อุดรธานี - จังหวัดอุดรธานีเตรียมตั้งเครือข่าย ธุรกิจยางพาราครบวงจร มุ่งพัฒนาอาชีพปลูกยางพาราให้เกษตรกรที่ปลูกแล้วเฉียด 3 แสนไร่ ให้ผลผลิตน้ำยางที่กรีดได้แล้วกว่า 1.7 หมื่นตันสร้างรายได้ปีละเกือบ 1,000 ล้านบาท คาดปีถัดไปจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มมากขึ้นแม้ราคายาง ในตลาดจะตกต่ำตามภาวะเศรษฐกิจโลก
เมื่อเร็วๆ นี้ที่ห้องฟ้าหลวง โรงแรมนภาลัย อ.เมือง จ.อุดรธานี นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุม เชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรสถาบันเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจรจังหวัดอุดรธานี
นายปัณณวิชญ์ วงศ์สุวัฒน์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านยางพาราครบวงจร กล่าวว่า จากข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่ปลูกยางพาราแล้วประมาณ 295,000 ไร่ มีพื้นที่สวนยางกรีดได้ในปี 2552 ประมาณ 59,845 ไร่ หรือราวร้อยละ 20.28 ของพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งหมด คาดว่าจะให้ผลผลิตประมาณ 17,295 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 289 กก./ไร่/ปี ณ ระดับราคา 50 บาท/กก. จะสร้างรายได้เข้าจังหวัดอุดรธานีจำนวนมาก
ในปีงบประมาณ 2552 องค์การสวนยางได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ดำเนินงานตามโครงการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านยางพาราครบวงจร โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกร สถาบันเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจร ในทุกจังหวัดที่มีการปลูกยางพารา รวม 60 จังหวัด เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 20,000 คน และสร้างเครือข่ายระดับจังหวัด 60 จังหวัด
ทั้งนี้ มีเป้าหมาย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้านยางพารา สถาบันเกษตรกร และเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้านยางพารา กับเกษตรกรสวนยาง สถาบันเกษตรกรด้านยางพารา ในการพัฒนาด้านยางพารา และสร้างเครือข่ายธุรกิจยางพาราครบวงจร เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผู้นำเครือข่าย ให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนาเกษตรกรและการสร้างธุรกิจด้านยางพาราร่วมกัน
โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงเช้า เป็นการอภิปรายกลุ่ม ประเด็นการพัฒนาเกษตรกร และการสร้างเครือข่ายธุรกิจยางพาราครบวงจร ใน ช่วงบ่าย เป็นการสรุปผลการอภิปรายการกำหนด แนวทางการจัดตั้งเครือข่ายยางพาราจังหวัดอุดรธานี และการเลือกตั้งคณะกรรมการเครือข่ายฯ
สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการจัดการประชุมครั้งที่ 8 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นการประชุมครั้งที่ 29 ของโครงการฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย เกษตรกร ผู้แทนสถาบันเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจจำนวน 500 คน
ด้านนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ปัจจุบันยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ พี่น้องเกษตรกรมากกว่า 6 ล้านคน ในปี 2551 ที่ผ่านมายางพาราทำรายได้เข้าประเทศมากกว่า 3 แสนล้านบาท ช่วงต้นปี 2551 การซื้อขายยางเป็นไปอย่างคึกคัก ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นผลักดันให้ราคายางสูงขึ้น ทำให้ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 FOB กรุงเทพฯ และยางแผ่นดิบที่ตลาดกลางหาดใหญ่เฉลี่ยสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2551 กิโลกรัมละ 107.77 บาท และ 100.97 บาท ตามลำดับ
แต่หลังจากนั้นภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เกิดปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐฯที่ลุกลาม ไปยังยุโรปหลายประเทศ จีน ญี่ปุ่น ราคาน้ำมันลดลงเหลือ 33.87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ต่อมาในราวเดือนธันวาคม 2551 อุตสาหกรรมรถยนต์ถูกผลกระทบลดการผลิต ส่งผลให้ปริมาณการซื้อยางพาราลดลง ทำให้ราคายางลดลงจากที่พี่น้องเกษตรกรเคยขายน้ำยางได้กิโลกรัมละ 100 บาท เหลือ 4 กิโลกรัม 100 บาท ในช่วงเดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา และปัจจุบันราคายางได้ขยับตัวสูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2551 โดยราคายางแผ่นดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 - 55 บาท พี่น้องเกษตรกร คงมีความพอใจในระดับหนึ่ง สำหรับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ปลูกยางพารา 295,000 ไร่ ในปีนี้คาดว่ามีสวนยางกรีดได้ 59,845 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 17,295 ตัน จะนำรายได้เข้าจังหวัดมากกว่า 865 ล้านบาท และในปีต่อๆ ไปผลผลิตจะเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามพี่น้องเกษตรกรต้องยึดถือตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
เมื่อเร็วๆ นี้ที่ห้องฟ้าหลวง โรงแรมนภาลัย อ.เมือง จ.อุดรธานี นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุม เชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรสถาบันเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจรจังหวัดอุดรธานี
นายปัณณวิชญ์ วงศ์สุวัฒน์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านยางพาราครบวงจร กล่าวว่า จากข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่ปลูกยางพาราแล้วประมาณ 295,000 ไร่ มีพื้นที่สวนยางกรีดได้ในปี 2552 ประมาณ 59,845 ไร่ หรือราวร้อยละ 20.28 ของพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งหมด คาดว่าจะให้ผลผลิตประมาณ 17,295 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 289 กก./ไร่/ปี ณ ระดับราคา 50 บาท/กก. จะสร้างรายได้เข้าจังหวัดอุดรธานีจำนวนมาก
ในปีงบประมาณ 2552 องค์การสวนยางได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ดำเนินงานตามโครงการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านยางพาราครบวงจร โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกร สถาบันเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจร ในทุกจังหวัดที่มีการปลูกยางพารา รวม 60 จังหวัด เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 20,000 คน และสร้างเครือข่ายระดับจังหวัด 60 จังหวัด
ทั้งนี้ มีเป้าหมาย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้านยางพารา สถาบันเกษตรกร และเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้านยางพารา กับเกษตรกรสวนยาง สถาบันเกษตรกรด้านยางพารา ในการพัฒนาด้านยางพารา และสร้างเครือข่ายธุรกิจยางพาราครบวงจร เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผู้นำเครือข่าย ให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนาเกษตรกรและการสร้างธุรกิจด้านยางพาราร่วมกัน
โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงเช้า เป็นการอภิปรายกลุ่ม ประเด็นการพัฒนาเกษตรกร และการสร้างเครือข่ายธุรกิจยางพาราครบวงจร ใน ช่วงบ่าย เป็นการสรุปผลการอภิปรายการกำหนด แนวทางการจัดตั้งเครือข่ายยางพาราจังหวัดอุดรธานี และการเลือกตั้งคณะกรรมการเครือข่ายฯ
สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการจัดการประชุมครั้งที่ 8 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นการประชุมครั้งที่ 29 ของโครงการฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย เกษตรกร ผู้แทนสถาบันเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจจำนวน 500 คน
ด้านนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ปัจจุบันยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ พี่น้องเกษตรกรมากกว่า 6 ล้านคน ในปี 2551 ที่ผ่านมายางพาราทำรายได้เข้าประเทศมากกว่า 3 แสนล้านบาท ช่วงต้นปี 2551 การซื้อขายยางเป็นไปอย่างคึกคัก ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นผลักดันให้ราคายางสูงขึ้น ทำให้ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 FOB กรุงเทพฯ และยางแผ่นดิบที่ตลาดกลางหาดใหญ่เฉลี่ยสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2551 กิโลกรัมละ 107.77 บาท และ 100.97 บาท ตามลำดับ
แต่หลังจากนั้นภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เกิดปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐฯที่ลุกลาม ไปยังยุโรปหลายประเทศ จีน ญี่ปุ่น ราคาน้ำมันลดลงเหลือ 33.87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ต่อมาในราวเดือนธันวาคม 2551 อุตสาหกรรมรถยนต์ถูกผลกระทบลดการผลิต ส่งผลให้ปริมาณการซื้อยางพาราลดลง ทำให้ราคายางลดลงจากที่พี่น้องเกษตรกรเคยขายน้ำยางได้กิโลกรัมละ 100 บาท เหลือ 4 กิโลกรัม 100 บาท ในช่วงเดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา และปัจจุบันราคายางได้ขยับตัวสูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2551 โดยราคายางแผ่นดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 - 55 บาท พี่น้องเกษตรกร คงมีความพอใจในระดับหนึ่ง สำหรับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ปลูกยางพารา 295,000 ไร่ ในปีนี้คาดว่ามีสวนยางกรีดได้ 59,845 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 17,295 ตัน จะนำรายได้เข้าจังหวัดมากกว่า 865 ล้านบาท และในปีต่อๆ ไปผลผลิตจะเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามพี่น้องเกษตรกรต้องยึดถือตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข