ผู้จัดการรายวัน- สัญญาณเงินเฟ้ออันตราย แบงก์ชาติเตรียมเข้าหารือในที่ประชุม กนง.วันที่ 21 พ.ค.นี้ หลังตัวเลขเงินเฟ้อเดือนเมษาฯ พุ่งแรง และมีสัญญาณของ second round effect จากการเร่งตัวของราคาอาหาร และพลังงาน ชี้รับมือลำบาก แม้จะปรับขึ้นดอกเบี้ยก็ช่วยไม่ได้ เพราะเป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปสงค์ พร้อมจับตาเศรษฐกิจสหรัฐฯ หวั่นดอลล์อ่อน ดันราคาน้ำมันพุ่งอีก
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 6.2% ในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมาว่า อัตราเงินเฟ้อในระดับนี้ค่อนข้างแรง และ ธปท.เริ่มเห็นสัญญาณการเกิดผลกระทบอัตราเงินเฟ้อระลอกสอง (second round effect) จากการเร่งตัวของราคาอาหาร และพลังงาน โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 0.3% แต่จากเดือนเม.ย.มาในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.5-0.6% และเริ่มส่งผ่านมายังระบบเศรษฐกิจบ้างแล้ว โดยอาหารบริโภคนอกบ้าน ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผ่านมายังด้านอุปสงค์ภายในประเทศด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับสมมติฐานทั้งอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อล่าสุด ฉบับเดือนเม.ย. ถือว่ายังอยู่ในช่วงที่ ธปท.ประมาณการณ์ไว้อยู่ ภายใต้เงื่อนไขราคาน้ำมันดูไบ อยู่ที่ระดับ 103 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ที่ ธปท.ตั้งสมมติฐานกรณีเลวร้ายไว้ว่าน้ำมันดูไบอยู่ที่ระดับ 107 เหรียญต่อบาร์เรล ในไตรมาส 2 ของปีนี้
"ขณะนี้ราคาน้ำมันยังขึ้นๆ ลงๆ จึงต้องติดตามดูเศรษฐกิจสหรัฐต่อไป โดยเฉพาะหากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กระทบต่อราคาน้ำมันในอนาคตอีกหรือไม่ แม้ในขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลงแล้วจากสถานการณ์การเมืองในต่างประเทศของประเทศไนจีเรียเริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น รวมทั้งต้องติดตามมุมมองของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐในอนาคตด้วย"
นางอมรา กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยยังสามารถปรับตัวได้ดียังไม่ได้ร้อนแรงนัก ทำให้ความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้ เนื่องจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นในปัจจุบันเกิดจากด้านอุปสงค์ แต่การปรับขึ้นเงินเฟ้อ เป็นการดูแลเรื่องดีมานด์ อย่างไรก็ตาม ธปท.จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 21 พ.ค.นี้
ส่วนการปรับขึ้นค่าจ้าง ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้เร่งตัวสูงขึ้น เพราะการส่งผ่านของอัตราเงินเฟ้อที่มีผลกระทบต่อค่าครองชีพจนกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศให้ชะลอตัวลงได้ แต่การปรับขึ้นค่าจ้างในครั้งนี้จะช่วยให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ซึ่งกลุ่มลูกจ้างเหล่านี้ก็ไม่ได้อยู่ในฐานภาษี ทำให้ไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีจากคลังด้วย จึงเป็นเรื่องที่ดีทำให้เขาสามารถมีรายได้ เพื่อบริโภคได้ และเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงไม่ได้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง เมื่อเทียบกับหลายประเทศ ซึ่งต่างมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าไทย
ทั้งนี้ ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ธปท.ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4.8-6% สำหรับปี 51 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ระดับ 4-5% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.5-2.5% โดยสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบกรณีเลวร้ายเฉลี่ยทั้งปีนี้อยู่ที่ระดับ 112.6 เหรียญต่อบาร์เรล โดยไตรมาสแรกประเมินไว้ 91 เหรียญต่อบาร์เรล และไตรมาสถัดไปเป็น 107 113 และ117 เหรียญต่อบาร์เรล ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ แถลงอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. 51 เทียบกับเดือน เม.ย.50 พบว่า สูงขึ้น 6.2% สูงสุดในรอบ 23 เดือน จากน้ำมันที่ราคาเพิ่มขึ้นทำให้สินค้าตัวอื่นๆ มีต้นทุนเพิ่มขึ้น กระทรวงพาณิชย์ ยังระบุแนวโน้มเงินเฟ้อเดือน พ.ค.ว่าจะมีแรงกดดันหลายๆ ตัว ทั้งราคาน้ำมัน การปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย และการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ส่วนเงินเฟ้อทั้งปี กระทรวงพาณิชย์ได้มีการปรับประมาณการเป้าหมายใหม่ จาก 3-3.5% เป็น 5-5.5% เนื่องจากสมมุตฐานได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันจากเดิมที่ตั้งไว้เฉลี่ย 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ขณะนี้ราคาเกินกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
อนึ่ง ประเด็นอัตราเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่ทุกประเทศกำลังให้ความสำคัญอย่างมากในขณะนี้ หลังจากราคาน้ำมันและราคาอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทบกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยในการประชุมประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ณ กรุงมาดริด สเปน ในสุดสัปดาห์นี้จะหยิบยกประเด็นเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นหัวข้อหลักในการหารือ
