วันนี้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะของไทย พร้อมคณะจะเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่กระทำกันในหมู่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน เดิมทีเคยมีข่าวด้วยซ้ำไปว่า คุณอภิสิทธิ์มีกำหนดจะไปกัมพูชาหลังเสร็จสิ้นการประชุมอาเซียนที่ชลบุรี เมื่อช่วงสงกรานต์ แต่เพราะอาการคั่นเนื้อคั่นตัวของกลุ่มเสื้อแดงที่เห็นประเทศเป็นสุขในมือคนอื่นไม่ได้ จึงยกพวกบุกไปล้มการประชุมเอาดื้อๆ และทำเอาแผนฟื้นฟูความสัมพันธ์กับกัมพูชาเสียใหม่ ให้เข้ารูปเข้ารอยตามแบบแผน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศ ไม่ใช่ระหว่างผู้นำกับผู้นำอย่างที่คุณทักษิณกระทำ แต่แผนก็มีอันต้องล้มพับไป
มาครานี้ล่ะ ที่คุณอภิสิทธิ์จะได้หอบเอาวัตถุโบราณของอาณาจักรเขมรไปคืนเพื่อนบ้าน เพื่อขอคุยดีๆ เสียที ให้เขาได้เข้าใจว่าประเทศไทยไม่ใช่ของคนคนเดียวอย่างที่คุณทักษิณเคยพร่ำบอก แต่เป็นของคนทั้งประเทศ ฉะนั้นจะทำอะไรที่เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับสองประเทศ แน่นอนว่าไทยก็ต้องยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักสำคัญ
เหมือนกรณีของประสาทพระวิหาร หรือเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ซึ่งประเด็นหลังนี้ข่าวรายงานออกมาว่า คุณอภิสิทธิ์เตรียมไปจากบ้าน เตรียมจะไปคุยเรื่องนี้กับผู้นำกัมพูชาด้วย
พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชามีอาณาเขตประมาณ 2.6-2.7 หมื่นตารางกิโลเมตร และการเจรจาแบ่งเขตพื้นที่ทับซ้อนผืนนี้ ก็มีมาตั้งแต่ปี 2515 ซึ่งเป็นช่วงที่กัมพูชาออกมาประกาศเขตไหล่ทวีป ก่อนที่ไทยจะตามออกมาประกาศตามหลังเพียง 1 ปี แต่จนถึงขณะนี้ ผ่านมา 37 ปีแล้ว ผลการเจรจาเรื่องการปักปันเขตแดนและแบ่งผลประโยชน์ในพื้นที่ก็ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก
ถึงขนาดที่ในยุครัฐบาลไทยรักไทยปี 2544 คุณทักษิณลงมือไปเข็นเรื่องนี้ด้วยตนเอง ทั้งเดินหน้าลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ทั้งสองประเทศอ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปทับซ้อนกัน มีการกำหนดแนวทางการจัดการพื้นที่เหนือ และใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ เรียบร้อยว่าจะต้องจัดสรรปันส่วนกันอย่างไร และยังเดินทางไปกัมพูชาด้วยตัวเอง เพื่อเจรจาเรื่องนี้แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
โดยในช่วงที่ไทย-กัมพูชา เจรจากันไม่คืบหน้า ฝั่งรัฐบาลกัมพูชาก็ถือโอกาสเดินหน้าวาดฝันโครงการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทยไปล่วงหน้าแล้ว รายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า มีบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ไม่ต่ำกว่า 10 บริษัทมุ่งหน้าเข้าไปในกัมพูชา เพื่อขอเจรจากับรัฐบาลที่ผูกขาดอำนาจการตัดสินใจไว้ที่คนคนเดียว คือ นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ในจำนวนนี้มีชื่อ ของเชฟรอนที่โดดเด่นมากที่สุด และมีการลงนามข้อตกลงทำการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย กินพื้นที่ 6,278 ตารางกิโลเมตร มีพิกัดห่างจากชายฝั่งกัมพูชาออกมาประมาณ 200 กิโลเมตร ตั้งแต่ปี 2546 และเริ่มทำการสำรวจในปี 2548
ข้อมูลของ บริษัท เชฟรอน เมื่อปี 2548 ระบุว่า ได้ค้นพบบ่อน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้ของกัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตร คาดว่าจะมีน้ำมันสำรองถึง 400 ล้านบาร์เรล และก๊าซอีก 3-5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ธนาคารโลก ประเมินว่า แหล่งพลังงานในกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรลและก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
ส่วนบทวิเคราะห์ของสหประชาชาติยังระบุด้วยว่า รายได้จากการขายน้ำมันและก๊าซที่พบในกัมพูชา อาจจะสูงถึง 6 พัน – 7 พัน 5 ร้อยล้านเหรียญต่อปี และน่าจะหารายได้จากทรัพยากรตรงนี้ตลอดชั่ว 2 ทศวรรษข้างหน้า เรียกว่า รายได้จากการส่งออกน้ำมันในภาพฝันของผู้นำกัมพูชา จะมีมูลค่ามากกว่า GDP ของทั้งประเทศ ที่มีอยู่เพียง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี มองอย่างนี้ก็ทำให้คิดว่า การคิดหาทางจะขุดน้ำมันขายหรือขายสัมปทานอาจจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวกัมพูชาที่มีรายได้ต่อหัวต่อปีต่ำกว่า 300 ดอลลาร์สหรัฐ และเกือบครึ่งประเทศ หรือ 40% ฐานะการดำรงชีวิตอยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจนขึ้นมาได้บ้าง
แต่แล้วกาลกลับเป็นเช่นนั้นไม่ รายงานขององค์กรไม่แสวงผลกำไรในกรุงลอนดอนที่ชื่อว่า Global witness ที่ออกมาเมื่อปีสองปีมานี้ ใช้ชื่อรายงานว่า Country For Sale ออกมาแฉอย่างหมดเปลือกว่า น้ำมันใต้อ่าวไทยจะทำให้กัมพูชายิ่งจน และยิ่งโกงกว่าแต่ก่อน
ไล่ตั้งแต่การแฉเนื้อหาในมติ ครม.กัมพูชาเมื่อปี 2534 ที่กำหนดให้หน่วยงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมันแห่งชาติกัมพูชาที่มีชื่อย่อว่า CNPA อยู่ใต้การบังคับบัญชาโดยตรงจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซน และนายซกอาน รองนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีรายงานบางส่วนของ Global witness ที่บอกว่า มีบริษัทเอกชนหลายรายสูญเสียเงินรวมแล้วจำนวนหลายล้านดอลลาร์ให้ทางการกัมพูชา เพื่อแลกกับสิทธิในการเข้าไปลงทุนขุดเจาะน้ำมัน แต่เมื่อมีการไปตรวจสอบในบัญชีงบประมาณประจำปี กลับไม่พบว่ามีรายรับในส่วนนี้ระบุไว้ เท่ากับว่า ยังไม่ทันได้ลงมือขุดเจาะก็มีการจ่ายใต้โต๊ะเข้ากระเป๋าส่วนตัวใครต่อใครไปแล้ว
นักวิเคราะห์ถึงขั้นออกมาเตือนว่า ธุรกิจค้าทรัพยากรประเทศอย่างน้ำมัน ถ้าไม่ได้บริหารจัดการให้เหมาะสม ก็เสี่ยงที่รายได้อย่างงดงามของมันจะไปเย้ายวนก่อให้เกิดปัญหาคอร์รัปชันปะทุและรุนแรงเกินกว่าจะแก้ไข และอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ กระทบอุตสาหกรรมที่เป็นหัวใจสำคัญทางเศรษฐกิจประเทศอย่างอุตสาหกรรมสิ่งทอ จนต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มภาวะการว่างงาน และทำให้ประชากรต้องจนซ้ำซ้อนต่อเนื่องไปอีก
แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้น ทุกสายตากำลังให้ความสำคัญไปที่พื้นที่ที่น่าจะมีก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันสะสมมากที่สุด นั่นก็คือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับไทย หรือแหล่งน้ำมันแปลงบี ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งกัมพูชา 250 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก ติดกับเขตน่านน้ำไทยในอ่าวไทย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,551 ตารางกิโลเมตร คาดกันว่า เฉพาะจุดนี้น่าจะมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่หลายร้อยล้านบาร์เรล
ระหว่างในช่วงปี 2550 ที่พันธมิตรฯ กำลังขับเคลื่อนตรวจสอบทุจริตรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ยุคที่มี นพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ (คงจะเป็นรัฐมนตรีที่คนไม่ค่อยอยากรู้จัก ขนาดโปรแกรมเวิร์ด ยังขึ้นเส้นแดงเลยว่า เขียนผิดเปล่า?) ก็ปรากฏมีข่าวชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ The Combodia diary พาดหัวว่า Thais want temple, Oil talks linked เนื้อข่าวอ้างคำพูดของ นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ กัมพูชา กล่าวว่า ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อน บริเวณเขาพระวิหารกับผลประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทย ขึ้นเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาไม่เห็นด้วย “พวกเขาต้องการโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกัน” จาม ประสิทธิ์กล่าว
“ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน” รัฐมนตรีพาณิชย์ กล่าว เรื่องนี้ได้กลายเป็นข้อครหาว่า คนของเรา ไปยื่นข้อเสนอ “เขาพระวิหารแลกน้ำมันทางทะเล” กับเขา ซ้ำยังมีข่าวสะพัดอีกว่า อดีตนักการเมืองไทยบางคนจะได้รับสัมปทานเป็นการตอบแทนหลังจากนั้น
ไม่หมดแค่นั้น ข่าวคุณทักษิณ และคนของคุณทักษิณกับเรื่องน้ำมัน และกัมพูชาทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น
- ทักษิณ ชินวัตร บินไป ตีกอล์ฟกับ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
- ทักษิณจะไป ลงทุนทำธุรกิจ ที่ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา
- การเดินทางของนพดล ปัทมะ และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทนายความและน้องเขยของทักษิณไปร่วมพิธีเปิดถนนสายที่ 48 กับตัวแทนฝ่ายกัมพูชา เป็นถนนที่สร้างมาจาก “เงินกู้ยืม” ที่รัฐบาลไทยรักไทยให้แก่กัมพูชา จำนวน 1,200 ล้านบาท และเงินช่วยเหลืออีก 300 ล้านบาท ในการสร้างสะพานอีก 4 สะพาน เป็นถนนเส้นที่จะเชื่อมเส้นทางระหว่าง จ.เกาะกง-จ.กำปงโสม ระยะทาง 152 กิโลเมตร และเชื่อมต่อไปยังกรุงพนมเปญอีกกว่า 200 กิโลเมตร
- และเป็น ถนนสายหลักที่เชื่อมต่อจากเมืองหลวงของกัมพูชามายัง จ.เกาะกง แหล่งลงทุนของอดีตนัการเมืองไทยบางคน
รายงานเรื่องการเข้าไปลงทุนสำรวจแหล่งขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยนั้นนอกจากเชฟรอนแล้ว ยังมีชื่อของบริษัทน้ำมันจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน รวมทั้งบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทยรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลตรงนี้สอดรับกันอย่างพอดิบพอดีกับคำปราศรัยของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ที่พูดไว้เมื่อเวลา 21.30 น. ของวันที่ 25 มิถุนายนปีที่แล้ว บนเวทีหน้าทำเนียบรัฐบาลว่า
“สมัยที่นายวิเศษ จูภิบาล อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.ที่ต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีพลังงานเคยสั่งให้ ปตท.ไปสำรวจในอ่าวไทยพบว่ามีน้ำมันมหาศาล พร้อมตั้งข้อสังเกตเชื่อมโยงกับกรณีการแปรรูป กฟผ.และการขายหุ้นชินคอร์ป 73,000 ล้านบาท ล้วนโยงกับธุรกิจด้านพลังงาน แต่เมื่อฟ้ามีตาแปรรูป กฟผ.ไม่สำเร็จ เพราะมีพันธมิตรฯ คอยขวางทางอยู่ จนเกิดการยึดอำนาจ 19 ก.ย.จนต้องออกไป...”
