ตาก– ตั้งคณะกรรมการ 3 ชุดลุยศึกษาแนวทางตั้งเขตปกครองท้องถิ่นพิเศษ ทั้ง “แม่สอด – เมืองอุตสาหกรรม-เมืองท่องเที่ยว” พร้อมตามติดความคืบหน้าทุก 2 สัปดาห์ รองเลขาธิการพระปกเกล้า-สภาอุตสาหกรรมฯ ชู “แม่สอด” นำร่องท่องถิ่นพิเศษ-เขตเศรษฐกิจชายแดน ยันมีความพร้อมสูง
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการการพัฒนารูปแบบการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในลักษณะเครือข่ายหรือกลุ่มพื้นที่และรูปแบบการจัดตั้งองค์กรบริหารการจัดการในพื้นที่พิเศษ ครั้งที่ 1/2552 ซึ่งมีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เป็นประธานการประชุมฯ ที่ห้องอรรถไกวัลวที ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ โดยมีตัวแทนภาครัฐ-เอกชน-อปท.-สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนักวิชาการกว่า 70 คน ตลอดจนนายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) และนายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด ในฐานะคณะกรรมการกระจายอำนาจ อปท. พร้อมผู้บริหาร เข้าร่วมประชุมนั้น
ที่ประชุมมีแนวทางการผลักดันยกฐานะท้องถิ่น ที่มีความพร้อมเป็นเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ในเมืองหลักสำคัญ 5 ด้าน คือ 1. เมืองที่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจและมีการพัฒนาในระดับมหานคร เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา 2.เมืองที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว เช่น หัวหิน สมุย 3.เมืองชายแดน เช่นเมืองแม่สอด 4.เมืองอุตสาหกรรม เช่น มาบตาพุด และ 5.เมืองประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เช่น สุโขทัย-อยุธยา
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการเสนอหาพื้นที่เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งยึดถึงความพร้อมของเมืองและเศรษฐกิจ เช่นเมืองแม่สอด โดยตัวแทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้เมืองแม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนควบคู่เขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า การยกฐานะท้องถิ่นรูปแบบพิเศษต้องเป็นเมืองที่มีความพร้อมและมีศักยภาพสูง และมีการศึกษาไปแล้ว เช่น เมืองแม่สอด เป็นต้น ซึ่งอาจจะดำเนินการในกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่ม หรือกลุ่มพื้นที่ ในลักษณะเครือข่าย โดยยึดถึงความพร้อมของเมืองนั้นๆเป็นหลัก
ทั้งนี้ ที่ประชุมขอให้ตั้งคณะทำงาน3 ลักษณะ คือ 1.ศึกษาเมืองเศรษฐกิจ ชายแดนและท้องถิ่นรูปแบบพิเศษแม่สอด นำร่อง โดยมีนายวุฒิสาร ตันไชย เป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งจะ เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก และมีความพร้อมมาก 2.เมืองอุตสาหกรรม มีนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ เป็นประธานคณะทำงาน 3.เมืองท่องเที่ยว โดยมีองค์ประกอบทุกภาคส่วน พร้อมศึกษาข้อกฎหมาย โดยให้สภาพัฒน์ เป็นเลขานุการคณะทำงานติดตามการดำเนินการ ทุก 2 สัปดาห์
นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด ได้เสนอข้อมูลต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ว่า ได้จัดเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่แล้ว และที่ผ่านมาก็ได้ทำประชามติแล้ว ปรากฏว่า ประชาชนเห็นด้วยกว่า 80% นอกจากนี้เขายังได้นำเสนอเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของพื้นที่เช่นการเป็นเมืองหน้าด่านการค้าชายแดน ไทย-พม่า ที่มีมูลค่าการค้ามากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท การเป็นเมืองที่เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเป็นเส้นทางสายเศรษฐกิจEast-West Economic Corridor ซึ่งเมืองแม่สอด มีศักยภาพที่เด่นชัด ทั้งในเชิงการค้า และการพัฒนาเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
นายเทอดเกียรติ พยายามย้ำว่า ไม่เพียงเท่านั้นจังหวัดเมียวดีของพม่า ที่อยู่ตรงข้ามแม่สอด ก็ยกฐานะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไปแล้ว เมืองแม่สอดซึ่งเป็นชายแดนติดต่อกัน จึงต้องมีการยกฐานะเป็น เขตเศรษฐกิจชายแดนและท้องถิ่นพิเศษ ให้ทันต่อระบบการค้าระหว่างประเทศ สังเกตได้ว่าชายแดนพม่า-จีน ทุกจุดที่สำคัญนั้น มีการยกฐานะเมืองเหล่านั้นเป็นเขตปกครองท้องถิ่นพิเศษ หรือเขตเศรษฐกิจชายแดนทั้งสิ้น ถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่เห็นผลเป็นรูปธรรม
นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ต้องยอมรับเงื่อนไขความเป็นไปได้ทางการเมือง และเห็นว่าเมืองแม่สอดนั้นผู้บริหารท้องถิ่นมีความตั้งใจ และเตรียมความพร้อมมากที่สุด จึงควรมีการนำร่องทดลองให้เป็นท้องถิ่นพิเศษ ให้ทุกฝ่ายเข้าไปช่วยดูแล โดยใช้กรอบทางรัฐธรรมนูญเข้าไปพัฒนาท้องถิ่นพิเศษ เป็นการทำเพื่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม ส่วนเมืองที่ยังไม่พร้อมหรือติดเงื่อนไขอื่นๆก็ต้องรอให้มีความพร้อม ส่วนเมืองแม่สอดนั้นน่าจะให้มีการดำเนินการ ช่วยกันศึกษาและนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า การกำหนดกลุ่มพื้นที่ เพื่อการยกฐานะเป็นเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษมีการกำหนดกลุ่มพื้นที่และพื้นที่พิเศษ 4 ข้อ คือ 1.ความเชื่อมโยงระหว่างเมืองและการพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคม 2” ความเกี่ยวโยงทางเศรษฐกิจ การผลิตการค้า การลงทุน และเปรียบเทียบการแข่งขัน 3.ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ความร่วมมือระหว่างพื้นที่กับเมือง 4.ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ราบ ภูเขาและชายทะเล
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการการพัฒนารูปแบบการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในลักษณะเครือข่ายหรือกลุ่มพื้นที่และรูปแบบการจัดตั้งองค์กรบริหารการจัดการในพื้นที่พิเศษ ครั้งที่ 1/2552 ซึ่งมีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เป็นประธานการประชุมฯ ที่ห้องอรรถไกวัลวที ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ โดยมีตัวแทนภาครัฐ-เอกชน-อปท.-สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนักวิชาการกว่า 70 คน ตลอดจนนายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) และนายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด ในฐานะคณะกรรมการกระจายอำนาจ อปท. พร้อมผู้บริหาร เข้าร่วมประชุมนั้น
ที่ประชุมมีแนวทางการผลักดันยกฐานะท้องถิ่น ที่มีความพร้อมเป็นเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ในเมืองหลักสำคัญ 5 ด้าน คือ 1. เมืองที่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจและมีการพัฒนาในระดับมหานคร เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา 2.เมืองที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว เช่น หัวหิน สมุย 3.เมืองชายแดน เช่นเมืองแม่สอด 4.เมืองอุตสาหกรรม เช่น มาบตาพุด และ 5.เมืองประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เช่น สุโขทัย-อยุธยา
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการเสนอหาพื้นที่เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งยึดถึงความพร้อมของเมืองและเศรษฐกิจ เช่นเมืองแม่สอด โดยตัวแทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้เมืองแม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนควบคู่เขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า การยกฐานะท้องถิ่นรูปแบบพิเศษต้องเป็นเมืองที่มีความพร้อมและมีศักยภาพสูง และมีการศึกษาไปแล้ว เช่น เมืองแม่สอด เป็นต้น ซึ่งอาจจะดำเนินการในกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่ม หรือกลุ่มพื้นที่ ในลักษณะเครือข่าย โดยยึดถึงความพร้อมของเมืองนั้นๆเป็นหลัก
ทั้งนี้ ที่ประชุมขอให้ตั้งคณะทำงาน3 ลักษณะ คือ 1.ศึกษาเมืองเศรษฐกิจ ชายแดนและท้องถิ่นรูปแบบพิเศษแม่สอด นำร่อง โดยมีนายวุฒิสาร ตันไชย เป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งจะ เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก และมีความพร้อมมาก 2.เมืองอุตสาหกรรม มีนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ เป็นประธานคณะทำงาน 3.เมืองท่องเที่ยว โดยมีองค์ประกอบทุกภาคส่วน พร้อมศึกษาข้อกฎหมาย โดยให้สภาพัฒน์ เป็นเลขานุการคณะทำงานติดตามการดำเนินการ ทุก 2 สัปดาห์
นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองแม่สอด ได้เสนอข้อมูลต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ว่า ได้จัดเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่แล้ว และที่ผ่านมาก็ได้ทำประชามติแล้ว ปรากฏว่า ประชาชนเห็นด้วยกว่า 80% นอกจากนี้เขายังได้นำเสนอเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของพื้นที่เช่นการเป็นเมืองหน้าด่านการค้าชายแดน ไทย-พม่า ที่มีมูลค่าการค้ามากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท การเป็นเมืองที่เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเป็นเส้นทางสายเศรษฐกิจEast-West Economic Corridor ซึ่งเมืองแม่สอด มีศักยภาพที่เด่นชัด ทั้งในเชิงการค้า และการพัฒนาเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
นายเทอดเกียรติ พยายามย้ำว่า ไม่เพียงเท่านั้นจังหวัดเมียวดีของพม่า ที่อยู่ตรงข้ามแม่สอด ก็ยกฐานะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไปแล้ว เมืองแม่สอดซึ่งเป็นชายแดนติดต่อกัน จึงต้องมีการยกฐานะเป็น เขตเศรษฐกิจชายแดนและท้องถิ่นพิเศษ ให้ทันต่อระบบการค้าระหว่างประเทศ สังเกตได้ว่าชายแดนพม่า-จีน ทุกจุดที่สำคัญนั้น มีการยกฐานะเมืองเหล่านั้นเป็นเขตปกครองท้องถิ่นพิเศษ หรือเขตเศรษฐกิจชายแดนทั้งสิ้น ถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่เห็นผลเป็นรูปธรรม
นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ต้องยอมรับเงื่อนไขความเป็นไปได้ทางการเมือง และเห็นว่าเมืองแม่สอดนั้นผู้บริหารท้องถิ่นมีความตั้งใจ และเตรียมความพร้อมมากที่สุด จึงควรมีการนำร่องทดลองให้เป็นท้องถิ่นพิเศษ ให้ทุกฝ่ายเข้าไปช่วยดูแล โดยใช้กรอบทางรัฐธรรมนูญเข้าไปพัฒนาท้องถิ่นพิเศษ เป็นการทำเพื่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม ส่วนเมืองที่ยังไม่พร้อมหรือติดเงื่อนไขอื่นๆก็ต้องรอให้มีความพร้อม ส่วนเมืองแม่สอดนั้นน่าจะให้มีการดำเนินการ ช่วยกันศึกษาและนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า การกำหนดกลุ่มพื้นที่ เพื่อการยกฐานะเป็นเขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษมีการกำหนดกลุ่มพื้นที่และพื้นที่พิเศษ 4 ข้อ คือ 1.ความเชื่อมโยงระหว่างเมืองและการพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคม 2” ความเกี่ยวโยงทางเศรษฐกิจ การผลิตการค้า การลงทุน และเปรียบเทียบการแข่งขัน 3.ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ความร่วมมือระหว่างพื้นที่กับเมือง 4.ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ราบ ภูเขาและชายทะเล