ลุ้น - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เหลือบมองนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ที่กำลังชี้แจงความจำเป็นในการก่อหนี้ก้อนใหญ่ ระหว่างประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูฯ จำนวน 4 แสนล้านบาท เมื่อวานนี้ (15 มิ.ย.)
ฝ่ายค้านฉะมีวาระซ่อนเร้น
กู้ด่วน4แสนล.ผ่านฉลุย
ASTVผู้จัดการรายวัน - พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านผ่านสภาฉลุย แม้ฝ่ายค้านพยายามโจมตีเอื้อประโยชน์ทางการเมืองและวาระซ่อนเร้นโครงการใช้เงิน นายกฯ ยืนยันโปร่งใส เปิดโอกาสให้ตรวจสอบ พร้อมมีคณะกรรมการนำโดย "พนัส สิมะเสถียร" ติดตามประเมิน รมว.คลังยืนยันรัฐบาลมีความจำเป็นกู้เร่งด่วน รับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความวุ่นวายภายใน ลั่นพลิกจีดีพีกลับมาเป็นบวกในปีหน้าและมีการจ้างงานเพิ่มปีละ 4-5 แสนคน
ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จำนวน 4 แสนล้านบาท เมื่อวานนี้ (15 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุม ครม.นัดพิเศษ เพื่อพิจารณากรอบการใช้เงินกู้และทำความเข้าใจ โดยกำชับให้รัฐมนตรีชี้แจงการออก พ.ร.ก.รวมทั้ง พ.ร.บ.เงินกู้อีก 4 แสนล้านบาท ต่อสภาฯ ให้ชัดเจน
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุม ครม.นัดพิเศษว่า ได้พิจารณาแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพิ่มเติมตามที่กระทรวงการคลังเสนอเพื่อให้ ครม.อนุมัติให้ดำเนินการโครงการพัฒนาการท่องเที่ยว ของกระทรวงการท่องเทียวฯ วงเงิน 2.409 ล้านบาท โดยบรรจุ ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 นอกจากนี้ยังอนุมัติการให้กระทรวงการคลังใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท เพื่อนำไปใช้ดำเนินการมาตรการฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ ครม.เสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพ.ร.ก.ฉบับนี้ต่อรัฐสภาเพื่อทราบก่อนเริ่มดำเนินการ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.นัดพิเศษ ก่อนเดินทางเข้าชี้แจง พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทต่อที่ประชุมสภาฯว่า ครม.พิจารณากรอบการใช้เงินที่จะดำเนินการตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท เพื่อการเสนอต่อสภาทราบ เป็นไปตามเงื่อนไขของ พ.ร.ก.ก่อนดำเนินการ
ส่วนข้อกังวลของฝ่ายค้านว่าการใช้เงินตาม พ.ร.ก.นี้จะไม่โปร่งใสจะสร้างความมั่นใจในส่วนนี้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระหว่างวันที่15- 16 มิ.ย.นี้ ทางสภาจะเห็นกรอบการใช้เงิน วัตถุประสงค์หลัก 7 ข้อคืออะไร ถ้าติดใจเรื่องการกระจายและการนำไปใช้สู่จังหวัดต่างๆ จะมีบัญชีแต่ละจังหวัดและโครงการในแต่ละประเภทว่าลงไปแต่ละจังหวัดเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็เปิดโอกาสให้ติดตามได้อยู่แล้ว และก่อนหน้านี้ ครม. มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อกลั่นกรองและ คณะกรรมการติดตามการ ซึ่งต้องดูประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการใช้เงินงบประมาณตามโครงการต่างๆ ซึ่งบทบาทของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด
ส่วนกรณีที่วุฒิสภาขู่ว่าจะไม่ผ่าน พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่หรอก ตนจะชี้แจงให้ดีที่สุด ตัว พ.ร.บ.จะเอารายละเอียดไปให้พิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ส่วน พ.ร.ก. เป็นวาระเดียวที่จะต้องผ่านความเห็นชอบของสภา จะทำกรอบให้ดู ตนมั่นใจว่าจะผ่านความเห็นชอบ เพราะเป็นประโยชน์ ของประเทศ เมื่อถามย้ำว่ามั่นใจแค่ไหนว่า พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ นายกรัฐมนตรีพยักหน้าแล้วขึ้นรถไป
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ยืนยันเช่นกันว่าจะสามารถชี้แจงรายละเอียด พ.ร.ก.และ ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยแข้มแข็งได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดจริงๆ เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุน ซึ่งเป็นมาตรการที่รัฐบาลได้กำหนดขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถของประเทศแก้ปัญหาให้กับประชาชน "ชี้แจงได้ครับ ตัว พ.ร.ก.เราได้คัดโครงการที่มีความพร้อมที่จะเริ่ม ดำเนินการได้ทันทีได้จริง และเราได้สำรองเม็ดเงินรวมของโครงการที่จะใช้เงินลงทุน ภายใต้ พ.ร.ก.นั้นมากถึง 2.4 หมื่นล้านบาท โดยประมาณ ซึ่งล้วนแล้วเป็นโครงการ ที่พร้อมดำเนินการได้เลยหลังจากที่รัฐสภามีการพิจารณากฎหมาย ส่วน 2 แสนล้านบาทแรกก็สำรองเพื่อชดเชยเงินคงคลัง สืบเนื่องมาจากภาษีของรัฐบาล ที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่พวกเราทุกคนเข้าใจกัน" รมว.คลังกล่าว
