นายกฯย้ำยิงมัสยิดเป็นเรื่องผิดปกติ ยันล่าคนร้ายมาลงโทษให้ได้ หากพบเป็นคนของรัฐก็ถือว่าไม่ใช่นโยบายรัฐบาลที่ให้ใช้วิธีการที่รุนแรง ขณะเดียวกันยอมรับปัญหาใต้แก้ยาก แต่ยังยึดนโยบายเพื่อการพัฒนาเป็นทฤษฎีที่หยั่งยืน ปิดทางเจรจาแกนนำป่วนใต้ รู้ทันหวังยกระดับดึงประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในประเทศ พร้อมรับข้อเสนอเขตปกครองพิเศษ ยันยังไม่ย้ายใครในกองทัพ "ชวน" นั่งหัวโต๊ะช่วยมาร์ดถกดับไฟใต้ 15 มิ.ย.นี้ "ส.ว.ปัตตานี" เสนอตั้ง คกก.กลางเข้าตรวจสอบคดีกราดยิงชาวบ้านในมัสยิด นักวิชาการ มอ.แฉรัฐบาลผลาญงบฯในการแก้ปัญหาความไม่สงบมากเกินเหตุ คิดเป็นต้นทุนที่ถูกใช้เพื่อการลดเหตุการณ์ต่อ 1 คดีมีมูลค่าสูงถึง 88.28 ล้านบาท/เหตุการณ์
วานนี้ (14 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" ซึ่งบันทึกเทปไว้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมี น.ส.วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหารเป็นพิธีกรถึงกรณีคนร้ายใช้อาวุธสงครามกราดยิงประชาชนมุสลิมขณะละหมาดที่มัสยิดใน อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ามีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปกติและต้องหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับประชาชน
ส่วนเรื่องนโยบายของภาคใต้นั้นเป็นนโยบายที่รัฐบาลนี้กำลังมาปรับเปลี่ยน โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนา เรื่องของการเมืองนำการทหารอย่างแท้จริง ซึ่งจะต้องใช้เวลาและทราบดีว่าจะต้องถูกทดสอบ ถูกท้าทายจากฝ่ายตรงกันข้าม สิ่งสำคัญที่สุด คือ เราต้องมีความแน่วแน่ในการที่จะเดินไปในแนวทางนี้ เพราะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนแนวทางเดียว ซึ่งเราต้องช่วยกันให้ความร่วมมือ อดทน อดกลั้น แล้วไม่ตกเป็นเหยื่อในการที่จะสร้างความรุนแรง ความแตกแยกในรูปแบบต่างๆ
เมื่อถามว่าคิดหรือไม่ว่าทำไมเมืองไทยเล่นกันแรงขนาดนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราเคยมีความเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งแปลกปลอมในสังคมไม่น่าจะขยายวงได้ แต่ความขัดแย้งทางการเมืองมันสูงมากตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมาเลยทำให้เป็นวงจร บานปลาย มีความรู้สึกต้องตอบโต้กัน ซึ่งหน้าที่รัฐบาลต้องทำให้มันจบให้ได้ แต่สิ่งที่ต้องจับตาดู คือ เหตุการณ์ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้จะส่งผลต่อค่านิยมของเด็กรุ่นใหม่หรือไม่ โดยเฉพาะในด้านที่เด็กอาจมองว่า วิธีการเช่นนี้เป็นเรื่องปกติในสังคมไทย
มาร์ด"ปิดทางเจรจาตัวการป่วนใต้
เมื่อถามว่า มองว่าขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นใคร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่าคงทราบตัวตนกันอยู่บ้าง แต่การแสดงตัวในลักษณะเป็นองค์กรยังไม่ปรากฏชัดและหากถามว่ารัฐบาลมีนโยบายเจรจาไหม รัฐบาลเจรจาไม่ได้ เพราะรัฐบาลถือว่าเราจะแก้ปัญหานี้ซึ่งเป็นปัญหาภายในของเรา สิ่งหนึ่งที่ฝ่ายตรงข้ามต้องการมาก คือ การเจรจา เพื่อที่จะดึงประเทศ 2-3-4-5 เข้ามาจะยิ่งเป็นการแสดงออกมาว่าปัญหานี้ต้องยกระดับนานาชาติ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล
"วันนี้ทุกคนต้องช่วยกัน อย่าเป็นเหยื่อของฝ่ายที่ต้องการให้เราขัดแย้งกันเอง อย่าเป็นเหยื่อของฝ่ายที่ต้องการให้เกิดวงจรของความรุนแรงใหม่ ขอให้ทุกคนอดทน อดกลั่น ผมยืนยันว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องมีการสะสางตรงไปตรงมา หากสงสัยเจ้าหน้าที่ไปเกี่ยวข้องอะไรผมไม่เคยตัดประเด็นทิ้ง ผมจะดูตามข้อเท็จจริง จากหลักฐาน แต่ยืนยันว่าไม่ใช่นโยบาย ไม่ใช่แนวทางที่รัฐบาลและหน่วยงานหลักมอบให้ไปใช้ความรุนแรงที่ไหนทั้งสิ้น"
เมื่อถามย้ำว่า เหตุการณ์ยิงที่มัสยิดยังคาใจหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตราบใดที่เรายังตัวพิสูจน์ไม่ได้ เราไม่ควรสรุป ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายแบบนี้ หากพบใครทำก็ต้องจับมาลงโทษ ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นอะไร
