xs
xsm
sm
md
lg

มาตรการจำนำ VS ประกันราคาข้าว

เผยแพร่:   โดย: แสงแดด

จากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังตกสะเก็ดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภายในชาติบ้านเมืองเราเองหรือต่างประเทศ ที่ยังต้องเผชิญ “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” ที่ลามไปทั่วโลก ยาวนานนับปีกว่าๆ เกือบสองปี ซึ่งคาดการณ์กันว่า กว่าสภาวะเศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัวได้ น่าจะประมาณช่วงกลางปี 2553 (2010) หรือเลยไตรมาสที่ 2 ไปเรียบร้อยแล้ว

ล่าสุดมาเจอ “วิกฤตส่งออก” ที่รายงานล่าสุดของเดือนพฤษภาคม “ติดลบ 26%” เล่นเอาผงะกันไปเป็นแถวๆ ยังดีที่ท่านนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “แอ่นอก-ปกป้อง” รัฐมนตรีฯ พรทิวา นาคาศัย ว่าเป็น “วิกฤตเศรษฐกิจโลก”

ประเด็นที่ “แสงแดด” ได้ยินสดับตรับฟังมาตลอด 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้กระทั่ง เดินทางไปต่างประเทศเพื่อช่วยกระตุ้นการส่งออก แต่พอกลับมาเมืองไทย ยังคงได้ยินได้ฟังเรื่องเดิมๆ เกี่ยวกับ “ประกันราคาข้าว- จำนำข้าว” ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า มีผู้คนจำนวนมาก แม้กระทั่ง “แสงแดด” เอง ยังไม่มีความกระจ่างชัดเจนเลยว่า “ข้อดี- ข้อเสีย” และ “ข้อแตกต่าง” ในกรณี “คำอธิบาย” ว่าคืออะไร เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ปะหน้ากับนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จอมยุทธ์จากค่ายโดม ถามว่า “ช่วยอธิบายทีได้มั้ยว่า จำนำข้าวกับประกันข้าว” มันแตกต่างกันอย่างไร?!?

“แสงแดด” จึงต้อง “แบกหน้า- แบกโทรศัพท์” รีบหาข้อมูลจาก “กระทรวงพาณิชย์” และบรรดา “ผู้รู้- ผู้ประกอบการ” จากสมาคมฯ ข้าว ช่วยกรุณาส่งข้อมูล พร้อมช่วยวิพากษ์วิจารณ์ด้วยว่า “ข้อเท็จจริง” เป็นเช่นไร ด้วย “ตารางเปรียบเทียบ-ข้อดีข้อเสีย-ข้อคิดเห็น”

เปรียบเทียบมาตรการโครงการรับจำนำกับโครงการประกันราคาข้าว
มาตรการ / นโยบายโครงการรับจำนำโครงการประกันราคา
มาตรการ/เป้าหมาย  
มาตรการด้านราคา- โครงการรับจำนำปัจจุบัน กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกประมาณ 11,800 บาทต่อเกวียน หรือต่อตัน- โครงการประกันราคานำร่อง (ตามมติ ครม.3 มิ.ย.52) กำหนดราคาประกันให้สูงกว่าราคารับจำนำ 1,000 บาทตามประกาศของ กขช.
เป้าหมาย1. ราคาข้าว ไม่ควรต่ำกว่า 10,000 บาท ต่อเกวียน2. การแทรกแซงร้อยละ 30 ของผลผลิตจากผลผลิตทั้งปีประมาณ 30 ล้านตัน รัฐเข้าแทรกแซง 10 ล้านตัน1. เกษตรกรจะได้รับส่วนต่างจากราคารับประกันกับราคาตลาด หากราคารับประกันต่ำกว่า หรือจะเลือกช่วงเวลาจำหน่ายที่ได้ราคาดีที่สุด2. เป้าหมายของรัฐบาลหลังโครงการนำร่องจะประกาศเป็นนโยบายการดำเนินการทั้งประเทศ 100% หรือทั้งหมด 30 ล้านตันข้าวเปลือก
งบประมาณรับ-จ่ายจ่าย เข้าแทรกแซงร้อยละ 30 เท่ากับ 10 ล้านตัน ใช้งบประมาณ 118,000 ล้านบาท - แปลงเป็นข้าวสารได้ประมาณ 5.5 ล้านตันต้นทุน ข้าวสารของรัฐประมาณ 23,000 บาท/ตัน รวมค่าใช้จ่ายการสีข้าวและค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้วรับ จำหน่ายข้าวสารจำนวน 5.5 ล้านตัน ในราคาตลาด โดยปกติราคาจำหน่ายของรัฐจะต่ำกว่าราคาตลาด หากประมาณราคาตลาดที่ 16,000-17,000 บาท/ตัน สมมติกรณีรัฐจำหน่ายราคาต่ำสุด 14,000 บาทต่อตัน จะได้รายได้ทั้งหมด 77,000 บาทจ่าย หากราคารับประกันเท่ากับราคาจำนำข้าวเปลือก คือ 12,000 บาท/ตัน และราคาตลาด 10,000 บาท/ตัน รัฐจะใช้เงินส่วนต่างตันละ 2,000 บาท- การประกันราคา 100% ของผลผลิตคือจำนวน 30 ล้านตัน ข้าวเปลือกจะต้องใช้เงินเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 60,000 ล้านบาทรับ การประกันราคา รัฐจะไม่มีข้าวถือครองในมือ เพราะข้าวยังคงอยู่ที่เกษตรกร หรือฝากกับสหกรณ์หรือโรงสี จึงไม่มีรายรับเกิดขึ้น
ความแตกต่างด้านภาระของภาครัฐงบประมาณจ่ายสุทธิ ภาครัฐใช้เงินงบประมาณสุทธิ จากค่าใช้จ่ายรายจ่าย 118,000 บาท หักรายรับ 77,000 บาท ใช้งบประมาณสุทธิประมาณ 41,000 ล้านบาท- รัฐบาลใช้เงินโครงการรับจำนำน้อยกว่าโครงการประกันราคา โดยใช้เงินประมาณ 60,000-41,000 ล้านบาท หรือน้อยละประมาณ 19,000 ล้านบาทงบประมาณจ่ายสุทธิ ภาครัฐจะต้องใช้เงินงบประมาณในการประกันราคาข้าวทั้งหมด 30 ล้านตัน เป็นเงินรวม 60,000 ล้านบาท- รัฐบาลใช้เงินโครงการประกันราคามากกว่าโครงการรับจำนำ เป็นเงินมากขึ้นจำนวน 19,000 ล้านบาท


การเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของโครงการรับจำนำ และการประกันราคาข้าว
ข้อที่โครงการรับจำนำ/การประกันราคาข้อดี/โครงการรับจำนำข้อเสีย/โครงการประกันราคา
1สัดส่วนครอบคลุมปริมาณข้าวการรับจำนำครอบคลุมปริมาณเพียงร้อยละ 30 ของข้าวที่มีอยู่ ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 เป็นไปตามกลไกตลาดการประกันข้าว ครอบคลุมข้าวที่มีอยู่ทั้งหมด 100% ทั่วประเทศ
2กลไกตลาดการรับจำนำ ช่วยการยันราคา เป็นราคาที่เกษตรกรคุ้มทุน และช่วยให้ราคาข้าวในประเทศและต่างประเทศไม่ตกต่ำการประกันราคา ทำให้กลไกตลาดเสียหาย ไม่มีการแทรกแซงราคาได้
3ภาระการชดเชยราคาการรับจำนำ รัฐบาลสามารถนำข้าวเข้าไปแทรกแซงราคาให้สูงขึ้น เพื่อรักษาราคาไม่ให้ต่ำสุดการประกันราคา รัฐจะต้องจ่ายส่วนต่างราคาที่ต่ำลงในปริมาณข้าวทั้งหมด เป็นภาระที่ค่อนข้างสูง
4การถือครองข้าวการรับจำนำ รัฐยังถือครองข้าวที่รับจำนำ ซึ่งสามารถนำมาเป็นกลไกรองรับการผันผวนของราคาการประกันราคา รัฐไม่มีการถือครองข้าว จะขาดเครื่องมือรองรับการผันผวนด้านราคา เป็นกลไกก่อให้เกิดการทุจริตมากกว่าเดิม ไม่มีข้าวเป็นสินค้าในคลัง
5คุณภาพข้าวการรับจำนำ จะกำหนดราคาตามเกรดคุณภาพของข้าว เกษตรกรจึงต้องดูแลคุณภาพข้าวให้ได้ราคาดีการประกันราคา เกษตรกรจะละเลยความใส่ใจด้านคุณภาพข้าวน้อยลง เพราะมีการประกันราคาที่สูงแล้ว


จาก “ตารางเปรียบเทียบ” ทั้งในกรณี “มาตรการโครงการรับจำนำ-ประกันราคาข้าว” กับ “ข้อดี-ข้อเสีย” น่าจะทำให้เราเกิดความเข้าใจและความกระจ่างบ้าง ส่วน “ประมวลข้อคิดเห็น-ข้อวิจารณ์” นั้น จะนำเสนอเป็น “ภาค 2” ในคราวต่อไป

อย่างไรก็ตาม “น่าสงสาร-น่าเห็นใจ” รัฐมนตรีพาณิชย์ พรทิวา นาคาศัย ที่มิได้ออกมาชี้แจงอธิบายหรือตอบโต้ สร้างความเข้าใจแต่ประการใด จนดูเสมือนว่าเกิดความไม่ชอบมาพากลขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว จากการโทรศัพท์สายตรงของ “แสงแดด” ว่า คุณพรทิวา นาคาศัย ตอบว่า “เป็นการมิบังควร เนื่องด้วยเป็นผู้น้อยที่จะออกมาตอบโต้และชี้แจงต่อสาธารณชน ซึ่งจริงๆ แล้ว ท่านนายกรัฐมนตรีเข้าใจดี แต่อาจเข้าใจผิดที่เกิดจากขบวนการเจาะยางและฤทธิ์มีดสั้นกันเอง ยังไงๆ ก็ทนได้”

ฟังแล้ว อ่านแล้วน่าจะเข้าใจและเห็นใจ รมว.พาณิชย์มากยิ่งขึ้น!
กำลังโหลดความคิดเห็น