% และอาจมีผลเสียในระยะยาวทำให้สถาบันจัดอันดับเครดิตอาจมีการลดระดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนของไทยลงอีก”
นอกจากนี้ในระยะยาวอยากแนะนำให้รัฐบาลควรหันมาสร้างโครงการต่างๆ มากขึ้น เช่น ธุรกิจยานยนต์ของผู้ประกอบการภายใต้แบรนด์ “โปรตอน”ที่มีการสร้างฐานการผลิตในประเทศ เพราะหากรัฐบาลกระตุ้นการลงทุนลักษณะนี้ก็จะเป็นผลดีทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้มีตลาดแน่นอนมากกว่าที่ต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังต่างประเทศ และเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศได้อีกทาง รวมถึงควรสร้างจุดเด่นของสินค้าไทยเพื่อให้คนในประเทศหันมาสนใจและบริโภคสินค้าในประเทศมากขึ้น เพื่อไม่ให้เม็ดเงินรั่วไหลไปยังต่างประเทศและอาจเป็นการดึงดูดเงินจากต่างประเทศได้อีกทางเช่นกัน
ขณะที่ นายรวี ลงกานี อาจารย์ภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเตือนบรรดานักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในอนุพันธ์ต่างๆว่า ผู้ที่ต้องการลงทุนในอนุพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีความผันผวนค่อนข้างสูงนั้นควรศึกษาและทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดให้เป็นอย่างดี เพราะถ้าหากผู้ลงทุนไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนผลิตภันฑ์ประเภทนี้ เช่น สัญญาซื้อขายต่างๆ ก็จะกลายเป็นตัวทำให้เกิดความเสี่ยงแทนที่กระจายความเสี่ยงได้เช่นกัน
**ตลาดหุ้นกลับมายืน600จุด
ตลาดหุ้นไทย วานนี้(29มิ.ย.) ดัชนีหลักทรัพย์ปิดที่ระดับ 601.60 จุด เพิ่มขึ้น 5.80 จุด หรือ 0.97% ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 603.26 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 594.34 จุด มูลค่าการซื้อขาย 17,504 ล้านบาท โดยภาพรวมหุ้นไทยวานนี้เคลื่อนในกรอบแคบสลับบวกและลบตลอดวัน ส่วนหนึ่งเพราะนักลงทุนเริ่มคลายกังวลกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ทำให้เริ่มมีแรงซื้อก็กลับเข้ามาเหมือนเดิม
ทั้งนี้ พบว่า กลุ่มสถาบันเป็นผู้ซื้อสุทธิเพียงรายเดียวถึง 903.88 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 670.84 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งขายสุทธิ 233.05 ล้านบาท
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ SCIB มูลค่าการซื้อขาย 1,601.41 ล้านบาท ปิดที่ 16.90 บาท เพิ่มขึ้น 2.40 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,384.07 ล้านบาท ปิดที่ 237.00 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง PTTEP มูลค่าการซื้อขาย 1,245.39 ล้านบาท ปิดที่ 132.50 บาท ลดลง 0.50 บาท BAY มูลค่าการซื้อขาย 1,104.30 ล้านบาท ปิดที่ 15.20 บาท เพิ่มขึ้น 0.20 บาท และTOP มูลค่าการซื้อขาย 740.22 ล้านบาท ปิดที่ 35.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท
ด้านหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 162 หลักทรัพย์ ลดลง 133 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 134 หลักทรัพย์
