ASTVผู้จัดการรายวัน- ครม.ถกเครียดแหยงออกมติ ครม.ประท้วงยูเนสโกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก หวั่นชายแดนตรึงเครียด หาทางออกโยนเผือกร้อนกก.มรดกโลกลุยไฟ
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมครม.ว่า ได้มีการพิจารณาตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาให้ความเห็นชอบมติของการดำเนินการของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ให้คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ว่า คณะกรรมการของมรดกโลกดำนเนินการไม่สมบูรณ์ และไม่ถูกต้องในในประเด็น มาตรา11 (3) ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม และข้อบัญญัติที่ 103,104,105 ของ Operationl Guidelines for the Implementiation of the World Heritag Convention ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง จากความเห็นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงวัฒนธรรม หารือร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ ซึ่งยังไม่สรุปผลการพิจารณาว่า ไทยควรเข้าร่วมในคณะกรรมการดังกล่าวหรือไม่ โดยจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และให้นำผลการหารือเสนอคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อพิจารณา ซึ่งครม.ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการฯ ดังกล่าว
แต่ทั้งนี้ต้องมีการแยกให้ออกว่า ควรจะเป็นมติ ครม.หรือไม่ ในที่สุดก็เห็นควรให้เป็นมติ ครม.แต่มติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา และเรื่องนี้ได้มีการแสดงการคัดค้านมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายนพดล ปัทมะ เป็นรมว.ต่างประเทศ ซึ่งเป็นกรณีการคัดค้านที่ต่างกัน แต่ยืนยันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา และระหว่างรัฐบาล และภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากการเยือนประเทศกัมพูชา ก็เป็นที่เข้าใจกัน สำหรับปัญหาตรงนี้เป็นเรื่องของคณะกรรมการดังกล่าว ครม.ไม่เกี่ยว แต่ครม.ต้องพิจารณาเห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯ มีมติ
แหล่งข่าว กล่าวว่าหลังจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานข้อเสนอแล้ว ปรากฎว่า ครม. ถกเถียงเรื่องดังกล่าวอย่างเคร่งเครียด โดยมีเสียงแตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเสนอว่า ครม.ควรมีมติครม. ประท้วงยูเนสโกโดยตรง เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ยอมรับผลการตัดสินของยูเนสโกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพราะพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่พิพาท ต้องได้รับความเห็นร่วมจากฝ่ายไทยและกัมพูชา แต่ยูเนสโก กลับยึดความเห็นของกัมพูชาฝ่ายเดียว จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์
ขณะที่อีกฝ่ายเสนอว่า หากจะประท้วงยูเนสโก แต่ครม.ไม่ควรออกเป็นมติครม. เพราะอาจทำให้กัมพูชานำไปตีความให้ทางลบ ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานการณ์บริเวณพื้นที่ข้อพิพาท มีกองกำลังทหาร สองฝ่ายประจันหน้ากันอยู่ ยิ่งจะทำให้สถานการณ์ตึงเครียดขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อที่ประชุมว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาดีมาก จากการเดินทางไปเยือน ได้พูดคุยกับสมเด็จฮุนเซ็น ซึ่งก็ไม่ปัญหาอะไรกัน เช่นเดียวกับนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวยืนยันในที่ประชุมว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทย กัมพูชา ขณะนี้ เป็นไปด้วยความราบรื่น
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวต้องแยกออกจากกันคือการกำหนดท่าทีของรัฐบาลต่อกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็เป็นการกำหนดท่าทีของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา แต่รัฐบาลชุดปัจุบันก็ควรกำหนดท่าทีเช่นเดียวกัน
แหล่งข่าว กล่าวว่า นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ เสนอว่า ควรให้คณะกรรมการมรดกโลกไปดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องนี้ โดยชี้ให้เห็นว่า เป็นหน้าที่โดยตรงของคณะกรรมการมรดกโลกอยู่แล้ว ซึ่งในที่สุด ครม.ได้เห็นชอบให้ คณะกรรมการมรดกโลก ไปประท้วงคัดค้านยูเนสโก
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกใหม่ จำนวน 26 คน โดยมี นายอดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก เป็นกรรมการ และที่ปรึกษา ยังมีรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ส่วนรองประธานมี 2 คนคือนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ส่วนกรรมการประกอบด้วย 1. พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม 2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย 3. นายธีระ สลักเพ็ชร รมว.วัฒนธรรม 4. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ
5. เลขาธิการสำนักพระราชวัง หรือผู้แทน 6. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้แทน 7. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือผู้แทน 8. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน 9. ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน 10. เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือผู้แทน
11. นายวทัญญู ณ ถลาง ผู้ทรงคุณวุติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม 12. นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ 13. นายพยุง นพสุวรรณ 14. นายอุทิศ กุฏอินทร์ 15. นายมานิต ศิริวรรณ อดีตรองเลขาธิการสำนักสิ่งแวดล้อม 16 - 17. ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการต่างประเทศ โดยความเห็นชอบของประธานบอร์ด 2 คน
18. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 19. นายวีรชัย พลาศัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย 20. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 21. นายอารักษ์ สังหิตกุล อธิบดีกรมศิลปากร และ 22. นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมครม.ว่า ได้มีการพิจารณาตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาให้ความเห็นชอบมติของการดำเนินการของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ให้คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ว่า คณะกรรมการของมรดกโลกดำนเนินการไม่สมบูรณ์ และไม่ถูกต้องในในประเด็น มาตรา11 (3) ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม และข้อบัญญัติที่ 103,104,105 ของ Operationl Guidelines for the Implementiation of the World Heritag Convention ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง จากความเห็นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงวัฒนธรรม หารือร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ ซึ่งยังไม่สรุปผลการพิจารณาว่า ไทยควรเข้าร่วมในคณะกรรมการดังกล่าวหรือไม่ โดยจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และให้นำผลการหารือเสนอคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อพิจารณา ซึ่งครม.ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการฯ ดังกล่าว
แต่ทั้งนี้ต้องมีการแยกให้ออกว่า ควรจะเป็นมติ ครม.หรือไม่ ในที่สุดก็เห็นควรให้เป็นมติ ครม.แต่มติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา และเรื่องนี้ได้มีการแสดงการคัดค้านมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายนพดล ปัทมะ เป็นรมว.ต่างประเทศ ซึ่งเป็นกรณีการคัดค้านที่ต่างกัน แต่ยืนยันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา และระหว่างรัฐบาล และภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากการเยือนประเทศกัมพูชา ก็เป็นที่เข้าใจกัน สำหรับปัญหาตรงนี้เป็นเรื่องของคณะกรรมการดังกล่าว ครม.ไม่เกี่ยว แต่ครม.ต้องพิจารณาเห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯ มีมติ
แหล่งข่าว กล่าวว่าหลังจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานข้อเสนอแล้ว ปรากฎว่า ครม. ถกเถียงเรื่องดังกล่าวอย่างเคร่งเครียด โดยมีเสียงแตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเสนอว่า ครม.ควรมีมติครม. ประท้วงยูเนสโกโดยตรง เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ยอมรับผลการตัดสินของยูเนสโกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพราะพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่พิพาท ต้องได้รับความเห็นร่วมจากฝ่ายไทยและกัมพูชา แต่ยูเนสโก กลับยึดความเห็นของกัมพูชาฝ่ายเดียว จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์
ขณะที่อีกฝ่ายเสนอว่า หากจะประท้วงยูเนสโก แต่ครม.ไม่ควรออกเป็นมติครม. เพราะอาจทำให้กัมพูชานำไปตีความให้ทางลบ ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานการณ์บริเวณพื้นที่ข้อพิพาท มีกองกำลังทหาร สองฝ่ายประจันหน้ากันอยู่ ยิ่งจะทำให้สถานการณ์ตึงเครียดขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อที่ประชุมว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาดีมาก จากการเดินทางไปเยือน ได้พูดคุยกับสมเด็จฮุนเซ็น ซึ่งก็ไม่ปัญหาอะไรกัน เช่นเดียวกับนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวยืนยันในที่ประชุมว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทย กัมพูชา ขณะนี้ เป็นไปด้วยความราบรื่น
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวต้องแยกออกจากกันคือการกำหนดท่าทีของรัฐบาลต่อกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็เป็นการกำหนดท่าทีของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา แต่รัฐบาลชุดปัจุบันก็ควรกำหนดท่าทีเช่นเดียวกัน
แหล่งข่าว กล่าวว่า นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ เสนอว่า ควรให้คณะกรรมการมรดกโลกไปดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องนี้ โดยชี้ให้เห็นว่า เป็นหน้าที่โดยตรงของคณะกรรมการมรดกโลกอยู่แล้ว ซึ่งในที่สุด ครม.ได้เห็นชอบให้ คณะกรรมการมรดกโลก ไปประท้วงคัดค้านยูเนสโก
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกใหม่ จำนวน 26 คน โดยมี นายอดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก เป็นกรรมการ และที่ปรึกษา ยังมีรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ส่วนรองประธานมี 2 คนคือนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ส่วนกรรมการประกอบด้วย 1. พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม 2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย 3. นายธีระ สลักเพ็ชร รมว.วัฒนธรรม 4. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ
5. เลขาธิการสำนักพระราชวัง หรือผู้แทน 6. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้แทน 7. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือผู้แทน 8. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน 9. ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน 10. เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือผู้แทน
11. นายวทัญญู ณ ถลาง ผู้ทรงคุณวุติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม 12. นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ 13. นายพยุง นพสุวรรณ 14. นายอุทิศ กุฏอินทร์ 15. นายมานิต ศิริวรรณ อดีตรองเลขาธิการสำนักสิ่งแวดล้อม 16 - 17. ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการต่างประเทศ โดยความเห็นชอบของประธานบอร์ด 2 คน
18. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 19. นายวีรชัย พลาศัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย 20. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 21. นายอารักษ์ สังหิตกุล อธิบดีกรมศิลปากร และ 22. นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช