นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึง การตรวจสอบการถือครองหุ้นของส.ส. ที่มีข่าวว่าคณะอนุกรรมการฯ เห็นควรยกคำร้องทั้งสองชุดว่า กรณีนี้ก็เหมือนกรณีของส.ว.ที่อนุกรรมการฯมีเสียงแตกกัน กกต.จึงเห็นว่าเป็นข้อกฎหมาย และมีมติเสนอให้ที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งเป็นคนนอกและมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ อดีตส.ส.ร. ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็รู้เจตนารมณ์ขอ ม.48 และ ม. 265 เป็นอย่างดี ซึ่งก็ชัดเจนออกมาแล้ว ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯ ต้องยึดการพิจารณาของ คณะที่ปรึกษากฎหมายของกกต.
การพิจารณาส.ส. ทั้งสองชุด หากอนุกรรมการฯ เห็นควรยกคำร้อง เบื้องต้นตนก็หารือกับประธาน กกต.แล้วด้วยเช่นกันว่า เราอาจจะต้องส่งให้กับที่ปรึกษากฎหมายพิจารณาก่อนที่จะมีการลงมติ สำหรับเรื่องของ 28 ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์นั้น คาดว่าวันนี้ (30 มิ.ย.) ประธาน กกต.น่าจะเปิดซองในที่ประชุม ซึ่ง กกต.ก็ต้องดูว่า อนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการมาอย่างไร เหมือนกับชุดที่แล้วหรือไม่
"เรื่องนี้เป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายของส.ส. อีกทั้งคนติดคุกไม่ใช่ใคร หากเป็นกกต. ทั้ง 4 คน คณะอนุกรรมการฯ หรือที่ปรึกษา อนุกรรมการฯ หรือฝ่ายที่ปรึกษากฎหมายไม่ได้มีส่วนผูกพันในเรื่องนี้เลย ไม่ได้มาติดคุกด้วย การทำอะไรต้องให้รอบคอบ ชัดเจนมากที่สุดก่อน เพื่อให้ถือว่า เราทำหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก่อนที่จะใช้ดุลยพินิจในการตีความข้อกกฎหมาย เพราะการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ก็เป็นเพียงความคิดเห็น ซึ่งท่านจะชี้ในลักษณะที่ทำให้เราตกเหวด้วยก็คงเป็นไปไม่ได้ กกต.ก่อนที่จะพิจารณาอะไรก็ต้องอาศัยหลายส่วน" นางสดศรีกล่าว
ส่วนกรณีนี้มีความเห็นขัดแย้งระหว่างอนุกรรมการฯ กับที่ปรึกษากฎหมาย กกต.สามารถที่จะเสนอศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความไว้เป็นบรรทัดฐานได้เองหรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า การส่งศาลรัฐธรรมนูญ จะมีกฎเกณฑ์อยู่แล้ว และกกต.ได้พิจารณาเรื่อง ส.ว. โดย กกต. จะเร่งทำเรื่องส่งให้ประธานวุฒิสภาได้ภายในสัปดาห์นี้ เพื่อจะนำเสนอศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
อย่างไรก็ตาม กรณีที่อนุกรรมการฯ เห็นแย้งว่า กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลดเปลื้องการถือครองหุ้นนั้นการมีไว้จึงไม่ผิดนั้น จริงๆแล้วกกต. ยึดตามที่ผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช.ที่ต้องยื่นภายในสามสิบวัน นับแต่ดำรงแหน่ง
