ASTVผู้จัดการรายวัน - “แอสคอน” คุยฟุ้งยอมรับหากรัฐบาลต่อราคาก่อสร้างสัญญา 3 รถไฟฟ้าสายสีม่วง เหลือเท่าราคากลาง 5,962 ล้านบาท ก็ยังมีกำไรได้ 10% เหตุราคาวัสดุปรับลดลง แถมยังมีค่าเคซัปพอร์ต เชื่อพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้าน หนุนอุตสาหกรรมก่อสร้างคึกคักกว่าในอดีตมาก
นายพัฒนพงษ์ ตนุมัธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มพีเออาร์ จอยท์เวนเจอร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE บริษัท แอสคอนฯ และบริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด ชนะการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญาที่ 3 เป็นงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ โดยเสนอราคาที่ 6,399,670,000 บาท ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอรัฐบาลเรียกเข้าไปเจรจาต่อรองราคาก่อน เนื่องจากในวันที่ยื่นซองประมูลเมื่อ 7-8 เดือนที่ผ่านมาราคาวัสดุก่อสร้างปรับขึ้นไปสูงมากเมื่อเทียบกับในปัจจุบัน โดยราคากลางอยู่ที่ 5,962 ล้านบาท ซึ่งหากรัฐบาลเจรจาต่อรองมาอยู่ที่ราคกลาง ทางกลุ่มบริษัทก็สามารถยอมรับราคาดังกล่าวได้ เพราะรัฐบาลจะมีค่าตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน ณ ระยะเวลาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดซองประกวดราคาได้ (หรือ ค่าเค) สนับสนุนอยู่แล้ว แต่หากรัฐบาลจะต่อรองราคาให้ต่ำกว่าราคากลาง ก็ต้องกลับมาทบทวนการยื่นซองประมูล เพราะแม้ว่าจะมีค่าเคให้ แต่ก็ไม่ได้สะท้อนต้นทุนวัสดุที่แท้จริง ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องบริหารจัดการ เพื่อไม่ให้ขาดทุน
“ เชื่อว่ารัฐบาล น่าจะต่อรองให้อยู่ในราคากลาง ส่วนนี้เราพอรับได้ และคาดว่าจะยังมีกำไรจากงานนี้บวกหรือลบประมาณ 10% ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ แต่งานก็ยังไม่แน่นอน เพราะต้องรอให้มีการเซ็นสัญญาก่อน คาดว่าจะดำเนินการเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนจะเริ่มการก่อสร้างเมื่อใดนั้น ขึ้นอยู่กับแผนงานของรัฐบาล ซึ่งมีกรอบเวลาภายใน 3 ปี เพราะงานที่กลุ่มบริษัทรับจะเป็นส่วนสุดท้ายแล้ว ”นายพัฒนพงษ์กล่าว
สำหรับการดำเนินงานนั้น จะให้บริษัทร่วมทุนเป็นผู้กระจายงานไปยังบริษัทต่างๆ โดยบริษัท รวมนครก่อสร้างฯ แสดงเจตจำนงค์ในบื้องต้นแล้วว่าจะไม่ก่อสร้างเอง โดยแอสคอนซึ่งถือว่าเป็นแกนนำในการยื่นประมูลในครั้งนี้ อาจรับมาดำเนินการเองทั้งหมด เพราะสามารถทำได้ โดยจะรับค่าดำเนินการเพิ่ม 2-5 % ขึ้นอยู่กับข้อตกลง ส่วนปริมาณเงินลงทุนนั้น รัฐบาลจะให้วงเงินล่วงหน้า 15% ของมูลค่างาน ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงิน และเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
