ASTVผู้จัดการรายวัน –บล.คันทรี่ กรุ๊ป เดินหน้าเทกโอเวอร์บริษัทหลักทรัพย์ไทย-ฮ่องกง รวมถึงกองทุนสิงคโปร์ หวังขยายฐานลูกค้ารายย่อย-สถาบัน คาดสรุปดีลแรกภายใน 1-2 เดือนนี้ ผู้บริหารเผยหวังขึ้นแท่นโบรกเกอร์รายย่อยอันดับ 1 และส่วนแบ่งการตลาดติด 1 ใน 3 พร้อมให้ความมั่นใจสามารถล้างขาดทุนสะสมภายในสิ้นปีนี้
นายบี เตชะอุบล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CGS เปิดเผยถึง แผนการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ว่า บริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ธุรกิจหลักทรัพย์เป็นอันดับ 1 ในส่วนของฐานนักลงทุนรายย่อย หลังจากที่บริษัทได้มีการควบรวมกิจการกับบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ในประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาและคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 1-2 เดือนนี้
ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาควบรวมกิจการกับบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศประมาณ 3-4 แห่ง ซึ่งจะทำให้บริษัทมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 4 หมื่นบัญชี จากปัจจุบันมีฐานลูกค้าอยุ่ที่ระดับ 3 หมื่นบัญชี และจะทำให้บริษัทมีมาร์เกตแชร์ด้านการซื้อขายหุ้นผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 ภายใน 3 เดือนนี้
ขณะเดียวกัน บริษัทยังมีแผนที่จะมีการเข้าไปซื้อกิจการ (เทกโอเวอร์) บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศฮ่องกง เพื่อที่จะใช้เป็นฐานในการขยายลูกค้าสถาบันให้มากขึ้น รวมทั้งชักชวนให้นักลงทุนฮ่องกงเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันลูกค้าสถาบันส่วนใหญ่ของบริษัทอยู่ที่ฮ่องกง ซึ่งจะทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้สะดวกและดีมากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะเข้าไปเทกโอเวอร์กองทุนที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อใช้เป็นฐานในการขยายธุรกิจด้านตราสารหนี้ในส่วนของลูกค้าสถาบันให้มากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 3-6 เดือนนี้ และจะส่งผลให้ทำให้บริษัทมีสัดส่วนลูกค้าสถาบันมากขึ้น
“ปีนี้บริษัทมั่นใจจะมีมาร์เกตแชร์ติด 1 ใน 3 หากบริษัทต้องการเติบโตด้วยตัวเองด้วยการขยายฐานลูกค้ารายย่อยมากขึ้น จะมีมาร์เกตแชร์ 5% แต่หากมีการควบรวมกิจการกับบล.อื่น จะทำให้มาร์เกตแชร์เพิ่มเป็น 7-8% ขณะที่การขยายฐานลูกค้าสถาบันนั้นบริษัทจะมีการซื้อบล.ที่ฮ่องกงและกองทุนสิงคโปร์”
นายบี กล่าวเพิ่มเติมถึง ผลการดำเนินงานในปี 2552 นี้ ว่า บริษัทคาดว่าในปีนี้บริษัทกำไรได้ และภายในสิ้นปีนี้บริษัทจะสามารถล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่ได้ทั้งหมด ส่งผลให้ในปี 2553 บริษัทจะมีผลประกอบการที่เติบโตที่ดีขึ้น
สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ในการเข้าซื้อกิจการโบรกเกอร์ในประเทศไทย ฮ่องกง และกองทุนในประเทศสิงคโปร์นั้น นายบี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าการลงทุนดังกล่าวได้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับบริษัทต่างๆ แต่บริษัทมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินการดังกล่าว โดยมีกระแสเงินสดประมาณ 2,000 ล้านล้านบาท แม้ก่อนหน้านี้บริษัทจะมีการลดทุนไปจำนวน 1.7 พันล้านบาทแล้ว
“บริษัทมั่นใจว่าจะมีเงินทุนในการดำเนินการดังกล่าว เพราะมีสภาพคล่องสูง รวมทั้งบริษัทยังถือเป็นโบรกเกอร์ที่มีทุนจดทะเบียนที่สูงที่สุดในอุตสาหกรรม แต่การชำระราคานั้นอาจจะมีหลากหลายวิธิ อาท การชำระด้วยเงินสด หรือการแลกหุ้น ฯลฯ”
ส่วนด้านการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการให้บริการนั้น นายบีกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทได้ปรับปรุงระบบไอทีของบริษัทใหม่ด้วยงบลงทุนประมาณ 70 ล้านบาท เพื่อเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์รองรับการเปิดบัญชีของลูกค้า และบริการต่างๆ ให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น ทำให้นักลงทุนหันมาใช้บริการของทางบริษัท โดยภายในสิ้นปีนี้บริษัทจะมีการทำการตลาดมากขึ้นเพื่อดึงลูกค้าใหม่เข้ามาใช้บริการกับบริษัท ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทสามารถที่จะดำเนินธุรกิจได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นโบรกเกอร์รายย่อยที่ดีที่สุด
นอกจากนี้ บริษัทจะมีการออกสินค้าใหม่ๆมากขึ้น เพื่อให้จะให้บริการที่หลายหลาย ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ฯลฯ รวมถึงการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี นั้น บริษัทจะร่วมกันในการออกสินค้าใหม่เพื่อที่จะเสนอขายแก่นักลงทุน และจากการที่เอ็มเอฟซี เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับภาครัฐบาลนั้น ช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจของบริษัททำให้บริษัทไม่เสียเปรียบโบรกเกอร์ที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้น
“ผมมองว่าธุรกิจหลักทรัพย์ยังมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีคนคาดการณ์ว่าจะเป็นช่วงขาลง แต่หากโบรกเกอร์มุ่งเน้นเฉพาะการให้บริการทางด้านหุ้นนั้นจะสร้างกำไรลำบาก และธุรกิจก็จะเป็นขาลงจริง ดังนั้นโบรกเกอร์จำเป็นที่จะต้องปรับตัวตามภาวะตลาด ให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด ซึ่งเราจะมีการขยายการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น ในเรื่องสินค้า ลูกค้าใหม่ และขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศ ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับแบงก์ต่างชาติเพื่อดึงเข้ามาเป็นพันธมิตรทางด้านการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น”
สำหรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากการเปิดเสรีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และค่าธรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) นั้น นายบี กล่าวว่า การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์จะทำให้มูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงค่าคอมมิชชันที่ปรับตัวลดลงจะดึงดูดความสนใจให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น
นายบี เตชะอุบล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CGS เปิดเผยถึง แผนการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ว่า บริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ธุรกิจหลักทรัพย์เป็นอันดับ 1 ในส่วนของฐานนักลงทุนรายย่อย หลังจากที่บริษัทได้มีการควบรวมกิจการกับบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ในประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาและคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 1-2 เดือนนี้
ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาควบรวมกิจการกับบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศประมาณ 3-4 แห่ง ซึ่งจะทำให้บริษัทมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 4 หมื่นบัญชี จากปัจจุบันมีฐานลูกค้าอยุ่ที่ระดับ 3 หมื่นบัญชี และจะทำให้บริษัทมีมาร์เกตแชร์ด้านการซื้อขายหุ้นผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 ภายใน 3 เดือนนี้
ขณะเดียวกัน บริษัทยังมีแผนที่จะมีการเข้าไปซื้อกิจการ (เทกโอเวอร์) บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศฮ่องกง เพื่อที่จะใช้เป็นฐานในการขยายลูกค้าสถาบันให้มากขึ้น รวมทั้งชักชวนให้นักลงทุนฮ่องกงเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันลูกค้าสถาบันส่วนใหญ่ของบริษัทอยู่ที่ฮ่องกง ซึ่งจะทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้สะดวกและดีมากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะเข้าไปเทกโอเวอร์กองทุนที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อใช้เป็นฐานในการขยายธุรกิจด้านตราสารหนี้ในส่วนของลูกค้าสถาบันให้มากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 3-6 เดือนนี้ และจะส่งผลให้ทำให้บริษัทมีสัดส่วนลูกค้าสถาบันมากขึ้น