นางสดศรี กล่าวว่า เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแรก แต่เคยมีกรณีเรื่องการยุบพรรค ที่มีความเห็นต่างกันระหว่างคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองเห็นว่า ไม่ควรยุบ แต่ที่ปรึกษากฎหมาย ระบุว่า มาตรา 237 ระบุไว้ชัดว่า เลี่ยงไม่ได้ กฎหมายเขียนไว้ชัด ซึ่งเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่จะใช้ดุลพินิจของตัวเองว่าควรตัดสินอย่างไร และท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญ ก็เห็นด้วยกับเรา
" กกต.ตั้งอนุกรรมการฯ ขึ้นมาก็เพื่อให้มาดูเรื่องของข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร มีหุ้นอะไรบ้าง เป็นสัมปทานรัฐ สัมปทานผูกขาดหรือไม่ มีหุ้นเท่าไร มีมาก่อนรับตำแหน่งส.ส.หรือไม่ อย่างไร แล้วค่อยมาคุยกันในข้อกฎหมายกันต่อไป การที่อนุกรรมการ ยังไม่ได้อะไรแล้ว อยู่ดีๆ มาตีความว่าอย่างนี้ไม่ผิด จะถือหุ้นเท่าไรก็ได้ เราไม่ได้ให้ท่านมาตีความข้อกฎหมาย ไม่มีอำนาจมาตีความข้อกฎหมาย " นางสดศรี กล่าว
**เปิดสำนวน 28 ส.ส.ปชป.วันนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสำนวนคำร้อง ส.ส.28 คน ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่คณะอนุกรรมการได้สรุป และลงนามส่งให้ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.แล้วนั้น คาดว่า วันนี้(30 มิ.ย.)ประธานกกต. จะนำเข้าที่ประชุม และจะสำเนาสำนวนการสรุปให้กับกกต. ซึ่งกกต.จะต้องมาดูว่าได้มีการดำเนินการไปอย่างไร เหมือนกับการดำเนินการชุดที่ผ่านมาหรือไม่ หากมีการสุรปเหมือนกับชุดที่ผ่านมา โดยไม่ได้มีการแยกบริษัทที่เข้าข่าย มาตรา 48 และมาตรา 265 ตามที่กกต.ได้มีมติไปแล้วในการพิจารณาคำร้องของ ส.ว. ออกมาให้ชัดเจนว่าใครได้ถือหุ้นอะไรไว้บ้าง ก็ต้องให้มีการไปดำเนินการขึ้นมาใหม่ โดยจะให้เอาบรรทัดฐานจากการพิจารณาของ ส.ว.ไปดำเนินการ ทำมาให้มีความสอดคล้องกัน เชื่อว่า สำนวนส.ส. 28 คน ของพรรคประชาธิปัตย์ จะยังไม่รู้ผลในวันนี้
**ประธานวุฒิฯ ลุ้นกกต.กลับมติ
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือจากกกต. ที่มีมติวินิจฉัยให้16 ส.ว.ขาดสมาชิกภาพจากการถือหุ้นสัปทาน เนื่องจาก กกต.ต้องใช้เวลาในการเขียนคำวินิจฉัย ซึ่งการมีมติที่ผ่านมา เป็นปากเปล่า จากนี้ไปหากมีข้อมูลใหม่ เชื่อว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือทบทวนมติใหม่ก็ได้ โดยขณะนี้กกต. กำลังพิจารณาการถือครองหุ้นของส.ส. ซึ่งหากมีข้อมูลใหม่ที่ถือหุ้นมาก่อนว่าไม่ผิด ก็อาจจะเปลี่ยนมติของ16 ส.ว.ได้
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในกรณี ส.ว.ได้มีส.ว.บางคนบอกกับตนว่า กกต.ไม่เคยเชิญไปชี้แจง ซึ่งบางคนถือหุ้นเพียง 400 บาทแล้วโดนให้พ้นสภาพก็น่าเห็นใจ บางคนถือหุ้นโดยบริสุทธิ์ใจไม่รู้ว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็แจ้งกับ ป.ป.ช.โดยไม่รู้ว่าจะกลายเป็นดาบเล่นงานตัวเอง บางหุ้น กกต.ก็ไม่รู้ว่าถือหุ้นไหนขัดรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ กกต. ควรจะศึกษาและประกาศว่า มีบัญชีรายชื่อบริษัทที่ต้องห้ามไม่ให้นักการเมืองเข้าไปถือหุ้น ไม่เช่นนั้นจะขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากนักการเมืองรู้ ก็คงไม่มีใครไปถือหุ้น ทั้งนี้ต้องยอมรับว่ามี ส.ว.หลายคนกังวล บางคนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่เกิดกับใครก็ไม่รู้ แต่ขออย่ากังวล เพราะเชื่อว่ามีเวลายาวนาน กว่าเรื่องจะมาถึงตน และศาลรัฐธรรมนูญ
