ASTVผู้จัดการรายวัน - "ไทยพาณิชย์"คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบ 5% ผลจากภาคการท่องเที่ยวและการผลิตที่ต่อเนื่องจากการส่งออกทรุด แต่ภาคสถาบันการเงินยังแข็งแกร่ง ชี้ภาคการผลิตเริ่มแตะจุดต่ำสุด ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังต้องจับตา มีโอกาสซบต่อ
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยได้คาดการณ์ GDP ของไทยในปี 2552 จะหดตัวลงประมาณ 5% ซึ่งต่ำกว่าที่ทางการคาดไว้ในปัจจุบันที่ 3-3.5% อย่างไรก็ดี มองว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันมิได้มีลักษณะเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 หรือในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำปี 2544 เนื่องจากมีองค์ประกอบแตกต่างกัน โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นการชะลอตัวใน 2 ภาคธุรกิจหลักคือ การท่องเที่ยว และการผลิตที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก
โดยธุรกิจที่พึ่งพาการส่งออกและได้รับผลกระทบอย่างมาก ได้แก่ ธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอิเล็คโทรนิกส์ ซึ่งมีมูลค่าส่งออกลดลง 43% 20% และ 14% ตามลำดับ นับตั้งแต่เข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจขาลงประมาณเดือนกรกฎาคม 2551 อย่างไรก็ดี ขนาดของกิจการในกลุ่มเหล่าค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับกิจการในธุรกิจท่องเที่ยวที่มีขนาดเล็กกว่า จึงน่าจะมีฐานที่ดีในการนำพากิจการให้ผ่านพ้นเศรษฐกิจช่วงนี้ไปได้
ด้านการจ้างงาน กิจการในธุรกิจท่องเที่ยวกลับส่งผลต่อภาวะการจ้างงานมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยกิจการขนาดย่อมๆ จำนวนมาก และมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหลายแขนง เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ค้าปลีก และสันทนาการต่างๆ ดังนั้น ภาคการท่องเที่ยวโดยรวมจึงมีการจ้างงานในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคการผลิตมาก โดยมีการจ้างงานโดย SME คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80-90% เมื่อเทียบการจ้างงานโดย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกและการผลิตที่ชะลอตัว ที่มีจ้างงานรวมไม่ถึง 30% ของการจ้างงานทั้งหมด
นายเศรษฐพุฒิกล่าวอีกว่า ด้วยผลของการส่งออกและการผลิตที่ลดลง จึงมีแรงงานย้ายจากภาคการผลิตไปสู่ภาคบริการซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า เมื่อประกอบกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยรวมที่ซบเซา สถานการณ์ค่าจ้างแรงงานในกลุ่มนี้ แม้ยังทรงตัวแต่อาจได้รับผลกระทบมากขึ้นหากธุรกิจท่องเที่ยวซบเซาหนักขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าหดตัวลงลงไปแล้ว 15% จึงคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2552 น่าจะลดลงในอัตราที่มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้า เพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกทำให้นักท่องเที่ยวลดการใช้จ่ายลงเช่นเดียวกับในช่วงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำในปี 2544
ส่วนการก่อหนี้และงบดุลของธนาคารและบริษัทต่างๆนั้น ยังเป็นไปในทางที่ดี และมีพื้นฐานแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ความเสียหายที่มีต่อความมั่งคั่งในประเทศไทย (wealth destruction) นั้นค่อนข้างจำกัด ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นไปด้วยดี ไม่มีการถีบตัวสูงเหมือนช่วงฟองสบู่ก่อนหน้านี้ ซึ่งที่จริงแล้วราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย อาทิ บ้านเดี่ยว ได้ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่เศรษฐกิจเป็นช่วงขาลง โดยไทยมีภาพที่ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่มูลค่าความมั่งคั่งประสบผลเสียหายมหาศาล จากการล่มสลายของตลาดบ้านและตลาดหุ้น มีการประเมินว่าความมั่งคั่งทางการเงินสุทธิของครัวเรือนสหรัฐฯ และยุโรปจะลดลง 24% และ 11% ตามลำดับ
"ในภาวะที่ธุรกิจบางภาคส่วนได้รับผลกระทบ บางส่วนยังปรับตัวดีขึ้นแม้จะเป็นเศรษฐกิจขาลง เช่น การผลิตอาหาร ซึ่งแม้ว่าผู้บริโภคจะชะลอการใช้จ่ายรายการใหญ่ๆ อย่างระมัดระวัง เช่น รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่คนก็ยังคงต้องบริโภคอยู่"นายเศรษฐพุฒิกล่าว
ทั้งนี้ โดยรวมแล้วภาวะเศรษฐกิจขาลงในปัจจุบันส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ที่มีรายได้น้อย ขณะที่ราคาของสินทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์จะยังคงรักษาระดับที่ดี และอำนาจซื้อของกลุ่มคนที่มั่งคั่งจะยังคงมีอยู่ต่อไป แต่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและธุรกิจที่อาศัยกำลังซื้อของคนกลุ่มนี้ เช่น มอเตอร์ไซค์ และรถกระบะ อาจประสบภาวะกดดัน เพราะผู้บริโภคจะระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี การชะลอตัวในภาคการผลิตน่าจะใกล้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เห็นได้จากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในเดือนมีนาคมและเมษายน แต่ควรระมัดระวังผลจากการชะลอตัวของธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และอาจยังไม่แสดงผลกระทบถึงระดับที่เต็มที่ สถานการณ์ด้านค่าจ้าง และภาวะการจ้างงานในภาคธุรกิจนี้จึงยังคงเป็นความเสี่ยงสำหรับช่วงขาลงอยู่ต่อไป