จากนั้นเวลา 09.30 น. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ชี้แจงต่อสภาฯ ว่า พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูฯ เป็นไปตาม ครม. เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 52 มีมติเห็นชอบและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระมหากรุณาทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย และภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 184 ได้กำหนดให้การตรา พ.ร.ก.กระทำได้เฉพาะเมื่อ ครม.เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไปให้ ครม.เสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า ประกอบกับ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินมาตรา 3 ได้บัญญัติว่าให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติ ครม. มีอำนาจกู้เงินในนามรัฐบาลเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินมาตรการเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ ครม.เสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ต่อรัฐสภาเพื่อทราบก่อนเริ่มดำเนินการ
***เปิดตัวเลขแจงความจำเป็นกู้
นายกรณ์ชี้แจงว่า นับแต่ที่ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประเทศคู่ค้าของไทยหลายประเทศได้รับผลกระทบ ส่งผลต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากโครงสร้างของเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันพึ่งพาการส่งออกสินค้าและบริการในสัดส่วนที่สูงมากคือมากกว่าร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เมื่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยได้หดตัวลงเมื่อปลายปี 51 มูลค่าส่งออกสินค้าของไทยจึงหดตัวอย่างรวดเร็ว จากที่เคยขยายตัวในอัตราร้อยละ 26 ต่อปี ในไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 51 มาเป็นหดตัวที่ร้อยละ 10 ในไตรมาส 4 และหดตัวมากขึ้นถึงร้อยละ 20 ในไตรมาส 1 ของปีนี้
นอกจากนี้ ศรษฐกิจของไทยยังได้ถูกซ้ำเติมจากปัญหาวิกฤติทางการเมืองในประเทศด้วย ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาหลักที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน เศรษฐกิจของไทยจึงประสบภาวะตกต่ำที่รุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน สิ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของไทยประสบภาวะตกต่ำอย่างรุนแรงก็คือ การที่ภาคธุรกิจ มีการปิดยุบเลิกกิจการเพิ่มมากขึ้น โดยในไตรมาส 4 ปี 51 และไตรมาส 1ปี 52 ผู้ประกอบการได้ทยอยปิดกิจการไปแล้วรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 12,183 ราย และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากภาคการผลิตเลิกจ้างและลดการจ้างงาน จากเดิมที่มีจำนวนคนว่างงานประมาณ 4.3 แสนคน ณ สิ้นไตรมาส 3 มาอยู่ที่ 5.4 แสนคน ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 52 และเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7.1 แสนคน ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 52 การว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้ส่งผลให้การใช้จ่ายและการบริโภคในภาคเอกชนลดลงอย่างมากตามไปด้วยและหากปล่อยให้เศรษฐกิจหดตัวและมีการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ยิ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อและการบริโภคของประชาชนภายในประเทศหดตัวมากขึ้น และในที่สุดหากไม่มีการดำเนินการมาตรการใด ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวอย่างทันท่วงที ย่อมอาจส่งผลต่อเนื่องกันในทุกภาคส่วน เช่น อาจทำให้หนี้เสีย (NPL) ในระบบสถาบันการเงิน เพิ่มสูงขึ้นได้เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราหนี้เสียเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.2 ของสินเชื่อรวมสุทธิ ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 51 เป็นร้อยละ 5.4 ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 52 ซึ่งอาจจะทำให้ประเทศไทยประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินอีกครั้งหนึ่งก็ได้
นอกจากนี้ รายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักอันหนึ่งในการนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศได้ลดลงอย่างมาก สาเหตุเนื่องจากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศขาดความมั่นใจในสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทยลดลงถึงร้อยละ 18 และ 15.8 ในไตรมาส 4 ปี 51 และในไตรมาส 1 ปี 51 ตามลำดับ
"ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมาก จากเหตุปัจจัยที่มาจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ เห็นได้จากการที่ GDP ในช่วง 3 ไตรมาสแรกซึ่งเคยขยายตัวได้ร้อยละ 6 ร้อยละ 5.3 และ 3.9 ต่อปี ตามลำดับ เป็นหดตัวถึงร้อยละ 4.2 ต่อปีในไตรมาส 4 ปี 51 และหดตัวร้อยละ 7.1 ต่อปีในไตรมาส 1 ของปี 52 ส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของรัฐบาล เนื่องจากในปีงบประมาณ 52 ได้มีการประมาณการรายได้ไว้เป็นจำนวน 1.6 ล้านล้านบาท แต่ปรากฏว่ารายได้ที่จัดเก็บได้จริงน้อยกว่าประมาณการที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณต่ำกว่าประมาณการไว้แต่เดิมถึง 1.29 แสนล้านบาท และได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณนี้ รายได้ที่จัดเก็บได้จะต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้เป็นจำนวนเงิน 2.8 แสนล้านบาท" รมว.คลังสรุป
