เมื่อวานนี้สหภาพพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พากันนัดหยุดเดินรถทั่วประเทศ
ผลที่ตามมา นอกจากประชาชนจำนวนไม่น้อยได้รับความไม่สะดวกในการเดินทางเหมือนปกติแล้ว ก็มีคำถามมากมายว่าเกิดอะไรขึ้น?
แม้คนรถไฟหรือตัวแทนของสหภาพพนักงานการรถไฟฯ จะพยายามบ่งบอกความเห็นและจุดยืนของพวกเขาผ่านการให้สัมภาษณ์ทางทีวี วิทยุ หรือสื่อต่างๆ ตลอดทั้งวันและอาจรวมถึงแผ่นป้ายที่ขึงติดอยู่ตามสถานีใหญ่ๆ เช่น หัวลำโพง บางซื่อ ว่า “คนรถไฟ คัดค้าน บริษัทเดินรถ อนาคต ขูดรีด ประชาชน” ก็ตอบโจทย์ได้ระดับหนึ่ง
เนื่องเพราะคำอธิบายเหตุผลด้วยเงื่อนเวลาสั้นๆ ก็ดี แผ่นป้ายที่มีข้อจำกัดด้านการใส่รายละเอียดเนื้อหาก็ดี ย่อมไม่สามารถทำให้คนทั่วไปเข้าใจเรื่องได้ทั้งหมด
ยิ่งคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารอย่างเกาะติด หรือไม่ทราบความเคลื่อนไหวมาก่อนซึ่งผมคิดว่ามีปริมาณมากพอสมควรที่เป็นผู้โดยสารกลุ่มเป้าหมายของรถไฟ พวกเขาเหล่านี้ก็มีสิทธิงุนงงและสงสัยกันทุกคน
จู่ๆ รถไฟหยุดให้บริการ แท้ที่จริงแล้วการรถไฟไทยกำลังมีปัญหาอะไร กำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงอย่างไร? บริษัทเดินรถ คืออะไร ทำไมต้องคัดค้าน?
เรื่องนี้ความจริงเป็นเรื่องต่อเนื่อง และว่าไปแล้วก็น่าเห็นใจคนรถไฟ
เท่าที่ติดตาม สหภาพพนักงานการรถไฟฯ ได้เคลื่อนไหวมาหลายครั้งแล้วก่อนหน้านี้ ทั้งก่อนและหลังการนำวาระ “แผนฟื้นฟูการรถไฟฯ” หรือแผนยุทธศาสตร์ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าพิจารณาใน ครม. แต่บังเอิญถูกกระแสการฟื้นฟู ขสมก.ด้วยการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันกลบไปหมดสิ้น
แผนฟื้นฟูฯ ขสมก.ถูกชำแหละและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ขณะที่แผนฟื้นฟูการรถไฟฯ มาเงียบๆ และผ่านครม.ไปอย่างเงียบๆ เช่นกันตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน
ทั้งนี้ ในความเหมือนที่แตกต่าง หากพิจารณาในเนื้อหาระหว่างองค์กรทั้งสองซึ่งเป็นบริการสาธารณะ เป็นขนส่งมวลชน เป็นกิจการของรัฐเหมือนๆ กันก็จริง ทว่า ประเด็นของ ขสมก.ดูจะเข้าใจได้ง่ายกว่า
เนื่องเพราะวิธีการแก้ปัญหาที่นักการเมืองร่วมกันกับบอร์ดบริหารของ ขสมก.คือ กระบวนการจัดซื้อ-จัดจ้างในรูปแบบถนัดของนักโกงกิน ทุจริตคอร์รัปชันประเภทเดิมๆ
พวกเขาเชื่อว่าหากทำตามแผนฟื้นฟูฯ โดยการลงทุน 64,000 ล้านบาทเช่ารถใหม่มาแทนรถเก่า 4,000 คันแล้วจะทำให้ ขสมก.ที่ขาดทุนบานเบอะหลายหมื่นล้านพลิกกลับมามีกำไรในเวลาไม่กี่ปี
แต่พวกเขาก็ลืมไปว่า แผนเช่ารถใหม่มูลค่าแพงระยับถูกผลักดันมาแล้วหลายครั้งหลายคราจนข้อมูลข่าวสารแพร่กระจาย ย่อมต้องมีผู้จับพิรุธ อ่านวาระที่ซ่อนเร้น เห็นความไม่ชอบมาพากลดังกล่าว คนทั่วไปจึงร่วมกันคัดค้าน และเวลานี้สภาพัฒน์ต้องทำงานหนักเพื่อหาข้อมูลให้ ครม.ได้ตัดสินใจ
