ASTVผู้จัดการรายวัน – “นริศ ชัยสูตร” เผยปมทุจริต ธอส.พบไม่ได้เกิดจากคอร์แบงกิ้งแต่ความผิดพลาดเกิดจากระดับการเข้าถึงข้อมูลธนาคารของพนักงาน เดินหน้าสอบเพิ่มหลังพบผู้เกี่ยวข้องมากมาย ยันไม่มีมวยล้ม ต้องหาคนรับผิดให้ได้ แต่ต้องรอบคอบ
นายนริศ ชัยสูตร ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการคลังในฐานะประธานคณะกรรมการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสอบข้อเท็จจริงกรณีพนักงานธนาคารทุจริตเงิน 499 ล้านบาทว่า การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ แต่เกิดจากระดับความสามารถในการเข้าถึงระบบของธนาคารเอง ที่ไม่มีการควบคุมที่ดีพอ เพราะสามารถเปิดโอกาสให้พนักงานเพียงไม่กี่คน สามารถเข้าไปบริหารจัดงานเงินจำนวนมากของลูกค้าได้ จึงต้องตรวจสอบเพิ่มเติม เพราะพบว่ามีเจ้าหน้าที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลายราย
“ที่ผ่านมาเป็นการสอบปากคำจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งคาดว่าน่าจะสรุปและเสนอต่อนายประดิษฐ์ ภัทรประดิษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้ในวันที่ 4 มิถุนายน แต่ขณะนี้พบว่า มีเอกสารบางที่เชื่อมโยงเจ้าหน้าที่เข้ามาหลายคน จึงต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่า มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างละเอียด เพราะการจะเอาผิดทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ต้องรอบคอบ แต่ยืนยันว่า ไม่มีมวยล้ม เพราะไม่ว่าการตรวจสอบจะเชื่อมโยงถึงผู้บริหารระดับใด ก็ต้องรับผิดอย่างแน่นอน ซึ่งจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้” นายนริศกล่าว
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธอส.กล่าวว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของธนาคาร ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นแล้ว แต่ให้มีการสอบสวนเพิ่มเติม ขณะที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดที่มีน.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย เป็นประธาน ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่มีการกระทำทุจริตเพิ่มเติม แต่สามารถออกหมายจับที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตได้เพิ่มเติมอีก 1 ราย ขณะนี้คดีความอยู่ที่กองปราบ
ที่ผ่านมาธนาคารได้มีการจัดระบบการเข้าไปทำรายการในบัญชีลูกค้าอย่างเข้มงวด โดยให้อำนาจผู้จัดการสาขาเท่านั้นที่สามารถเข้าไปทำธุรกรรมในบัญชีลูกค้าได้ และต้องมีการสรุปยอดทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นทุกวัน ส่วนของสำนักงานใหญ่จะมีผู้อำนายการฝ่ายสาขาเป็นคนควบคุมสาขาแต่ละแห่ง แต่ก็เป็นการดูภาพกว้างเรื่องสินเชื่อ เงินฝาก ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของแต่ละสาขา
"การเกิดทุจริตในครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของระบบคอร์แบงก์กิ้ง แต่เกิดจากคนที่มีความสามารถในระบบคอมพิวเตอร์ ได้ผ่านการศึกษาอบรมระบบดังกล่าว นำไปใช้ในทางที่ผิด ธนาคารมีระเบียบอยู่แล้วว่า ในการเข้าไปแก้ไขข้อมูลลูกค้าของเจ้าหน้าที่จะต้องผ่านการอนุมัติจากผู้จัดการสาขาและสมุห์บัญชี ซึ่งถือว่าวางระบบกฎเกณฑ์ไว้แล้ว และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ จะต้องมีเอกสารยืนยัน (สลิป) ทุกครั้ง เพื่อเป็นการเอกสารยืนยันในการชำระภาษี แต่กรณีที่เกิดขึ้นเจ้าหน้าปลอมลายเซ็นมาตลอด" นายขรรค์กล่าว.
นายนริศ ชัยสูตร ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการคลังในฐานะประธานคณะกรรมการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสอบข้อเท็จจริงกรณีพนักงานธนาคารทุจริตเงิน 499 ล้านบาทว่า การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ แต่เกิดจากระดับความสามารถในการเข้าถึงระบบของธนาคารเอง ที่ไม่มีการควบคุมที่ดีพอ เพราะสามารถเปิดโอกาสให้พนักงานเพียงไม่กี่คน สามารถเข้าไปบริหารจัดงานเงินจำนวนมากของลูกค้าได้ จึงต้องตรวจสอบเพิ่มเติม เพราะพบว่ามีเจ้าหน้าที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลายราย
“ที่ผ่านมาเป็นการสอบปากคำจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งคาดว่าน่าจะสรุปและเสนอต่อนายประดิษฐ์ ภัทรประดิษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้ในวันที่ 4 มิถุนายน แต่ขณะนี้พบว่า มีเอกสารบางที่เชื่อมโยงเจ้าหน้าที่เข้ามาหลายคน จึงต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่า มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างละเอียด เพราะการจะเอาผิดทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ต้องรอบคอบ แต่ยืนยันว่า ไม่มีมวยล้ม เพราะไม่ว่าการตรวจสอบจะเชื่อมโยงถึงผู้บริหารระดับใด ก็ต้องรับผิดอย่างแน่นอน ซึ่งจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้” นายนริศกล่าว
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธอส.กล่าวว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของธนาคาร ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นแล้ว แต่ให้มีการสอบสวนเพิ่มเติม ขณะที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดที่มีน.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย เป็นประธาน ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่มีการกระทำทุจริตเพิ่มเติม แต่สามารถออกหมายจับที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตได้เพิ่มเติมอีก 1 ราย ขณะนี้คดีความอยู่ที่กองปราบ
ที่ผ่านมาธนาคารได้มีการจัดระบบการเข้าไปทำรายการในบัญชีลูกค้าอย่างเข้มงวด โดยให้อำนาจผู้จัดการสาขาเท่านั้นที่สามารถเข้าไปทำธุรกรรมในบัญชีลูกค้าได้ และต้องมีการสรุปยอดทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นทุกวัน ส่วนของสำนักงานใหญ่จะมีผู้อำนายการฝ่ายสาขาเป็นคนควบคุมสาขาแต่ละแห่ง แต่ก็เป็นการดูภาพกว้างเรื่องสินเชื่อ เงินฝาก ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของแต่ละสาขา
"การเกิดทุจริตในครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของระบบคอร์แบงก์กิ้ง แต่เกิดจากคนที่มีความสามารถในระบบคอมพิวเตอร์ ได้ผ่านการศึกษาอบรมระบบดังกล่าว นำไปใช้ในทางที่ผิด ธนาคารมีระเบียบอยู่แล้วว่า ในการเข้าไปแก้ไขข้อมูลลูกค้าของเจ้าหน้าที่จะต้องผ่านการอนุมัติจากผู้จัดการสาขาและสมุห์บัญชี ซึ่งถือว่าวางระบบกฎเกณฑ์ไว้แล้ว และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ จะต้องมีเอกสารยืนยัน (สลิป) ทุกครั้ง เพื่อเป็นการเอกสารยืนยันในการชำระภาษี แต่กรณีที่เกิดขึ้นเจ้าหน้าปลอมลายเซ็นมาตลอด" นายขรรค์กล่าว.