นายกรณ์กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติในภาคการผลิตและภาคบริการโดยเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามกลายเป็นลูกโซ่และไปสู่การประกอบธุรกิจด้านอื่นๆ มิฉะนั้น ความร้ายแรงของปัญหาความมั่นคงทางเศรษฐกิจย่อมลุกลามขยายออกไป และต่อเนื่องไปถึงปัญหาฐานะทางการเงินการคลังของประเทศ ในขณะที่ภาคเอกชนไม่อยู่ฐานะที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน เพื่อป้องกันปัญหาทันทีก่อนที่ปัญหาเศรษฐกิจจะลุกลามใหญ่โตไปสู่ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการไทยเข้มแข็งเพื่อดำเนินการ ในช่วงปี พ.ศ. 52-55 โดยรัฐบาลทำการกลั่นกรองและรวบรวมโครงการต่างๆ กว่า 6,000 โครงการ ที่สามารถดำเนินการได้ทันทีในระยะสามปีข้างหน้า คิดเป็นวงเงินรวม 1.43 ล้านล้านบาท หรือเท่ากับประมาณร้อยละ 17 ของ GDP หากสามารถทำให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้แล้ว รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี และจะทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4-5 แสนคน
***ลั่นยึดส่วนรวม-ตรวจสอบได้
"รัฐบาลยึดถือประโยชน์ของคนไทยเป็นที่ตั้ง วัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการซึ่งเน้นการลงทุนที่สำคัญและจำเป็น เพื่อเพิ่มแรงกระตุ้นให้กับระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพิ่มการกระจายการลงทุนด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานสู่ชนบท เชื่อว่าแผนตามโครงการที่วางไว้กว่า 6,000 โครงการ จะสามารถทำให้คนไทยช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาต่างประเทศเช่นในอดีต ขณะเดียวกันต้องสร้างรายได้กับภาคเอกชนไปพร้อมกัน " รมว.คลังกล่าวและว่า สภาพัฒน์และคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีตั้งขึ้น จะทำหน้าที่กลั่นกรอง ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล
ครม.เมื่อวันที่ 26 พ.ค.52 ได้อนุมัติตามที่สภาพัฒน์เสนอ โดยเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 โดยมีองค์ประกอบคือ นายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นาย โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ นายพิสิฐ ลี้อาธรรม นายอัชพร จารุจินดา นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ นายดุสิต นนทะนาคร ปลัดกระทรวงการคลัง (นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นายบัณฑูร สุภัควณิช) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอำพน กิตติอำพน) โดยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง (นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์) รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง (นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนงบประมาณ สำนักงบประมาณ (นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย) เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
***พลิกจีดีพีปีหน้าเป็นบวก
รมว.คลังย้ำว่า การตราเป็นพระราชกำหนดเพื่อให้อำนาจกระทรวงการคลังในการกู้เงินเป็นจำนวน 4 แสนล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีเงินทุนเพียงพอที่จะใช้จ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและจัดทำบริการสาธารณะของรัฐได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และทำให้ฐานะการคลังของประเทศมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพในระยะยาว แล้วการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวจากภาวะที่ถดถอยอย่างรุนแรง โดยคาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศจะเริ่มกลับมาเป็นบวกตั้งแต่ปี 53 และจะเริ่มทยอยกลับสู่ภาวะปกติตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นไป
***ส.ส.รัฐบาลหนุนกู้เงินเต็มที่
ด้านส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ได้อภิปรายสนับสนุนการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อย่างเต็มที่ โดยเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ อาทิ นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ตั้งแต่ปี 2544-2551 เศรษฐกิจพอไปได้ โดยมีอัตราเศรษฐกิจปรับตัวร้อยละ 5.1 แต่หากดูวินัยทางการเงินของรัฐบาล ที่ผ่านมา โดยดูหนี้สาธารณะพบว่าปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลสมัยนั้นได้กู้เงิน 700,000 ล้าน ซึ่งหากเศรษฐกิจไม่ดีไปจนถึงปี 2555 เรามีหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 5.7 ซึ่งก็ถือว่ายังรับได้ ซึ่งหลังวิกฤตเศรษฐกิจผ่านพ้นไปประเมินเลวร้ายที่สุด คือรัฐบาลไม่ใช่หนี้สักบาทเดียว ถามว่าเมื่อไหร่หนี้สาธารณะกลับมาอยู่ทีเดิมร้อยละ 41 ก็ใช้เวลาแค่ 4 ปีเท่านั้น โดยประเมินที่ภาวะเศรษฐกิจปานกลาง ส่วนรัฐบาลกู้เงินแล้วนำไปใช้อะไรเหมาะสมหรือไม่ หากดูโครงการไทยเข้มแข็งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการลงุทน ซึ่งเหมาะสมเพราะขณะนี้ภาคเศรษฐกิจมีปัญหาทุกภาคส่วน
***ฝ่ายค้านชี้มีการเมือง-ผลประโยชน์
ส.ส.จากพรรคเพื่อไทยต่างอภิปรายคัดค้านการออก พ.ร.ก. ดังกล่าว โดยเชื่อว่ามีนัยยะทางการเมือง และเกรงว่ารัฐบาลจะใช้งบประมาณไม่โปร่งใส เพราะเป็นการกู้เงินนอกงบประมาณ ซึ่งไม่มีรายละเอียดและรัฐบาลไม่ได้ดูแลแก้ปัญหาสินค้าเกษตรกร
นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส. เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า โครงการ ไทยเข็มแข็งไม่มีรายละเอียด มีแต่ชื่อ จะไปลงจังหวัดไหนก็ไม่รู้ จะลงทางใต้ที่เดียว หรือ แถวจ .บุรีรัมย์ที่เดียวก็ไม่รู้ สังเกตว่างบนี้ กลายเป็นงบหาเสียงหรือไม่ เพราะ จากที่เปิดดูรายละเอียด 2553 งบ 1.9 ล้านล้านบาท เหลือ 1.7 ล้านล้านบาท งบลงทุนเหลือ 2 แสนล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายออกมาโวยวายว่าแม้แต่ทหาร แต่พอมี งบกระตุ้นเศรษฐกิจก้อนนี้ออกมากลับทำให้เสียงโวยวายเงียบฉี่ ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้ ไม่ได้บอกว่าจะจ้างงานได้กี่คน เพราะที่ผ่านมาทั้งโครงการเช็คช่วยชาติ ต้นกล้าอาชีพรัฐบาลก็ทำล้มเหลว และที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ถนนไร้ฝุ่น และโครงการ แหล่งน้ำชลประทานเพื่อการเกษตรที่ปกติอยู่ในงบประมาณแต่ละปีอยู่แล้วแต่วันนี้มาอยู่ในโครงการไทยเข้มแข็ง
นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวต่อว่า นโยบายรัฐบาลกู้เงินครั้งนี้จึงมีนัยยะสำคัญ 1 .นัยยะทางการเมือง คือถ้าเงินก้อน 800,000 ล้านบาท ไปงบปกติ รัฐบาลคุมพรรคร่วมฯไม่ได้ จึงเอาเงินก้อนนี้มาอยู่นอกงบประมาณ เพื่อจัดงบประมาณ โดยไม่รู้จัดจริงหรือหลอก แล้วโยกภายหลังหรือไม่ไม่ทราบ แต่ที่เห็นมีงบกระทรวงคมนาคมมาก 2 .นัยยะทางผลประโยชน์ ซึ่งงบก้อนนี้เป็น งบแผ่นดินจะต้องเข้าคลังแผ่นดิน เข้าคลังประเทศ แต่ตอนนี้จะเก็บไว้นอกคลัง ซึ่งก็มีธนาคารพาณิชน์ ธนาคารอื่นๆ ก็จะมีผลประโยชน์ตอบแทนจากธนาคารและธนาคารจะได้ผลประโยชน์ต่างตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และ 3 .เป็นเรื่องที่นำไปสู่ผลประโยชน์ทับซ้อนและทุจริตเชิงนโยบายรอบใหม่ ขอฟันธงว่าคนไทยไม่มีโอกาสเข้มแข็งแต่ความเข้มแข็งอยู่ที่กลุ่มบุคคล กลุ่มพรรคการเมือง คนไทยทั้งชาติที่ได้รับอีก 3 ปีถึงปี 2555 คือเนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่งแต่เอากระดูกไปแขวนคอ ซึ่งคนไทยต้องมาร่วมกันใช้หนี้ เชื่อว่าผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นแน่ จึงขอโหวตคัดค้าน
***ที่ประชุมสภาผ่าน พ.ร.ก.กู้เงินฉลุย
อย่างไรก็ตามสมาชิกฝ่ายค้านมีการอภิปรายถึงรายละเอียดของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง อย่างกว้างขวางโดยได้หยิบยกกรณีการจัดงบประมาณในภาคใต้ ที่กำลังประสบปัญหาความรุนแรง โดยระบุว่ารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เท่าที่ควร แก้ปัญหาอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาไม่ถูกจุด รวมถึงการแก้ปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศไทยและสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในขณะนี้ก็ยังดำเนินการอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาล โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบแต่ละกระทรวงได้ทยอยขึ้นชี้แจง ซึ่งต่างยืนยันว่ารัฐบาลพยายามจัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
จากนั้นที่ประชุมมีมติลงมติโดยเสียงส่วนใหญ่สนับสนุนให้ผ่าน พ.ร.ก..ให้อำนาจกระทรวงการคลังก็เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาท และ ร่าง พ.ร.บ.ห้อำนาจกระทรวงการคลังก็เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาท.
++++
(ล้อมกรอบใต้ข่าวต่อหน้า 4)
*สาระสำคัญของ พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท*
(1) ให้กระทรวงการคลังโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจกู้เงินในนามรัฐบาลเพื่อนำไปใช้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ในวงเงินไม่เกิน 400,000 ล้านบาท โดยให้กู้เป็นเงินบาทและกู้เงินได้ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 53 และให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ต่อรัฐสภาเพื่อทราบก่อนเริ่มดำเนินการด้วย
(2) เงินที่ได้จากการกู้ให้นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในการกู้ โดยไม่ต้องนำส่งคลังเว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้สมทบเป็นเงินคงคลัง โดยกระทรวงการคลังอาจนำเงินกู้ไปให้กู้ต่อแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ เพื่อใช้จ่ายหรือลงทุนเพื่อฟื้นฟูหรือเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจก็ได้
(3) กระทรวงการคลังต้องรายงานการกู้เงินให้รัฐสภาทราบภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ
(4) เมื่อหนี้เงินกู้ถึงกำหนดชำระ กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้ และต้องไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่ยังค้างชำระ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอาจทยอยกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะเป็นการล่วงหน้าได้ แต่ไม่เกิน 12 เดือนก่อนวันที่หนี้ถึงกำหนดชำระ หากหนี้ที่จะปรับโครงสร้างหนี้มีจำนวนมากและไม่อาจกู้เงินภายในคราวเดียวกันได้
(5) นอกจากกรณีที่ได้กำหนดไว้แล้วในพระราชกำหนด ให้นำกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาใช้บังคับโดยอนุโลม
โดยมีการนำหลักการที่ใช้บังคับกับการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาเทียบเคียงโดยอนุโลม และเพิ่มหลักการเรื่องความโปร่งใสและการตรวจสอบได้โดยกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องเสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ก่อนเริ่มดำเนินการต่อรัฐสภา.