“ปีนี้บริษัทมั่นใจจะมีมาร์เกตแชร์ติด 1 ใน 3 หากบริษัทต้องการเติบโตด้วยตัวเองด้วยการขยายฐานลูกค้ารายย่อยมากขึ้น จะมีมาร์เกตแชร์ 5% แต่หากมีการควบรวมกิจการกับบล.อื่น จะทำให้มาร์เกตแชร์เพิ่มเป็น 7-8% ขณะที่การขยายฐานลูกค้าสถาบันนั้นบริษัทจะมีการซื้อบล.ที่ฮ่องกงและกองทุนสิงคโปร์”
นายบี กล่าวเพิ่มเติมถึง ผลการดำเนินงานในปี 2552 นี้ ว่า บริษัทคาดว่าในปีนี้บริษัทกำไรได้ และภายในสิ้นปีนี้บริษัทจะสามารถล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่ได้ทั้งหมด ส่งผลให้ในปี 2553 บริษัทจะมีผลประกอบการที่เติบโตที่ดีขึ้น
สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ในการเข้าซื้อกิจการโบรกเกอร์ในประเทศไทย ฮ่องกง และกองทุนในประเทศสิงคโปร์นั้น นายบี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าการลงทุนดังกล่าวได้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับบริษัทต่างๆ แต่บริษัทมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินการดังกล่าว โดยมีกระแสเงินสดประมาณ 2,000 ล้านล้านบาท แม้ก่อนหน้านี้บริษัทจะมีการลดทุนไปจำนวน 1.7 พันล้านบาทแล้ว
“บริษัทมั่นใจว่าจะมีเงินทุนในการดำเนินการดังกล่าว เพราะมีสภาพคล่องสูง รวมทั้งบริษัทยังถือเป็นโบรกเกอร์ที่มีทุนจดทะเบียนที่สูงที่สุดในอุตสาหกรรม แต่การชำระราคานั้นอาจจะมีหลากหลายวิธิ อาท การชำระด้วยเงินสด หรือการแลกหุ้น ฯลฯ”
ส่วนด้านการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการให้บริการนั้น นายบีกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทได้ปรับปรุงระบบไอทีของบริษัทใหม่ด้วยงบลงทุนประมาณ 70 ล้านบาท เพื่อเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์รองรับการเปิดบัญชีของลูกค้า และบริการต่างๆ ให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น ทำให้นักลงทุนหันมาใช้บริการของทางบริษัท โดยภายในสิ้นปีนี้บริษัทจะมีการทำการตลาดมากขึ้นเพื่อดึงลูกค้าใหม่เข้ามาใช้บริการกับบริษัท ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทสามารถที่จะดำเนินธุรกิจได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นโบรกเกอร์รายย่อยที่ดีที่สุด
นอกจากนี้ บริษัทจะมีการออกสินค้าใหม่ๆมากขึ้น เพื่อให้จะให้บริการที่หลายหลาย ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ฯลฯ รวมถึงการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี นั้น บริษัทจะร่วมกันในการออกสินค้าใหม่เพื่อที่จะเสนอขายแก่นักลงทุน และจากการที่เอ็มเอฟซี เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับภาครัฐบาลนั้น ช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจของบริษัททำให้บริษัทไม่เสียเปรียบโบรกเกอร์ที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้น
“ผมมองว่าธุรกิจหลักทรัพย์ยังมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีคนคาดการณ์ว่าจะเป็นช่วงขาลง แต่หากโบรกเกอร์มุ่งเน้นเฉพาะการให้บริการทางด้านหุ้นนั้นจะสร้างกำไรลำบาก และธุรกิจก็จะเป็นขาลงจริง ดังนั้นโบรกเกอร์จำเป็นที่จะต้องปรับตัวตามภาวะตลาด ให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด ซึ่งเราจะมีการขยายการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น ในเรื่องสินค้า ลูกค้าใหม่ และขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศ ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับแบงก์ต่างชาติเพื่อดึงเข้ามาเป็นพันธมิตรทางด้านการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น”
สำหรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากการเปิดเสรีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และค่าธรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) นั้น นายบี กล่าวว่า การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์จะทำให้มูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงค่าคอมมิชชันที่ปรับตัวลดลงจะดึงดูดความสนใจให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น