ส่วนที่มีรายงานว่ามีนักการเมืองกลุ่มเก่าเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตนมีคนรายงานข้อมูลมาหลายด้าน ตราบใดที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์อย่าพูดดีกว่า ตอนนี้ยังไม่ตัดประเด็นใดทั้งนั้น แต่ต้องเร่งรัดทางตำรวจให้สะสางเรื่องนี้ให้ได้ ในแง่นโยบายชัดเจน ในแง่การขอความร่วมทือดี่น้องประชาชนที่จะทำให้เหตุการณ์สงบคงต้องขอความร่วมมืออย่างต่อเนื่องและทางเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องไปขอความรน่วมมืออย่างต่อเนื่อง ยืนยันจะให้ความเป็นธรรมกับทุกกรณีที่เกิดขึ้นและขอบคุณมิตรประเทศหลายประเทศ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ที่มีบทบาทต่อเนื่องชัดเจน เขาไม่แทรกแซง ยินดีให้การช่วยเหลือ เขาเข้าใจสถานการณ์บ้านเรา
เมื่อถามว่า พอใจกับบทบาทของกองทัพแค่ไหน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สิ่งแรกต้องเห็นใจและให้กำลังใจผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ แต่ต้องยอมรับว่าตราบใดที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบอยู่ ทุกคนก็ต้องปรับปรุงการทำงาน
เห็นด้วยใช้รูปแบบ"บริหารพิเศษ"
เมื่อถามถึงข้อเสนอให้ใช้เขตปกครองพิเศษ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่อยากใช้คำว่าเขตปกครองพิเศษเพราะมันสับสน เดี๋ยวบางคนไปเรียกเขตปกครองตนเองยิ่งไปกันใหญ่ หลักแรกทุกอย่างต้องยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ รูปแบบการจัดการที่เป็นพิเศษในบางเรื่องรับได้ กรุงเทพฯ พัทยา ก็เป็น ส่วนรูปแบบเลือกตั้งยังเป็นคำตอบหรือไม่อันนี้ยังไม่แน่ใจ แต่บางเรื่องความพิเศษต้องมี อย่างเรื่องเศรษฐกิจ โครงการพัฒนาที่ ครม.ใต้กำลังดำเนินการ เพื่อยกระดับรายได้ ต้องมีแผนพิเศษให้เป็นรูปธรรมมาก
ส่วนจะมีการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในพื้นที่บ้างหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การโยกย้ายจะมีต่อเมื่อชัดเจนว่า ผู้ที่อยู่ตรงนั้นไม่สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้ แต่ขณะนี้เร็วเกินไปที่จะมีการโยกย้าย ต้องให้โอกาสคนทำงานก่อน
สำหรับที่หลายคนเริ่มพูดถึงความผิดหวังรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนเข้าใจความรู้สึก เพราะไม่มีใครอยากให้สถานการณ์ยืดเยื้อรุนแรง แต่เรื่องนี้ต้องใช้เวลา และระหว่างการเปลี่ยนแปลงแนวทางแก้ปัญหาก็จะต้องถูกท้าทายจากกลุ่มผู้ก่อการบ้าง ดังนั้น จึงต้องอดทนและยังมั่นใจว่าแนวทางที่รัฐบาลกำลังเดินอยู่ น่าจะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนในการแก้ปัญหามากที่สุด
ถามย้ำอีกว่ามีคนปรามาสว่าประชาธิปัตย์แก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ นายอภิสิทธิ์ ยอมรับว่า เป็นปัญหาที่ยาก แต่ยืนยันว่าแนวทางที่กำลังเดินจะเป็นแนวทางที่น่าจะยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาที่สุด ปัญหาที่ท้าทายเวลานี้คือ หนึ่ง ในส่วนรัฐบาลปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพไหม กับสอง สังคมเชื่อเหมือนที่รัฐบาลเชื่อไหมว่าต้องแก้ด้วยการพัฒนา ถ้าเชื่อต้องอดทน ต้องร่วมมือ ถ้าไม่เชื่อก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าถ้าไม่เชื่อความหมายว่าจะกลับไปใช้ความรุนแรง
"ผมบอกว่าไม่ใช่ผม ไม่ใช่รัฐบาลผม ถ้าสังคมต้องการกลับไปใช้ความรุนแรง ผมต้องไม่อยู่ตรงนี้ ผมจะไปทำตรงนั้น เพราะผมคิดว่าการกลับไปตรงนั้นคือหนทางที่จะนำไปสู่การลุกลามบานปลาย และความสูญเสียสำหรับประเทศโดยส่วนรวมในที่สุด"
"ชวน"นั่งหัวโต๊ะถกไฟใต้15นี้
ด้าน นพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาล และยึดหลักที่จะไม่ใช้ความรุนแรง นอกกฎหมายมาแก้ไข แต่ยึดหลักการทำความเข้าใจกับผู้นำชุมชน เร่งพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทางพรรคจะนัดหารือแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ จะได้เรียกประชุม ส.ส.ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ของพรรคฯวันที่ 15 มิ.ย.นี้หลังจากที่รัฐบาลนำเสนอร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังเพื่อการฟื้นฟูและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 เข้าสู่สภาฯเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนจาก ส.ส.ในพื้นที่และนำข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนไปกำหนดแนวทางในการทำงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลต่อไป **เสนอตั้ง กก.กลางสอบคดียิงมัสยิด
ทางด้าน นายวรวิทย์ บารู ส.ว.ปัตตานี กล่าวถึงคดีกราดยิงชาวบ้านที่มัสยิดบ้านไอร์ปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาสว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องสร้างความชัดเจนว่าเป็นการกระทำของกลุ่มใด และต้องโปร่งใสในการตรวจสอบ เพราะมีคนตายจำนวนมาก ถ้าเงียบหายไป หรือใช้เวลานาน จะทำให้การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ลำบากขึ้น ซึ่งจากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ ทุกคนพร้อมจะพิสูจน์หลักฐานร่วมกัน และถ้าจะให้ดีต้องมีฝ่ายเป็นกลางขึ้นมาร่วมตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจฝ่ายพิสูจน์หลักฐาน ฝ่ายนิติวิทยาศาสตร์ และภาคประชาสังคมที่อยู่ในพื้นที่ และส่วนกลางที่ประชาชนให้การยอมรับ คล้ายเป็นคณะกรรมการอิสระที่จะตรวจสอบเพื่อคลี่คลายปัญหา และได้ผลสรุปเป็นที่พอใจของประชาชน เหมือนกรณีการสอบสวนคดีตากใบ และกรือเซะ ที่เอาคนกลางมาตรวจสอบ ประชาชนพอใจกับผลที่ออกมา
นายวรวิทย์ เชื่อว่า สถานการณ์ความไม่สงบที่ลดลงในช่วงก่อนหน้านี้ เพราะกลุ่มก่อความไม่สงบไม่มีโอกาสที่จะสร้างสถานการณ์ แต่พอมีโอกาสกลุ่มก่อการจะทำทันที ซึ่งการที่จะตัดโอกาสก่อความไม่สงบออกไป คือประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึกว่ารัฐบาลต้องให้ความเป็นธรรมและให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ต้องยอมรับว่า ขณะนี้ภาครัฐยังไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างเพียงพอ
ชี้คดีไฟใต้เป็นคดีมั่นคงเกินครึ่ง
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์และทำงานวิจัยเรื่องปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เชื่อว่าการเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นยังเป็นฝีมือของขบวนการที่ต้องการสร้างสถานการณ์อยู่จำนวนมาก
ทั้งนี้ จากงานวิจัยของ ผศ.ดร.ศรีสมภพดังกล่าว ระบุว่า การแยกคดีความมั่นคงออกจากคดีอื่นๆ เมื่อปี 2549 จำนวน 1,500 คดี ในนามของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ซึ่งผ่านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผล ซึ่งได้ผลสรุปว่า 80% ของคดีความไม่พื้นที่ชายแดพนใต้ชี้ว่าเป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีอยู่จริง ส่วนอีก 15% เป็นผลประโยชน์ส่วนตัว และอีก 5% เป็นการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่
"แม้ว่าในช่วง 3 ปีให้หลังมานี้เราจะไม่ได้มีการวิจัยเรื่องนี้ต่อ แต่เชื่อว่าสัดส่วนของคดีความนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก เชื่อว่า 70% ของคดีที่เกิดขึ้นยังเป็นฝีมือของกลุ่มก่อความไม่สงบอยู่ และมีเป้าหมายคือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาครัฐ ทั้งในลักษณะของการทำงานให้ หรือให้ร่วมมือ แต่ที่ฝ่ายความมั่นคงมีข้อมูลว่า คดีว่ามั่นคงเกิดขึ้นเพียงประมาณ 20% หรือที่กล่าวว่ามีประมาณ 10,000 คดีจากทั้งหมดประมาณ 50,000 คดีนั้น วูบแรกที่ฟังเรารู้สึกสบายใจ แต่ในระยะยาวต้องมีการคิดทบทวนเรื่องนี้อีกเยอะ"
ชี้ต้นทุนดับไฟใต้สูง88ล้าน/เหตุ
ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายจากภาครัฐที่ใช้เพื่อการแก้ปัญหาความไม่สงบและการฟื้นฟูเศรษฐกิจขิองพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า จากการติดตามพบว่าตั้งแต่ปี 2547-2551 รัฐบาลได้ทุ่มเทงบฯลงไปในพื้นที่แล้วถึง 109,296 ล้านบาท โดยใช้ในกิจกรรมที่เป็นนโยบายและโครงการของรัฐทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร ตำรวจ รวมถึงกิจกรรมการพัฒนาของหน่วยงานพลเรือนต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อคลี่คลายสถานการณ์และลดปริมาณเหตุการณ์ความรุนแรง
