“แอสคอน” คุยฟุ้งยอมรับหากรัฐบาลต่อราคาก่อสร้างสัญญา 3 รถไฟฟ้าสายสีม่วง เหลือเท่าราคากลาง 5,962 ล้านบาท ก็ยังมีกำไรได้ 10% เหตุราคาวัสดุปรับลดลง แถมยังมีค่าเคซัปพอร์ต เชื่อพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้าน หนุนอุตสาหกรรมก่อสร้างคึกคักกว่าในอดีตมาก
นายพัฒนพงษ์ ตนุมัธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มพีเออาร์ จอยท์เวนเจอร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE บริษัท แอสคอนฯ และบริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด ชนะการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญาที่ 3 เป็นงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ โดยเสนอราคาที่ 6,399,670,000 บาท ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอรัฐบาลเรียกเข้าไปเจรจาต่อรองราคาก่อน เนื่องจากในวันที่ยื่นซองประมูลเมื่อ 7-8 เดือนที่ผ่านมาราคาวัสดุก่อสร้างปรับขึ้นไปสูงมากเมื่อเทียบกับในปัจจุบัน โดยราคากลางอยู่ที่ 5,962 ล้านบาท
ซึ่งหากรัฐบาลเจรจาต่อรองมาอยู่ที่ราคกลาง ทางกลุ่มบริษัทก็สามารถยอมรับราคาดังกล่าวได้ เพราะรัฐบาลจะมีค่าตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน ณ ระยะเวลาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดซองประกวดราคาได้ (หรือ ค่าเค) สนับสนุนอยู่แล้ว แต่หากรัฐบาลจะต่อรองราคาให้ต่ำกว่าราคากลาง ก็ต้องกลับมาทบทวนการยื่นซองประมูล เพราะแม้ว่าจะมีค่าเคให้ แต่ก็ไม่ได้สะท้อนต้นทุนวัสดุที่แท้จริง ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องบริหารจัดการ เพื่อไม่ให้ขาดทุน
“ เชื่อว่ารัฐบาล น่าจะต่อรองให้อยู่ในราคากลาง ส่วนนี้เราพอรับได้ และคาดว่าจะยังมีกำไรจากงานนี้บวกหรือลบประมาณ 10% ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ แต่งานก็ยังไม่แน่นอน เพราะต้องรอให้มีการเซ็นสัญญาก่อน คาดว่าจะดำเนินการเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนจะเริ่มการก่อสร้างเมื่อใดนั้น ขึ้นอยู่กับแผนงานของรัฐบาล ซึ่งมีกรอบเวลาภายใน 3 ปี เพราะงานที่กลุ่มบริษัทรับจะเป็นส่วนสุดท้ายแล้ว ”นายพัฒนพงษ์กล่าว
สำหรับการดำเนินงานนั้น จะให้บริษัทร่วมทุนเป็นผู้กระจายงานไปยังบริษัทต่างๆ โดยบริษัท รวมนครก่อสร้างฯ แสดงเจตจำนงค์ในบื้องต้นแล้วว่าจะไม่ก่อสร้างเอง โดยแอสคอนซึ่งถือว่าเป็นแกนนำในการยื่นประมูลในครั้งนี้ อาจรับมาดำเนินการเองทั้งหมด เพราะสามารถทำได้ โดยจะรับค่าดำเนินการเพิ่ม 2-5 % ขึ้นอยู่กับข้อตกลง ส่วนปริมาณเงินลงทุนนั้น รัฐบาลจะให้วงเงินล่วงหน้า 15% ของมูลค่างาน ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงิน และเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
อย่างไรก็ตามทั้ง 4 สัญญา(สัญญาที่ 4 ซึ่งเป็นระบบราง รัฐบาลยังไม่เปิดประมูล) คงจะไม่เกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี( ครม.) อนุมัติไว้ที่ 36,055 ล้านบาทแน่นอน โดยจะพยายามต่อรองราคาสัญญาที่ 2 และ 3 ให้ลดลงให้มากที่สุด ก่อนที่จะนำไปเสนอครม.ต่อไป ส่วนจะเสนอทีเดียวทั้ง 3 สัญญาหรือไม่ ยังไม่ทราบ แล้วแต่นโยบาย แต่หากเสนอได้ทีละสัญญา คาดว่าสัญญาแรกจะนำเสนอครม.ได้เดือนกรกฎาคมนี้ และคาดว่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ กลุ่มซีเคทีซี นำโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาที่ 1,บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด ( STEC ) เป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาที่ 2
