xs
xsm
sm
md
lg

“สุวิทย์” คุยกล่อมยูเนสโกยืดเวลา ขึ้นทะเบียนพระวิหาร ไปปีหน้า เตือน รบ.เตรียมพร้อมกว่านี้!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประสาทพระวิหาร
“นายกฯ” ระบุไม่ยืดเวลาเคลียร์ปมข้อพิพาทปราสาทพระวิหารเกิดปัญหาแน่ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ย้ำต้องทำไม่กระทบสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ขณะที่ “สุวิทย์” โวกล่อม “ยูเนสโก” ยืดเวลาพิจารณากัมพูชา ขึ้นทะเบียนพระวิหารไปปีหน้า แนะไทยต้องเตรียมการเรื่องข้อมูลดีกว่านี้ อ้างกัมพูชามีความพร้อมกว่าไทยมาก

วันนี้ (30 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณีข้อพิพาทประสาทพระวิหาร หลังจากที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานในที่ประชุม ครม.ว่า โดยสรุปคือ ขั้นตอนที่กัมพูชาจะดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมติเมื่อมีการยืดเวลาไปเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งเราได้แสดงจุดยืนและให้ข้อเท็จจริงกับทางคณะกรรมการมรดกโลกไปว่าต้องระมัดระวังในเรื่องใดบ้าง เพราะมีความละเอียดอ่อน และเราก็ไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณนั้นมีปัญหา มีความตึงเครียดหรือมีความรุนแรง

เมื่อถามว่า แต่เวลานี้ยังมีปัญหาคาราคาซังอยู่ การเผชิญหน้าก็ยังมีอยู่ในพื้นที่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จริงๆ ถ้าเขาไม่ยืดเวลาก็จะเป็นปัญหา เพราะมีหลายอย่างที่ต้องไปดำเนินการในพื้นที่ ซึ่งตนเห็นว่าการยืดเวลานี้จะทำให้การแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องเดินหน้าต่อไปได้

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะคณะกรรมการมรดกโลกประเทศไทย กล่าวหลังเดินทางไปร่วมสังเกตการณ์การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่สเปน กรณีที่กัมพูชาเสนอขอขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกว่า ได้เห็นว่าปัญหาของไทยอยู่ที่ใด และมีประโยชน์คือไปทำความเข้าใจกับกรรมการมรดกโลกและภาคีสมาชิกที่มาร่วมประชุม ถือว่าทำความเข้าใจได้ระดับหนึ่ง เพราะที่ผ่านมามีปัญหา คือ 1.ความไม่เป็นเอกภาพด้านนโยบาย 2.ขั้นตอนและวิธีการต่างๆ และการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเพราะจะพูดหลังจากที่มีมติ ออกมาแล้วนั้นมันไม่มีความหมาย ฉะนั้น การเตรียมการนั้นมันจำเป็นเพราะหากมองการเตรียมการของกัมพูชานั้นมี ความพร้อมมากกว่าไทยเยอะ เรื่องนี้ตนได้พูดกับยเนสโกและกรรมการมรดกโลกแล้ว

“การที่ผมไปคุยกับ ผอ.ใหญ่ยูเนสโกนั้น ก็เริ่มเห็นปัญหาแล้วว่าความขัดแย้งของสองประเทศมีจริง ฉะนั้น ต้องพิจารณากันต่อว่าขั้นตอนที่จะดำเนินการต่อไปนั้น ไทยควรมีการเตรียมข้อมูลเสนอกรรมการมรดกโลกและไปคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องรวม ท้งภาคีสมาชิกกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาช่องทางยุติปัญหาของไทยและกัมพูชา ตรงนี้คือทางออกที่ดีที่สุดของผม เหมือนวันนี้เราเข่งขันฟุตบอล ครึ่งแรกโดนยิงพรุน ครึ่งหลังตีเสมอได้ ตอนนี้คือการต่อเวลา กรรมการมรดกโลกมีมติมาแล้วว่า การพิจารณาปราสาทเขาพระวิหารจะพิจารณาในปีหน้าในบราซิล ฉะนั้น หนึ่งปีนี้เราสามารถทำงานได้” นายสุวิทย์กล่าว และว่า หากถามว่าโอกาสยังมีหรือไม่นั้น ตอนนี้ช่องทางนั้นมีหลายช่องทาง วันนี้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกมีหลายรูปแบบ การประชุมครั้งนี้มีรูปเบบใหม่ขึ้นมาคือขึ้นทะเบียนมรดกโลก 3 ทวีป ฉะนั้น กรรมการมรดกโลกของไทยต้องประชุมและมีการเตรียมการที่มากกว่านี้ หากไม่ทำงานแบบต่อเนื่องก็จะขาดตอน สิ่งสำคัญคือคนที่มีความรู้ในเรื่องนี้แบบต่อเนื่องนั้นมีไม่กี่คนและไม่ได้ เข้ามาทำงานตรงนี้ มันคือช่องว่างที่มีอยู่ เพราะการขึ้นทะเบียนมรดกโลกมีหลายรูปแบบ และบางครั้งการขึ้นทะเบียนไปแล้วก็ยังโดนถอดออกจากการขึ้นทะเบียนได้

