ASTVผู้จัดการรายวัน – เมโทรสตาร์ฯ เบรกแผนออกกองทุนอสังหาฯ หลังผลงานบริษัทไตรมาสแรกปีนี้ทรุดต่อเนื่องจากปี 51 ขอดูแนวโน้มเศรษฐกิจก่อนกำหนดเวลาชัดเจน เผยปีนี้เน้นปรับลดค่าใช้จ่ายให้ต่ำลง พร้อมระบายโครงการที่เหลือให้หมดสต๊อก หวังเก็บเงินสดไว้ในมือสู้วิกฤต
นายวีระ บูรพชัยศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ METRO เปิดเผยว่าบริษัทชะลอแผนการออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 2.3 พันล้านบาท ที่จะนำโครงการ สาทร วิสต้า เข้ามาเป็นสินทรัพย์ของกองทุนฯ เนื่องจากยังไม่ได้รีบร้อนอะไร และอยากจะรอดูท่าทีของเศรษฐกิจก่อน จึงค่อยกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน ประกอบกับผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปีนี้ผลงานของบริษัทขาดทุนสุทธิ 37.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 51 ที่ขาดทุนสุทธิ 25.22 ล้านบาท เหตุเศรษฐกิจชะลอตัวยอดขายอสังหาริมทรัพย์ลด ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่ม และการค่าเสื่อมราคาอาคารและค่าตกแต่งของ โครงการแมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ สาทร วิสต้า กรุงเทพฯ ซึ่งแล้วเสร็จและเริ่มเปิด ดำเนินการแล้วในไตรมาสแรกปี52
นอกจากนี้ บริษัทมีภาษีเงินได้นิติบุคคล 1.46 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสแรกปี 51 บริษัทไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากตามวิธีการคำนวณที่กำหนดไว้ในประมวล รัษฎากร ซึ่งกำหนดให้รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ ดังนั้นรายได้ค่างวดที่ ครบกำหนดชำระในระหว่างไตรมาสสูงกว่ารายได้ทางบัญชีเนื่องจากมีการรับรู้รายได้ห้องชุดในโครงการเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์
ขณะที่แนวทางการบริหารงานปีนี้คงจะเน้นปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ และพยายามขายโครงการต่างๆ ที่เหลือให้หมดสต๊อก เพื่อเก็บเงินสดไว้ในมือให้มากที่สุด ปัจจุบันสภาพคล่องของ METRO ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี และอัตราส่วนหนี้สิ้นต่อทุน (D/E) ช่วงปลายปี 51 ก็ลดลงเหลือ 1.6 เท่า เทียบกับปี 50 ที่มี D/E อยู่ที่ 2.3 เท่า โดยบริษัทฯ มีรายได้มาจาก 2 ทางหลัก คือ การขายโครงการต่างๆ และค่าเช่าที่พักอาศัยในโครงการ สาทร วิสต้า แบ็งคอก แมริออท เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Black log) มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท โดยเป็นการรับรู้รายได้จากโครงการ อาทิ เซ็นต์หลุยส์ แกรนด์เทอเรส คอนโดมีเนียม และบ้านรวิภา สุขุมวิท 103 ซึ่งในส่วนนี้จะทยอยรับรู้รายได้ต่อเนื่องไปจนสิ้นปี 52
นายวีระกล่าวถึงการขอมติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อที่จะกู้เงินวงเงิน 180 ล้านบาท นั้นเป็นเพียงการขออนุมัติ เผื่อไว้กรณีฉุกเฉิน เนื่องจากปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เริ่มเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถคาดเดาทิศทางได้ว่าจะจบลงเมื่อใด
นายวีระ บูรพชัยศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ METRO เปิดเผยว่าบริษัทชะลอแผนการออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 2.3 พันล้านบาท ที่จะนำโครงการ สาทร วิสต้า เข้ามาเป็นสินทรัพย์ของกองทุนฯ เนื่องจากยังไม่ได้รีบร้อนอะไร และอยากจะรอดูท่าทีของเศรษฐกิจก่อน จึงค่อยกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน ประกอบกับผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปีนี้ผลงานของบริษัทขาดทุนสุทธิ 37.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 51 ที่ขาดทุนสุทธิ 25.22 ล้านบาท เหตุเศรษฐกิจชะลอตัวยอดขายอสังหาริมทรัพย์ลด ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่ม และการค่าเสื่อมราคาอาคารและค่าตกแต่งของ โครงการแมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ สาทร วิสต้า กรุงเทพฯ ซึ่งแล้วเสร็จและเริ่มเปิด ดำเนินการแล้วในไตรมาสแรกปี52
นอกจากนี้ บริษัทมีภาษีเงินได้นิติบุคคล 1.46 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสแรกปี 51 บริษัทไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากตามวิธีการคำนวณที่กำหนดไว้ในประมวล รัษฎากร ซึ่งกำหนดให้รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ ดังนั้นรายได้ค่างวดที่ ครบกำหนดชำระในระหว่างไตรมาสสูงกว่ารายได้ทางบัญชีเนื่องจากมีการรับรู้รายได้ห้องชุดในโครงการเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์
ขณะที่แนวทางการบริหารงานปีนี้คงจะเน้นปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ และพยายามขายโครงการต่างๆ ที่เหลือให้หมดสต๊อก เพื่อเก็บเงินสดไว้ในมือให้มากที่สุด ปัจจุบันสภาพคล่องของ METRO ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี และอัตราส่วนหนี้สิ้นต่อทุน (D/E) ช่วงปลายปี 51 ก็ลดลงเหลือ 1.6 เท่า เทียบกับปี 50 ที่มี D/E อยู่ที่ 2.3 เท่า โดยบริษัทฯ มีรายได้มาจาก 2 ทางหลัก คือ การขายโครงการต่างๆ และค่าเช่าที่พักอาศัยในโครงการ สาทร วิสต้า แบ็งคอก แมริออท เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Black log) มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท โดยเป็นการรับรู้รายได้จากโครงการ อาทิ เซ็นต์หลุยส์ แกรนด์เทอเรส คอนโดมีเนียม และบ้านรวิภา สุขุมวิท 103 ซึ่งในส่วนนี้จะทยอยรับรู้รายได้ต่อเนื่องไปจนสิ้นปี 52
นายวีระกล่าวถึงการขอมติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อที่จะกู้เงินวงเงิน 180 ล้านบาท นั้นเป็นเพียงการขออนุมัติ เผื่อไว้กรณีฉุกเฉิน เนื่องจากปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เริ่มเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถคาดเดาทิศทางได้ว่าจะจบลงเมื่อใด