นายพัฒนพงษ์ กล่าวต่อว่า หลังจากที่พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร และเชื่อว่าในส่วนของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) เงินกู้อีก 4 แสนล้านบาทจะผ่านเช่นกัน ซึ่งปริมาณเงินดังกล่าว จะช่วยทำให้วงการอุตสาหกรรมก่อสร้างกลับมาคึกคักอีกครั้ง นอกจากโครงการเมกะโปรเจกต์แล้ว ยังมีงานก่อสร้างในส่วนภูมิภาคอีกจำนวนมากเช่นกัน โดยจะทำให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ต้องแข่งขันกันสูงเช่นที่ผ่านมา
“ พ.ร.ก.เงินกู้ออกมาจะทำให้งานก่อสร้างจากภาครัฐออกมามาก วงการก่อสร้างดีกว่าเมื่อก่อนเยอะ แต่ต้องมีวงเล็บว่า ต้องมีสเถียรภาพทางการเมือง เพราะถ้าหากยังทะเลาะกันอยู่ไปมา ก็ไม่ต้องเป็นอันทำอะไร ทุกอย่างหยุดชะงักเหมือนเดิม ”
สำหรับแผนการร่วมทุนกับกลุ่มทุนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยการเปิดสาขาก่อสร้างที่ดูไบนั้น ขณะนี้ชะลอแผนออกไปก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ก่อสร้างในกลุ่มปรับตัวลดลงอย่างมาก และได้ไปเจรจากับกลุ่มทุนอาบูดาบีเพื่อทำธุรกิจก่อสร้าง แต่ยังไม่มีผลสรุปออกมา เพราะเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงขาลง คงต้องรอให้เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นดีกว่านี้ก่อน
นายพัฒนพงษ์ ตนุมัธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASCON เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มพีเออาร์ จอยท์เวนเจอร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE บริษัท แอสคอนฯ และบริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด ชนะการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญาที่ 3 เป็นงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ โดยเสนอราคาที่ 6,399,670,000 บาท ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอรัฐบาลเรียกเข้าไปเจรจาต่อรองราคาก่อน เนื่องจากในวันที่ยื่นซองประมูลเมื่อ 7-8 เดือนที่ผ่านมาราคาวัสดุก่อสร้างปรับขึ้นไปสูงมากเมื่อเทียบกับในปัจจุบัน โดยราคากลางอยู่ที่ 5,962 ล้านบาท
ซึ่งหากรัฐบาลเจรจาต่อรองมาอยู่ที่ราคกลาง ทางกลุ่มบริษัทก็สามารถยอมรับราคาดังกล่าวได้ เพราะรัฐบาลจะมีค่าตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน ณ ระยะเวลาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดซองประกวดราคาได้ (หรือ ค่าเค) สนับสนุนอยู่แล้ว แต่หากรัฐบาลจะต่อรองราคาให้ต่ำกว่าราคากลาง ก็ต้องกลับมาทบทวนการยื่นซองประมูล เพราะแม้ว่าจะมีค่าเคให้ แต่ก็ไม่ได้สะท้อนต้นทุนวัสดุที่แท้จริง ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องบริหารจัดการ เพื่อไม่ให้ขาดทุน
