ASTVผู้จัดการรายวัน- ชาญชัยยังไม่ลงนามร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมคุม 8 กิจการเข้าข่ายกระทบชุมชนและสิ่งแวดล้อม เหตุส่งให้กฤษฎีกาช่วยตรวจทานเพื่อความรอบคอบหวั่นกลุ่มค้านหาช่องโหว่ฟ้องร้องคาดจะออกประกาศได้เร็วๆ นี้ ด้านกรอ.ฉลุยออกใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงาน 13 โครงการฉลุย ขณะที่กนอ.ในมาบตาพุดยังรออีก21โครงการกว่า 2.7 แสนล.
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมได้ส่งร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการพิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพที่จัดทำขึ้นแบ่งเป็น 8กลุ่มกิจการไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจทานเนื้อหารายละเอียดเพื่อความถูกต้องซึ่งคาดว่าจะประกาศได้ในเร็วๆนี้
“ การส่งให้กฤษฎีกาก็เพื่อความถูกต้องและชัดเจนเพราะไม่อยากมีปัญหากับองค์กรภาคเอกชนหรือเอ็นจีโอให้มาฟ้องกันภายหลังได้อีกหากกฤษฎีกาตรวจทานแล้วคาดว่ารมว.อุตสาหกรรมก็จะลงนามได้ทันที ซึ่งประกาศดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 67 ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550 “แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับ 8 กิจการที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด คือ 1.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2.เหมืองแร่ใต้ดิน 3.เหมืองแร่แมงกานีส สังกะสี และตะกั่ว 4.โรงถลุงเหล็ก 5.โรงงานปิโตเคมี 6.นิคมอุตสาหกรรมที่มีโรงถลุงเหล็กและโรงงานปิโตเคมี 7.โรงไฟฟ้า 8.โรงงานกำจัดของเสียและกากอุตสาหกรรม ซึ่งประกาศดังกล่าวจะมีผลต่อกิจการที่ขอตั้งโรงงานใหม่เป็นหลัก
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)กล่าวว่า ขณะนี้กรอ.ได้พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงานแล้วหลังจากที่ก่อนหน้าชะลอออกให้เนื่องจากเกรงว่าจะผิดหลักรัฐธรรมนูญตามมาตรา 67 จนกฤษฎีกาตีความว่าสามารถอนุญาติได้ซึ่งมีโครงการทั้งสิ้น 13 โครงการมูลค่า 5.95 หมื่นล้านบาท กรอ.อนุญาตฯ 4 โครงการอีก 8โครงการเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการไฟฟ้าทางกรอ.ได้พิจารณาว่าสมควรอนุญาตแล้วส่งเรื่องให้กับคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า(เรกูเลเตอร)พิจารณาต่อ ส่วนอีก 1 โครงการเป็นเครือปตท.อยุ่ระหว่างพิจารณาคาดว่าจะอนุญาติได้เร็วๆนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญมาตรา67 ที่ต้องรอการออกใบอนุญาตประกอบกิจการจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ที่จ.ระยอง มีทั้งหมด21 โครงการรวมมูลค่า270,599 ล้านบาทโครงการแยกเป็นโครงการลงทุนใหม่ประกอบด้วย1. บริษัทเอ็มทีพีเอฟพีพีจำกัด ที่นิคมฯเอเซียมูลค่า18,620 ล้านบาท 2บริษัทพีทีที โพลีเอทิลีนจำกัด ที่นิคมฯผาแดงมูลค่า52,000
ล้านบาท 3บริษัทไทยเอทานอลเอมีนจำกัด ที่นิคมฯเหมราชตะวันออกมูลค่า1,800 ล้านบาท 1บริษัทมาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด ที่นิคมฯอาร์ไอแอล มูลค่า20,000 ล้านบาท5บริษัทเอ็มทีพีเอฟชพีพีจำกัด ที่นิคมฯเอเซียมูลค่า18,620 ล้านบาท
6.บริษัทไทยโพลีโพรไพลีนจำกัด ที่นิคมฯอาร์ไอแอล มูลค่า16,000 ล้านบาท 7. บริษัทพีทีที ฟีนอลจำกัดที่นิคมฯเหมราชตะวันออกมูลค่า85,000 ล้านบาท 8.บริษัทพีทีทีอาซาฮีเคมิคอลส์จำกัด ที่นิคมฯเหมราชตะวันออกมูลค่า17,424 ล้านบาท 9.บริษัทเก็ตโค่วันจำกัดที่นิคมฯมาบตาพุดมูลค่า38,268ล้านบาท 10.บริษัทสยามเลเท้กซ์สังเคราะห์จำกัดที่นิคมฯเอเชียมูลค่า 10,500 ล้านบาท 11.บริษัทเอ็มทีพี
เอชพีเจวีประเทศไทยจำกัดที่นิคมฯเอเชียมูลค่า300 ล้านบาท 12.บริษัทโซลเวย์ เพอรอกซีไทยจำกัดที่นิคมฯเอเชียมูลค่า170 ล้านบาท
สำหรับโครงการที่ขอขยายการลงทุนเพิ่มเติมประกอบด้วย1บริษัทสยามแผ่นเหล็กวิลาสจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุด อยู่ระหว่างขอทดลองเดินเครื่องจักรมูลค่า1,800 ล้านบาท 2. บริษัทสยามโพลีเอทีลีนจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุด มูลค่า9,590 ล้านบาท 3. บริษัทบางกอกโพลีเอทิลีนจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุดที่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากกนอ.มูลค่า5,887 ล้านบาท 4. บริษัทสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่งจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุด 5.บริษัทปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด ที่นิคมฯไอแอล มูลค่า1,330 ล้านบาท6. บริษัทปตท.เคมีคอลส์จำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุดมูลค่า7,780 ล้านบาท7. บริษัทโกลว์พลังงานจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุด มูลค่า17,464 ล้านบาท 8.บริษัทอติตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์จำกัดที่นิคมฯมาบตาพุดมูลค่า273 ล้านนบาท9. บริษัทปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นจำกัดที่นิคมฯมาบตาพุดมูลค่า8,855 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมได้ส่งร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการพิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพที่จัดทำขึ้นแบ่งเป็น 8กลุ่มกิจการไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจทานเนื้อหารายละเอียดเพื่อความถูกต้องซึ่งคาดว่าจะประกาศได้ในเร็วๆนี้
“ การส่งให้กฤษฎีกาก็เพื่อความถูกต้องและชัดเจนเพราะไม่อยากมีปัญหากับองค์กรภาคเอกชนหรือเอ็นจีโอให้มาฟ้องกันภายหลังได้อีกหากกฤษฎีกาตรวจทานแล้วคาดว่ารมว.อุตสาหกรรมก็จะลงนามได้ทันที ซึ่งประกาศดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 67 ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550 “แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับ 8 กิจการที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด คือ 1.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2.เหมืองแร่ใต้ดิน 3.เหมืองแร่แมงกานีส สังกะสี และตะกั่ว 4.โรงถลุงเหล็ก 5.โรงงานปิโตเคมี 6.นิคมอุตสาหกรรมที่มีโรงถลุงเหล็กและโรงงานปิโตเคมี 7.โรงไฟฟ้า 8.โรงงานกำจัดของเสียและกากอุตสาหกรรม ซึ่งประกาศดังกล่าวจะมีผลต่อกิจการที่ขอตั้งโรงงานใหม่เป็นหลัก
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)กล่าวว่า ขณะนี้กรอ.ได้พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงานแล้วหลังจากที่ก่อนหน้าชะลอออกให้เนื่องจากเกรงว่าจะผิดหลักรัฐธรรมนูญตามมาตรา 67 จนกฤษฎีกาตีความว่าสามารถอนุญาติได้ซึ่งมีโครงการทั้งสิ้น 13 โครงการมูลค่า 5.95 หมื่นล้านบาท กรอ.อนุญาตฯ 4 โครงการอีก 8โครงการเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการไฟฟ้าทางกรอ.ได้พิจารณาว่าสมควรอนุญาตแล้วส่งเรื่องให้กับคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า(เรกูเลเตอร)พิจารณาต่อ ส่วนอีก 1 โครงการเป็นเครือปตท.อยุ่ระหว่างพิจารณาคาดว่าจะอนุญาติได้เร็วๆนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญมาตรา67 ที่ต้องรอการออกใบอนุญาตประกอบกิจการจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ที่จ.ระยอง มีทั้งหมด21 โครงการรวมมูลค่า270,599 ล้านบาทโครงการแยกเป็นโครงการลงทุนใหม่ประกอบด้วย1. บริษัทเอ็มทีพีเอฟพีพีจำกัด ที่นิคมฯเอเซียมูลค่า18,620 ล้านบาท 2บริษัทพีทีที โพลีเอทิลีนจำกัด ที่นิคมฯผาแดงมูลค่า52,000
ล้านบาท 3บริษัทไทยเอทานอลเอมีนจำกัด ที่นิคมฯเหมราชตะวันออกมูลค่า1,800 ล้านบาท 1บริษัทมาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด ที่นิคมฯอาร์ไอแอล มูลค่า20,000 ล้านบาท5บริษัทเอ็มทีพีเอฟชพีพีจำกัด ที่นิคมฯเอเซียมูลค่า18,620 ล้านบาท
6.บริษัทไทยโพลีโพรไพลีนจำกัด ที่นิคมฯอาร์ไอแอล มูลค่า16,000 ล้านบาท 7. บริษัทพีทีที ฟีนอลจำกัดที่นิคมฯเหมราชตะวันออกมูลค่า85,000 ล้านบาท 8.บริษัทพีทีทีอาซาฮีเคมิคอลส์จำกัด ที่นิคมฯเหมราชตะวันออกมูลค่า17,424 ล้านบาท 9.บริษัทเก็ตโค่วันจำกัดที่นิคมฯมาบตาพุดมูลค่า38,268ล้านบาท 10.บริษัทสยามเลเท้กซ์สังเคราะห์จำกัดที่นิคมฯเอเชียมูลค่า 10,500 ล้านบาท 11.บริษัทเอ็มทีพี
เอชพีเจวีประเทศไทยจำกัดที่นิคมฯเอเชียมูลค่า300 ล้านบาท 12.บริษัทโซลเวย์ เพอรอกซีไทยจำกัดที่นิคมฯเอเชียมูลค่า170 ล้านบาท
สำหรับโครงการที่ขอขยายการลงทุนเพิ่มเติมประกอบด้วย1บริษัทสยามแผ่นเหล็กวิลาสจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุด อยู่ระหว่างขอทดลองเดินเครื่องจักรมูลค่า1,800 ล้านบาท 2. บริษัทสยามโพลีเอทีลีนจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุด มูลค่า9,590 ล้านบาท 3. บริษัทบางกอกโพลีเอทิลีนจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุดที่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากกนอ.มูลค่า5,887 ล้านบาท 4. บริษัทสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่งจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุด 5.บริษัทปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด ที่นิคมฯไอแอล มูลค่า1,330 ล้านบาท6. บริษัทปตท.เคมีคอลส์จำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุดมูลค่า7,780 ล้านบาท7. บริษัทโกลว์พลังงานจำกัด ที่นิคมฯมาบตาพุด มูลค่า17,464 ล้านบาท 8.บริษัทอติตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์จำกัดที่นิคมฯมาบตาพุดมูลค่า273 ล้านนบาท9. บริษัทปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นจำกัดที่นิคมฯมาบตาพุดมูลค่า8,855 ล้านบาท