โดยในปี 2551 จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบลดลงจากปีก่อนจำนวน 1,238 ครั้ง คิดจากการคำนวณเหตุการณ์ในช่วงปี 2547-2550 ที่มีสถิติเหตุการณ์เฉลี่ยรายปีประมาณ 1,956 ครั้ง เมื่อคิดมูลค่าการใช้เงินงบฯที่รัฐบาลทุ่มเทลงไปในพื้นที่ชายแดนใต้เพื่อลดเหตุการณ์ความไม่สงบ พบว่า สามารถคิดเป็นต้นทุนที่ถูกใช้เพื่อการลดเหตุการณ์ต่อ 1 คดีมีมูลค่าสูงถึง 88.28 ล้านบาท/เหตุการณ์ ดังนั้น ถ้ารัฐจะใช้นโยบายเดิมเพื่อลดเหตุการณ์ทั้งหมดได้ก็ต้องใช้เงินลงทุนที่เป็นงบฯของรัฐเท่าเดิม เพื่อรักษาฐานเดิมของความมั่นคงขณะนี้และต้องเพิ่มเงินอีกประมาณ 235,984 ล้านบาท หรือรวมแล้วประมาณ 345,280.68 ล้านบาท หรือต้องเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเพื่อให้เหตุการณ์ความไม่สงบอยู่กลับสู่ภาวะปกติ
"การคำนวณนี้ตั้งอยู่บนฐานคติที่ว่ารัฐจะยังคงใช้นโยบายที่เน้นการทหารเป็นหลักอย่างเช่นที่ผ่านมา และมีการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นตัวเสริม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ซึ่งความรุนแรงลดลง ซึ่งรัฐจะต้องใช้เงินลงทุนอีกเท่าตัวเพื่อมิให้เหตุการณ์ความรุนแรงย้อนกลับมาอีก"
แนวโน้ม 52 เหตุรุนแรงขึ้น
ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวต่อว่า ฐานการคิดคำนวณดังกล่าวอยู่ตรงที่ต้นทุนของการรักษาความมั่นคงจากตัวเลขที่เป็นทางการจำนวนเท่ากับกว่าแสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีการเปิดเผย แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าต้นทุนจริงที่ไม่เปิดเผยสูงกว่านี้ประมาณ 1-2 เท่าตัว ตัวเลขการลงทุนในอนาคตก็จะสูงกว่านี้มากขึ้นอีกประมาณค่ามิได้ สิ่งที่ต้องคิดด้วยก็คือการวิเคราะห์นี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางจิตวิทยาสังคมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะอดทนได้หรือไม่กับการได้รับความกดดันจากทางการทหารและปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากรัฐ ซึ่งอาจจะเป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นได้ในบางครั้ง
เมื่อรัฐยังคงมีการกดดันทางการทหารด้วยการทุ่มกำลังเพื่อปิดล้อม ตรวจค้นจับกุมผู้ต้องสงสัยมากขึ้น แม้จะสามารถลดพื้นที่และอิสระในการเคลื่อนไหวทางการทหารของอีกฝ่าย แต่รัฐบาลก็ยังไม่สามารถเอาชนะด้วยงานการเมืองและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง
"หากมีความผิดพลาดทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจของกำลังฝ่ายความมั่นคง ผู้ก่อเหตุความไม่สงลบอาจจะหันไปใช้วิธีการโจมตีที่รุแรง อาจจะในรูปแบบที่สร้างความสูญเสียและสะเทือนขวัญมากขึ้น เช่น คาร์บอม หรือวิธีความรุนแรงอื่นๆ ที่ใช้ในต่างประเทศ เพื่อรักษาระดับความรุนแรงและใช้ความรุนแรงนี้เป็นการสื่อสารทางการเมืองแบบหนึ่ง หรือเพื่อหาทางออกจากการถูกกดดันทางการทหาร ซึ่งหากรัฐยังคงตีความไม่ออกว่าสัญลักษณ์การต่อสู้ที่ผ่านมาต้องการอะไร การแก้ไขปัญหาความรุนแรงก็ยากขึ้น ดังนั้น ทางออกในปัจจุบันคือพยายามใช้ความยุติธรรมในการแก้ไข ใช้การเมืองนำการทหารอย่างแท้จริง"
เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวยะลาทรุดหนัก
วันเดียวกัน พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ ประธานกรรมาธิการวิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา พร้อมคณะกรรมาธิการได้ประชุมร่วมกับนายพระนาย สุวรรณรัฐ ผอ.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเชิญประธานหอการค้าจังหวัดยะลา ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา ประธานชมรมท่องเที่ยวจังหวัดยะลา ภาคเอกชน รวมถึงนักธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบมาให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะเพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมด เสนอวุฒิสภา
นายนิเวศน์ ศิริชัย ประธานชมรมท่องเที่ยวจังหวัดยะลา เผยว่า ในฐานะผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบ ยอมรับว่า ปัจจุบันภาพรวมเศรษฐกิจของ จ.ยะลา ถือว่าแย่มาก มีความเสี่ยงภัยสูง เพราะมีเหตุการณ์ยิงประชาชนทุกวัน ขณะที่กลุ่มธุรกิจรายย่อยขณะนี้ก็ถอนตัวออกนอกพื้นที่กันเกือบหมด จะเหลือเพียงกลุ่มธุรกิจที่ลงทุนไว้จำนวนมากที่ยังต้องดำเนินธุรกิจต่อไปในพื้นที่เท่านั้น
วานนี้ (14 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" ซึ่งบันทึกเทปไว้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมี น.ส.วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหารเป็นพิธีกรถึงกรณีคนร้ายใช้อาวุธสงครามกราดยิงประชาชนมุสลิมขณะละหมาดที่มัสยิดใน อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ามีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปกติและต้องหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับประชาชน
ส่วนเรื่องนโยบายของภาคใต้นั้นเป็นนโยบายที่รัฐบาลนี้กำลังมาปรับเปลี่ยน โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนา เรื่องของการเมืองนำการทหารอย่างแท้จริง ซึ่งจะต้องใช้เวลาและทราบดีว่าจะต้องถูกทดสอบ ถูกท้าทายจากฝ่ายตรงกันข้าม สิ่งสำคัญที่สุด คือ เราต้องมีความแน่วแน่ในการที่จะเดินไปในแนวทางนี้ เพราะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนแนวทางเดียว ซึ่งเราต้องช่วยกันให้ความร่วมมือ อดทน อดกลั้น แล้วไม่ตกเป็นเหยื่อในการที่จะสร้างความรุนแรง ความแตกแยกในรูปแบบต่างๆ
เมื่อถามว่าคิดหรือไม่ว่าทำไมเมืองไทยเล่นกันแรงขนาดนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราเคยมีความเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งแปลกปลอมในสังคมไม่น่าจะขยายวงได้ แต่ความขัดแย้งทางการเมืองมันสูงมากตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมาเลยทำให้เป็นวงจร บานปลาย มีความรู้สึกต้องตอบโต้กัน ซึ่งหน้าที่รัฐบาลต้องทำให้มันจบให้ได้ แต่สิ่งที่ต้องจับตาดู คือ เหตุการณ์ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้จะส่งผลต่อค่านิยมของเด็กรุ่นใหม่หรือไม่ โดยเฉพาะในด้านที่เด็กอาจมองว่า วิธีการเช่นนี้เป็นเรื่องปกติในสังคมไทย
มาร์ด"ปิดทางเจรจาตัวการป่วนใต้
เมื่อถามว่า มองว่าขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นใคร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่าคงทราบตัวตนกันอยู่บ้าง แต่การแสดงตัวในลักษณะเป็นองค์กรยังไม่ปรากฏชัดและหากถามว่ารัฐบาลมีนโยบายเจรจาไหม รัฐบาลเจรจาไม่ได้ เพราะรัฐบาลถือว่าเราจะแก้ปัญหานี้ซึ่งเป็นปัญหาภายในของเรา สิ่งหนึ่งที่ฝ่ายตรงข้ามต้องการมาก คือ การเจรจา เพื่อที่จะดึงประเทศ 2-3-4-5 เข้ามาจะยิ่งเป็นการแสดงออกมาว่าปัญหานี้ต้องยกระดับนานาชาติ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล
"วันนี้ทุกคนต้องช่วยกัน อย่าเป็นเหยื่อของฝ่ายที่ต้องการให้เราขัดแย้งกันเอง อย่าเป็นเหยื่อของฝ่ายที่ต้องการให้เกิดวงจรของความรุนแรงใหม่ ขอให้ทุกคนอดทน อดกลั่น ผมยืนยันว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องมีการสะสางตรงไปตรงมา หากสงสัยเจ้าหน้าที่ไปเกี่ยวข้องอะไรผมไม่เคยตัดประเด็นทิ้ง ผมจะดูตามข้อเท็จจริง จากหลักฐาน แต่ยืนยันว่าไม่ใช่นโยบาย ไม่ใช่แนวทางที่รัฐบาลและหน่วยงานหลักมอบให้ไปใช้ความรุนแรงที่ไหนทั้งสิ้น"
เมื่อถามย้ำว่า เหตุการณ์ยิงที่มัสยิดยังคาใจหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตราบใดที่เรายังตัวพิสูจน์ไม่ได้ เราไม่ควรสรุป ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายแบบนี้ หากพบใครทำก็ต้องจับมาลงโทษ ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นอะไร
ส่วนที่มีรายงานว่ามีนักการเมืองกลุ่มเก่าเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตนมีคนรายงานข้อมูลมาหลายด้าน ตราบใดที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์อย่าพูดดีกว่า ตอนนี้ยังไม่ตัดประเด็นใดทั้งนั้น แต่ต้องเร่งรัดทางตำรวจให้สะสางเรื่องนี้ให้ได้ ในแง่นโยบายชัดเจน ในแง่การขอความร่วมทือดี่น้องประชาชนที่จะทำให้เหตุการณ์สงบคงต้องขอความร่วมมืออย่างต่อเนื่องและทางเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องไปขอความรน่วมมืออย่างต่อเนื่อง ยืนยันจะให้ความเป็นธรรมกับทุกกรณีที่เกิดขึ้นและขอบคุณมิตรประเทศหลายประเทศ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ที่มีบทบาทต่อเนื่องชัดเจน เขาไม่แทรกแซง ยินดีให้การช่วยเหลือ เขาเข้าใจสถานการณ์บ้านเรา
เมื่อถามว่า พอใจกับบทบาทของกองทัพแค่ไหน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สิ่งแรกต้องเห็นใจและให้กำลังใจผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ แต่ต้องยอมรับว่าตราบใดที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบอยู่ ทุกคนก็ต้องปรับปรุงการทำงาน
เห็นด้วยใช้รูปแบบ"บริหารพิเศษ"
เมื่อถามถึงข้อเสนอให้ใช้เขตปกครองพิเศษ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่อยากใช้คำว่าเขตปกครองพิเศษเพราะมันสับสน เดี๋ยวบางคนไปเรียกเขตปกครองตนเองยิ่งไปกันใหญ่ หลักแรกทุกอย่างต้องยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ รูปแบบการจัดการที่เป็นพิเศษในบางเรื่องรับได้ กรุงเทพฯ พัทยา ก็เป็น ส่วนรูปแบบเลือกตั้งยังเป็นคำตอบหรือไม่อันนี้ยังไม่แน่ใจ แต่บางเรื่องความพิเศษต้องมี อย่างเรื่องเศรษฐกิจ โครงการพัฒนาที่ ครม.ใต้กำลังดำเนินการ เพื่อยกระดับรายได้ ต้องมีแผนพิเศษให้เป็นรูปธรรมมาก
ส่วนจะมีการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในพื้นที่บ้างหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การโยกย้ายจะมีต่อเมื่อชัดเจนว่า ผู้ที่อยู่ตรงนั้นไม่สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้ แต่ขณะนี้เร็วเกินไปที่จะมีการโยกย้าย ต้องให้โอกาสคนทำงานก่อน
สำหรับที่หลายคนเริ่มพูดถึงความผิดหวังรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนเข้าใจความรู้สึก เพราะไม่มีใครอยากให้สถานการณ์ยืดเยื้อรุนแรง แต่เรื่องนี้ต้องใช้เวลา และระหว่างการเปลี่ยนแปลงแนวทางแก้ปัญหาก็จะต้องถูกท้าทายจากกลุ่มผู้ก่อการบ้าง ดังนั้น จึงต้องอดทนและยังมั่นใจว่าแนวทางที่รัฐบาลกำลังเดินอยู่ น่าจะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนในการแก้ปัญหามากที่สุด
ถามย้ำอีกว่ามีคนปรามาสว่าประชาธิปัตย์แก้ปัญหาภาคใต้ไม่ได้ นายอภิสิทธิ์ ยอมรับว่า เป็นปัญหาที่ยาก แต่ยืนยันว่าแนวทางที่กำลังเดินจะเป็นแนวทางที่น่าจะยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาที่สุด ปัญหาที่ท้าทายเวลานี้คือ หนึ่ง ในส่วนรัฐบาลปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพไหม กับสอง สังคมเชื่อเหมือนที่รัฐบาลเชื่อไหมว่าต้องแก้ด้วยการพัฒนา ถ้าเชื่อต้องอดทน ต้องร่วมมือ ถ้าไม่เชื่อก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าถ้าไม่เชื่อความหมายว่าจะกลับไปใช้ความรุนแรง
"ผมบอกว่าไม่ใช่ผม ไม่ใช่รัฐบาลผม ถ้าสังคมต้องการกลับไปใช้ความรุนแรง ผมต้องไม่อยู่ตรงนี้ ผมจะไปทำตรงนั้น เพราะผมคิดว่าการกลับไปตรงนั้นคือหนทางที่จะนำไปสู่การลุกลามบานปลาย และความสูญเสียสำหรับประเทศโดยส่วนรวมในที่สุด"
"ชวน"นั่งหัวโต๊ะถกไฟใต้15นี้
ด้าน นพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาล และยึดหลักที่จะไม่ใช้ความรุนแรง นอกกฎหมายมาแก้ไข แต่ยึดหลักการทำความเข้าใจกับผู้นำชุมชน เร่งพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทางพรรคจะนัดหารือแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ จะได้เรียกประชุม ส.ส.ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ของพรรคฯวันที่ 15 มิ.ย.นี้หลังจากที่รัฐบาลนำเสนอร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังเพื่อการฟื้นฟูและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 เข้าสู่สภาฯเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนจาก ส.ส.ในพื้นที่และนำข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนไปกำหนดแนวทางในการทำงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลต่อไป **เสนอตั้ง กก.กลางสอบคดียิงมัสยิด
ทางด้าน นายวรวิทย์ บารู ส.ว.ปัตตานี กล่าวถึงคดีกราดยิงชาวบ้านที่มัสยิดบ้านไอร์ปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาสว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องสร้างความชัดเจนว่าเป็นการกระทำของกลุ่มใด และต้องโปร่งใสในการตรวจสอบ เพราะมีคนตายจำนวนมาก ถ้าเงียบหายไป หรือใช้เวลานาน จะทำให้การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ลำบากขึ้น ซึ่งจากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ ทุกคนพร้อมจะพิสูจน์หลักฐานร่วมกัน และถ้าจะให้ดีต้องมีฝ่ายเป็นกลางขึ้นมาร่วมตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจฝ่ายพิสูจน์หลักฐาน ฝ่ายนิติวิทยาศาสตร์ และภาคประชาสังคมที่อยู่ในพื้นที่ และส่วนกลางที่ประชาชนให้การยอมรับ คล้ายเป็นคณะกรรมการอิสระที่จะตรวจสอบเพื่อคลี่คลายปัญหา และได้ผลสรุปเป็นที่พอใจของประชาชน เหมือนกรณีการสอบสวนคดีตากใบ และกรือเซะ ที่เอาคนกลางมาตรวจสอบ ประชาชนพอใจกับผลที่ออกมา
นายวรวิทย์ เชื่อว่า สถานการณ์ความไม่สงบที่ลดลงในช่วงก่อนหน้านี้ เพราะกลุ่มก่อความไม่สงบไม่มีโอกาสที่จะสร้างสถานการณ์ แต่พอมีโอกาสกลุ่มก่อการจะทำทันที ซึ่งการที่จะตัดโอกาสก่อความไม่สงบออกไป คือประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึกว่ารัฐบาลต้องให้ความเป็นธรรมและให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ต้องยอมรับว่า ขณะนี้ภาครัฐยังไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างเพียงพอ
ชี้คดีไฟใต้เป็นคดีมั่นคงเกินครึ่ง
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์และทำงานวิจัยเรื่องปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เชื่อว่าการเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นยังเป็นฝีมือของขบวนการที่ต้องการสร้างสถานการณ์อยู่จำนวนมาก
ทั้งนี้ จากงานวิจัยของ ผศ.ดร.ศรีสมภพดังกล่าว ระบุว่า การแยกคดีความมั่นคงออกจากคดีอื่นๆ เมื่อปี 2549 จำนวน 1,500 คดี ในนามของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ซึ่งผ่านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผล ซึ่งได้ผลสรุปว่า 80% ของคดีความไม่พื้นที่ชายแดพนใต้ชี้ว่าเป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีอยู่จริง ส่วนอีก 15% เป็นผลประโยชน์ส่วนตัว และอีก 5% เป็นการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่
"แม้ว่าในช่วง 3 ปีให้หลังมานี้เราจะไม่ได้มีการวิจัยเรื่องนี้ต่อ แต่เชื่อว่าสัดส่วนของคดีความนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก เชื่อว่า 70% ของคดีที่เกิดขึ้นยังเป็นฝีมือของกลุ่มก่อความไม่สงบอยู่ และมีเป้าหมายคือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาครัฐ ทั้งในลักษณะของการทำงานให้ หรือให้ร่วมมือ แต่ที่ฝ่ายความมั่นคงมีข้อมูลว่า คดีว่ามั่นคงเกิดขึ้นเพียงประมาณ 20% หรือที่กล่าวว่ามีประมาณ 10,000 คดีจากทั้งหมดประมาณ 50,000 คดีนั้น วูบแรกที่ฟังเรารู้สึกสบายใจ แต่ในระยะยาวต้องมีการคิดทบทวนเรื่องนี้อีกเยอะ"
ชี้ต้นทุนดับไฟใต้สูง88ล้าน/เหตุ
ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายจากภาครัฐที่ใช้เพื่อการแก้ปัญหาความไม่สงบและการฟื้นฟูเศรษฐกิจขิองพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า จากการติดตามพบว่าตั้งแต่ปี 2547-2551 รัฐบาลได้ทุ่มเทงบฯลงไปในพื้นที่แล้วถึง 109,296 ล้านบาท โดยใช้ในกิจกรรมที่เป็นนโยบายและโครงการของรัฐทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร ตำรวจ รวมถึงกิจกรรมการพัฒนาของหน่วยงานพลเรือนต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อคลี่คลายสถานการณ์และลดปริมาณเหตุการณ์ความรุนแรง