การพิจารณาส.ส. ทั้งสองชุด หากอนุกรรมการฯ เห็นควรยกคำร้อง เบื้องต้นตนก็หารือกับประธาน กกต.แล้วด้วยเช่นกันว่า เราอาจจะต้องส่งให้กับที่ปรึกษากฎหมายพิจารณาก่อนที่จะมีการลงมติ สำหรับเรื่องของ 28 ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์นั้น คาดว่าวันนี้ (30 มิ.ย.) ประธาน กกต.น่าจะเปิดซองในที่ประชุม ซึ่ง กกต.ก็ต้องดูว่า อนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการมาอย่างไร เหมือนกับชุดที่แล้วหรือไม่
"เรื่องนี้เป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายของส.ส. อีกทั้งคนติดคุกไม่ใช่ใคร หากเป็นกกต. ทั้ง 4 คน คณะอนุกรรมการฯ หรือที่ปรึกษา อนุกรรมการฯ หรือฝ่ายที่ปรึกษากฎหมายไม่ได้มีส่วนผูกพันในเรื่องนี้เลย ไม่ได้มาติดคุกด้วย การทำอะไรต้องให้รอบคอบ ชัดเจนมากที่สุดก่อน เพื่อให้ถือว่า เราทำหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก่อนที่จะใช้ดุลยพินิจในการตีความข้อกกฎหมาย เพราะการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ก็เป็นเพียงความคิดเห็น ซึ่งท่านจะชี้ในลักษณะที่ทำให้เราตกเหวด้วยก็คงเป็นไปไม่ได้ กกต.ก่อนที่จะพิจารณาอะไรก็ต้องอาศัยหลายส่วน" นางสดศรีกล่าว
ส่วนกรณีนี้มีความเห็นขัดแย้งระหว่างอนุกรรมการฯ กับที่ปรึกษากฎหมาย กกต.สามารถที่จะเสนอศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความไว้เป็นบรรทัดฐานได้เองหรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า การส่งศาลรัฐธรรมนูญ จะมีกฎเกณฑ์อยู่แล้ว และกกต.ได้พิจารณาเรื่อง ส.ว. โดย กกต. จะเร่งทำเรื่องส่งให้ประธานวุฒิสภาได้ภายในสัปดาห์นี้ เพื่อจะนำเสนอศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
อย่างไรก็ตาม กรณีที่อนุกรรมการฯ เห็นแย้งว่า กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลดเปลื้องการถือครองหุ้นนั้นการมีไว้จึงไม่ผิดนั้น จริงๆแล้วกกต. ยึดตามที่ผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช.ที่ต้องยื่นภายในสามสิบวัน นับแต่ดำรงแหน่ง
นางสดศรี กล่าวว่า เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแรก แต่เคยมีกรณีเรื่องการยุบพรรค ที่มีความเห็นต่างกันระหว่างคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองเห็นว่า ไม่ควรยุบ แต่ที่ปรึกษากฎหมาย ระบุว่า มาตรา 237 ระบุไว้ชัดว่า เลี่ยงไม่ได้ กฎหมายเขียนไว้ชัด ซึ่งเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่จะใช้ดุลพินิจของตัวเองว่าควรตัดสินอย่างไร และท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญ ก็เห็นด้วยกับเรา
