รอยเตอร์ – เอเชียไม่สามารถที่จะพึ่งพาอาศัยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ มาทำให้เศรษฐกิจของตนเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เพราะผู้บริโภคชาวอเมริกันนั้นจะจับจ่ายน้อยลงและหันมาเก็บออมมากขึ้น รวมทั้งต้องชดใช้หนี้สินที่พอกพูน ทั้งนี้เป็นคำเตือนของ ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เมื่อวานนี้(12)
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของพวกประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย จะชะลอลงไปอยู่ที่ระดับประมาณ 3.4% ในปีนี้ จากที่ขยายตัวได้ 6.3% ในปีที่แล้ว สืบเนื่องจากการส่งออกลดฮวบฮาบ คุโรดะบอกซึ่งเป็นการกล่าวย้ำการคาดการณ์ของเอดีบีที่นำออกเผยแพร่ตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม
สำหรับปี 2010 เอดีบีคาดหมายว่าอัตราการเติบโตของเอเชียจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.0% เนื่องจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ต่างจะฟื้นตัวขึ้นมาในช่วงครึ่งหลังของปีดังกล่าว คุโรดะระบุแต่พร้อมกันนั้นก็เตือนว่า ทิศทางอนาคตทางเศรษฐกิจหลังจากปีหน้าไปแล้วจะไม่เป็นผลดีต่อเอเชียเลย เนื่องจากยอดส่งออกของพวกประเทศเอเชีย ยังคงคิดเป็นอัตราส่วนที่สูงมากของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)
“ผมมองการณ์ในแง่ดีเกี่ยวกับภาพรวมของเอเชียในระยะสั้น แต่มองการณ์ในแง่ลบเกี่ยวกับระยะยาว” คุโรดะบอกในระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ที่กรุงโตเกียว
“อัตราการออมเงินในสหรัฐฯน่าจะพุ่งขึ้นสูงถึง 10% และจะทำให้การบริโภคไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ส่งผลให้เอเชียไม่สามารถพึ่งพาอาศัยผู้บริโภคอเมริกันได้เหมือนเมื่อก่อน”เขาชี้
ประเทศในเอเชียจะฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกรอบปัจจุบันนี้ ได้เร็วกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากระบบการเงินของภูมิภาคนี้มิได้ไปลงทุนเกี่ยวข้องอะไรมากนักกับพวกตราสารอนุพันธ์ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยระดับ “ซับไพรม์” ซึ่งเป็นตัวการทำให้พวกวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของโลกย่ำแย่ไปตามๆ กัน คุโรดะกล่าว
แต่การฟื้นตัวที่รวดเร็วจะทำให้เกิดปัญหาที่ว่าค่าเงินของประเทศเอเชียจะพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คุโรดะบอกและชี้ว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่บรรดาชาติเอเชียจะต้องรักษาค่าเงินตราของพวกเขาให้มีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคแถบนี้ ขณะที่คงจะต้องยอมปล่อยให้ค่าเงินของตนแข็งขึ้นบางระดับเมื่อเทียบกับดอลลาร์
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว ประเทศเอเชียควรจะกระตุ้นส่งเสริมอุปสงค์ภายในประเทศ ด้วยการปรับปรุงสวัสดิการทางสังคมต่าง ๆให้ดีขึ้น เพื่อที่ว่าประชาชนจะได้ไม่รู้สึกว่าต้องเก็บออมเงินรองรังไว้มากนัก และสามารถนำส่วนที่เหลือมาจับจ่ายใช้สอยกระตุ้นการบริโภคในประเทศต่อไป
“เรากำลังเรียกร้องให้เอเชียกลับมามีความสมดุลให้มากขึ้น”คุโรดะย้ำ
“รัฐบาลของบรรดาประเทศเอเชีย จำเป็นต้องปรับปรุงด้านการศึกษา การสาธารณสุข และความมั่นคงทางสังคม เพื่อลดการออมเงินลง และกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ”
นอกจากเห็นว่าเอเชียจะพึ่งพาผู้บริโภคชาวอเมริกันได้น้อยลงแล้ว คุโรดะยังมองการณ์ในแง่ร้ายเกี่ยวภับสภาพของภาคธนาคารในสหรัฐฯและยุโรป
เขาบอกว่าพวกแบงก์ทั้งทางฝั่งสหรัฐฯและฟากยุโรป จะต้องเกิดความจำเป็นในการระดมหาเงินทุนเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากยังคงแบกสินทรัพย์เน่าเสียต่างๆ เอาไว้ในงบดุลบัญชี เขากล่าวด้วยว่า พวกแบงก์ทางยุโรปยังกำลังเผชิญอันตรายจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งมีต้นตอจากแรงบีบคั้นที่ทำให้แลตเวียต้องปรับลดค่าเงินตราของตนเองแล้ว
ส่วนทางสหรัฐฯ คุโรดะกล่าวว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็อาจจะชะลอลง ในเมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยและด้านค้าปลีก จะยังคงดำดิ่งต่อไปจนถึงปีหน้า
ขณะที่อันตรายสำคัญที่สุดทั้งสำหรับพวกประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ทั้งหลาย ได้เปลี่ยนจากภาวะเงินเฟ้อมาเป็นภาวะเงินฝืดแล้ว
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของพวกประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย จะชะลอลงไปอยู่ที่ระดับประมาณ 3.4% ในปีนี้ จากที่ขยายตัวได้ 6.3% ในปีที่แล้ว สืบเนื่องจากการส่งออกลดฮวบฮาบ คุโรดะบอกซึ่งเป็นการกล่าวย้ำการคาดการณ์ของเอดีบีที่นำออกเผยแพร่ตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม
สำหรับปี 2010 เอดีบีคาดหมายว่าอัตราการเติบโตของเอเชียจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.0% เนื่องจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ต่างจะฟื้นตัวขึ้นมาในช่วงครึ่งหลังของปีดังกล่าว คุโรดะระบุแต่พร้อมกันนั้นก็เตือนว่า ทิศทางอนาคตทางเศรษฐกิจหลังจากปีหน้าไปแล้วจะไม่เป็นผลดีต่อเอเชียเลย เนื่องจากยอดส่งออกของพวกประเทศเอเชีย ยังคงคิดเป็นอัตราส่วนที่สูงมากของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)
“ผมมองการณ์ในแง่ดีเกี่ยวกับภาพรวมของเอเชียในระยะสั้น แต่มองการณ์ในแง่ลบเกี่ยวกับระยะยาว” คุโรดะบอกในระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ที่กรุงโตเกียว
“อัตราการออมเงินในสหรัฐฯน่าจะพุ่งขึ้นสูงถึง 10% และจะทำให้การบริโภคไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ส่งผลให้เอเชียไม่สามารถพึ่งพาอาศัยผู้บริโภคอเมริกันได้เหมือนเมื่อก่อน”เขาชี้
ประเทศในเอเชียจะฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกรอบปัจจุบันนี้ ได้เร็วกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากระบบการเงินของภูมิภาคนี้มิได้ไปลงทุนเกี่ยวข้องอะไรมากนักกับพวกตราสารอนุพันธ์ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยระดับ “ซับไพรม์” ซึ่งเป็นตัวการทำให้พวกวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของโลกย่ำแย่ไปตามๆ กัน คุโรดะกล่าว
แต่การฟื้นตัวที่รวดเร็วจะทำให้เกิดปัญหาที่ว่าค่าเงินของประเทศเอเชียจะพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คุโรดะบอกและชี้ว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่บรรดาชาติเอเชียจะต้องรักษาค่าเงินตราของพวกเขาให้มีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคแถบนี้ ขณะที่คงจะต้องยอมปล่อยให้ค่าเงินของตนแข็งขึ้นบางระดับเมื่อเทียบกับดอลลาร์
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว ประเทศเอเชียควรจะกระตุ้นส่งเสริมอุปสงค์ภายในประเทศ ด้วยการปรับปรุงสวัสดิการทางสังคมต่าง ๆให้ดีขึ้น เพื่อที่ว่าประชาชนจะได้ไม่รู้สึกว่าต้องเก็บออมเงินรองรังไว้มากนัก และสามารถนำส่วนที่เหลือมาจับจ่ายใช้สอยกระตุ้นการบริโภคในประเทศต่อไป
“เรากำลังเรียกร้องให้เอเชียกลับมามีความสมดุลให้มากขึ้น”คุโรดะย้ำ
“รัฐบาลของบรรดาประเทศเอเชีย จำเป็นต้องปรับปรุงด้านการศึกษา การสาธารณสุข และความมั่นคงทางสังคม เพื่อลดการออมเงินลง และกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ”
นอกจากเห็นว่าเอเชียจะพึ่งพาผู้บริโภคชาวอเมริกันได้น้อยลงแล้ว คุโรดะยังมองการณ์ในแง่ร้ายเกี่ยวภับสภาพของภาคธนาคารในสหรัฐฯและยุโรป
เขาบอกว่าพวกแบงก์ทั้งทางฝั่งสหรัฐฯและฟากยุโรป จะต้องเกิดความจำเป็นในการระดมหาเงินทุนเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากยังคงแบกสินทรัพย์เน่าเสียต่างๆ เอาไว้ในงบดุลบัญชี เขากล่าวด้วยว่า พวกแบงก์ทางยุโรปยังกำลังเผชิญอันตรายจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งมีต้นตอจากแรงบีบคั้นที่ทำให้แลตเวียต้องปรับลดค่าเงินตราของตนเองแล้ว
ส่วนทางสหรัฐฯ คุโรดะกล่าวว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็อาจจะชะลอลง ในเมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยและด้านค้าปลีก จะยังคงดำดิ่งต่อไปจนถึงปีหน้า
ขณะที่อันตรายสำคัญที่สุดทั้งสำหรับพวกประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ทั้งหลาย ได้เปลี่ยนจากภาวะเงินเฟ้อมาเป็นภาวะเงินฝืดแล้ว