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 6.2% ในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมาว่า อัตราเงินเฟ้อในระดับนี้ค่อนข้างแรง และ ธปท.เริ่มเห็นสัญญาณการเกิดผลกระทบอัตราเงินเฟ้อระลอกสอง (second round effect) จากการเร่งตัวของราคาอาหาร และพลังงาน โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 0.3% แต่จากเดือนเม.ย.มาในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.5-0.6% และเริ่มส่งผ่านมายังระบบเศรษฐกิจบ้างแล้ว โดยอาหารบริโภคนอกบ้าน ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผ่านมายังด้านอุปสงค์ภายในประเทศด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับสมมติฐานทั้งอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อล่าสุด ฉบับเดือนเม.ย. ถือว่ายังอยู่ในช่วงที่ ธปท.ประมาณการณ์ไว้อยู่ ภายใต้เงื่อนไขราคาน้ำมันดูไบ อยู่ที่ระดับ 103 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ที่ ธปท.ตั้งสมมติฐานกรณีเลวร้ายไว้ว่าน้ำมันดูไบอยู่ที่ระดับ 107 เหรียญต่อบาร์เรล ในไตรมาส 2 ของปีนี้
"ขณะนี้ราคาน้ำมันยังขึ้นๆ ลงๆ จึงต้องติดตามดูเศรษฐกิจสหรัฐต่อไป โดยเฉพาะหากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กระทบต่อราคาน้ำมันในอนาคตอีกหรือไม่ แม้ในขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลงแล้วจากสถานการณ์การเมืองในต่างประเทศของประเทศไนจีเรียเริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น รวมทั้งต้องติดตามมุมมองของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐในอนาคตด้วย"
นางอมรา กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยยังสามารถปรับตัวได้ดียังไม่ได้ร้อนแรงนัก ทำให้ความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้ เนื่องจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นในปัจจุบันเกิดจากด้านอุปสงค์ แต่การปรับขึ้นเงินเฟ้อ เป็นการดูแลเรื่องดีมานด์ อย่างไรก็ตาม ธปท.จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 21 พ.ค.นี้
ส่วนการปรับขึ้นค่าจ้าง ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้เร่งตัวสูงขึ้น เพราะการส่งผ่านของอัตราเงินเฟ้อที่มีผลกระทบต่อค่าครองชีพจนกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศให้ชะลอตัวลงได้ แต่การปรับขึ้นค่าจ้างในครั้งนี้จะช่วยให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ซึ่งกลุ่มลูกจ้างเหล่านี้ก็ไม่ได้อยู่ในฐานภาษี ทำให้ไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีจากคลังด้วย จึงเป็นเรื่องที่ดีทำให้เขาสามารถมีรายได้ เพื่อบริโภคได้ และเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงไม่ได้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง เมื่อเทียบกับหลายประเทศ ซึ่งต่างมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าไทย
ทั้งนี้ ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ธปท.ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4.8-6% สำหรับปี 51 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ระดับ 4-5% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.5-2.5% โดยสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบกรณีเลวร้ายเฉลี่ยทั้งปีนี้อยู่ที่ระดับ 112.6 เหรียญต่อบาร์เรล โดยไตรมาสแรกประเมินไว้ 91 เหรียญต่อบาร์เรล และไตรมาสถัดไปเป็น 107 113 และ117 เหรียญต่อบาร์เรล ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ แถลงอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. 51 เทียบกับเดือน เม.ย.50 พบว่า สูงขึ้น 6.2% สูงสุดในรอบ 23 เดือน จากน้ำมันที่ราคาเพิ่มขึ้นทำให้สินค้าตัวอื่นๆ มีต้นทุนเพิ่มขึ้น กระทรวงพาณิชย์ ยังระบุแนวโน้มเงินเฟ้อเดือน พ.ค.ว่าจะมีแรงกดดันหลายๆ ตัว ทั้งราคาน้ำมัน การปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย และการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ส่วนเงินเฟ้อทั้งปี กระทรวงพาณิชย์ได้มีการปรับประมาณการเป้าหมายใหม่ จาก 3-3.5% เป็น 5-5.5% เนื่องจากสมมุตฐานได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันจากเดิมที่ตั้งไว้เฉลี่ย 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ขณะนี้ราคาเกินกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
อนึ่ง ประเด็นอัตราเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่ทุกประเทศกำลังให้ความสำคัญอย่างมากในขณะนี้ หลังจากราคาน้ำมันและราคาอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทบกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยในการประชุมประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ณ กรุงมาดริด สเปน ในสุดสัปดาห์นี้จะหยิบยกประเด็นเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นหัวข้อหลักในการหารือ