ฝ่ายค้านฉะมีวาระซ่อนเร้น
กู้ด่วน4แสนล.ผ่านฉลุย
ASTVผู้จัดการรายวัน - พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านผ่านสภาฉลุย แม้ฝ่ายค้านพยายามโจมตีเอื้อประโยชน์ทางการเมืองและวาระซ่อนเร้นโครงการใช้เงิน นายกฯ ยืนยันโปร่งใส เปิดโอกาสให้ตรวจสอบ พร้อมมีคณะกรรมการนำโดย "พนัส สิมะเสถียร" ติดตามประเมิน รมว.คลังยืนยันรัฐบาลมีความจำเป็นกู้เร่งด่วน รับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความวุ่นวายภายใน ลั่นพลิกจีดีพีกลับมาเป็นบวกในปีหน้าและมีการจ้างงานเพิ่มปีละ 4-5 แสนคน
ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จำนวน 4 แสนล้านบาท เมื่อวานนี้ (15 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุม ครม.นัดพิเศษ เพื่อพิจารณากรอบการใช้เงินกู้และทำความเข้าใจ โดยกำชับให้รัฐมนตรีชี้แจงการออก พ.ร.ก.รวมทั้ง พ.ร.บ.เงินกู้อีก 4 แสนล้านบาท ต่อสภาฯ ให้ชัดเจน
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุม ครม.นัดพิเศษว่า ได้พิจารณาแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพิ่มเติมตามที่กระทรวงการคลังเสนอเพื่อให้ ครม.อนุมัติให้ดำเนินการโครงการพัฒนาการท่องเที่ยว ของกระทรวงการท่องเทียวฯ วงเงิน 2.409 ล้านบาท โดยบรรจุ ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 นอกจากนี้ยังอนุมัติการให้กระทรวงการคลังใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท เพื่อนำไปใช้ดำเนินการมาตรการฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ ครม.เสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพ.ร.ก.ฉบับนี้ต่อรัฐสภาเพื่อทราบก่อนเริ่มดำเนินการ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.นัดพิเศษ ก่อนเดินทางเข้าชี้แจง พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทต่อที่ประชุมสภาฯว่า ครม.พิจารณากรอบการใช้เงินที่จะดำเนินการตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท เพื่อการเสนอต่อสภาทราบ เป็นไปตามเงื่อนไขของ พ.ร.ก.ก่อนดำเนินการ
ส่วนข้อกังวลของฝ่ายค้านว่าการใช้เงินตาม พ.ร.ก.นี้จะไม่โปร่งใสจะสร้างความมั่นใจในส่วนนี้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระหว่างวันที่15- 16 มิ.ย.นี้ ทางสภาจะเห็นกรอบการใช้เงิน วัตถุประสงค์หลัก 7 ข้อคืออะไร ถ้าติดใจเรื่องการกระจายและการนำไปใช้สู่จังหวัดต่างๆ จะมีบัญชีแต่ละจังหวัดและโครงการในแต่ละประเภทว่าลงไปแต่ละจังหวัดเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็เปิดโอกาสให้ติดตามได้อยู่แล้ว และก่อนหน้านี้ ครม. มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อกลั่นกรองและ คณะกรรมการติดตามการ ซึ่งต้องดูประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการใช้เงินงบประมาณตามโครงการต่างๆ ซึ่งบทบาทของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด
ส่วนกรณีที่วุฒิสภาขู่ว่าจะไม่ผ่าน พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่หรอก ตนจะชี้แจงให้ดีที่สุด ตัว พ.ร.บ.จะเอารายละเอียดไปให้พิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ส่วน พ.ร.ก. เป็นวาระเดียวที่จะต้องผ่านความเห็นชอบของสภา จะทำกรอบให้ดู ตนมั่นใจว่าจะผ่านความเห็นชอบ เพราะเป็นประโยชน์ ของประเทศ เมื่อถามย้ำว่ามั่นใจแค่ไหนว่า พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ นายกรัฐมนตรีพยักหน้าแล้วขึ้นรถไป
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ยืนยันเช่นกันว่าจะสามารถชี้แจงรายละเอียด พ.ร.ก.และ ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยแข้มแข็งได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดจริงๆ เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุน ซึ่งเป็นมาตรการที่รัฐบาลได้กำหนดขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถของประเทศแก้ปัญหาให้กับประชาชน "ชี้แจงได้ครับ ตัว พ.ร.ก.เราได้คัดโครงการที่มีความพร้อมที่จะเริ่ม ดำเนินการได้ทันทีได้จริง และเราได้สำรองเม็ดเงินรวมของโครงการที่จะใช้เงินลงทุน ภายใต้ พ.ร.ก.นั้นมากถึง 2.4 หมื่นล้านบาท โดยประมาณ ซึ่งล้วนแล้วเป็นโครงการ ที่พร้อมดำเนินการได้เลยหลังจากที่รัฐสภามีการพิจารณากฎหมาย ส่วน 2 แสนล้านบาทแรกก็สำรองเพื่อชดเชยเงินคงคลัง สืบเนื่องมาจากภาษีของรัฐบาล ที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่พวกเราทุกคนเข้าใจกัน" รมว.คลังกล่าว
จากนั้นเวลา 09.30 น. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ชี้แจงต่อสภาฯ ว่า พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูฯ เป็นไปตาม ครม. เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 52 มีมติเห็นชอบและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระมหากรุณาทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย และภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 184 ได้กำหนดให้การตรา พ.ร.ก.กระทำได้เฉพาะเมื่อ ครม.เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไปให้ ครม.เสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า ประกอบกับ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินมาตรา 3 ได้บัญญัติว่าให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติ ครม. มีอำนาจกู้เงินในนามรัฐบาลเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินมาตรการเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ ครม.เสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ต่อรัฐสภาเพื่อทราบก่อนเริ่มดำเนินการ