ขณะที่การรถไฟฯ ตามแผนฟื้นฟูมีคำอธิบายจากนักการเมือง และบอร์ดบริหารการรถไฟฯ เป็นอะไรที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่า
สาระสำคัญที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ก็คือ เป็นแผนฟื้นฟูฯ ที่จะทำให้เกิดการแยกภารกิจของการรถไฟฯ ออกจากกัน
นั่นคือ การจัดตั้งบริษัทเดินรถ เพื่อบริหารการเดินรถโดยสาร รถขนส่งสินค้า และโครงการระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ “แอร์พอร์ตลิงก์”
สอง ตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน เพื่อบริหารจัดการที่ดินและทรัพย์สินให้คล่องตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ที่การรถไฟฯ จะต้องแบกรับภาระดำเนินการเอง
นอกจากนี้ยังรวมถึงแผนปรับโครงสร้างการเงินที่จะเริ่มจากแก้ไขปัญหาหนี้ และขาดทุนสะสมในอดีต 72,850 ล้านบาท! และแก้ปัญหาภาระเงินบำนาญของพนักงานการรถไฟฯ ที่มีจำนวน 25,749 คนในวงเงิน 156,000 ล้านบาท
ประเมินว่า หากทำได้ตามแผนงบการเงิน พ.ศ. 2552-2561 ของการรถไฟฯ จะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นผลโดยจะทำให้รายได้ของการรถไฟฯ เพิ่มขึ้นจาก 79,683 เป็น 109,521 ล้านบาท!
จะเห็นว่า เป็นแผนการในฝัน (ร้าย) คล้ายๆ ขสมก.เพียงแต่รถไฟยังไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างเข้ามาเอี่ยวในเบื้องต้นเท่านั้น!
ขณะเรื่องตั้งบริษัทเดินรถ - บริษัทจัดการทรัพย์สิน ถูกยืนยันว่า การบริหารทั้งหมดยังอยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฯ เช่น คำมั่นที่ว่าจะให้การรถไฟฯ ถือหุ้น100%
ทว่า สิ่งที่คนรถไฟคัดค้าน คือ “บริษัทลูก” ที่จะเกิดขึ้นคือการเริ่มต้นของการนำไปสู่การแปรรูปกลายๆ
คนรถไฟเห็นว่า พลันที่มีการจดทะเบียนบริษัท ก็เท่ากับองค์กรที่มีอายุยืนยาวมากว่า 100 ปีต้องแยกสลาย และรัฐบาลเองที่ผ่านมาก็ไม่มีหลักประกันความมั่นใจว่า การเปลี่ยนแปลงจะไม่ทำให้พนักงานการรถไฟฯ ถูกกระทบคนต้องตกงานแค่ไหน ประการสำคัญ ประชาชนจะได้รับบริการที่ดีขึ้น ในราคายุติธรรมจากแผนฟื้นฟูฯ หรือไม่ อย่างไร
ที่กล่าวมาทั้งหมดใช่ว่า ผมจะเชียร์ให้คนรถไฟหยุดเดินรถประท้วงรัฐต่อไป แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะนิ่งเงียบไม่ฟังเสียงของคนรถไฟที่ย่อมรู้ดีเรื่องรถไฟมากกว่าใครๆ
ขสมก.และการรถไฟฯ อยู่ในภาวะที่ไม่ต่างกัน ขาดทุนมโหฬาร บริการแย่ ย่อมต้องการเปลี่ยนแปลง
ผมเพียงหวังว่า รัฐบาลจะกล้าเปิดเผยข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอย่างตรงไปตรงมา ทบทวนในสิ่งที่คนรถไฟได้สะท้อนความกังวล พร้อมๆ กับหาวิธีให้พนักงานการรถไฟฯ และประชาชนได้อุ่นใจว่า การปรับปรุงแก้ไขกิจการรถไฟหรือใดๆ ก็ตามนั้น ต้องกระทำด้วยความโปร่งใส และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมจริงๆ
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th
ผลที่ตามมา นอกจากประชาชนจำนวนไม่น้อยได้รับความไม่สะดวกในการเดินทางเหมือนปกติแล้ว ก็มีคำถามมากมายว่าเกิดอะไรขึ้น?