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยได้คาดการณ์ GDP ของไทยในปี 2552 จะหดตัวลงประมาณ 5% ซึ่งต่ำกว่าที่ทางการคาดไว้ในปัจจุบันที่ 3-3.5% อย่างไรก็ดี มองว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันมิได้มีลักษณะเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 หรือในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำปี 2544 เนื่องจากมีองค์ประกอบแตกต่างกัน โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นการชะลอตัวใน 2 ภาคธุรกิจหลักคือ การท่องเที่ยว และการผลิตที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก
โดยธุรกิจที่พึ่งพาการส่งออกและได้รับผลกระทบอย่างมาก ได้แก่ ธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอิเล็คโทรนิกส์ ซึ่งมีมูลค่าส่งออกลดลง 43% 20% และ 14% ตามลำดับ นับตั้งแต่เข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจขาลงประมาณเดือนกรกฎาคม 2551 อย่างไรก็ดี ขนาดของกิจการในกลุ่มเหล่าค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับกิจการในธุรกิจท่องเที่ยวที่มีขนาดเล็กกว่า จึงน่าจะมีฐานที่ดีในการนำพากิจการให้ผ่านพ้นเศรษฐกิจช่วงนี้ไปได้
ด้านการจ้างงาน กิจการในธุรกิจท่องเที่ยวกลับส่งผลต่อภาวะการจ้างงานมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยกิจการขนาดย่อมๆ จำนวนมาก และมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหลายแขนง เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ค้าปลีก และสันทนาการต่างๆ ดังนั้น ภาคการท่องเที่ยวโดยรวมจึงมีการจ้างงานในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคการผลิตมาก โดยมีการจ้างงานโดย SME คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80-90% เมื่อเทียบการจ้างงานโดย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกและการผลิตที่ชะลอตัว ที่มีจ้างงานรวมไม่ถึง 30% ของการจ้างงานทั้งหมด
นายเศรษฐพุฒิกล่าวอีกว่า ด้วยผลของการส่งออกและการผลิตที่ลดลง จึงมีแรงงานย้ายจากภาคการผลิตไปสู่ภาคบริการซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า เมื่อประกอบกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยรวมที่ซบเซา สถานการณ์ค่าจ้างแรงงานในกลุ่มนี้ แม้ยังทรงตัวแต่อาจได้รับผลกระทบมากขึ้นหากธุรกิจท่องเที่ยวซบเซาหนักขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าหดตัวลงลงไปแล้ว 15% จึงคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2552 น่าจะลดลงในอัตราที่มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้า เพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกทำให้นักท่องเที่ยวลดการใช้จ่ายลงเช่นเดียวกับในช่วงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำในปี 2544
ส่วนการก่อหนี้และงบดุลของธนาคารและบริษัทต่างๆนั้น ยังเป็นไปในทางที่ดี และมีพื้นฐานแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ความเสียหายที่มีต่อความมั่งคั่งในประเทศไทย (wealth destruction) นั้นค่อนข้างจำกัด ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นไปด้วยดี ไม่มีการถีบตัวสูงเหมือนช่วงฟองสบู่ก่อนหน้านี้ ซึ่งที่จริงแล้วราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย อาทิ บ้านเดี่ยว ได้ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่เศรษฐกิจเป็นช่วงขาลง โดยไทยมีภาพที่ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่มูลค่าความมั่งคั่งประสบผลเสียหายมหาศาล จากการล่มสลายของตลาดบ้านและตลาดหุ้น มีการประเมินว่าความมั่งคั่งทางการเงินสุทธิของครัวเรือนสหรัฐฯ และยุโรปจะลดลง 24% และ 11% ตามลำดับ
"ในภาวะที่ธุรกิจบางภาคส่วนได้รับผลกระทบ บางส่วนยังปรับตัวดีขึ้นแม้จะเป็นเศรษฐกิจขาลง เช่น การผลิตอาหาร ซึ่งแม้ว่าผู้บริโภคจะชะลอการใช้จ่ายรายการใหญ่ๆ อย่างระมัดระวัง เช่น รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่คนก็ยังคงต้องบริโภคอยู่"นายเศรษฐพุฒิกล่าว
ทั้งนี้ โดยรวมแล้วภาวะเศรษฐกิจขาลงในปัจจุบันส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ที่มีรายได้น้อย ขณะที่ราคาของสินทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์จะยังคงรักษาระดับที่ดี และอำนาจซื้อของกลุ่มคนที่มั่งคั่งจะยังคงมีอยู่ต่อไป แต่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและธุรกิจที่อาศัยกำลังซื้อของคนกลุ่มนี้ เช่น มอเตอร์ไซค์ และรถกระบะ อาจประสบภาวะกดดัน เพราะผู้บริโภคจะระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี การชะลอตัวในภาคการผลิตน่าจะใกล้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เห็นได้จากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในเดือนมีนาคมและเมษายน แต่ควรระมัดระวังผลจากการชะลอตัวของธุรกิจท่องเที่ยวที่ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และอาจยังไม่แสดงผลกระทบถึงระดับที่เต็มที่ สถานการณ์ด้านค่าจ้าง และภาวะการจ้างงานในภาคธุรกิจนี้จึงยังคงเป็นความเสี่ยงสำหรับช่วงขาลงอยู่ต่อไป