***เปิดตัวเลขแจงความจำเป็นกู้
นายกรณ์ชี้แจงว่า นับแต่ที่ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประเทศคู่ค้าของไทยหลายประเทศได้รับผลกระทบ ส่งผลต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากโครงสร้างของเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันพึ่งพาการส่งออกสินค้าและบริการในสัดส่วนที่สูงมากคือมากกว่าร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เมื่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยได้หดตัวลงเมื่อปลายปี 51 มูลค่าส่งออกสินค้าของไทยจึงหดตัวอย่างรวดเร็ว จากที่เคยขยายตัวในอัตราร้อยละ 26 ต่อปี ในไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 51 มาเป็นหดตัวที่ร้อยละ 10 ในไตรมาส 4 และหดตัวมากขึ้นถึงร้อยละ 20 ในไตรมาส 1 ของปีนี้
นอกจากนี้ ศรษฐกิจของไทยยังได้ถูกซ้ำเติมจากปัญหาวิกฤติทางการเมืองในประเทศด้วย ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาหลักที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน เศรษฐกิจของไทยจึงประสบภาวะตกต่ำที่รุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน สิ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของไทยประสบภาวะตกต่ำอย่างรุนแรงก็คือ การที่ภาคธุรกิจ มีการปิดยุบเลิกกิจการเพิ่มมากขึ้น โดยในไตรมาส 4 ปี 51 และไตรมาส 1ปี 52 ผู้ประกอบการได้ทยอยปิดกิจการไปแล้วรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 12,183 ราย และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากภาคการผลิตเลิกจ้างและลดการจ้างงาน จากเดิมที่มีจำนวนคนว่างงานประมาณ 4.3 แสนคน ณ สิ้นไตรมาส 3 มาอยู่ที่ 5.4 แสนคน ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 52 และเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7.1 แสนคน ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 52 การว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้ส่งผลให้การใช้จ่ายและการบริโภคในภาคเอกชนลดลงอย่างมากตามไปด้วยและหากปล่อยให้เศรษฐกิจหดตัวและมีการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ยิ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อและการบริโภคของประชาชนภายในประเทศหดตัวมากขึ้น และในที่สุดหากไม่มีการดำเนินการมาตรการใด ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวอย่างทันท่วงที ย่อมอาจส่งผลต่อเนื่องกันในทุกภาคส่วน เช่น อาจทำให้หนี้เสีย (NPL) ในระบบสถาบันการเงิน เพิ่มสูงขึ้นได้เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราหนี้เสียเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.2 ของสินเชื่อรวมสุทธิ ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 51 เป็นร้อยละ 5.4 ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 52 ซึ่งอาจจะทำให้ประเทศไทยประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินอีกครั้งหนึ่งก็ได้
นอกจากนี้ รายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักอันหนึ่งในการนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศได้ลดลงอย่างมาก สาเหตุเนื่องจากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศขาดความมั่นใจในสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทยลดลงถึงร้อยละ 18 และ 15.8 ในไตรมาส 4 ปี 51 และในไตรมาส 1 ปี 51 ตามลำดับ
"ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมาก จากเหตุปัจจัยที่มาจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ เห็นได้จากการที่ GDP ในช่วง 3 ไตรมาสแรกซึ่งเคยขยายตัวได้ร้อยละ 6 ร้อยละ 5.3 และ 3.9 ต่อปี ตามลำดับ เป็นหดตัวถึงร้อยละ 4.2 ต่อปีในไตรมาส 4 ปี 51 และหดตัวร้อยละ 7.1 ต่อปีในไตรมาส 1 ของปี 52 ส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของรัฐบาล เนื่องจากในปีงบประมาณ 52 ได้มีการประมาณการรายได้ไว้เป็นจำนวน 1.6 ล้านล้านบาท แต่ปรากฏว่ารายได้ที่จัดเก็บได้จริงน้อยกว่าประมาณการที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณต่ำกว่าประมาณการไว้แต่เดิมถึง 1.29 แสนล้านบาท และได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณนี้ รายได้ที่จัดเก็บได้จะต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้เป็นจำนวนเงิน 2.8 แสนล้านบาท" รมว.คลังสรุป
