ASTVผู้จัดการรายวัน- 4 หน่วยงานก.อุตฯ สาธารณสุข วิทย์ และกระทรวงทรัพยากรฯเตรียมหารือ 22 มิ.ย.นี้นัดแรกเพื่อกำหนดโมเดลให้สอดรับกับมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญปี 50 คาด 1 เดือนสรุปเสนอครม. “ชาญชัย”ชี้ยกเลิกประกาศก.อุตฯไม่มีปล่อยผี จับตา 20 โครงการสร้างเสร็จรออนุญาตประกอบกิจการจากกนอ.-กรอ. ชาญชัยบอกให้รอ 1 เดือนแต่ผู้ช่วยบอกขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ 2 หน่วยงาน
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันที่ 22 มิ.ย.นี้ได้ทำหนังสือเชิญไปยังรมว.กระทรวงสาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อหารือเบื้องต้นในการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม(EIA)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)โดยทั้งหมดจะมีความชัดเจนใน 1 เดือนเพื่อนำเสนอครม.พิจารณา
ทั้งนี้เพื่อเปิดทางให้การหารือได้อย่างเต็มที่ในการกำหนดรูปแบบกระทรวงอุตสาหกรรมจึงยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2551เพื่อให้สอดรับกับมาตรา 67 มีผลตั้งแต่ 15 มิ.ย.เป็นต้นไปซึ่งประกาศดังกล่าวใช้แผน EIA มาพิจารณาอนุมัติโครงการแต่ความชัดเจนของระดับความรุนแรงของผลกระทบไม่มี และไม่มีการขอความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ ประกอบกับประกาศดังกล่าวไม่มีการลงในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน
“ การยกเลิกประกาศไม่ได้เป็นการปล่อยผีให้กับผู้ลงทุนอะไรแต่เป็นการเปิดทางให้กำหนดรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมและสอดรับกับมาตรา 67 ดังนั้นโครงการที่ผ่าน EIAแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้างก็ยังก่อสร้างต่อไป แต่โครงการที่สร้างเสร็จและจะต้องขออนุญาตประกอบกิจการที่หากอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจะต้องขออนุญาติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)และอยู่นอกนิคมฯจะต้องขอกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมตรงนี้จะต้องรอความชัดเจนใน 1 เดือนก่อน”นายชาญชัยกล่าว
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า การอนุญาตประกอบกิจการนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานว่าจะให้อนุญาตหรือไม่ฝ่ายการเมืองคงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวแต่ต้องมีเงื่อนไขว่าเมื่อรูปแบบและความชัดเจนที่จะกำหนดภายใน 1 เดือนออกมาก็จะต้องทำตามนั้นอยู่ดี อย่างไรก็ตามการหารือนัดแรกวันที่ 22 มิ.ย.นั้นเบื้องต้นการจัดทำแผน EIA และHIA จะต้องมาดูว่าจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไรแต่จะพยายามที่จะให้มีการทำควบคู่กันไปเพื่อไม่ให้เกิดขั้นตอนที่ยุ่งยากและยาวนานเพราะหากขั้นตอนที่ใช้เวลาจะมีผลต่อการลงทุนได้
นอกจากนี้การพิจารณาจัดตั้งองค์กรอิสระภายใต้มาตรา 67 นั้นจะเชิญตัวแทนจากคณะกรรมการกฤษฎีกามาเพื่อความเป็นกลางเนื่องจากหากให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดหรือกระทรวงทรัพยากรฯกำหนดอาจถูกมองว่าเข้าข้างนักลงทุนและเอ็นจีโอได้
20โครงการรอใบอนุญาตประกอบกิจการ
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมกล่าวว่า โรงงานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและอยู่ในข่ายที่จะขออนุญาตประกอบกับกิจการกับกรอ.มีประมาณ 10 กว่ารายส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดกลาง
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่ากนอ.กล่าวว่า โรงงานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมยื่นขอประกอบกิจการมี 3 โรงงานคือ บริษัทสยามแผ่นเหล็กวิลาส ลงทุน1,800 ล้านบาท บริษัทปตท.อะโรเมติกส์ จำกัด(มหาชน)หรือ PTTAR ลงทุน1,300 ล้านบาทและบริษัทอทิตยา เบอร์ลา ลงทุนปิโตรเคมีมูลค่า270 ล้านบาท
นายสุทธิ อัชฌาสัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า เครือข่ายฯได้มอบหมายให้สภาทนายความแห่งประเทศไทยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองวันนี้(19มิ.ย.) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ไม่ทำตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญ และให้ระงับ 40 กว่าโครงการที่ผ่านอีไอเอไปแล้วให้กลับมาจัดทำแผนให้สอดคล้องกับมาตรา 67 ที่กำหนด
สำหรับกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกประกาศเรื่องโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงนั้นหากการประกาศดังกล่าวเพื่อเปิดช่องให้เกิดการอนุญาตระหว่างนี้ก็จะมีการยื่นฟ้องฐานปฏิบัติมิชอบแต่หากไม่มีการอนุญาตใดๆ เพื่อรอความชัดเจนรูปแบบที่จะกำหนดร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงไม่มีปัญหา
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันที่ 22 มิ.ย.นี้ได้ทำหนังสือเชิญไปยังรมว.กระทรวงสาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อหารือเบื้องต้นในการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม(EIA)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)โดยทั้งหมดจะมีความชัดเจนใน 1 เดือนเพื่อนำเสนอครม.พิจารณา
ทั้งนี้เพื่อเปิดทางให้การหารือได้อย่างเต็มที่ในการกำหนดรูปแบบกระทรวงอุตสาหกรรมจึงยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2551เพื่อให้สอดรับกับมาตรา 67 มีผลตั้งแต่ 15 มิ.ย.เป็นต้นไปซึ่งประกาศดังกล่าวใช้แผน EIA มาพิจารณาอนุมัติโครงการแต่ความชัดเจนของระดับความรุนแรงของผลกระทบไม่มี และไม่มีการขอความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ ประกอบกับประกาศดังกล่าวไม่มีการลงในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน
“ การยกเลิกประกาศไม่ได้เป็นการปล่อยผีให้กับผู้ลงทุนอะไรแต่เป็นการเปิดทางให้กำหนดรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมและสอดรับกับมาตรา 67 ดังนั้นโครงการที่ผ่าน EIAแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้างก็ยังก่อสร้างต่อไป แต่โครงการที่สร้างเสร็จและจะต้องขออนุญาตประกอบกิจการที่หากอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจะต้องขออนุญาติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)และอยู่นอกนิคมฯจะต้องขอกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมตรงนี้จะต้องรอความชัดเจนใน 1 เดือนก่อน”นายชาญชัยกล่าว
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า การอนุญาตประกอบกิจการนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานว่าจะให้อนุญาตหรือไม่ฝ่ายการเมืองคงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวแต่ต้องมีเงื่อนไขว่าเมื่อรูปแบบและความชัดเจนที่จะกำหนดภายใน 1 เดือนออกมาก็จะต้องทำตามนั้นอยู่ดี อย่างไรก็ตามการหารือนัดแรกวันที่ 22 มิ.ย.นั้นเบื้องต้นการจัดทำแผน EIA และHIA จะต้องมาดูว่าจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไรแต่จะพยายามที่จะให้มีการทำควบคู่กันไปเพื่อไม่ให้เกิดขั้นตอนที่ยุ่งยากและยาวนานเพราะหากขั้นตอนที่ใช้เวลาจะมีผลต่อการลงทุนได้
นอกจากนี้การพิจารณาจัดตั้งองค์กรอิสระภายใต้มาตรา 67 นั้นจะเชิญตัวแทนจากคณะกรรมการกฤษฎีกามาเพื่อความเป็นกลางเนื่องจากหากให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดหรือกระทรวงทรัพยากรฯกำหนดอาจถูกมองว่าเข้าข้างนักลงทุนและเอ็นจีโอได้
20โครงการรอใบอนุญาตประกอบกิจการ
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมกล่าวว่า โรงงานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและอยู่ในข่ายที่จะขออนุญาตประกอบกับกิจการกับกรอ.มีประมาณ 10 กว่ารายส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดกลาง
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่ากนอ.กล่าวว่า โรงงานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมยื่นขอประกอบกิจการมี 3 โรงงานคือ บริษัทสยามแผ่นเหล็กวิลาส ลงทุน1,800 ล้านบาท บริษัทปตท.อะโรเมติกส์ จำกัด(มหาชน)หรือ PTTAR ลงทุน1,300 ล้านบาทและบริษัทอทิตยา เบอร์ลา ลงทุนปิโตรเคมีมูลค่า270 ล้านบาท
นายสุทธิ อัชฌาสัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า เครือข่ายฯได้มอบหมายให้สภาทนายความแห่งประเทศไทยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองวันนี้(19มิ.ย.) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ไม่ทำตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญ และให้ระงับ 40 กว่าโครงการที่ผ่านอีไอเอไปแล้วให้กลับมาจัดทำแผนให้สอดคล้องกับมาตรา 67 ที่กำหนด
สำหรับกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกประกาศเรื่องโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงนั้นหากการประกาศดังกล่าวเพื่อเปิดช่องให้เกิดการอนุญาตระหว่างนี้ก็จะมีการยื่นฟ้องฐานปฏิบัติมิชอบแต่หากไม่มีการอนุญาตใดๆ เพื่อรอความชัดเจนรูปแบบที่จะกำหนดร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงไม่มีปัญหา