“ เชื่อว่ารัฐบาล น่าจะต่อรองให้อยู่ในราคากลาง ส่วนนี้เราพอรับได้ และคาดว่าจะยังมีกำไรจากงานนี้บวกหรือลบประมาณ 10% ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ แต่งานก็ยังไม่แน่นอน เพราะต้องรอให้มีการเซ็นสัญญาก่อน คาดว่าจะดำเนินการเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนจะเริ่มการก่อสร้างเมื่อใดนั้น ขึ้นอยู่กับแผนงานของรัฐบาล ซึ่งมีกรอบเวลาภายใน 3 ปี เพราะงานที่กลุ่มบริษัทรับจะเป็นส่วนสุดท้ายแล้ว ”นายพัฒนพงษ์กล่าว
สำหรับการดำเนินงานนั้น จะให้บริษัทร่วมทุนเป็นผู้กระจายงานไปยังบริษัทต่างๆ โดยบริษัท รวมนครก่อสร้างฯ แสดงเจตจำนงค์ในบื้องต้นแล้วว่าจะไม่ก่อสร้างเอง โดยแอสคอนซึ่งถือว่าเป็นแกนนำในการยื่นประมูลในครั้งนี้ อาจรับมาดำเนินการเองทั้งหมด เพราะสามารถทำได้ โดยจะรับค่าดำเนินการเพิ่ม 2-5 % ขึ้นอยู่กับข้อตกลง ส่วนปริมาณเงินลงทุนนั้น รัฐบาลจะให้วงเงินล่วงหน้า 15% ของมูลค่างาน ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงิน และเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
อย่างไรก็ตามทั้ง 4 สัญญา(สัญญาที่ 4 ซึ่งเป็นระบบราง รัฐบาลยังไม่เปิดประมูล) คงจะไม่เกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี( ครม.) อนุมัติไว้ที่ 36,055 ล้านบาทแน่นอน โดยจะพยายามต่อรองราคาสัญญาที่ 2 และ 3 ให้ลดลงให้มากที่สุด ก่อนที่จะนำไปเสนอครม.ต่อไป ส่วนจะเสนอทีเดียวทั้ง 3 สัญญาหรือไม่ ยังไม่ทราบ แล้วแต่นโยบาย แต่หากเสนอได้ทีละสัญญา คาดว่าสัญญาแรกจะนำเสนอครม.ได้เดือนกรกฎาคมนี้ และคาดว่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ กลุ่มซีเคทีซี นำโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาที่ 1,บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด ( STEC ) เป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาที่ 2
นายพัฒนพงษ์ กล่าวต่อว่า หลังจากที่พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร และเชื่อว่าในส่วนของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) เงินกู้อีก 4 แสนล้านบาทจะผ่านเช่นกัน ซึ่งปริมาณเงินดังกล่าว จะช่วยทำให้วงการอุตสาหกรรมก่อสร้างกลับมาคึกคักอีกครั้ง นอกจากโครงการเมกะโปรเจกต์แล้ว ยังมีงานก่อสร้างในส่วนภูมิภาคอีกจำนวนมากเช่นกัน โดยจะทำให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ต้องแข่งขันกันสูงเช่นที่ผ่านมา
“ พ.ร.ก.เงินกู้ออกมาจะทำให้งานก่อสร้างจากภาครัฐออกมามาก วงการก่อสร้างดีกว่าเมื่อก่อนเยอะ แต่ต้องมีวงเล็บว่า ต้องมีสเถียรภาพทางการเมือง เพราะถ้าหากยังทะเลาะกันอยู่ไปมา ก็ไม่ต้องเป็นอันทำอะไร ทุกอย่างหยุดชะงักเหมือนเดิม ”
สำหรับแผนการร่วมทุนกับกลุ่มทุนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยการเปิดสาขาก่อสร้างที่ดูไบนั้น ขณะนี้ชะลอแผนออกไปก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ก่อสร้างในกลุ่มปรับตัวลดลงอย่างมาก และได้ไปเจรจากับกลุ่มทุนอาบูดาบีเพื่อทำธุรกิจก่อสร้าง แต่ยังไม่มีผลสรุปออกมา เพราะเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงขาลง คงต้องรอให้เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นดีกว่านี้ก่อน