แม้คนรถไฟหรือตัวแทนของสหภาพพนักงานการรถไฟฯ จะพยายามบ่งบอกความเห็นและจุดยืนของพวกเขาผ่านการให้สัมภาษณ์ทางทีวี วิทยุ หรือสื่อต่างๆ ตลอดทั้งวันและอาจรวมถึงแผ่นป้ายที่ขึงติดอยู่ตามสถานีใหญ่ๆ เช่น หัวลำโพง บางซื่อ ว่า “คนรถไฟ คัดค้าน บริษัทเดินรถ อนาคต ขูดรีด ประชาชน” ก็ตอบโจทย์ได้ระดับหนึ่ง
เนื่องเพราะคำอธิบายเหตุผลด้วยเงื่อนเวลาสั้นๆ ก็ดี แผ่นป้ายที่มีข้อจำกัดด้านการใส่รายละเอียดเนื้อหาก็ดี ย่อมไม่สามารถทำให้คนทั่วไปเข้าใจเรื่องได้ทั้งหมด
ยิ่งคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารอย่างเกาะติด หรือไม่ทราบความเคลื่อนไหวมาก่อนซึ่งผมคิดว่ามีปริมาณมากพอสมควรที่เป็นผู้โดยสารกลุ่มเป้าหมายของรถไฟ พวกเขาเหล่านี้ก็มีสิทธิงุนงงและสงสัยกันทุกคน
จู่ๆ รถไฟหยุดให้บริการ แท้ที่จริงแล้วการรถไฟไทยกำลังมีปัญหาอะไร กำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงอย่างไร? บริษัทเดินรถ คืออะไร ทำไมต้องคัดค้าน?
เรื่องนี้ความจริงเป็นเรื่องต่อเนื่อง และว่าไปแล้วก็น่าเห็นใจคนรถไฟ
เท่าที่ติดตาม สหภาพพนักงานการรถไฟฯ ได้เคลื่อนไหวมาหลายครั้งแล้วก่อนหน้านี้ ทั้งก่อนและหลังการนำวาระ “แผนฟื้นฟูการรถไฟฯ” หรือแผนยุทธศาสตร์ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าพิจารณาใน ครม. แต่บังเอิญถูกกระแสการฟื้นฟู ขสมก.ด้วยการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันกลบไปหมดสิ้น
แผนฟื้นฟูฯ ขสมก.ถูกชำแหละและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ขณะที่แผนฟื้นฟูการรถไฟฯ มาเงียบๆ และผ่านครม.ไปอย่างเงียบๆ เช่นกันตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน
ทั้งนี้ ในความเหมือนที่แตกต่าง หากพิจารณาในเนื้อหาระหว่างองค์กรทั้งสองซึ่งเป็นบริการสาธารณะ เป็นขนส่งมวลชน เป็นกิจการของรัฐเหมือนๆ กันก็จริง ทว่า ประเด็นของ ขสมก.ดูจะเข้าใจได้ง่ายกว่า
เนื่องเพราะวิธีการแก้ปัญหาที่นักการเมืองร่วมกันกับบอร์ดบริหารของ ขสมก.คือ กระบวนการจัดซื้อ-จัดจ้างในรูปแบบถนัดของนักโกงกิน ทุจริตคอร์รัปชันประเภทเดิมๆ
พวกเขาเชื่อว่าหากทำตามแผนฟื้นฟูฯ โดยการลงทุน 64,000 ล้านบาทเช่ารถใหม่มาแทนรถเก่า 4,000 คันแล้วจะทำให้ ขสมก.ที่ขาดทุนบานเบอะหลายหมื่นล้านพลิกกลับมามีกำไรในเวลาไม่กี่ปี
แต่พวกเขาก็ลืมไปว่า แผนเช่ารถใหม่มูลค่าแพงระยับถูกผลักดันมาแล้วหลายครั้งหลายคราจนข้อมูลข่าวสารแพร่กระจาย ย่อมต้องมีผู้จับพิรุธ อ่านวาระที่ซ่อนเร้น เห็นความไม่ชอบมาพากลดังกล่าว คนทั่วไปจึงร่วมกันคัดค้าน และเวลานี้สภาพัฒน์ต้องทำงานหนักเพื่อหาข้อมูลให้ ครม.ได้ตัดสินใจ
ขณะที่การรถไฟฯ ตามแผนฟื้นฟูมีคำอธิบายจากนักการเมือง และบอร์ดบริหารการรถไฟฯ เป็นอะไรที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่า