อย่างไรก็ตามทั้ง 4 สัญญา(สัญญาที่ 4 ซึ่งเป็นระบบราง รัฐบาลยังไม่เปิดประมูล) คงจะไม่เกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี( ครม.) อนุมัติไว้ที่ 36,055 ล้านบาทแน่นอน โดยจะพยายามต่อรองราคาสัญญาที่ 2 และ 3 ให้ลดลงให้มากที่สุด ก่อนที่จะนำไปเสนอครม.ต่อไป ส่วนจะเสนอทีเดียวทั้ง 3 สัญญาหรือไม่ ยังไม่ทราบ แล้วแต่นโยบาย แต่หากเสนอได้ทีละสัญญา คาดว่าสัญญาแรกจะนำเสนอครม.ได้เดือนกรกฎาคมนี้ และคาดว่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ กลุ่มซีเคทีซี นำโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาที่ 1,บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด ( STEC ) เป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาที่ 2
นายพัฒนพงษ์ กล่าวต่อว่า หลังจากที่พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร และเชื่อว่าในส่วนของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) เงินกู้อีก 4 แสนล้านบาทจะผ่านเช่นกัน ซึ่งปริมาณเงินดังกล่าว จะช่วยทำให้วงการอุตสาหกรรมก่อสร้างกลับมาคึกคักอีกครั้ง นอกจากโครงการเมกะโปรเจกต์แล้ว ยังมีงานก่อสร้างในส่วนภูมิภาคอีกจำนวนมากเช่นกัน โดยจะทำให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ต้องแข่งขันกันสูงเช่นที่ผ่านมา
“ พ.ร.ก.เงินกู้ออกมาจะทำให้งานก่อสร้างจากภาครัฐออกมามาก วงการก่อสร้างดีกว่าเมื่อก่อนเยอะ แต่ต้องมีวงเล็บว่า ต้องมีสเถียรภาพทางการเมือง เพราะถ้าหากยังทะเลาะกันอยู่ไปมา ก็ไม่ต้องเป็นอันทำอะไร ทุกอย่างหยุดชะงักเหมือนเดิม ”
สำหรับแผนการร่วมทุนกับกลุ่มทุนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยการเปิดสาขาก่อสร้างที่ดูไบนั้น ขณะนี้ชะลอแผนออกไปก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ก่อสร้างในกลุ่มปรับตัวลดลงอย่างมาก และได้ไปเจรจากับกลุ่มทุนอาบูดาบีเพื่อทำธุรกิจก่อสร้าง แต่ยังไม่มีผลสรุปออกมา เพราะเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงขาลง คงต้องรอให้เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นดีกว่านี้ก่อน .
นายพัฒนพงษ์ ตนุมัธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มพีเออาร์ จอยท์เวนเจอร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE บริษัท แอสคอนฯ และบริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด ชนะการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญาที่ 3 เป็นงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ โดยเสนอราคาที่ 6,399,670,000 บาท ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอรัฐบาลเรียกเข้าไปเจรจาต่อรองราคาก่อน เนื่องจากในวันที่ยื่นซองประมูลเมื่อ 7-8 เดือนที่ผ่านมาราคาวัสดุก่อสร้างปรับขึ้นไปสูงมากเมื่อเทียบกับในปัจจุบัน โดยราคากลางอยู่ที่ 5,962 ล้านบาท ซึ่งหากรัฐบาลเจรจาต่อรองมาอยู่ที่ราคกลาง ทางกลุ่มบริษัทก็สามารถยอมรับราคาดังกล่าวได้ เพราะรัฐบาลจะมีค่าตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน ณ ระยะเวลาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดซองประกวดราคาได้ (หรือ ค่าเค) สนับสนุนอยู่แล้ว แต่หากรัฐบาลจะต่อรองราคาให้ต่ำกว่าราคากลาง ก็ต้องกลับมาทบทวนการยื่นซองประมูล เพราะแม้ว่าจะมีค่าเคให้ แต่ก็ไม่ได้สะท้อนต้นทุนวัสดุที่แท้จริง ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องบริหารจัดการ เพื่อไม่ให้ขาดทุน