“การไปประชุมครั้งนี้ก็เห็นรูปแบบหลายวิธีการ ขอเรียนว่าวิธีที่จะทำนั้นไทยจะดูดีและไม่น่ามีปัญหากับกัมพูชา” นายสุวิทย์กล่าว และว่าแม้ปีหน้าอาจมีการเปลี่ยนรัฐบาลแต่ก็ไม่มีปัญหา เพราะเรื่องนี้มันคือการทำความเข้าใจด้านจุดยืน พรมแดน อธิปไตย

ส่วนเอกสารและหลักฐานที่จะยื่นเพิ่มเติมนั้น นายสุวิทย์กล่าวว่า กรรมการมรดกโลกไม่ได้รับรายละเอียดหลายเรื่องจากกัมพูชา และกัมพูชาต้องยื่นเพิ่มไป เพราะการยื่นขอขึ้นทะเบียนนั้น ปัญหาด้านแผนที่และเขตแดน พื้นที่กันชน แผนบริหารจัดการพื้นที่รว่มกันนั้นยังไม่มีข้อยุติ แม้กัมพูชาจะเสนอเรื่องนี้ไปตั้งแต่เดือน เม.ย. แต่ตอนนี้กัมพูชาต้องทำรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นเพื่อให้กรรมการมรดกโลกพิจารณาอีกครั้งในปีหน้า ฉะนั้น ตอนนี้ไทยต้องไปดูเรื่องเขตพื้นที่ สิ่งใดที่ร่วมมือกันได้ก็ควรร่วมมือกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีหลายฝ่ายที่เห็นด้วยกับแนวคิดคณะกรรมการปักปันชายแดนที่ต้องไปดูการกำหนดเขตแดนที่ต้องทำงานหนัก หากปักปันเขตแดนได้ชัดเจนแล้วนั้น กระบวนการนี้จะหมดปัญหา วันนี้ไทย-กัมพูชาไม่มีสิ่งใดขัดแย้งกัน มีเพียงกรรมการมรดกโลกของไทย กรรมการมรดกโลกและยูเนสโกต้องไปหารือกัน

เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่สองประเทศจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกัน นายสุวิทย์กล่าวว่า เรื่องอธิปไตยหนือดินแดนนั้น สองประเทศคงไม่ยอม ฉะนั้นต้องดำเนินการปักปันเขตแดนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนต้องไปหารือกันตามมติ ครม.ที่ต้องเสนอให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก่อน แต่ระหว่างนั้นฝายเทคนิคต้องทำงานไปก่อน ส่วน การขอขึ้นทะเบียนทั้งพื้นที่ปราสาท พื้นที่ขอบเขต พื้นที่กันชน และแผนบริหารจัดการนั้น ต้องกระทำให้สอดคล้องกับอนุสัญญาและเสร็จสมบูรณ์ โดยต้องดูว่ากัมพูชาล้ำเขตแดนของไทยหรือไม่ เพราะการขึ้นทะเบียนพื้นที่ที่ติดกันนั้นต้องหารือและผ่านความเห็นชอบร่วมกันของสองประเทศก่อนดำเนินการตามอนุสัญญาด้วย และยูเนสโกมีมุมมองแตกต่างจากไทย คือ ปราสาทไม่ได้อยู่ในเขตไทย แต่จริงๆ แล้วมันคือพื้นที่ภาพรวมทั้งหมด โดยไทยบอกไปว่ามันคือพื้นที่เชื่อมต่อ เพราะยังไม่ได้กำหนดว่าเขตแดนไหนเป็นของใคร ทั้งนี้จึงควรสรุปข้อมูลก่อนเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนประชุมในเดือนกรกฎาคมต่อกรรมการมรดกโลกในปีหน้าอย่างไรก็ตาม การขึ้นทะเบียนร่วมกันก็มีหลายรูปแบบทั้งแบบที่ ไม่ต้องคำนึงเขตแดนหรือคำนึงถึงองค์ประกอบอื่น
กำลังโหลดความคิดเห็น