บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ท (ประเทศไทย) รายงาน ตัวเลขการโฆษณาของเดือน พ.ค. 2552 มีมูลค่า 7,324 ล้านบาท ซึ่งยังคงเป็นมูลค่าการใช้จ่ายที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7% yoy โดยเฉพาะ สื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ที่ยังคงมียอดใช้จ่ายต่ำลงอย่างมาก ทำให้งบโฆษณาของเดือน พ.ค. 2552 ต่ำสุด เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. 2552 ธุรกิจสื่อเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวเล็กน้อย โดยมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น 5% mom จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคและผู้ผลิตที่ดีขึ้นหลังจากปัญหาทางการเมืองคลี่คลาย สำหรับแนวโน้มธุรกิจสื่อในเดือน มิ.ย. อาจปรับลดลงหรือทรงตัวจากเดือน พ.ค. ที่ระดับประมาณ 7.2 – 7.3 พันล้านบาท ทำให้งบใน Q2/52 น่าจะสูงกว่า Q1/52 ได้ตามคาดหมายได้ประมาณ 5 – 6% qoq ทั้งนี้ SCRI ยังคงมีมุมมอง NEUTRAL ต่อแนวโน้มการเติบโตของรายได้ค่าโฆษณาของผู้ประกอบการในกลุ่มนี้
* สื่อโฆษณาฟื้นตัวเล็กน้อยหลังการเมืองเข้าสู่ปกติ ธุรกิจโฆษณาเดือน พ.ค. 2552 ฟื้นตัวขึ้นจากเดือน เม.ย. ประมาณ 5% mom ด้วยมูลค่าโฆษณารวม 7,324 ล้านบาทเนื่องจากในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นเดือนที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน อีกทั้งมีเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมือง ทำให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นมากขึ้น ทำให้การใช้งบโฆษณาของสื่อหลักฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติในเดือน พ.ค. ส่วนตัวเลขงบโฆษณาที่ดีกว่า SCRI คาด มาจากการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของงบโฆษณาของสื่อในห้างสรรพสินค้า (In-store) ซึ่งอาจเกิดจากการปรับปรุงวิธีการคำนวณเหมือนกับที่เคยปรับการคำนวณกับสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ซึ่งคาดว่าเดือนหน้าจะกลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ดีงบโฆษณาของปี 2552 ยังคงต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างต่อเนื่อง โดยงวด 5 เดือนปี 2552 งบโฆษณาลดลง 4% yoy เป็น 3.5 หมื่นล้านบาท
* ผู้ซื้อโฆษณารายใหญ่ใช้งบโฆษณาเดือน พ.ค. มากที่สุดตั้งแต่ต้นปี เป็นที่น่าสังเกตว่า เดือน พ.ค. 2552 เป็นเดือนที่ผู้ใช้งบโฆษณารายใหญ่ 10 รายแรก มีการใช้งบโฆษณามากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี โดยมีการใช้งบโฆษณารวมกันประมาณ 1.49 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่า** ยูนิลีเวอร์และพรอคเตอร์แอนด์แกมเบิ้ล ซึ่งเป็นผู้ซื้อโฆษณารายใหญ่ที่สุดของประเทศยังคงใช้งบโฆษณาลดลงอย่างต่อเนื่อง** ก็ตาม แต่เนื่องจากผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภครายอื่นๆกลับมีการใช้งบโฆษณาที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งบโฆษณาของสื่อหลักต่างๆ ปรับเพิ่มขึ้นได้ SCRI คาดว่า แนวโน้มของการใช้งบโฆษณาในเดือน มิ.ย. ของผู้ซื้อโฆษณารายใหญ่จะยังคงทรงตัวในระดับประมาณ 1.4 – 1.5 พันล้านบาทได้
* MCOT ปรับผังรายการโทรทัศน์ใหม่เพิ่มรายการวาไรตี้ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีประกาศปรับผังรายการใหม่สำหรับช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ภายใต้แนวคิด "ก้าวทันยุค สนุกมีสาระ ทั้งครอบครัว" เริ่มตั้งแต่ มิ.ย. เป็นต้นไป โดยมีรายการใหม่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการวาไรตี้ใหม่ที่ไปแทนรายการเดิมของผู้ผลิตรายการที่เคยผลิตรายการป้อนให้กับ MCOT อยู่เดิม ได้แก่ เวิร์คพอยท์ กันตนา และ แอกซ์แซค เป็นต้น ทั้งนี้ SCRI ประเมินว่า การปรับผังรายการใหม่โดยการเพิ่มรายการวาไรตี้มากขึ้นจะมีส่วนช่วยให้ฐานผู้ชมของ MCOT ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นจากปีก่อน แต่ยังคงเป็นรองช่อง 3 และ ช่อง 7 อย่างไรก็ดี
**MCOT ยังไม่มีแผนที่จะปรับขึ้นค่าโฆษณาในช่วงนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่เอื้ออำนวย** ทั้งนี้ SCRI คาดว่า แนวโน้มรายได้ค่าโฆษณาของ MCOT ใน Q2/52 และ Q3/52 จากกิจกรรมพิเศษของรายการโทรทัศน์ ได้แก่ เดอะสตาร์ อคาเดมีแฟนตาเซีย เป็นต้น
* กทช.ออกใบอนุญาตวิทยุชุมชนไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสื่อวิทยุ หลังจากที่พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการวิทยุบังคับใช้ และ กทช. ได้ออกใบอนุญาตวิทยุชุมชนให้แก่ผู้ประกอบการอย่างถูกต้องตามกฎหมายกว่า 1,500 ราย โดย SCRI ประเมินว่า **การออกใบอนุญาตของ กทช. ไม่ทำให้การแข่งขันในธุรกิจวิทยุรุนแรงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเหล่านี้ทำรายการวิทยุชุมชนอยู่แล้ว** มีการโฆษณาสินค้าในชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นหลักไม่ซ้อนทับกับคลื่นวิทยุหลัก แต่ไม่มีใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในทางกลับกัน กลับจะเป็นปัจจัยบวกต่อผู้ประกอบการวิทยุคลื่นหลักในกรณีที่คลื่นวิทยุชุมชนส่งสัญญาณรบกวน อย่างไรก็ดี SCRI คาดว่างบโฆษณาของสื่อวิทยุในปี 2552 จะลดลงค่อนข้างมากจากปีก่อน
มูลค่าโฆษณาเดือน พ.ค. 2552 และ 5M/52 เปรียบเทียบ yoy และ qoq (หน่วย : พันล้านบาท)
* สื่อโฆษณาฟื้นตัวเล็กน้อยหลังการเมืองเข้าสู่ปกติ ธุรกิจโฆษณาเดือน พ.ค. 2552 ฟื้นตัวขึ้นจากเดือน เม.ย. ประมาณ 5% mom ด้วยมูลค่าโฆษณารวม 7,324 ล้านบาทเนื่องจากในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นเดือนที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน อีกทั้งมีเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมือง ทำให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นมากขึ้น ทำให้การใช้งบโฆษณาของสื่อหลักฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติในเดือน พ.ค. ส่วนตัวเลขงบโฆษณาที่ดีกว่า SCRI คาด มาจากการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของงบโฆษณาของสื่อในห้างสรรพสินค้า (In-store) ซึ่งอาจเกิดจากการปรับปรุงวิธีการคำนวณเหมือนกับที่เคยปรับการคำนวณกับสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ซึ่งคาดว่าเดือนหน้าจะกลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ดีงบโฆษณาของปี 2552 ยังคงต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างต่อเนื่อง โดยงวด 5 เดือนปี 2552 งบโฆษณาลดลง 4% yoy เป็น 3.5 หมื่นล้านบาท
* ผู้ซื้อโฆษณารายใหญ่ใช้งบโฆษณาเดือน พ.ค. มากที่สุดตั้งแต่ต้นปี เป็นที่น่าสังเกตว่า เดือน พ.ค. 2552 เป็นเดือนที่ผู้ใช้งบโฆษณารายใหญ่ 10 รายแรก มีการใช้งบโฆษณามากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี โดยมีการใช้งบโฆษณารวมกันประมาณ 1.49 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่า** ยูนิลีเวอร์และพรอคเตอร์แอนด์แกมเบิ้ล ซึ่งเป็นผู้ซื้อโฆษณารายใหญ่ที่สุดของประเทศยังคงใช้งบโฆษณาลดลงอย่างต่อเนื่อง** ก็ตาม แต่เนื่องจากผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภครายอื่นๆกลับมีการใช้งบโฆษณาที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งบโฆษณาของสื่อหลักต่างๆ ปรับเพิ่มขึ้นได้ SCRI คาดว่า แนวโน้มของการใช้งบโฆษณาในเดือน มิ.ย. ของผู้ซื้อโฆษณารายใหญ่จะยังคงทรงตัวในระดับประมาณ 1.4 – 1.5 พันล้านบาทได้
* MCOT ปรับผังรายการโทรทัศน์ใหม่เพิ่มรายการวาไรตี้ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีประกาศปรับผังรายการใหม่สำหรับช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ภายใต้แนวคิด "ก้าวทันยุค สนุกมีสาระ ทั้งครอบครัว" เริ่มตั้งแต่ มิ.ย. เป็นต้นไป โดยมีรายการใหม่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการวาไรตี้ใหม่ที่ไปแทนรายการเดิมของผู้ผลิตรายการที่เคยผลิตรายการป้อนให้กับ MCOT อยู่เดิม ได้แก่ เวิร์คพอยท์ กันตนา และ แอกซ์แซค เป็นต้น ทั้งนี้ SCRI ประเมินว่า การปรับผังรายการใหม่โดยการเพิ่มรายการวาไรตี้มากขึ้นจะมีส่วนช่วยให้ฐานผู้ชมของ MCOT ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นจากปีก่อน แต่ยังคงเป็นรองช่อง 3 และ ช่อง 7 อย่างไรก็ดี
**MCOT ยังไม่มีแผนที่จะปรับขึ้นค่าโฆษณาในช่วงนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่เอื้ออำนวย** ทั้งนี้ SCRI คาดว่า แนวโน้มรายได้ค่าโฆษณาของ MCOT ใน Q2/52 และ Q3/52 จากกิจกรรมพิเศษของรายการโทรทัศน์ ได้แก่ เดอะสตาร์ อคาเดมีแฟนตาเซีย เป็นต้น
* กทช.ออกใบอนุญาตวิทยุชุมชนไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสื่อวิทยุ หลังจากที่พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการวิทยุบังคับใช้ และ กทช. ได้ออกใบอนุญาตวิทยุชุมชนให้แก่ผู้ประกอบการอย่างถูกต้องตามกฎหมายกว่า 1,500 ราย โดย SCRI ประเมินว่า **การออกใบอนุญาตของ กทช. ไม่ทำให้การแข่งขันในธุรกิจวิทยุรุนแรงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเหล่านี้ทำรายการวิทยุชุมชนอยู่แล้ว** มีการโฆษณาสินค้าในชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นหลักไม่ซ้อนทับกับคลื่นวิทยุหลัก แต่ไม่มีใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในทางกลับกัน กลับจะเป็นปัจจัยบวกต่อผู้ประกอบการวิทยุคลื่นหลักในกรณีที่คลื่นวิทยุชุมชนส่งสัญญาณรบกวน อย่างไรก็ดี SCRI คาดว่างบโฆษณาของสื่อวิทยุในปี 2552 จะลดลงค่อนข้างมากจากปีก่อน
มูลค่าโฆษณาเดือน พ.ค. 2552 และ 5M/52 เปรียบเทียบ yoy และ qoq (หน่วย : พันล้านบาท)