สาระสำคัญที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ก็คือ เป็นแผนฟื้นฟูฯ ที่จะทำให้เกิดการแยกภารกิจของการรถไฟฯ ออกจากกัน
นั่นคือ การจัดตั้งบริษัทเดินรถ เพื่อบริหารการเดินรถโดยสาร รถขนส่งสินค้า และโครงการระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ “แอร์พอร์ตลิงก์”
สอง ตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน เพื่อบริหารจัดการที่ดินและทรัพย์สินให้คล่องตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ที่การรถไฟฯ จะต้องแบกรับภาระดำเนินการเอง
นอกจากนี้ยังรวมถึงแผนปรับโครงสร้างการเงินที่จะเริ่มจากแก้ไขปัญหาหนี้ และขาดทุนสะสมในอดีต 72,850 ล้านบาท! และแก้ปัญหาภาระเงินบำนาญของพนักงานการรถไฟฯ ที่มีจำนวน 25,749 คนในวงเงิน 156,000 ล้านบาท
ประเมินว่า หากทำได้ตามแผนงบการเงิน พ.ศ. 2552-2561 ของการรถไฟฯ จะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นผลโดยจะทำให้รายได้ของการรถไฟฯ เพิ่มขึ้นจาก 79,683 เป็น 109,521 ล้านบาท!
จะเห็นว่า เป็นแผนการในฝัน (ร้าย) คล้ายๆ ขสมก.เพียงแต่รถไฟยังไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างเข้ามาเอี่ยวในเบื้องต้นเท่านั้น!
ขณะเรื่องตั้งบริษัทเดินรถ - บริษัทจัดการทรัพย์สิน ถูกยืนยันว่า การบริหารทั้งหมดยังอยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฯ เช่น คำมั่นที่ว่าจะให้การรถไฟฯ ถือหุ้น100%
ทว่า สิ่งที่คนรถไฟคัดค้าน คือ “บริษัทลูก” ที่จะเกิดขึ้นคือการเริ่มต้นของการนำไปสู่การแปรรูปกลายๆ
คนรถไฟเห็นว่า พลันที่มีการจดทะเบียนบริษัท ก็เท่ากับองค์กรที่มีอายุยืนยาวมากว่า 100 ปีต้องแยกสลาย และรัฐบาลเองที่ผ่านมาก็ไม่มีหลักประกันความมั่นใจว่า การเปลี่ยนแปลงจะไม่ทำให้พนักงานการรถไฟฯ ถูกกระทบคนต้องตกงานแค่ไหน ประการสำคัญ ประชาชนจะได้รับบริการที่ดีขึ้น ในราคายุติธรรมจากแผนฟื้นฟูฯ หรือไม่ อย่างไร
ที่กล่าวมาทั้งหมดใช่ว่า ผมจะเชียร์ให้คนรถไฟหยุดเดินรถประท้วงรัฐต่อไป แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะนิ่งเงียบไม่ฟังเสียงของคนรถไฟที่ย่อมรู้ดีเรื่องรถไฟมากกว่าใครๆ
ขสมก.และการรถไฟฯ อยู่ในภาวะที่ไม่ต่างกัน ขาดทุนมโหฬาร บริการแย่ ย่อมต้องการเปลี่ยนแปลง
ผมเพียงหวังว่า รัฐบาลจะกล้าเปิดเผยข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอย่างตรงไปตรงมา ทบทวนในสิ่งที่คนรถไฟได้สะท้อนความกังวล พร้อมๆ กับหาวิธีให้พนักงานการรถไฟฯ และประชาชนได้อุ่นใจว่า การปรับปรุงแก้ไขกิจการรถไฟหรือใดๆ ก็ตามนั้น ต้องกระทำด้วยความโปร่งใส และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมจริงๆ
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th