ดูจากข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับประเด็นที่นายกฯ อภิสิทธิ์เตรียมนำไปเจรจาวันนี้ น่าเชื่อว่า นอกจากเป้าหมายของรัฐบาลที่หวังจะรักษาผลประโยชน์ชาติ และสงบศึกเพื่อนบ้าน คงต้องการทุบหม้อข้าวในอนาคตของพวกโจรกระจอกนอกคอกที่คอยคิดแต่จะทำร้ายประเทศไทยด้วยละมั้งเนี่ย...
มาครานี้ล่ะ ที่คุณอภิสิทธิ์จะได้หอบเอาวัตถุโบราณของอาณาจักรเขมรไปคืนเพื่อนบ้าน เพื่อขอคุยดีๆ เสียที ให้เขาได้เข้าใจว่าประเทศไทยไม่ใช่ของคนคนเดียวอย่างที่คุณทักษิณเคยพร่ำบอก แต่เป็นของคนทั้งประเทศ ฉะนั้นจะทำอะไรที่เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับสองประเทศ แน่นอนว่าไทยก็ต้องยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักสำคัญ
เหมือนกรณีของประสาทพระวิหาร หรือเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ซึ่งประเด็นหลังนี้ข่าวรายงานออกมาว่า คุณอภิสิทธิ์เตรียมไปจากบ้าน เตรียมจะไปคุยเรื่องนี้กับผู้นำกัมพูชาด้วย
พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชามีอาณาเขตประมาณ 2.6-2.7 หมื่นตารางกิโลเมตร และการเจรจาแบ่งเขตพื้นที่ทับซ้อนผืนนี้ ก็มีมาตั้งแต่ปี 2515 ซึ่งเป็นช่วงที่กัมพูชาออกมาประกาศเขตไหล่ทวีป ก่อนที่ไทยจะตามออกมาประกาศตามหลังเพียง 1 ปี แต่จนถึงขณะนี้ ผ่านมา 37 ปีแล้ว ผลการเจรจาเรื่องการปักปันเขตแดนและแบ่งผลประโยชน์ในพื้นที่ก็ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก
ถึงขนาดที่ในยุครัฐบาลไทยรักไทยปี 2544 คุณทักษิณลงมือไปเข็นเรื่องนี้ด้วยตนเอง ทั้งเดินหน้าลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ทั้งสองประเทศอ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปทับซ้อนกัน มีการกำหนดแนวทางการจัดการพื้นที่เหนือ และใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ เรียบร้อยว่าจะต้องจัดสรรปันส่วนกันอย่างไร และยังเดินทางไปกัมพูชาด้วยตัวเอง เพื่อเจรจาเรื่องนี้แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
โดยในช่วงที่ไทย-กัมพูชา เจรจากันไม่คืบหน้า ฝั่งรัฐบาลกัมพูชาก็ถือโอกาสเดินหน้าวาดฝันโครงการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทยไปล่วงหน้าแล้ว รายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า มีบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ไม่ต่ำกว่า 10 บริษัทมุ่งหน้าเข้าไปในกัมพูชา เพื่อขอเจรจากับรัฐบาลที่ผูกขาดอำนาจการตัดสินใจไว้ที่คนคนเดียว คือ นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ในจำนวนนี้มีชื่อ ของเชฟรอนที่โดดเด่นมากที่สุด และมีการลงนามข้อตกลงทำการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย กินพื้นที่ 6,278 ตารางกิโลเมตร มีพิกัดห่างจากชายฝั่งกัมพูชาออกมาประมาณ 200 กิโลเมตร ตั้งแต่ปี 2546 และเริ่มทำการสำรวจในปี 2548
ข้อมูลของ บริษัท เชฟรอน เมื่อปี 2548 ระบุว่า ได้ค้นพบบ่อน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้ของกัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตร คาดว่าจะมีน้ำมันสำรองถึง 400 ล้านบาร์เรล และก๊าซอีก 3-5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ธนาคารโลก ประเมินว่า แหล่งพลังงานในกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรลและก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