นายกรณ์กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติในภาคการผลิตและภาคบริการโดยเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามกลายเป็นลูกโซ่และไปสู่การประกอบธุรกิจด้านอื่นๆ มิฉะนั้น ความร้ายแรงของปัญหาความมั่นคงทางเศรษฐกิจย่อมลุกลามขยายออกไป และต่อเนื่องไปถึงปัญหาฐานะทางการเงินการคลังของประเทศ ในขณะที่ภาคเอกชนไม่อยู่ฐานะที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน เพื่อป้องกันปัญหาทันทีก่อนที่ปัญหาเศรษฐกิจจะลุกลามใหญ่โตไปสู่ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการไทยเข้มแข็งเพื่อดำเนินการ ในช่วงปี พ.ศ. 52-55 โดยรัฐบาลทำการกลั่นกรองและรวบรวมโครงการต่างๆ กว่า 6,000 โครงการ ที่สามารถดำเนินการได้ทันทีในระยะสามปีข้างหน้า คิดเป็นวงเงินรวม 1.43 ล้านล้านบาท หรือเท่ากับประมาณร้อยละ 17 ของ GDP หากสามารถทำให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้แล้ว รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี และจะทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4-5 แสนคน
***ลั่นยึดส่วนรวม-ตรวจสอบได้
"รัฐบาลยึดถือประโยชน์ของคนไทยเป็นที่ตั้ง วัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการซึ่งเน้นการลงทุนที่สำคัญและจำเป็น เพื่อเพิ่มแรงกระตุ้นให้กับระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพิ่มการกระจายการลงทุนด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานสู่ชนบท เชื่อว่าแผนตามโครงการที่วางไว้กว่า 6,000 โครงการ จะสามารถทำให้คนไทยช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาต่างประเทศเช่นในอดีต ขณะเดียวกันต้องสร้างรายได้กับภาคเอกชนไปพร้อมกัน " รมว.คลังกล่าวและว่า สภาพัฒน์และคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีตั้งขึ้น จะทำหน้าที่กลั่นกรอง ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล
ครม.เมื่อวันที่ 26 พ.ค.52 ได้อนุมัติตามที่สภาพัฒน์เสนอ โดยเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 โดยมีองค์ประกอบคือ นายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นาย โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ นายพิสิฐ ลี้อาธรรม นายอัชพร จารุจินดา นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ นายดุสิต นนทะนาคร ปลัดกระทรวงการคลัง (นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นายบัณฑูร สุภัควณิช) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอำพน กิตติอำพน) โดยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง (นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์) รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง (นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนงบประมาณ สำนักงบประมาณ (นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย) เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
***พลิกจีดีพีปีหน้าเป็นบวก
รมว.คลังย้ำว่า การตราเป็นพระราชกำหนดเพื่อให้อำนาจกระทรวงการคลังในการกู้เงินเป็นจำนวน 4 แสนล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีเงินทุนเพียงพอที่จะใช้จ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและจัดทำบริการสาธารณะของรัฐได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และทำให้ฐานะการคลังของประเทศมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพในระยะยาว แล้วการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวจากภาวะที่ถดถอยอย่างรุนแรง โดยคาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศจะเริ่มกลับมาเป็นบวกตั้งแต่ปี 53 และจะเริ่มทยอยกลับสู่ภาวะปกติตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นไป
***ส.ส.รัฐบาลหนุนกู้เงินเต็มที่
ด้านส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ได้อภิปรายสนับสนุนการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อย่างเต็มที่ โดยเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ อาทิ นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ตั้งแต่ปี 2544-2551 เศรษฐกิจพอไปได้ โดยมีอัตราเศรษฐกิจปรับตัวร้อยละ 5.1 แต่หากดูวินัยทางการเงินของรัฐบาล ที่ผ่านมา โดยดูหนี้สาธารณะพบว่าปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลสมัยนั้นได้กู้เงิน 700,000 ล้าน ซึ่งหากเศรษฐกิจไม่ดีไปจนถึงปี 2555 เรามีหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 5.7 ซึ่งก็ถือว่ายังรับได้ ซึ่งหลังวิกฤตเศรษฐกิจผ่านพ้นไปประเมินเลวร้ายที่สุด คือรัฐบาลไม่ใช่หนี้สักบาทเดียว ถามว่าเมื่อไหร่หนี้สาธารณะกลับมาอยู่ทีเดิมร้อยละ 41 ก็ใช้เวลาแค่ 4 ปีเท่านั้น โดยประเมินที่ภาวะเศรษฐกิจปานกลาง ส่วนรัฐบาลกู้เงินแล้วนำไปใช้อะไรเหมาะสมหรือไม่ หากดูโครงการไทยเข้มแข็งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการลงุทน ซึ่งเหมาะสมเพราะขณะนี้ภาคเศรษฐกิจมีปัญหาทุกภาคส่วน
***ฝ่ายค้านชี้มีการเมือง-ผลประโยชน์
ส.ส.จากพรรคเพื่อไทยต่างอภิปรายคัดค้านการออก พ.ร.ก. ดังกล่าว โดยเชื่อว่ามีนัยยะทางการเมือง และเกรงว่ารัฐบาลจะใช้งบประมาณไม่โปร่งใส เพราะเป็นการกู้เงินนอกงบประมาณ ซึ่งไม่มีรายละเอียดและรัฐบาลไม่ได้ดูแลแก้ปัญหาสินค้าเกษตรกร
นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส. เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า โครงการ ไทยเข็มแข็งไม่มีรายละเอียด มีแต่ชื่อ จะไปลงจังหวัดไหนก็ไม่รู้ จะลงทางใต้ที่เดียว หรือ แถวจ .บุรีรัมย์ที่เดียวก็ไม่รู้ สังเกตว่างบนี้ กลายเป็นงบหาเสียงหรือไม่ เพราะ จากที่เปิดดูรายละเอียด 2553 งบ 1.9 ล้านล้านบาท เหลือ 1.7 ล้านล้านบาท งบลงทุนเหลือ 2 แสนล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายออกมาโวยวายว่าแม้แต่ทหาร แต่พอมี งบกระตุ้นเศรษฐกิจก้อนนี้ออกมากลับทำให้เสียงโวยวายเงียบฉี่ ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้ ไม่ได้บอกว่าจะจ้างงานได้กี่คน เพราะที่ผ่านมาทั้งโครงการเช็คช่วยชาติ ต้นกล้าอาชีพรัฐบาลก็ทำล้มเหลว และที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ถนนไร้ฝุ่น และโครงการ แหล่งน้ำชลประทานเพื่อการเกษตรที่ปกติอยู่ในงบประมาณแต่ละปีอยู่แล้วแต่วันนี้มาอยู่ในโครงการไทยเข้มแข็ง
นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวต่อว่า นโยบายรัฐบาลกู้เงินครั้งนี้จึงมีนัยยะสำคัญ 1 .นัยยะทางการเมือง คือถ้าเงินก้อน 800,000 ล้านบาท ไปงบปกติ รัฐบาลคุมพรรคร่วมฯไม่ได้ จึงเอาเงินก้อนนี้มาอยู่นอกงบประมาณ เพื่อจัดงบประมาณ โดยไม่รู้จัดจริงหรือหลอก แล้วโยกภายหลังหรือไม่ไม่ทราบ แต่ที่เห็นมีงบกระทรวงคมนาคมมาก 2 .นัยยะทางผลประโยชน์ ซึ่งงบก้อนนี้เป็น งบแผ่นดินจะต้องเข้าคลังแผ่นดิน เข้าคลังประเทศ แต่ตอนนี้จะเก็บไว้นอกคลัง ซึ่งก็มีธนาคารพาณิชน์ ธนาคารอื่นๆ ก็จะมีผลประโยชน์ตอบแทนจากธนาคารและธนาคารจะได้ผลประโยชน์ต่างตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และ 3 .เป็นเรื่องที่นำไปสู่ผลประโยชน์ทับซ้อนและทุจริตเชิงนโยบายรอบใหม่ ขอฟันธงว่าคนไทยไม่มีโอกาสเข้มแข็งแต่ความเข้มแข็งอยู่ที่กลุ่มบุคคล กลุ่มพรรคการเมือง คนไทยทั้งชาติที่ได้รับอีก 3 ปีถึงปี 2555 คือเนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่งแต่เอากระดูกไปแขวนคอ ซึ่งคนไทยต้องมาร่วมกันใช้หนี้ เชื่อว่าผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นแน่ จึงขอโหวตคัดค้าน
***ที่ประชุมสภาผ่าน พ.ร.ก.กู้เงินฉลุย
อย่างไรก็ตามสมาชิกฝ่ายค้านมีการอภิปรายถึงรายละเอียดของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง อย่างกว้างขวางโดยได้หยิบยกกรณีการจัดงบประมาณในภาคใต้ ที่กำลังประสบปัญหาความรุนแรง โดยระบุว่ารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เท่าที่ควร แก้ปัญหาอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาไม่ถูกจุด รวมถึงการแก้ปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศไทยและสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในขณะนี้ก็ยังดำเนินการอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาล โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบแต่ละกระทรวงได้ทยอยขึ้นชี้แจง ซึ่งต่างยืนยันว่ารัฐบาลพยายามจัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
จากนั้นที่ประชุมมีมติลงมติโดยเสียงส่วนใหญ่สนับสนุนให้ผ่าน พ.ร.ก..ให้อำนาจกระทรวงการคลังก็เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาท และ ร่าง พ.ร.บ.ห้อำนาจกระทรวงการคลังก็เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาท.
++++
(ล้อมกรอบใต้ข่าวต่อหน้า 4)
*สาระสำคัญของ พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท*
(1) ให้กระทรวงการคลังโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจกู้เงินในนามรัฐบาลเพื่อนำไปใช้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ในวงเงินไม่เกิน 400,000 ล้านบาท โดยให้กู้เป็นเงินบาทและกู้เงินได้ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 53 และให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ต่อรัฐสภาเพื่อทราบก่อนเริ่มดำเนินการด้วย
(2) เงินที่ได้จากการกู้ให้นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในการกู้ โดยไม่ต้องนำส่งคลังเว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้สมทบเป็นเงินคงคลัง โดยกระทรวงการคลังอาจนำเงินกู้ไปให้กู้ต่อแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ เพื่อใช้จ่ายหรือลงทุนเพื่อฟื้นฟูหรือเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจก็ได้
(3) กระทรวงการคลังต้องรายงานการกู้เงินให้รัฐสภาทราบภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ
(4) เมื่อหนี้เงินกู้ถึงกำหนดชำระ กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้ และต้องไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่ยังค้างชำระ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอาจทยอยกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะเป็นการล่วงหน้าได้ แต่ไม่เกิน 12 เดือนก่อนวันที่หนี้ถึงกำหนดชำระ หากหนี้ที่จะปรับโครงสร้างหนี้มีจำนวนมากและไม่อาจกู้เงินภายในคราวเดียวกันได้
(5) นอกจากกรณีที่ได้กำหนดไว้แล้วในพระราชกำหนด ให้นำกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาใช้บังคับโดยอนุโลม
โดยมีการนำหลักการที่ใช้บังคับกับการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาเทียบเคียงโดยอนุโลม และเพิ่มหลักการเรื่องความโปร่งใสและการตรวจสอบได้โดยกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องเสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ก่อนเริ่มดำเนินการต่อรัฐสภา.