xs
xsm
sm
md
lg

เบรกจ่ายอีสเวอร์เตอร์แม้วอนุมัติขัดระเบียบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จากพรรคภูมิใจไทย แถลงวานนี้ (9 มิ.ย.) ว่า ครม.อนุมัติหลักการให้จัดสรรงบประมาณ พ.ศ.2552 ซึ่งเป็นงบกลางรายการเ งินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรือจากเงินภายใต้ แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (SP2) จำนวน 1,008 ล้านบาท เพื่อให้กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำไปชำระค่าก่อสร้างโครงการวางท่อเชื่อมจาก อ่างเก็บน้ำ ประแสร์ไปอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ จ.ระยอง ให้แก่บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ East Water ตามที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี จากพรรคชาติไทยพัฒนา ที่กำกับดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ
นายศุภชัย กล่าวว่า เรื่องหลักการของงบประมาณรายจ่ายเพื่อนำไปชำระค่าก่อสร้าง ครม.มีความเห็นว่า ไม่ขัดข้อง แต่การอนุมัติก่อสร้างโครงการตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.2548 ในโครงการนี้ของรัฐบาลชุดที่ผ่านๆมานั้น นายกรัฐมนตรีของให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการจ่ายตามเนื้องานที่สำเร็จจริง
ให้สภาพัฒน์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอังการสูงสุด และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปดูว่ามีความติดขัด ของระเบียบและข้อกฎหมายอย่างไรหรือไม่
นายธีระ วงศ์สุมทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในที่ประชุมครม. ได้มีการซักถามกระทรวงเกษตรฯอย่างมาก ถึงความเป็นมาของโครงการ เนื่องจาก พบว่าไม่มีหน่วยราชการใดของรัฐเป็นคู่สัญญากับบริษัทเอกชนรายดังกล่าว มีเพียงมติ ครม.เมื่อเดือนส.ค. ปี 48 เท่านั้นที่อนุมัติในเรื่องนี้ไว้
นายธีระ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเสนอโดยสภาพัฒน์และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก ที่มีนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกฯ เป็นประธานได้เสนอให้ครม.พิจารณาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออกโดยให้บริษัทอีสต์วอเตอร์เป็นผู้วางระบบโครงการ วงเงิน 1,680 ล้านบาท โดยให้รัฐเป็นผู้ออกเงิน 1,008 ล้านบาทส่วนอีก 672 ล้านบาทที่อีสต์วอเตอร์ ต้องเป็นออกค่าใช้จ่ายให้กรมชลประทานไปหักค่าน้ำดิบที่ อีสต์วอเตอร์ซื้อจาก กรมชลฯในอัตรา คิวละ 50 สตางค์ โดยใข้งบประมาณ 1 พันกว่าล้านนั้น ครม.ให้การประปาส่วนภูมิภาคเป็นผู้ตั้งงบประมาณจ่ายให้กับอีสต์วอเตอร์ ซึ่งต่อมา สำนักงบประมาณได้ท้วงติงว่า ไม่ใช่หน้าที่ของการประปาที่จะไปตั้งงบ และสนักงบฯ ได้ให้ กรมชลฯ ไปดำเนินการตั้งงบเข้าไปแทน
ในเรื่องนี้สภาพของกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลฯคือหน่วยงานที่เข้าไปแก้ปัญหา ซึ่งนายกฯก็เห็นด้วยที่เมื่อเราเป็นหนี้ก็ต้องใช้ แต่ท่านก็ได้สั่งการให้เรากลับไปดูในรายละเอียดอีกครั้ง ร่วมกับ อีสต์วอเตอร์ สำนักงบฯ อัยการสูงสุด กระทรวงการคลังและ กฤษฏีกาว่า จะหาทางออกในเรื่องนี้อย่างไร เนื่องจากพบว่า ไม่มีหน่วยราชการใดเป็นคู่สัญญากับอีสต์เวอร์ มีแต่ ครม.เท่านั้น และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำฯก็ยุบไปพร้อมรัฐบาลปี 2548 ในขณะที่อีสต์วอเตอร์เอง ก็มีสัญญากับบริษัทที่เข้ามาวางระบบที่รัฐต้องรับภาระจ่าย เพราะฉะนั้นนายกฯให้กลับไปดูรายละเอียดว่าค่าใช้จ่ายสูงหรือต่ำกว่าที่ได้เสนอเข้ามา เมื่อได้รายละเอียดแล้ว ให้เสนอกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งผมในฐานะเป็นรมว.เกษตรฯก็จะเร่งดำเนินการ รวบรวมรายละเอียดเสนอกลับไปใหม่” นายีระกล่าว
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม.ตั้งข้อสังเกตว่า โครงการนี้รัฐบาลชุดก่อนมอบให้ กรมชลประทานออกแบบดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออก แต่ไม่ได้ดำเนินการเอง และมอบให้บริษัทฯดังกล่าวนำโครงการไปดำเนินการ
โดย ครม.หารือกันอย่างกว้างขวาง เห็นว่า การจ่ายเงินลงไปจะต้องดูว่า มีความถูกต้องตามระเบียบก่อนหรือไม่ เพราะระเบียบดังกล่าว ครม.จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ดังนั้นการทำงาน หากจะต้องจ่ายเงินต้องดูที่เนื้องานเป็นหลัก ซึ่ง ครม. เห็นควรให้ไปดูระเบียบย้อนหลังทั้งหมด โดยเฉพาะเนื้องานอย่างละเอียด
ดังนั้นแม้ ครม.จะอนุมัติหลักการจ่ายเงิน 1,008 ล้านบาท แต่เห็นว่า จะต้องไปดูเนื้องานที่ชัดเจนก่อนและดูว่า เนื้องานมีปัญหาหรือไม่
รายงานข่าวแจ้งว่า มติครม.วันที่ 2 ส.ค.2548 เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติหลักการงบประมาณเพื่อลงทุน ในโครงการแก้ไขวิกฤติน้ำในภาคตะวันออกระยะเร่งด่วน จำนวน 13 โครงการ/งาน วงเงินจริง 2,708.60 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงโครงการวางท่อเชื่อมจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ไปอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ จ.ระยองด้วย วงเงินรวมทั้งโครงการ 1,692 ล้านบาทด้วย โดยมอบหมายให้กรมชลประทานเป็นผู้ดำเนินการออกแบบ ใช้งบประมาณ 12 ล้านบาท (ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว) และให้บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ในวงเงิน 1,680 ล้านบาท
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยที่นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรองนายกรัฐมนตรี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็น รมว.เกษตรฯ มีนายเนวิน ชิดชอบ และนายอดิศร เพียงเกษ เป็น รมช.เกษตรฯ ซึ่งครม.เห็นชอบกรอบการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในภาคตะวันออกทั้งแผนระยะสั้น ปานกลาง ระยะยาว
ขณะที่ชาวบ้าน เขตอ.บ้านฉาง อ.แกลง อ.วังจันทร์ และกิ่งอำเภอเขาชะเมา จ.ระยอง ได้เคยออกมาคัดค้านนโยบายรัฐบาลที่จะผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำกระแสร์ ไปอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เพื่อป้อนให้กับนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคตะวันออก โดยชาวบ้านและเกษตรกร จ.ระยองที่ได้รับผลกระทบ ต้องการให้ภาครัฐยกเลิกโครงการวางท่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ไปช่วยภาคอุตสาหกรรมไว้ก่อน
กำลังโหลดความคิดเห็น