“ เชื่อว่ารัฐบาล น่าจะต่อรองให้อยู่ในราคากลาง ส่วนนี้เราพอรับได้ และคาดว่าจะยังมีกำไรจากงานนี้บวกหรือลบประมาณ 10% ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ แต่งานก็ยังไม่แน่นอน เพราะต้องรอให้มีการเซ็นสัญญาก่อน คาดว่าจะดำเนินการเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนจะเริ่มการก่อสร้างเมื่อใดนั้น ขึ้นอยู่กับแผนงานของรัฐบาล ซึ่งมีกรอบเวลาภายใน 3 ปี เพราะงานที่กลุ่มบริษัทรับจะเป็นส่วนสุดท้ายแล้ว ”นายพัฒนพงษ์กล่าว
สำหรับการดำเนินงานนั้น จะให้บริษัทร่วมทุนเป็นผู้กระจายงานไปยังบริษัทต่างๆ โดยบริษัท รวมนครก่อสร้างฯ แสดงเจตจำนงค์ในบื้องต้นแล้วว่าจะไม่ก่อสร้างเอง โดยแอสคอนซึ่งถือว่าเป็นแกนนำในการยื่นประมูลในครั้งนี้ อาจรับมาดำเนินการเองทั้งหมด เพราะสามารถทำได้ โดยจะรับค่าดำเนินการเพิ่ม 2-5 % ขึ้นอยู่กับข้อตกลง ส่วนปริมาณเงินลงทุนนั้น รัฐบาลจะให้วงเงินล่วงหน้า 15% ของมูลค่างาน ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงิน และเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
อย่างไรก็ตามทั้ง 4 สัญญา(สัญญาที่ 4 ซึ่งเป็นระบบราง รัฐบาลยังไม่เปิดประมูล) คงจะไม่เกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี( ครม.) อนุมัติไว้ที่ 36,055 ล้านบาทแน่นอน โดยจะพยายามต่อรองราคาสัญญาที่ 2 และ 3 ให้ลดลงให้มากที่สุด ก่อนที่จะนำไปเสนอครม.ต่อไป ส่วนจะเสนอทีเดียวทั้ง 3 สัญญาหรือไม่ ยังไม่ทราบ แล้วแต่นโยบาย แต่หากเสนอได้ทีละสัญญา คาดว่าสัญญาแรกจะนำเสนอครม.ได้เดือนกรกฎาคมนี้ และคาดว่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ กลุ่มซีเคทีซี นำโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาที่ 1,บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด ( STEC ) เป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาที่ 2
นายพัฒนพงษ์ กล่าวต่อว่า หลังจากที่พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร และเชื่อว่าในส่วนของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) เงินกู้อีก 4 แสนล้านบาทจะผ่านเช่นกัน ซึ่งปริมาณเงินดังกล่าว จะช่วยทำให้วงการอุตสาหกรรมก่อสร้างกลับมาคึกคักอีกครั้ง นอกจากโครงการเมกะโปรเจกต์แล้ว ยังมีงานก่อสร้างในส่วนภูมิภาคอีกจำนวนมากเช่นกัน โดยจะทำให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ต้องแข่งขันกันสูงเช่นที่ผ่านมา
“ พ.ร.ก.เงินกู้ออกมาจะทำให้งานก่อสร้างจากภาครัฐออกมามาก วงการก่อสร้างดีกว่าเมื่อก่อนเยอะ แต่ต้องมีวงเล็บว่า ต้องมีสเถียรภาพทางการเมือง เพราะถ้าหากยังทะเลาะกันอยู่ไปมา ก็ไม่ต้องเป็นอันทำอะไร ทุกอย่างหยุดชะงักเหมือนเดิม ”
สำหรับแผนการร่วมทุนกับกลุ่มทุนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยการเปิดสาขาก่อสร้างที่ดูไบนั้น ขณะนี้ชะลอแผนออกไปก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ก่อสร้างในกลุ่มปรับตัวลดลงอย่างมาก และได้ไปเจรจากับกลุ่มทุนอาบูดาบีเพื่อทำธุรกิจก่อสร้าง แต่ยังไม่มีผลสรุปออกมา เพราะเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงขาลง คงต้องรอให้เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นดีกว่านี้ก่อน .