ส่วนบทวิเคราะห์ของสหประชาชาติยังระบุด้วยว่า รายได้จากการขายน้ำมันและก๊าซที่พบในกัมพูชา อาจจะสูงถึง 6 พัน – 7 พัน 5 ร้อยล้านเหรียญต่อปี และน่าจะหารายได้จากทรัพยากรตรงนี้ตลอดชั่ว 2 ทศวรรษข้างหน้า เรียกว่า รายได้จากการส่งออกน้ำมันในภาพฝันของผู้นำกัมพูชา จะมีมูลค่ามากกว่า GDP ของทั้งประเทศ ที่มีอยู่เพียง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี มองอย่างนี้ก็ทำให้คิดว่า การคิดหาทางจะขุดน้ำมันขายหรือขายสัมปทานอาจจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวกัมพูชาที่มีรายได้ต่อหัวต่อปีต่ำกว่า 300 ดอลลาร์สหรัฐ และเกือบครึ่งประเทศ หรือ 40% ฐานะการดำรงชีวิตอยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจนขึ้นมาได้บ้าง
แต่แล้วกาลกลับเป็นเช่นนั้นไม่ รายงานขององค์กรไม่แสวงผลกำไรในกรุงลอนดอนที่ชื่อว่า Global witness ที่ออกมาเมื่อปีสองปีมานี้ ใช้ชื่อรายงานว่า Country For Sale ออกมาแฉอย่างหมดเปลือกว่า น้ำมันใต้อ่าวไทยจะทำให้กัมพูชายิ่งจน และยิ่งโกงกว่าแต่ก่อน
ไล่ตั้งแต่การแฉเนื้อหาในมติ ครม.กัมพูชาเมื่อปี 2534 ที่กำหนดให้หน่วยงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมันแห่งชาติกัมพูชาที่มีชื่อย่อว่า CNPA อยู่ใต้การบังคับบัญชาโดยตรงจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซน และนายซกอาน รองนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีรายงานบางส่วนของ Global witness ที่บอกว่า มีบริษัทเอกชนหลายรายสูญเสียเงินรวมแล้วจำนวนหลายล้านดอลลาร์ให้ทางการกัมพูชา เพื่อแลกกับสิทธิในการเข้าไปลงทุนขุดเจาะน้ำมัน แต่เมื่อมีการไปตรวจสอบในบัญชีงบประมาณประจำปี กลับไม่พบว่ามีรายรับในส่วนนี้ระบุไว้ เท่ากับว่า ยังไม่ทันได้ลงมือขุดเจาะก็มีการจ่ายใต้โต๊ะเข้ากระเป๋าส่วนตัวใครต่อใครไปแล้ว
นักวิเคราะห์ถึงขั้นออกมาเตือนว่า ธุรกิจค้าทรัพยากรประเทศอย่างน้ำมัน ถ้าไม่ได้บริหารจัดการให้เหมาะสม ก็เสี่ยงที่รายได้อย่างงดงามของมันจะไปเย้ายวนก่อให้เกิดปัญหาคอร์รัปชันปะทุและรุนแรงเกินกว่าจะแก้ไข และอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ กระทบอุตสาหกรรมที่เป็นหัวใจสำคัญทางเศรษฐกิจประเทศอย่างอุตสาหกรรมสิ่งทอ จนต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มภาวะการว่างงาน และทำให้ประชากรต้องจนซ้ำซ้อนต่อเนื่องไปอีก
แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้น ทุกสายตากำลังให้ความสำคัญไปที่พื้นที่ที่น่าจะมีก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันสะสมมากที่สุด นั่นก็คือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับไทย หรือแหล่งน้ำมันแปลงบี ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งกัมพูชา 250 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก ติดกับเขตน่านน้ำไทยในอ่าวไทย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,551 ตารางกิโลเมตร คาดกันว่า เฉพาะจุดนี้น่าจะมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่หลายร้อยล้านบาร์เรล