สำหรับภาวะตลาดหุ้นในภูมิภาคเดียวกันวานนี้ พบว่า ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 4 วันทำการแล้ว หลังจากที่ได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และพลังงาน เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า ความต้องการสินค้าดังกล่าวกำลังฟื้นตัวขึ้น โดยปิดบวก 47.10 จุด หรือ 1.61% แตะ 2,975.31 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 1.36 แสนล้านหยวน หรือ 2.01 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนดัชนีหุ้นเสิ่นเจิ้น ปิดเพิ่มขึ้น 192.34 จุด หรือ 1.69% แตะ 11,605.51 จุด
ด้านตลาดหุ้นฮ่องกงปิดปรับตัวลดลง หลังปิดในแดนบวกตลอด 3 วันที่ผ่านมา หลังราคาพลังงานปรับตัวลงและฉุดให้หุ้นกลุ่มทรัพยากรปรับตัวลดลงตามไปด้วย เช่นเดียวกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียที่อ่อนตัวลง ซึ่งดัชนีฮั่งเส็งปิดลดลง 71.75 จุด หรือ 0.39% โดยปิดที่ 18,528.51 จุด มีมูลค่าการซื้อขายลดลงแตะ 5.004 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (6.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ขณะเดียวกัน ดัชนีสเตรทส์ไทม์ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดปรับตัวลดลงเล็กน้อย ตามกระแสตลาดหุ้นอื่นในเอเชีย โดยปิดลบ 0.78 จุด หรือ 0.03% ปิดที่ 2,317.17 จุด ปริมาณการซื้อขาย 1.06 พันล้านหุ้น มูลค่า 850 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
**CLSAเชื่อหุ้นแบงก์ไทยแนวโน้มสดใส
ขณะเดียวกัน วานนี้มีรายงานว่า CLSA Asia-Pacific Markets (CLSA) คาดการณ์ว่า หุ้นกลุ่มธนาคารของไทยซึ่งเป็นหุ้นที่โดดเด่นที่สุดในรอบปีนี้ อาจพุ่งขึ้นแข็งแกร่งต่อไปอีก เนื่องจากอัตราการปล่อยกู้ให้กับบุคคลและบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่มขึ้นได้ช่วยกระตุ้นผลประกอบการของธนาคาร
นอกจากนี้ CLSA ยังคงน้ำหนักความน่าลงทุนของห้นกลุ่มธนาคารของไทยไว้ที่ระดับ“overweight" เพราะเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำจะช่วยกระตุ้นดีมานด์เงินกู้ให้เพิ่มขึ้นได้
นายแอนดรูว์ สต็อทส์ นักวิเคราะห์ของ CLSA กล่าวว่า ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารของไทยไม่แพงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ธนาคารรายใหญ่ของไทยก็มีการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดซึ่งสามารถแข่งขันกับธนาคารต่างชาติได้ จึงแนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย
**หุ้นไทยวันนี้มีแนวโน้มขึ้นต่อ
ขณะที่ นายพงศ์ภัทร สิริพิพัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) (KGI) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยโดยรวมแกว่งตัวได้ในแดนบวกหลังคลายกังวลจากการเมือง เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 มิ.ย.) ซึ่งมีแรงเทขายมาท้ายตลาดส่วนหนึ่ง ทำให้การซื้อขายหุ้นวานนี้โดยรวมเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาเหมือนเดิม เป็นลักษณะแกว่งตัว แกว่งตัวขึ้น แนวต้านถัดไปอยู่แถวๆ 600-603 จุด
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้ (30มิ.ย.) คาดว่า จะแกว่งตัวออกด้านข้างถึงแกว่งตัวขึ้น โดยถ้ายังไม่หลุดแถวๆ 594 จุดไป ทิศทางระยะสั้นจะยังเป็นบวก แต่ถ้าหลุดก็ให้ขายตาม และรอทดสอบแถว 600 จุด
“ปัจจัยช่วงนี้อยู่ที่ภาวะสภาพคล่องยังเยอะ ถึงแม้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะเริ่มแกว่งตัวออกด้านข้างแล้ว แต่เชื่อว่าตลาดทุนก็ยังเป็นตลาดหลักๆที่เม็ดเงินจะเลือกเข้ามาลงทุน เมื่อเทียบกับพันธบัตรระยะยาวที่ดอกเบี้ยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว”