สมัยผมเป็นเด็กนั้น จะมีหนังสือประวัติบุคคลพิมพ์ออกมาจำหน่ายมากในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นส่วนหนึ่งที่ผมรักการอ่านหนังสือ เพราะประวัติบุคคลสำคัญส่วนใหญ่จะพูดถึงความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว และส่วนหนึ่งก็จะเป็นประวัติของนักวิทยาศาสตร์หรือนักคิดค้น หรือผู้ประดิษฐ์ของแปลกใหม่ขึ้นมาจำหน่าย
การได้ความรู้แบบให้ผลบันดาลใจนี้ ทำให้เด็กไทยสมัยนั้นรักการเรียนเพื่อจะได้เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จกันบ้าง แต่หลายคนไม่ทราบว่าเบื้องหลังความสำเร็จนั้น ไม่ใช่มาได้ด้วยความสบาย แต่ต้องบากบั่นมีมานะ และความอดทน อีกทั้งต้องล้มเหลวแต่ต้องไม่สิ้นหวัง พร้อมที่จะลุกขึ้นมาสู้หรือตั้งต้นใหม่
หนังสืออีกประเภทหนึ่งที่ผมชอบอ่าน คือ เรื่องสิ่งมหัศจรรย์ของโลกและมักจะรวมเรื่องสถานที่ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามหัศจรรย์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น พีระมิด, กำแพงเมืองจีน, หอเอนปิซ่า ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ทำให้เด็กๆ ที่อ่านสามารถไปค้นคว้าต่อได้ แม้เวลานั้นยังไม่สามารถเปิดค้นจากกูเกิ้ลได้ แต่ก็หาได้จากเอ็นไซโคพีเดีย
ผมได้ความรู้จากการอ่านหนังสือเหล่านี้ แต่แรงดลใจที่ผมได้อย่างแท้จริงนั้นกลับได้จากหนังสือประวัติศาสตร์
เพียงแต่มันไม่ได้จากประวัติศาสตร์ไทย เพราะในประวัติศาสตร์ไทยนั้นไม่มีอะไรนอกจากเลข พ.ศ.การรบและการเสียเมืองกับการกู้ชาติ เป็นแค่ส่วนเสี้ยวของประวัติศาสตร์โลก ที่ไม่มีความเป็นสากลด้วยซ้ำ ที่ผมเขียนเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าผมดูถูกดูแคลนประวัติศาสตร์ของชาติแต่ประการใด
หนังสือประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นแรงดลใจให้ผมมาถึงทุกวันนี้เป็นประวัติศาสตร์ยุคต้นๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกรีก-โรมัน
คนที่แนะนำให้ผมเริ่มต้นอ่านอารยธรรมโบราณนี้ เป็นอาจารย์ฝรั่งชาวสกอตแลนด์ที่มาสอนที่โรงเรียนวชิราวุธ ในขณะที่ผมเรียนอยู่ในชั้นมัธยม 4 ในสมัยหลายสิบปีก่อน
อาจารย์ท่านนี้ชื่อ มัลคัม อเล็กซานเดอร์ ฮอสสิก เราเรียกว่าอาจารย์ “ม้าป่วย” แผลงมาจากฮอสสิกนั่นเอง
อาจารย์ “ม้าป่วย” ได้คัดนักเรียนประมาณ 5 คน ในชั้นไปสอนในแบบการเรียน “แบบฉบับ” ไฮสกูลของอังกฤษ ผมเป็น 1 ใน 5 คน
ทั้งนี้ได้รับ “การบ้าน” ซึ่งฮอสสิก เรียกว่า assignment ให้เราไปค้นคว้าเรื่อง acropolis มา โดยที่มันเป็นที่ตั้งของวิหารพาเทนอนนั่นเอง
นอกจากให้เราค้นคว้าแล้ว เราต้องเขียนเรียงความยาวหนึ่งหน้ากระดาษเป็นการบ้านด้วย
เวลานั้นเป็นเรื่องยากมาก
เพราะแค่แปลเป็นภาษาไทยก็เกือบจะเปิดดิกชันนารีกันทุกคำ และกว่าจะเรียงแต่ละคำเป็นประโยคก็ยิ่งแล้วใหญ่
แต่พวกเราก็เรียนกันมาได้ ในรูปแบบของ “วิถีการเรียนแบบไฮสกูลอังกฤษ” ครับ
ผมไม่เคยคิดว่าอีก 3 ปี ต่อมาสิ่งที่ฮอสสิกสอน จะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์กับผมโดยตรง เมื่อผมไปเรียนไฮสกูลแบบอังกฤษที่ประเทศนิวซีแลนด์
ปลายปีนี้นั้นเอง ฮอสสิกก็จัดละครกลางแจ้งเรื่องม้าไม้แห่งกรุงทรอย ผมกับเพื่อนๆ เล่นเป็นทหารกรีกมีหมวกและโล่แต่งตัวกันเท่ห์มาก ฟันดาบที่ทำจากไม้กันโฉ่งฉ่าง ในละครนี้มีม้านับสิบตัว และม้าไม้นั้นหุ้มด้วยกระดาษ คนเข้าไปนั่งได้จริงๆ และนั่งได้สิบกว่าคน (เด็กๆ นั่งนะครับ)
เพราะ “ม้าไม้แห่งกรุงทรอย” นี้เองทำให้ผมและเพื่อนๆ อีก 4-5 คนได้รับประสบการณ์เรื่อง“ผีลากม้าไม้” ที่วชิราวุธมาแล้วอย่างน่ากลัวขนหัวลุกขณะเขียนเรื่องนี้
คือเมื่อละครจบไปแล้ว ม้าไม้ก็ถูกทิ้งไว้ที่สนามหน้าหอประชุม
ตกกลางคืนราวๆ 4 ทุ่ม ผมกับเพื่อนๆ นึกซนขึ้นมาก็เลยแอบขึ้นไปปีนเล่น แล้วก็เข้าไปอยู่ในท้องม้าไม้กันหมดเพื่อแอบสูบบุหรี่กัน ข้างในมืดมาก พอสูบบุหรี่ไฟก็แดงวูบวาบ แต่มันมองไม่เห็นจากภายนอก
เราอยู่กันนานแค่ไหน ไม่มีใครบอกได้ แต่เป็นชั่วโมง
อยู่ๆ ก็มีเสียงออดๆ แอดๆ แล้วม้าไม้ก็เขยื้อนช้าๆ
“เฮ้ย” ไอ้ติ่งบอกเป็นคนแรก
“มันเดินว่ะ” เพื่อนอีกคนบอกด้วยเสียงกระซิบ
“แม่ง! ใครลากว่ะ” ผมพยายามมองลงดูข้างล่าง แต่มองไม่เห็นแต่รู้ว่ามันมีเชือกให้ลาก เพราะในละครต้องมีลากไม้เข้าเมือง
หลังจากม้าไม้เริ่มเดินช้าๆ มันก็เดินเร็วขึ้น แต่ก็ไม่ได้เร็วมาก
เราก็ไม่ว่าอะไร แต่ดูว่ามาไกลพอควร เพราะใช้เวลาร่วม 5 นาที
เส้นทางนั้นผ่านถนนเล็กๆ และดูว่าเมื่อไม่หยุดก็จะตรงไปยังสนามหลัง ซึ่งเป็นสนามใหญ่ 2 สนามด้วยกัน
ขณะนั้นมีสุนัขไม่รู้กี่ตัว ตอนแรกๆ มันเห่าเสียงดัง
พอม้าไม้ถูกลากไปใกล้ๆ เสียงเห่าสุนัขก็เงียบสักพัก แล้วมันก็เริ่มแหกปากหอนกันเกรียว
พอเรามองตากันเหมือนกับจะบอกว่า สงสัยจะเจอดีเข้าแล้ว
ม้าไม้เดินอยู่ 10 นาที ก็หยุดเฉยๆ ทันทีที่หยุดพวกเราก็เปิดประตูท้องม้า แล้วโดดลงมา ว่าจะเขกหัวไอ้คนมาลากสักคนละทีสองที
แต่พบว่า มันไม่มีใครเลยสักคน ไอ้ติ่งเลยพูดค่อยๆ ว่า “ผี” เท่านั้นแหละ เราต่างก็โกยแนบ วิ่งโดยไม่เหลียวมองข้างหลัง กลับไปนอนที่คณะแบบสยองขวัญ
เป็นประสบการณ์ที่น่ากลัวสุดๆ เพื่อนๆ จับไข้ลุกไม่ขึ้น 2-3 คน
วันรุ่งขึ้นม้าไม้ตัวนั้นก็ยังอยู่ที่สนามหลัง และพบรอยลากจากจุดที่มันอยู่ที่สนามหน้าหอประชุมเป็นทางมาสนามแล้ว โดยปราศจากรอยคนลาก แม้แต่รอยเดียว ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย
ครับ... ผมไม่เข้าใจมาถึงทุกวันนี้ ผมนั้นไม่เคยกลัวผีมาก่อน เวลานี้ก็ไม่กลัว
แต่ผมไม่สามารถหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ใดๆ มาอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ แต่มันเป็นครั้งเดียวเท่านั้นที่ผมเชื่อว่าผีนั้นอาจจะมีจริง
วชิราวุธตำนานเรื่องผีมากมาย ม้าไม้เป็นหนึ่งในตำนานที่พวกผมเคยเจอะเจอมาครับ
การได้ความรู้แบบให้ผลบันดาลใจนี้ ทำให้เด็กไทยสมัยนั้นรักการเรียนเพื่อจะได้เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จกันบ้าง แต่หลายคนไม่ทราบว่าเบื้องหลังความสำเร็จนั้น ไม่ใช่มาได้ด้วยความสบาย แต่ต้องบากบั่นมีมานะ และความอดทน อีกทั้งต้องล้มเหลวแต่ต้องไม่สิ้นหวัง พร้อมที่จะลุกขึ้นมาสู้หรือตั้งต้นใหม่
หนังสืออีกประเภทหนึ่งที่ผมชอบอ่าน คือ เรื่องสิ่งมหัศจรรย์ของโลกและมักจะรวมเรื่องสถานที่ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามหัศจรรย์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น พีระมิด, กำแพงเมืองจีน, หอเอนปิซ่า ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ทำให้เด็กๆ ที่อ่านสามารถไปค้นคว้าต่อได้ แม้เวลานั้นยังไม่สามารถเปิดค้นจากกูเกิ้ลได้ แต่ก็หาได้จากเอ็นไซโคพีเดีย
ผมได้ความรู้จากการอ่านหนังสือเหล่านี้ แต่แรงดลใจที่ผมได้อย่างแท้จริงนั้นกลับได้จากหนังสือประวัติศาสตร์
เพียงแต่มันไม่ได้จากประวัติศาสตร์ไทย เพราะในประวัติศาสตร์ไทยนั้นไม่มีอะไรนอกจากเลข พ.ศ.การรบและการเสียเมืองกับการกู้ชาติ เป็นแค่ส่วนเสี้ยวของประวัติศาสตร์โลก ที่ไม่มีความเป็นสากลด้วยซ้ำ ที่ผมเขียนเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าผมดูถูกดูแคลนประวัติศาสตร์ของชาติแต่ประการใด
หนังสือประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นแรงดลใจให้ผมมาถึงทุกวันนี้เป็นประวัติศาสตร์ยุคต้นๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกรีก-โรมัน
คนที่แนะนำให้ผมเริ่มต้นอ่านอารยธรรมโบราณนี้ เป็นอาจารย์ฝรั่งชาวสกอตแลนด์ที่มาสอนที่โรงเรียนวชิราวุธ ในขณะที่ผมเรียนอยู่ในชั้นมัธยม 4 ในสมัยหลายสิบปีก่อน
อาจารย์ท่านนี้ชื่อ มัลคัม อเล็กซานเดอร์ ฮอสสิก เราเรียกว่าอาจารย์ “ม้าป่วย” แผลงมาจากฮอสสิกนั่นเอง
อาจารย์ “ม้าป่วย” ได้คัดนักเรียนประมาณ 5 คน ในชั้นไปสอนในแบบการเรียน “แบบฉบับ” ไฮสกูลของอังกฤษ ผมเป็น 1 ใน 5 คน
ทั้งนี้ได้รับ “การบ้าน” ซึ่งฮอสสิก เรียกว่า assignment ให้เราไปค้นคว้าเรื่อง acropolis มา โดยที่มันเป็นที่ตั้งของวิหารพาเทนอนนั่นเอง
นอกจากให้เราค้นคว้าแล้ว เราต้องเขียนเรียงความยาวหนึ่งหน้ากระดาษเป็นการบ้านด้วย
เวลานั้นเป็นเรื่องยากมาก
เพราะแค่แปลเป็นภาษาไทยก็เกือบจะเปิดดิกชันนารีกันทุกคำ และกว่าจะเรียงแต่ละคำเป็นประโยคก็ยิ่งแล้วใหญ่
แต่พวกเราก็เรียนกันมาได้ ในรูปแบบของ “วิถีการเรียนแบบไฮสกูลอังกฤษ” ครับ
ผมไม่เคยคิดว่าอีก 3 ปี ต่อมาสิ่งที่ฮอสสิกสอน จะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์กับผมโดยตรง เมื่อผมไปเรียนไฮสกูลแบบอังกฤษที่ประเทศนิวซีแลนด์
ปลายปีนี้นั้นเอง ฮอสสิกก็จัดละครกลางแจ้งเรื่องม้าไม้แห่งกรุงทรอย ผมกับเพื่อนๆ เล่นเป็นทหารกรีกมีหมวกและโล่แต่งตัวกันเท่ห์มาก ฟันดาบที่ทำจากไม้กันโฉ่งฉ่าง ในละครนี้มีม้านับสิบตัว และม้าไม้นั้นหุ้มด้วยกระดาษ คนเข้าไปนั่งได้จริงๆ และนั่งได้สิบกว่าคน (เด็กๆ นั่งนะครับ)
เพราะ “ม้าไม้แห่งกรุงทรอย” นี้เองทำให้ผมและเพื่อนๆ อีก 4-5 คนได้รับประสบการณ์เรื่อง“ผีลากม้าไม้” ที่วชิราวุธมาแล้วอย่างน่ากลัวขนหัวลุกขณะเขียนเรื่องนี้
คือเมื่อละครจบไปแล้ว ม้าไม้ก็ถูกทิ้งไว้ที่สนามหน้าหอประชุม
ตกกลางคืนราวๆ 4 ทุ่ม ผมกับเพื่อนๆ นึกซนขึ้นมาก็เลยแอบขึ้นไปปีนเล่น แล้วก็เข้าไปอยู่ในท้องม้าไม้กันหมดเพื่อแอบสูบบุหรี่กัน ข้างในมืดมาก พอสูบบุหรี่ไฟก็แดงวูบวาบ แต่มันมองไม่เห็นจากภายนอก
เราอยู่กันนานแค่ไหน ไม่มีใครบอกได้ แต่เป็นชั่วโมง
อยู่ๆ ก็มีเสียงออดๆ แอดๆ แล้วม้าไม้ก็เขยื้อนช้าๆ
“เฮ้ย” ไอ้ติ่งบอกเป็นคนแรก
“มันเดินว่ะ” เพื่อนอีกคนบอกด้วยเสียงกระซิบ
“แม่ง! ใครลากว่ะ” ผมพยายามมองลงดูข้างล่าง แต่มองไม่เห็นแต่รู้ว่ามันมีเชือกให้ลาก เพราะในละครต้องมีลากไม้เข้าเมือง
หลังจากม้าไม้เริ่มเดินช้าๆ มันก็เดินเร็วขึ้น แต่ก็ไม่ได้เร็วมาก
เราก็ไม่ว่าอะไร แต่ดูว่ามาไกลพอควร เพราะใช้เวลาร่วม 5 นาที
เส้นทางนั้นผ่านถนนเล็กๆ และดูว่าเมื่อไม่หยุดก็จะตรงไปยังสนามหลัง ซึ่งเป็นสนามใหญ่ 2 สนามด้วยกัน
ขณะนั้นมีสุนัขไม่รู้กี่ตัว ตอนแรกๆ มันเห่าเสียงดัง
พอม้าไม้ถูกลากไปใกล้ๆ เสียงเห่าสุนัขก็เงียบสักพัก แล้วมันก็เริ่มแหกปากหอนกันเกรียว
พอเรามองตากันเหมือนกับจะบอกว่า สงสัยจะเจอดีเข้าแล้ว
ม้าไม้เดินอยู่ 10 นาที ก็หยุดเฉยๆ ทันทีที่หยุดพวกเราก็เปิดประตูท้องม้า แล้วโดดลงมา ว่าจะเขกหัวไอ้คนมาลากสักคนละทีสองที
แต่พบว่า มันไม่มีใครเลยสักคน ไอ้ติ่งเลยพูดค่อยๆ ว่า “ผี” เท่านั้นแหละ เราต่างก็โกยแนบ วิ่งโดยไม่เหลียวมองข้างหลัง กลับไปนอนที่คณะแบบสยองขวัญ
เป็นประสบการณ์ที่น่ากลัวสุดๆ เพื่อนๆ จับไข้ลุกไม่ขึ้น 2-3 คน
วันรุ่งขึ้นม้าไม้ตัวนั้นก็ยังอยู่ที่สนามหลัง และพบรอยลากจากจุดที่มันอยู่ที่สนามหน้าหอประชุมเป็นทางมาสนามแล้ว โดยปราศจากรอยคนลาก แม้แต่รอยเดียว ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย
ครับ... ผมไม่เข้าใจมาถึงทุกวันนี้ ผมนั้นไม่เคยกลัวผีมาก่อน เวลานี้ก็ไม่กลัว
แต่ผมไม่สามารถหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ใดๆ มาอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ แต่มันเป็นครั้งเดียวเท่านั้นที่ผมเชื่อว่าผีนั้นอาจจะมีจริง
วชิราวุธตำนานเรื่องผีมากมาย ม้าไม้เป็นหนึ่งในตำนานที่พวกผมเคยเจอะเจอมาครับ