ระหว่างในช่วงปี 2550 ที่พันธมิตรฯ กำลังขับเคลื่อนตรวจสอบทุจริตรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ยุคที่มี นพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ (คงจะเป็นรัฐมนตรีที่คนไม่ค่อยอยากรู้จัก ขนาดโปรแกรมเวิร์ด ยังขึ้นเส้นแดงเลยว่า เขียนผิดเปล่า?) ก็ปรากฏมีข่าวชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ The Combodia diary พาดหัวว่า Thais want temple, Oil talks linked เนื้อข่าวอ้างคำพูดของ นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ กัมพูชา กล่าวว่า ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อน บริเวณเขาพระวิหารกับผลประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทย ขึ้นเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาไม่เห็นด้วย “พวกเขาต้องการโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกัน” จาม ประสิทธิ์กล่าว
“ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน” รัฐมนตรีพาณิชย์ กล่าว เรื่องนี้ได้กลายเป็นข้อครหาว่า คนของเรา ไปยื่นข้อเสนอ “เขาพระวิหารแลกน้ำมันทางทะเล” กับเขา ซ้ำยังมีข่าวสะพัดอีกว่า อดีตนักการเมืองไทยบางคนจะได้รับสัมปทานเป็นการตอบแทนหลังจากนั้น
ไม่หมดแค่นั้น ข่าวคุณทักษิณ และคนของคุณทักษิณกับเรื่องน้ำมัน และกัมพูชาทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น
- ทักษิณ ชินวัตร บินไป ตีกอล์ฟกับ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
- ทักษิณจะไป ลงทุนทำธุรกิจ ที่ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา
- การเดินทางของนพดล ปัทมะ และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทนายความและน้องเขยของทักษิณไปร่วมพิธีเปิดถนนสายที่ 48 กับตัวแทนฝ่ายกัมพูชา เป็นถนนที่สร้างมาจาก “เงินกู้ยืม” ที่รัฐบาลไทยรักไทยให้แก่กัมพูชา จำนวน 1,200 ล้านบาท และเงินช่วยเหลืออีก 300 ล้านบาท ในการสร้างสะพานอีก 4 สะพาน เป็นถนนเส้นที่จะเชื่อมเส้นทางระหว่าง จ.เกาะกง-จ.กำปงโสม ระยะทาง 152 กิโลเมตร และเชื่อมต่อไปยังกรุงพนมเปญอีกกว่า 200 กิโลเมตร
- และเป็น ถนนสายหลักที่เชื่อมต่อจากเมืองหลวงของกัมพูชามายัง จ.เกาะกง แหล่งลงทุนของอดีตนัการเมืองไทยบางคน
รายงานเรื่องการเข้าไปลงทุนสำรวจแหล่งขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยนั้นนอกจากเชฟรอนแล้ว ยังมีชื่อของบริษัทน้ำมันจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน รวมทั้งบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทยรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลตรงนี้สอดรับกันอย่างพอดิบพอดีกับคำปราศรัยของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ที่พูดไว้เมื่อเวลา 21.30 น. ของวันที่ 25 มิถุนายนปีที่แล้ว บนเวทีหน้าทำเนียบรัฐบาลว่า
“สมัยที่นายวิเศษ จูภิบาล อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.ที่ต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีพลังงานเคยสั่งให้ ปตท.ไปสำรวจในอ่าวไทยพบว่ามีน้ำมันมหาศาล พร้อมตั้งข้อสังเกตเชื่อมโยงกับกรณีการแปรรูป กฟผ.และการขายหุ้นชินคอร์ป 73,000 ล้านบาท ล้วนโยงกับธุรกิจด้านพลังงาน แต่เมื่อฟ้ามีตาแปรรูป กฟผ.ไม่สำเร็จ เพราะมีพันธมิตรฯ คอยขวางทางอยู่ จนเกิดการยึดอำนาจ 19 ก.ย.จนต้องออกไป...”
ดูจากข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับประเด็นที่นายกฯ อภิสิทธิ์เตรียมนำไปเจรจาวันนี้ น่าเชื่อว่า นอกจากเป้าหมายของรัฐบาลที่หวังจะรักษาผลประโยชน์ชาติ และสงบศึกเพื่อนบ้าน คงต้องการทุบหม้อข้าวในอนาคตของพวกโจรกระจอกนอกคอกที่คอยคิดแต่จะทำร้ายประเทศไทยด้วยละมั้งเนี่ย...