ASTVผู้จัดการรายวัน - ก.ล.ต. เดินหน้าสอบ "วิสิฐ" หลังสังคมยังคาใจ ความผิดซื้อ-ขายหุ้นดักหน้ากองทุน กบข. "ธีระชัย" ย้ำ การตรวจสอบเบื้องต้น ยังไม่พบความผิดเข้าข่าย พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ แต่ย้ำ ยังสาวใส้เชิงลึกต่อ อย่างตรงไปตรงมา ก่อนแจ้งผล ให้ รมว.คลังทราบ ด้านกบข. ออกโรงแจงผลงานรอบ 5 เดือน กำไร 9,625.46 ล้านบาท หลังได้อานิสงส์หุ้นทะยาน
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวตามสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของนายวิสิฐ ตันติสุนทร อดีตเลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ว่า อาจมีการซื้อขายหุ้นดักหน้ากองทุนที่ตนเป็นผู้บริหาร และอาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นการเอาเปรียบกองทุนและผู้ลงทุนรายอื่นนั้น สำนักงาน ก.ล.ต. ขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้ว่า ลักษณะการกระทำความผิดสามารถแยกเป็น 2 ประเด็นได้แก่ การใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 241 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งมาตราดังกล่าวได้กำหนดห้ามบุคคลใดซื้อหรือขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ตนได้ล่วงรู้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือโดยตำแหน่ง ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นมีสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้นและยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชน ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น หรือนำข้อเท็จจริงเช่นนั้นออกเปิดเผยเพื่อให้ผู้อื่นซื้อขายหุ้นโดยตนได้รับประโยชน์ตอบแทน ซึ่งการกระทำฝ่าฝืนมาตรานี้เป็นความผิดอาญา ที่จะต้องมีการเปรียบเทียบปรับหรือกล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีต่อไป
ทั้งนี้ ในกรณีของนายวิสิฐนั้น จากข้อมูลที่ ก.ล.ต. ได้รับในเบื้องต้น ตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ยังไม่อาจชี้ชัดว่า เข้าข่ายฝ่าฝืนพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ หรือไม่ ก.ล.ต. จึงต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติมตามกระบวนการปกติ เพื่อขยายผลการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป ดังนั้น การตรวจสอบในเรื่องนี้จึงยังไม่แล้วเสร็จ
สำหรับความผิดในลักษณะที่ 2 คือ การซื้อขายดักหน้ากองทุนเนื่องจากล่วงรู้ข้อมูลการลงทุนหรือการซื้อขายหุ้นของกองทุนที่ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 241 กรณีนี้ถึงแม้ไม่ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ แต่ก็เป็นความผิดทางจรรยาบรรณเพราะเป็นการเอาเปรียบกองทุนและสมาชิก ซึ่งหากผู้กระทำผิดเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทั่วไปที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ก.ล.ต. มีมาตรการลงโทษเริ่มตั้งแต่ตักเตือนภาคทัณฑ์ สั่งพัก จนถึงเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ แต่เนื่องจาก กบข. ไม่ใช่หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. หากมีความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ต้องเป็นเรื่องภายในองค์กร กบข. ในการพิจารณาตรวจสอบและดำเนินการลงโทษตามกฎระเบียบ วินัยหรือจรรยาบรรณขององค์กรเอง
"ผมขอยืนยันว่าเรื่องนี้จะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา และเมื่อผลการตรวจสอบมีข้อยุติประการใดแล้ว ผมจะแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบด้วยในฐานะที่ท่านเป็นผู้ดูแลกฎหมายเกี่ยวกับ กบข."นายธีระชัยกล่าว
**กบข.กำไร5เดือนแรก9.6 พันล้าน**
นางสาววริยา ว่องปรีชา รองเลขาธิการสายบริหารงานสมาชิก รักษาการ เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ว่า ทิศทางการลงทุนของ กบข. เริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งล่าสุด ผลตอบแทนในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา กบข. มีอัตราผลตอบแทนสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึง ณ สิ้นเดือน พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา (ม.ค.52 - พ.ค. 2552) เท่ากับร้อยละ 3.06 หรือคิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 9,625.46 ล้านบาทและมีสินทรัพย์สุทธิส่วนของเงินสมาชิก กองกลาง และเงินสมาชิกที่พ้นสมาชิกภาพจำนวนทั้งสิ้น 325,625.31 ล้านบาท
สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นนั้นมาจากการที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การลงทุนของ กบข. ในตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วยโดย กบข. ยังคงบริหารเงินลงทุนโดยยึดหลักกระจายความเสี่ยงตามกรอบ พ.ร.บ. กฎกระทรวงและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด ให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นสำคัญ ได้แก่การลงทุนในตราสารหนี้ไทยร้อยละ74.6 ตราสารหนี้โลก ร้อยละ 4.7 ตราสารทุนไทยร้อยละ 7.3 ตราสารทุนโลกร้อยละ 5.9 นิติบุคคลเอกชนในประเทศร้อยละ 3.4 และอสังหาริมทรัพย์ไทยร้อยละ 4.1
สำหรับแนวโน้มของเศรษฐกิจและการลงทุนต่อจากนี้ นางสาววริยา เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะสามารถฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากการคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้ที่ดีขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ 7เหลือเพียงร้อยละ 3-4 ทั้งนี้ เนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจโลกน่าจะผ่านพ้นช่วงที่ตกต่ำมากที่สุดไปแล้ว ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือกันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกในการใช้มาตรการการเงินการคลังครั้งใหญ่ในการกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่เริ่มปรากฏผลในทางปฏิบัติ
นางสาววริยา ยังได้ย้ำถึงจุดยืนในการบริหารกองทุนว่า กบข. จะยังคงจับตาดูภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและบริหารเงินออมของสมาชิกอย่างรอบคอบและระมัดระวัง โดยอาจจะพิจารณาปรับลดหรือเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์บางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ บนพื้นฐานการลงทุนระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับกองทุนเงินออมเพื่อการเกษียณในอนาคต
ส่วนกระบวนการสรรหาเลขาธิการ กบข. คนใหม่นั้น นางสาววริยากล่าวว่า ภายหลังจากที่ บอร์ด กบข. ได้มีการตั้งคณะกรรมการสรรหา โดยมีนายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ก.พ. ) เป็นประธานคณะกรรมการสรรหา ซึ่งล่าสุดบอร์ด กบข. ก็ได้เร่งให้คณะกรรมการสรรหาเลขาธิการคนใหม่ให้ได้โดยเร็วที่สุด
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวตามสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของนายวิสิฐ ตันติสุนทร อดีตเลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ว่า อาจมีการซื้อขายหุ้นดักหน้ากองทุนที่ตนเป็นผู้บริหาร และอาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นการเอาเปรียบกองทุนและผู้ลงทุนรายอื่นนั้น สำนักงาน ก.ล.ต. ขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้ว่า ลักษณะการกระทำความผิดสามารถแยกเป็น 2 ประเด็นได้แก่ การใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นความผิดตามมาตรา 241 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งมาตราดังกล่าวได้กำหนดห้ามบุคคลใดซื้อหรือขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ตนได้ล่วงรู้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือโดยตำแหน่ง ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นมีสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้นและยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชน ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น หรือนำข้อเท็จจริงเช่นนั้นออกเปิดเผยเพื่อให้ผู้อื่นซื้อขายหุ้นโดยตนได้รับประโยชน์ตอบแทน ซึ่งการกระทำฝ่าฝืนมาตรานี้เป็นความผิดอาญา ที่จะต้องมีการเปรียบเทียบปรับหรือกล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีต่อไป
ทั้งนี้ ในกรณีของนายวิสิฐนั้น จากข้อมูลที่ ก.ล.ต. ได้รับในเบื้องต้น ตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ยังไม่อาจชี้ชัดว่า เข้าข่ายฝ่าฝืนพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ หรือไม่ ก.ล.ต. จึงต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติมตามกระบวนการปกติ เพื่อขยายผลการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป ดังนั้น การตรวจสอบในเรื่องนี้จึงยังไม่แล้วเสร็จ
สำหรับความผิดในลักษณะที่ 2 คือ การซื้อขายดักหน้ากองทุนเนื่องจากล่วงรู้ข้อมูลการลงทุนหรือการซื้อขายหุ้นของกองทุนที่ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 241 กรณีนี้ถึงแม้ไม่ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ แต่ก็เป็นความผิดทางจรรยาบรรณเพราะเป็นการเอาเปรียบกองทุนและสมาชิก ซึ่งหากผู้กระทำผิดเป็นผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทั่วไปที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ก.ล.ต. มีมาตรการลงโทษเริ่มตั้งแต่ตักเตือนภาคทัณฑ์ สั่งพัก จนถึงเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ แต่เนื่องจาก กบข. ไม่ใช่หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. หากมีความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ต้องเป็นเรื่องภายในองค์กร กบข. ในการพิจารณาตรวจสอบและดำเนินการลงโทษตามกฎระเบียบ วินัยหรือจรรยาบรรณขององค์กรเอง
"ผมขอยืนยันว่าเรื่องนี้จะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา และเมื่อผลการตรวจสอบมีข้อยุติประการใดแล้ว ผมจะแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบด้วยในฐานะที่ท่านเป็นผู้ดูแลกฎหมายเกี่ยวกับ กบข."นายธีระชัยกล่าว
**กบข.กำไร5เดือนแรก9.6 พันล้าน**
นางสาววริยา ว่องปรีชา รองเลขาธิการสายบริหารงานสมาชิก รักษาการ เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ว่า ทิศทางการลงทุนของ กบข. เริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งล่าสุด ผลตอบแทนในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา กบข. มีอัตราผลตอบแทนสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึง ณ สิ้นเดือน พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา (ม.ค.52 - พ.ค. 2552) เท่ากับร้อยละ 3.06 หรือคิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 9,625.46 ล้านบาทและมีสินทรัพย์สุทธิส่วนของเงินสมาชิก กองกลาง และเงินสมาชิกที่พ้นสมาชิกภาพจำนวนทั้งสิ้น 325,625.31 ล้านบาท
สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นนั้นมาจากการที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การลงทุนของ กบข. ในตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วยโดย กบข. ยังคงบริหารเงินลงทุนโดยยึดหลักกระจายความเสี่ยงตามกรอบ พ.ร.บ. กฎกระทรวงและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด ให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นสำคัญ ได้แก่การลงทุนในตราสารหนี้ไทยร้อยละ74.6 ตราสารหนี้โลก ร้อยละ 4.7 ตราสารทุนไทยร้อยละ 7.3 ตราสารทุนโลกร้อยละ 5.9 นิติบุคคลเอกชนในประเทศร้อยละ 3.4 และอสังหาริมทรัพย์ไทยร้อยละ 4.1
สำหรับแนวโน้มของเศรษฐกิจและการลงทุนต่อจากนี้ นางสาววริยา เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะสามารถฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากการคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้ที่ดีขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ 7เหลือเพียงร้อยละ 3-4 ทั้งนี้ เนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจโลกน่าจะผ่านพ้นช่วงที่ตกต่ำมากที่สุดไปแล้ว ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือกันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกในการใช้มาตรการการเงินการคลังครั้งใหญ่ในการกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่เริ่มปรากฏผลในทางปฏิบัติ
นางสาววริยา ยังได้ย้ำถึงจุดยืนในการบริหารกองทุนว่า กบข. จะยังคงจับตาดูภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและบริหารเงินออมของสมาชิกอย่างรอบคอบและระมัดระวัง โดยอาจจะพิจารณาปรับลดหรือเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์บางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ บนพื้นฐานการลงทุนระยะยาวที่เหมาะสมสำหรับกองทุนเงินออมเพื่อการเกษียณในอนาคต
ส่วนกระบวนการสรรหาเลขาธิการ กบข. คนใหม่นั้น นางสาววริยากล่าวว่า ภายหลังจากที่ บอร์ด กบข. ได้มีการตั้งคณะกรรมการสรรหา โดยมีนายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ก.พ. ) เป็นประธานคณะกรรมการสรรหา ซึ่งล่าสุดบอร์ด กบข. ก็ได้เร่งให้คณะกรรมการสรรหาเลขาธิการคนใหม่ให้ได้โดยเร็วที่สุด