โดยในปี 2551 จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบลดลงจากปีก่อนจำนวน 1,238 ครั้ง คิดจากการคำนวณเหตุการณ์ในช่วงปี 2547-2550 ที่มีสถิติเหตุการณ์เฉลี่ยรายปีประมาณ 1,956 ครั้ง เมื่อคิดมูลค่าการใช้เงินงบฯที่รัฐบาลทุ่มเทลงไปในพื้นที่ชายแดนใต้เพื่อลดเหตุการณ์ความไม่สงบ พบว่า สามารถคิดเป็นต้นทุนที่ถูกใช้เพื่อการลดเหตุการณ์ต่อ 1 คดีมีมูลค่าสูงถึง 88.28 ล้านบาท/เหตุการณ์ ดังนั้น ถ้ารัฐจะใช้นโยบายเดิมเพื่อลดเหตุการณ์ทั้งหมดได้ก็ต้องใช้เงินลงทุนที่เป็นงบฯของรัฐเท่าเดิม เพื่อรักษาฐานเดิมของความมั่นคงขณะนี้และต้องเพิ่มเงินอีกประมาณ 235,984 ล้านบาท หรือรวมแล้วประมาณ 345,280.68 ล้านบาท หรือต้องเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเพื่อให้เหตุการณ์ความไม่สงบอยู่กลับสู่ภาวะปกติ
"การคำนวณนี้ตั้งอยู่บนฐานคติที่ว่ารัฐจะยังคงใช้นโยบายที่เน้นการทหารเป็นหลักอย่างเช่นที่ผ่านมา และมีการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นตัวเสริม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ซึ่งความรุนแรงลดลง ซึ่งรัฐจะต้องใช้เงินลงทุนอีกเท่าตัวเพื่อมิให้เหตุการณ์ความรุนแรงย้อนกลับมาอีก"
แนวโน้ม 52 เหตุรุนแรงขึ้น
ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวต่อว่า ฐานการคิดคำนวณดังกล่าวอยู่ตรงที่ต้นทุนของการรักษาความมั่นคงจากตัวเลขที่เป็นทางการจำนวนเท่ากับกว่าแสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีการเปิดเผย แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าต้นทุนจริงที่ไม่เปิดเผยสูงกว่านี้ประมาณ 1-2 เท่าตัว ตัวเลขการลงทุนในอนาคตก็จะสูงกว่านี้มากขึ้นอีกประมาณค่ามิได้ สิ่งที่ต้องคิดด้วยก็คือการวิเคราะห์นี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางจิตวิทยาสังคมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะอดทนได้หรือไม่กับการได้รับความกดดันจากทางการทหารและปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากรัฐ ซึ่งอาจจะเป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นได้ในบางครั้ง
เมื่อรัฐยังคงมีการกดดันทางการทหารด้วยการทุ่มกำลังเพื่อปิดล้อม ตรวจค้นจับกุมผู้ต้องสงสัยมากขึ้น แม้จะสามารถลดพื้นที่และอิสระในการเคลื่อนไหวทางการทหารของอีกฝ่าย แต่รัฐบาลก็ยังไม่สามารถเอาชนะด้วยงานการเมืองและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง
"หากมีความผิดพลาดทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจของกำลังฝ่ายความมั่นคง ผู้ก่อเหตุความไม่สงลบอาจจะหันไปใช้วิธีการโจมตีที่รุแรง อาจจะในรูปแบบที่สร้างความสูญเสียและสะเทือนขวัญมากขึ้น เช่น คาร์บอม หรือวิธีความรุนแรงอื่นๆ ที่ใช้ในต่างประเทศ เพื่อรักษาระดับความรุนแรงและใช้ความรุนแรงนี้เป็นการสื่อสารทางการเมืองแบบหนึ่ง หรือเพื่อหาทางออกจากการถูกกดดันทางการทหาร ซึ่งหากรัฐยังคงตีความไม่ออกว่าสัญลักษณ์การต่อสู้ที่ผ่านมาต้องการอะไร การแก้ไขปัญหาความรุนแรงก็ยากขึ้น ดังนั้น ทางออกในปัจจุบันคือพยายามใช้ความยุติธรรมในการแก้ไข ใช้การเมืองนำการทหารอย่างแท้จริง"
เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวยะลาทรุดหนัก
วันเดียวกัน พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ ประธานกรรมาธิการวิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา พร้อมคณะกรรมาธิการได้ประชุมร่วมกับนายพระนาย สุวรรณรัฐ ผอ.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเชิญประธานหอการค้าจังหวัดยะลา ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา ประธานชมรมท่องเที่ยวจังหวัดยะลา ภาคเอกชน รวมถึงนักธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบมาให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะเพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมด เสนอวุฒิสภา
นายนิเวศน์ ศิริชัย ประธานชมรมท่องเที่ยวจังหวัดยะลา เผยว่า ในฐานะผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบ ยอมรับว่า ปัจจุบันภาพรวมเศรษฐกิจของ จ.ยะลา ถือว่าแย่มาก มีความเสี่ยงภัยสูง เพราะมีเหตุการณ์ยิงประชาชนทุกวัน ขณะที่กลุ่มธุรกิจรายย่อยขณะนี้ก็ถอนตัวออกนอกพื้นที่กันเกือบหมด จะเหลือเพียงกลุ่มธุรกิจที่ลงทุนไว้จำนวนมากที่ยังต้องดำเนินธุรกิจต่อไปในพื้นที่เท่านั้น