ASTVผู้จัดการรายวัน- ตั้งคณะทำงาน 3 ชุดแยกศึกษาให้เป็นไปตามมาตรา 67 ขีดเส้นสรุปผล 9 ก.ค.ก่อนเคาะรอบสุดท้าย 16 ก.ค.เพื่อนำเสนอครม.ต่อไป เสนอแนวทางการทำแผนอีไอเอและเฮชไอเอให้เป็นแผนเดียวกัน
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการกำหนดแนวทางเพื่อดำเนินการตามมาตรา 67 ภายใต้รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 วานนี้(22มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้สรุปแนวทางการจัดตั้งคณะทำงาน 3 ชุดได้แก่ 1. คณะทำงานกำหนดขอบเขตหรือกรอบความหมายถึงคำจำกัดความเกี่ยวกับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน 2.คณะทำงานดูแลเรื่องรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(เฮชไอเอ) มีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และ 3. คณะทำงานดูแลองค์ประกอบข้อกฏหมายและองค์กรอิสระที่มีกฤษฏีกาเป็นประธาน
“ คณะทำงานทั้ง 3 ชุดดังกล่าวให้เร่งสรุปผลของการศึกษาและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเพื่อนำมาเสนอรายงานขั้นสุดท้ายต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีตนเป็นประธานวันที่ 9 ก.ค. และในวันที่ 16 ก.ค.จากนั้นจะเป็นการประชุมของคณะกรรมการชุดใหญ่อีกครั้งเพื่อสรุปผลทั้งหมดในการนำเสนอครม.ต่อไป”นายชาญชัยกล่าว
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้เสนอแนวทางในการจัดทำอีไอเอกับเฮชไอเอให้เป็นแผนเดียวกันแต่รายละเอียดคงจะอยู่ที่คณะทำงานจะไปศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากส่วนใหญ่ต่างก็เห็นว่าการจัดทำอีไอเอของประเทศที่พัฒนาแล้วและมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีได้แก่ เนเธอแลนด์ นิวซีแลนด์ และแคนาดา จะใช้อีไอเอเป็นแผนหลักและนำเอาเฮชไอเอมาร่วมด้วย
สำหรับกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้สอบถามไปยังกฤษฎีกาเกี่ยวกับกรณีที่ระหว่างนี้กฏหมายไม่แล้วเสร็จนั้นการอนุญาตประกอบกิจการจะดำเนินการได้หรือไม่ล่าสุดตัวแทนกฤษฎีกายังไม่สามารถระบุได้เนื่องจากต้องรอผลการศึกษาข้อกฏหมายในรายละเอียดก่อน
ดังนั้นระหว่างนี้หากกิจการใดที่ก่อสร้างเสร็จและรอการอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจะต้องรอให้กฤษฎีกาตีความออกมาก่อนว่าไม่ขัดมาตรา 67 จึงจะอนุญาตได้ รวมไปถึงหากคณะทำงานทั้งหมดได้ข้อสรุปเสนอครม.ก็จะสามารถนำจุดนี้มาประกอบการพิจารณาได้ทันที
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการกำหนดแนวทางเพื่อดำเนินการตามมาตรา 67 ภายใต้รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 วานนี้(22มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้สรุปแนวทางการจัดตั้งคณะทำงาน 3 ชุดได้แก่ 1. คณะทำงานกำหนดขอบเขตหรือกรอบความหมายถึงคำจำกัดความเกี่ยวกับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน 2.คณะทำงานดูแลเรื่องรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(เฮชไอเอ) มีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และ 3. คณะทำงานดูแลองค์ประกอบข้อกฏหมายและองค์กรอิสระที่มีกฤษฏีกาเป็นประธาน
“ คณะทำงานทั้ง 3 ชุดดังกล่าวให้เร่งสรุปผลของการศึกษาและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเพื่อนำมาเสนอรายงานขั้นสุดท้ายต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีตนเป็นประธานวันที่ 9 ก.ค. และในวันที่ 16 ก.ค.จากนั้นจะเป็นการประชุมของคณะกรรมการชุดใหญ่อีกครั้งเพื่อสรุปผลทั้งหมดในการนำเสนอครม.ต่อไป”นายชาญชัยกล่าว
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้เสนอแนวทางในการจัดทำอีไอเอกับเฮชไอเอให้เป็นแผนเดียวกันแต่รายละเอียดคงจะอยู่ที่คณะทำงานจะไปศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากส่วนใหญ่ต่างก็เห็นว่าการจัดทำอีไอเอของประเทศที่พัฒนาแล้วและมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีได้แก่ เนเธอแลนด์ นิวซีแลนด์ และแคนาดา จะใช้อีไอเอเป็นแผนหลักและนำเอาเฮชไอเอมาร่วมด้วย
สำหรับกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้สอบถามไปยังกฤษฎีกาเกี่ยวกับกรณีที่ระหว่างนี้กฏหมายไม่แล้วเสร็จนั้นการอนุญาตประกอบกิจการจะดำเนินการได้หรือไม่ล่าสุดตัวแทนกฤษฎีกายังไม่สามารถระบุได้เนื่องจากต้องรอผลการศึกษาข้อกฏหมายในรายละเอียดก่อน
ดังนั้นระหว่างนี้หากกิจการใดที่ก่อสร้างเสร็จและรอการอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจะต้องรอให้กฤษฎีกาตีความออกมาก่อนว่าไม่ขัดมาตรา 67 จึงจะอนุญาตได้ รวมไปถึงหากคณะทำงานทั้งหมดได้ข้อสรุปเสนอครม.ก็จะสามารถนำจุดนี้มาประกอบการพิจารณาได้ทันที