" กกต.ตั้งอนุกรรมการฯ ขึ้นมาก็เพื่อให้มาดูเรื่องของข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร มีหุ้นอะไรบ้าง เป็นสัมปทานรัฐ สัมปทานผูกขาดหรือไม่ มีหุ้นเท่าไร มีมาก่อนรับตำแหน่งส.ส.หรือไม่ อย่างไร แล้วค่อยมาคุยกันในข้อกฎหมายกันต่อไป การที่อนุกรรมการ ยังไม่ได้อะไรแล้ว อยู่ดีๆ มาตีความว่าอย่างนี้ไม่ผิด จะถือหุ้นเท่าไรก็ได้ เราไม่ได้ให้ท่านมาตีความข้อกฎหมาย ไม่มีอำนาจมาตีความข้อกฎหมาย " นางสดศรี กล่าว
**เปิดสำนวน 28 ส.ส.ปชป.วันนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสำนวนคำร้อง ส.ส.28 คน ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่คณะอนุกรรมการได้สรุป และลงนามส่งให้ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.แล้วนั้น คาดว่า วันนี้(30 มิ.ย.)ประธานกกต. จะนำเข้าที่ประชุม และจะสำเนาสำนวนการสรุปให้กับกกต. ซึ่งกกต.จะต้องมาดูว่าได้มีการดำเนินการไปอย่างไร เหมือนกับการดำเนินการชุดที่ผ่านมาหรือไม่ หากมีการสุรปเหมือนกับชุดที่ผ่านมา โดยไม่ได้มีการแยกบริษัทที่เข้าข่าย มาตรา 48 และมาตรา 265 ตามที่กกต.ได้มีมติไปแล้วในการพิจารณาคำร้องของ ส.ว. ออกมาให้ชัดเจนว่าใครได้ถือหุ้นอะไรไว้บ้าง ก็ต้องให้มีการไปดำเนินการขึ้นมาใหม่ โดยจะให้เอาบรรทัดฐานจากการพิจารณาของ ส.ว.ไปดำเนินการ ทำมาให้มีความสอดคล้องกัน เชื่อว่า สำนวนส.ส. 28 คน ของพรรคประชาธิปัตย์ จะยังไม่รู้ผลในวันนี้
**ประธานวุฒิฯ ลุ้นกกต.กลับมติ
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือจากกกต. ที่มีมติวินิจฉัยให้16 ส.ว.ขาดสมาชิกภาพจากการถือหุ้นสัปทาน เนื่องจาก กกต.ต้องใช้เวลาในการเขียนคำวินิจฉัย ซึ่งการมีมติที่ผ่านมา เป็นปากเปล่า จากนี้ไปหากมีข้อมูลใหม่ เชื่อว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือทบทวนมติใหม่ก็ได้ โดยขณะนี้กกต. กำลังพิจารณาการถือครองหุ้นของส.ส. ซึ่งหากมีข้อมูลใหม่ที่ถือหุ้นมาก่อนว่าไม่ผิด ก็อาจจะเปลี่ยนมติของ16 ส.ว.ได้
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในกรณี ส.ว.ได้มีส.ว.บางคนบอกกับตนว่า กกต.ไม่เคยเชิญไปชี้แจง ซึ่งบางคนถือหุ้นเพียง 400 บาทแล้วโดนให้พ้นสภาพก็น่าเห็นใจ บางคนถือหุ้นโดยบริสุทธิ์ใจไม่รู้ว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็แจ้งกับ ป.ป.ช.โดยไม่รู้ว่าจะกลายเป็นดาบเล่นงานตัวเอง บางหุ้น กกต.ก็ไม่รู้ว่าถือหุ้นไหนขัดรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ กกต. ควรจะศึกษาและประกาศว่า มีบัญชีรายชื่อบริษัทที่ต้องห้ามไม่ให้นักการเมืองเข้าไปถือหุ้น ไม่เช่นนั้นจะขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากนักการเมืองรู้ ก็คงไม่มีใครไปถือหุ้น ทั้งนี้ต้องยอมรับว่ามี ส.ว.หลายคนกังวล บางคนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่เกิดกับใครก็ไม่รู้ แต่ขออย่ากังวล เพราะเชื่อว่ามีเวลายาวนาน กว่าเรื่องจะมาถึงตน และศาลรัฐธรรมนูญ